สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

พัฒนาการของตลาดตราสารหนี้ไทย

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
อาสา อินทรวิชัย



15 ปีที่ผ่านมา ตลาดตราสารหนี้บ้านเรามีการพัฒนาไปอย่างมาก
15 ปีที่ผ่านมา ตลาดตราสารหนี้บ้านเรามีการพัฒนาไปอย่างมาก  จากตลาดที่มีเพียงหุ้นกู้บริษัทเอกชนซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และหุ้นกู้สถาบันการเงิน ซึ่งในสมัยนั้นส่วนใหญ่เป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ (ซึ่งได้ล่มสลายไปตั้งแต่ปี 2540 หรือ ปี 1997 “ต้มยำกุ้ง Crisis”) พัฒนาเป็นตลาดที่มีพันธบัตรรัฐบาลที่มีสภาพคล่องพร้อมทางเลือกในความหลากหลายของอายุพันธบัตรตั้งแต่ไม่กี่วันไปจนถึง 50 ปี ... ยังไม่หมดครับ ตลาดบอนด์ไทยยังมี 1) Inflation-linked bonds หรือ TIPS (Treasury Inflation-Protected Securities) ซึ่งให้ผลตอบแทนสูงกว่า Inflation ประมาณ 1.20% ต่อปี หากลงทุนจนครบอายุ 2) หุ้นกู้ที่เสนอขายโดยองค์กรระหว่างประเทศ เช่น ADB, World Bank หรือ Korea Export-Import Bank ในสกุลเงินบาท และ 3) หุ้นกู้อนุพันธ์ซึ่งอ้างอิงกับดัชนีต่างๆ ให้นักลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ เลือกลงทุนอีกด้วย


หากย้อนเวลาไป สอบถามผู้รู้ด้าน Macroeconomics และคนที่อยู่ในตลาดการลงทุน จะได้รับคำตอบว่า ประเทศไหนๆ ตลาดดอกเบี้ยก็มีขนาดใหญ่กว่าตลาดหุ้นทั้งนั้น จะมีก็แต่ประเทศไทย (และอีกไม่กี่ประเทศ) ที่ตลาดหุ้น (ซึ่งมีความผันผวนกว่าดอกเบี้ย) มีขนาดใหญ่กว่าตลาดพันธบัตร และหุ้นทุนยังกลายเป็นแหล่งระดมทุนสำคัญของบริษัทขนาดใหญ่ไปจนถึงขนาดกลาง ซึ่งขัดกับหลักการของ Corporate Finance โดยสิ้นเชิง

 

ท่านผู้อ่านต้องไม่ลืมว่า “Cost of Equity” > “Cost of Debt” ดังนั้นจึงไม่สมควรอย่างยิ่งที่ทุกครั้งที่ต้องการ Funding ผู้จัดการ หรือ CFO จะเสนอให้ผู้บริหารระดมทุนผ่านการเสนอขายหุ้น แทนที่จะออกหุ้นกู้ หรือ กู้เงินจากธนาคาร และต้องไม่ลืมว่าถ้าลักษณะธุรกิจมีความผันผวนต่ำ เราควรพึ่งพิงเงินกู้ยืมมากกว่า Equity แต่ถ้าธุรกิจมีความผันผวน เราควรระดมเงินผ่าน equity มากกว่าใช้เงินกู้ครับ


++++++


จริงอยู่ที่หลายสิบปีก่อน การกู้ยืมมักอยู่ในรูปแบบของเงินกู้จากธนาคารพาณิชย์ และเพิ่งไม่นานมานี้เองที่เราเริ่มเห็น Financial Disinternediary (บทบาทของธนาคารพาณิชย์เริ่มลดลง) เพราะมีการระดมเงินผ่านการออกตราสารหนี้มากขึ้น

 

กอปรกับอีกประเด็นสำคัญอันเป็นที่มาของการเริ่มพัฒนาตลาดตราสารหนี้ของประเทศไทยอย่างแท้จริง คือ การแก้ไข พ.ร.บ.ให้กระทรวงการคลังโดยสำนักหนี้สาธารณะสามารถออกพันธบัตรได้แม้ในปีที่รัฐบาลมิได้ดำเนินนโยบายขาดดุล นี่คือจุดเปลี่ยนของตลาดตราสารหนี้ไทยและเป็นการเริ่มต้นที่ถูกทางเพราะเริ่มจากการสร้าง Benchmark ที่มีความเสี่ยงต่ำที่สุดก่อน


นอกจากความพยายามจากหน่วยงานของรัฐในฐานะของผู้ออกตราสาร (สำนักหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย) และในฐานะของผู้กำกับดูแลการลงทุนและการเสนอขายหลักทรัพย์ เช่น สำนักงาน ก.ล.ต.แล้ว อีกหนึ่งหน่วยงานสำคัญที่ช่วยให้ผู้ลงทุนได้รับข้อมูลที่ทันเวลาและสนับสนุนการตัดสินใจลงทุน

 

อีกทั้งช่วยให้การ Mark-to-market มีความโปร่งใส ผ่าน Intraday price reporting คือ Thai BMA (Thai Bond Market Association) หรือ สมาคมตราสารหนี้ไทย นอกจากนี้ยังมีการพัฒนา Benchmark กลุ่มต่างๆ รวมถึงการจัดทำ Government Bond Yield Curve, Corporate Bond Benchmark และ ZRR  index ซึ่งช่วยให้ผู้จัดการกองทุนสามารถวางแผนการลงทุนควบคู่ไปกับ Benchmark ได้ (www.thaibma.or.th)


ตั้งแต่ นอกเหนือจากอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลซึ่งเป็นที่นิยมกันอย่างมากแล้ว ยังมีอัตราดอกเบี้ยอีกชนิดหนึ่งซึ่งเป็นที่แพร่หลายของตลาดโลก นั่นคือ ดอกเบี้ย Swap หรือ “THBFIX”  เราใช้ Swap เพื่อทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยง เปลี่ยน Cashflows ในสกุลเดียวกันจาก Fixed rate ไปเป็น Floating-rate หรือกลับกัน กรณีนี้เรียกว่า “Interest Rate Swap”  หรืออาจเป็นการ Swap ข้ามสกุลเงินหากเป็นการลงทุนนอกประเทศแต่ต้องการได้รับผลตอบแทนเป็นสกุลเงินในประเทศตนเอง

 

โดยขาหนึ่งจะอิงกับ USD Libor หรือ USD Swap อายุ 3 เดือนเสมอ และอีกขาจะเป็นสกุลเงินท้องถิ่นอื่นๆ ก็สามารถทำได้เช่นกัน กรณีนี้เรียกว่า “Cross Currency Swap”   ดอกเบี้ย Swap ถูกใช้อย่างแพร่หลายในประเทศไทยทั้งเพื่อลูกค้ากลุ่มที่นำเงินบาทไปลงทุนในตราสารสกุลต่างประเทศ (Asset side) และลูกค้ากลุ่มที่ใช้เงินกู้ สกุลต่างประเทศ (Liability side)  THBFIX คือ อีกหนึ่งในการพัฒนาที่สำคัญของตลาดดอกเบี้ยไทยที่สนับสนุนให้การลงทุนในต่างประเทศสามารถเกิดขึ้นได้และเป็นเครื่องมือสำคัญในการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนในเงินกู้สกุลอื่นของบริษัทเอกชนอีกด้วย


ปี 2555 นี้เป็นอีกหนึ่งปีที่ ตลาดตราสารหนี้ทั่วโลกมีความผันผวนมาก ในกรณีของบ้านเรา (และกลุ่มประเทศเกิดใหม่ หรือ Emerging markets) นั้น อัตราผลตอบแทนได้ปรับตัวสูงขึ้นจากแนวโน้มเงินเฟ้อสูงขึ้นจากราคาน้ำมันและราคาอาหารสด  แม้ราคาอาหารสดและพลังงานจะไม่ถูกรวมอยู่ใน Headline inflation แต่ผลของราคาอาหารสดและน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นได้ถูกส่งต่อมายังราคาอาหารในภัตตาคารและค่าขนส่ง/เดินทาง จึงทำให้ Headline inflation เริ่มขยับขึ้นอย่างช้าๆ (รัฐยังควบคุมราคาสินค้าและใช้นโยบายอุดหนุนผู้ผลิตทางต้นน้ำ) เมื่อเงินเฟ้อปรับตัวขึ้น อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลจึงปรับขึ้นตาม

 

นอกจากความกังวลเรื่องเงินเฟ้อแล้ว ปริมาณพันธบัตรที่ต้องออกเสนอขายเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลให้ดอกเบี้ยหรืออัตราผลตอบแทน (Bond yield) ปรับขึ้นเช่นกัน นักลงทุนต้องจับตาการเปลี่ยนแปลงของเงินเฟ้อรายเดือนและความเห็นจาก ธปท. อย่างใกล้ชิดนะครับ


สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : พัฒนาการ ตลาดตราสารหนี้ไทย

view