สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ไขปม ม.68 ล้มล้างการปกครองหรือไม่

จาก โพสต์ทูเดย์

โดย...ทีมข่าวการเมือง

การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้จัดทำคำชี้แจงให้กับครม.เพื่อตอบคำร้องของศาล รัฐธรรมนูญ กรณีสั่งชะลอการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระ 3   คำชี้แจงมีทั้งหมด 3 ประเด็น โพสต์ทูเดย์ขอคัดสาระสำคัญมาเสนอดังนี้

1.ตามที่มีผู้ร้องอ้างว่า ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของครม.มิได้เป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพตามมาตรา 68 ประเด็นนี้กฤษฎีกาชี้แจงว่า ครม.เป็นองค์กรที่ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว ได้ดำเนินการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อรัฐสภาเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ หมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 291 (1) ที่ระบุ การแก้ไขเพิ่มเติมต้องมาจากครม. หรือส.ส.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของสมาชิกที่มีอยู่ทั้งสองสภา และสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกที่มีอยู่ของทั้งสองสภา หรือ จากประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 50,000 ตามกฎหมายว่า ด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย

“และเนื้อหาสาระของร่างรัฐธรรมนูญก็ไม่ได้มีบทบัญญัติใดมีลักษณะตามที่ บัญญัติไว้ในมาตรา 68 รวมทั้งการพิจารณาเห็นชอบการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญก็เป็นอำนาจของรัฐสภา ตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เมื่อครม.ไม่ได้ใช้สิทธิและเสรีภาพตามมาตรา 68 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญในการเสนอร่างรัฐธรรมนูญ คำร้องของผู้ร้องจึงรับฟังไม่ได้”

ทั้งนี้ กฤษฎีกายังระบุว่า เมื่อได้กราบเรียนศาลรัฐธรรมนูญแล้วว่า กรณีนี้ไม่ใช่มาตรา 68 วรรคหนึ่ง ดังนั้น หลักเกณฑ์ต่างๆที่ตามมาใน วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ ของมาตา 68 จึงไม่อาจนำมาบังคับใช้ได้ เพราะวรรคต่างๆที่ถัดจากวรรคหนึ่งนี้ได้อ้างอิงไปยังวรรคหนึ่ง

อนึ่งมาตรา 68 วรรคหนึ่ง  ระบุว่า บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตย์ทรงเป็นประมุขหรือเพื่อให้ได้มาเพื่ออำนาจใน การปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐ ธรรมนูญนี้มิได้

ส่วนที่ผู้ร้อง กล่าวหาว่า ร่างรัฐธรรมนูญล้มล้างการปกครอง กฤษฎีกาได้ทำคำชี้แจงโดยอ้างถึงร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 291/11 วรรค 5  เขียนไว้แล้วว่า ร่างรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระ มหากษัติย์ทรงเป็นประมุขหรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐจะกระทำมิได้

“ครม.จึงเห็นว่าถ้อยคำตามร่างมาตรา 291/11 วรรค 5 เป็นหลักการที่สูงเพียงพอที่จะเป็นหลักประกันให้ร่างรัฐธรรมนูญที่สภาร่าง รัฐธรรมนูญจะจัดทำขึ้นไม่สามารถมีหลักการหรือบทบัญญัติที่เปลี่ยนแปลงการ ปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัติย์ทรงเป็นประมุข”กฤษฎีกา ระบุ             

กฤษฎีกายังได้อธิบายขั้นตอนมาด้วยว่า หากร่างรัฐธรรมนูญมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระ มหากษัติย์ทรงเป็นประมุข และถูกพิจารณาตกไปไม่มีผลใช้บังคับ จะมาจากเหตุผลตามร่างมาตรา 291/13 ที่กำหนดไว้ว่า  เมื่อสสร.ยกร่างเสร็จสิ้นแล้วเสนอต่อประธานรัฐสภาหากปรากฎว่าร่างรัฐธรรมนูญ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง ประธานรัฐสภาต้องเสนอให้รัฐสภาวินิจฉัย เมื่อรัฐสภาวินิจฉัยว่าเข้าข่ายก็จะเป็นอันต้องตกไป

กฤษฎีกาย้ำว่า "ด้วยหลักการและเนื้อหาของ ร่างรัฐธรรมนูญของครม.จึงเป็นหลักประกันที่สูงสุดที่จะทำให้ร่างรัฐธรรมนูญ ของสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) มีลักษณะตามคำร้องให้ตกไป ไม่สามารถนำมาประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญได้ นอกจากนี้ หากเปรียบเทียบกับการให้จัดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2534 ก็ได้จัดทำรัฐธรรมนูญพ.ศ.2540 ที่มีเนื้อหาเป็นที่ยอมรับของประชาชน และถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยที่ดีที่สุดฉบับหนึ่ง ข้อกล่าวหาในการเสนอร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้จึงไม่มีเหตุผลจะรับฟังได้ เพราะเป็นการใช้จินตนาการทางร้ายไปเอง ทั้งๆที่เนื้อหาสาระมีบทบัญญัติที่กำหนดขั้นตอนให้ตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน"

นอกจากนี้ กฤษฎีกายังได้ชี้แจงถึงการได้มาซึ่งสภาร่างรัฐธรรมนูญก็ดำเนินการมาอย่างถูก ต้อง โดยให้คณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งเป็นองค์การตามรัฐธรรมนูญกำหนดหลักเกณฑ์ ส่วนการทำประชามติก็เป็นไปตามการพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียง ประชามติ

2.ประเด็นที่มีการร้องว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้เป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ กฤษฎีกาได้ทำคำชี้แจงว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญปี 2550 มิได้เป็นการยกเลิกแต่อย่างใด การแก้ไขเพิ่มเติมโดยเพิ่มหมวด 16 จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ กำหนดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่ศึกษาและจัดทำร่างฉบับใหม่เพื่อนำไปทำประชามติ เมื่อรัฐสภาพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญที่ครม.เสนอเสร็จแล้วต้องผ่านกระบวนการ ต่างๆเพื่อประกาศใช้บังคับเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติม จึงเห็นได้ว่าร่างรัฐธรรมนูญมิได้มีผลยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันแต่อย่าง ใด

3.ประเด็นที่มีการร้องว่า การกำหนดให้มีสสร.จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยไม่ได้เป็นหน้าที่ของรัฐสภาไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 291 ของรัฐธรรมนูญ กฤษฎีกา ชี้แจงว่า หลักการทำรัฐธรรมนูญประสงค์จะให้มีการพิจารณาข้อดีข้อเสียและปัญหาต่างๆจาก การบังคับใช้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญปี 2550 และรัฐธรรมนูญฉบับอื่นๆ จึงกำหนดให้มีสสร.ซึ่งเป็นองค์กรกลางในการศึกษาและจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ใหม่ที่เหมาะสมกับประชาชน

“ร่างรัฐธรรมนูญของสสร. มิได้มีผลที่สามารถนำขึ้นทูลเกล้าเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยเป็นรัฐธรรมนูญได้ ทันที เป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งเท่านั้น ขั้นตอนต่อไปต้องนำกลับไปให้ประชาชนออกเสียงลงประชามติตามกฎหมาย ซึ่งเป็นเรื่องการประชาธิปไตยที่นานาประเทศยอมรับ”

ทั้งนี้ ในคำชี้แจงตอนท้าย ครม.ได้สรุปว่า ครม.ขอกราบเรียนต่อศาลรัฐธรรมนูญว่า คำร้องที่กล่าวหาว่าร่างรัฐธรรมนูญของครม.มีลักษณะเป็นการใช้สิทธิและ เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัติย์ทรงเป็นประมุขตามมาตรา 68 วรรคหนึ่ง หรือ เป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพเพื่อให้ได้มา หรือ เพื่อจะให้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งไม่ได้เป็นไปตามวิถี ทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรคหนึ่ง หรือ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐหรือขัดต่อมาตรา 291 ดังนั้น การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจึงเป็นการกล่าวอ้างที่เลื่อนลอย ไม่มีมูล รับฟังไม่ได้แต่ประการใด


สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ไขปม ม.68 ล้มล้างการปกครองหรือไม่

view