สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

80ปีประชาธิปไตย การเมืองยังจมปลักข้างถนน

80ปีประชาธิปไตย"การเมืองยังจมปลักข้างถนน

จาก โพสต์ทูเดย์

เสวนา 80ปี ประชาธิปไตย นักวิชาการมั่นใจไทยยังจมวิกฤตการเมือง เหตุปัญหาชนชั้น-นักการเมืองแก้กม.เพื่อเอื้อประโยชน์ตัวเอง

เมื่อเวลา 10.00 น. คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดการสัมมนา “80ปี ประชาธิปไตย รัฐศาสตร์กับการเมืองไทย” โดยเสวนาหัวข้อ “วิกฤติและความขัดแย้งทางการเมืองเชิงสถาบัน” ณ ห้องประชุมจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี ดำเนินรายการโดย รศ.สิริพรรค นกสวน สวัสดี อ.รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โดยนายสุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า หลังปี 2475 โครงสร้างทางการเมืองไทยไม่สามามารถเปลี่ยนแปลงได้ทั้งหมด และการรัฐประหารเมื่อปี 2549 เป็นการเปิดกล่องความขัดแย้งในสังคม ยิ่งเฉพาะปัญหาความขัดแย้งทางชนชั้น ระหว่างเมืองและชนบท และซ่อนปัญหาทางโครงสร้าง ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างทหารและพลเรือน ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นนำและชนชั้นล่าง และซ่อนความขัดแย้งในระบบทุนนิยม

ทั้งนี้ ผลพวงที่เกิดขึ้น คือ สังคมการเมืองไทยจะไร้เสถียรภาพต่อเนื่องและยาวนาน และอยู่ในภาวะเผชิญหน้า ความแตกแยก อีกทั้ง การเมืองภาคประชานอ่อนแอ มีพลังอนุรักษ์นิยมที่ยังขับเคลื่อน เป็นการเมืองของมวลชนบนถนนมากขึ้น วันนี้พลังการรัฐประหารยึดอำนาจไม่เหมือนเก่า ดังนั้น ต้องเริ่มคิดใหม่เกี่ยวกับบทบาททหารและการมืองไทย

นอกจากนี้ ยังมีกระแสใหม่เกิดขึ้น คือ ชนชั้นนำยังคงเชื่อว่าประชาธิปไตยอยู่ภายใต้การควบคุมของชนชั้นนำ ทำให้ประเทศไม่มีแนวโน้มประนีประนอมในสังคมไทย ต่างจากประเทศเพื่อนบ้านโดยรอบกำลังเกิดการเปลี่ยนแปลง

นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย กล่าวว่า 80 ปีประชาธิปไตย มีลักษณะปกครองลำพังมานาน ไม่ยึดโยงประชาชน รัฐธรรมนูญไม่ใช่กฎหมายสูงสุดของประเทศจริง และเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงปี 2549 มีความพยายามที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเมือง ที่สวนทางกับพัฒนาการที่ผ่านมา เพราะมีการสร้างรัฐธรรมนูญในลักษณะอำนาจประชาธิปไตยไม่ได้เป็นของประชาชน เป็นระบบส่งเสริมการทุจริตคอรัปชั่น รัฐธรรมนูญทำให้เกิดวิกฤตทางการเมือง เป็นระบบ 2 มาตรฐาน และทำให้วิกฤตสืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน

นอกจากนี้ ความขัดแย้งระหว่างองค์กรศาลรัฐธรรมนูญและรัฐสภา จะพัฒนาไปสู่การที่ศาลจะขยายขอบเขตการใช้อำนาจของตัวเอง ให้เหนือฝ่ายนิติบัญญัติ อีกทั้ง บทบาทตุลาการหลังปี 2549 ทำหน้าที่รับรองการรัฐประหาร ไม่รักษาเสรีภาพของประชาชน อย่างไรก็ตาม การที่ศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นการล้มล้างระบอบประชาธิปไตย หรือไม่นั้นเป็นการขัดรัฐธรรมนูญอย่างสิ้นเชิง

ทั้งนี้ เชื่อว่าศาลรัฐธรรมนูญจะไม่ยกคำร้อง และจะใช้คำว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญอาจนำไปสู่การล้มล้าง และนำไปสู่การยุบพรรค และจะมีการยื่นให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ยุติปฏิบัติหน้าที่และยุบพรรคต่อไป ซึ่งจะเกิดสุญญากาศของประเทศ และอาจมีแนวคิดใช้มาตรา 7 เรียกร้องนายกรัฐมนตรีลาออก

“ถ้ามีการยุติแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเป็นปัญหาเสียหายร้ายแรงต่อหลักการประเทศ จะเกิดการขยายเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่มีอำนาจเหนือรัฐสภา และจะนำไปสู่วิกฤตที่ไม่มีทางออก เกิดความขัดแย้งรุนแรงขึ้นอีก”นายจาตุรนต์ กล่าว

ขณะที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล กล่าวว่า 80 ปี ที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าล้มลุกคลุกคลานมาตลอด และปัญหาใหญ่ที่เจอคือการปฏิวัติรัฐประหารจากทหาร แต่หลังเหตุการณ์ 19 ก.ย. 49 เกิดความขัดแย้งมากขึ้น จึงควรย้อนกลับไปด้วยว่า ปัญหาประชาธิปไตยใหม่ไม่ใช่เผด็จการที่มาจากทหาร แต่เป็นเผด็จการรัฐสภา โดยใช่เสียงข้างมากผ่านกลไกฝ่ายนิติบัญญัติ หรือกลไกอื่นเพื่อรวบอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จ จึงถืออว่าเป็นภัยใหม่ต่อประเทศ ซึ่งระบบดังกล่าวจะกลายเป็นเงื่อนไขให้เกิดเผด็จการทหาร และวนเวียนไปมาจนเกิดวงจรอุบาทว์

ทั้งนี้ ก่อน 19 ก.ย. คณะรัฐประหารอ้างเหตุผลการยึดอำนาจ 4 ข้อ คือ ทุจริต ใช้อำนาจอแทรกแซงทุกองค์กรอิสระ สร้างความแตกแยกในสังคม และการดูหมิ่นสถาบันรวมทั้งขยายลุกลามเป็นลำดับ หากย้อนดูการปฏิวัติมีประชาชนไปแสดงความยินดีกับการรัฐประหารมาก เพราะเห็นการกระทำดังกล่าว สอดคล้องกับปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น ทุจริตเชิงนโยบาย การใช้เสียงข้างมากฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ ในการออกกฎหมายเอื้อประโยชน์คนๆเดียวหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

นอกจากนั้น มีการบิดเบือนรัฐธรรมนูญ  2540 เพื่อนำไปสู่การตรวจสอบผู้ถืออำนาจรัฐ โดยรัฐธรรมนูญ 40 ระบุว่า หากฝ่ายค้านจะอภิปรายตรวจสอบนายกฯ จะต้องใช้เสียง 2 ใน 5 หรือ 200 เสียง จึงสามารถตรวจสอบได้ ดังนั้น จึงเกิดความพยายามตั้งรัฐบาล 300 เสียง เพื่อกันการตรวจสอบผู้นำรัฐบาล จึงเป็นที่มาของประชาชนไม่น้อยเห็นด้วยกับปฏิวัติ รวมถึงการแทรกแซงองค์กรอิสระกรณีการซุกหุ้น จึงเป็นที่มานำไปสู่การปฏิวัติอีกครั้ง

“ผมกังวลว่าประเทศไทยยังไม่พ้นภัย เพราะ 1-2 วันที่ผ่านมา มีการประกาศว่าจะกลับมาเป็นนายกฯ และจะทำเหมือนเดิมอีก คือ ฟื้นระบบเผด็จการรัฐสภา และนำไปสู้เกิดการยึดอำนาจในอนาคตอีกครั้งหนึ่ง”นายจุรินทร์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม คู่ขัดแย้งจริงก่อนเกิด 19 ก.ย. คือ ระบอบเผด็จการรัฐสภากับฝ่ายต้าน เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันยังไม่เปลี่ยน แม้ปัจจุบันเป้าหมายความขัดแย้งเหมือนเดิม แต่รูปแบบไม่ใช่อำนาจการปกครอง แต่เป็นการได้เงินคืน จนเกิดความขัดแย้งทุกวันนี้อีกคั้ง โดยใช้กลไกเสียงข้างมากในนิติบัญญัติ แก้รัฐธรรมนูญ ออกกฎหมายปรองดอง ซึ่ง 2 เรื่อง จะนำไปสู่ความขัดแย้งและวิกฤติในปัจจุบัน

“ผมไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ไม่ใช่แก้รัฐธรรมนูญไม่ได้ แต่การแก้เที่ยวนี้ไม่ใช่แก้ แต่เป็นการฉีกและเขียนใหม่ เพื่ออะไร ผมเชื่อว่าไม่ใช่วาระปกติ แต่มีวาระซ่อนเร้น เพื่อคนๆเดียว ถามว่าทำไมต้องฉีก เพราะปัจจุบันเป็นอุปสรรคต่อการบริหารงานของรัฐบาลตรงไหน ทั้งการแก้น้ำท่วม ของแพง ซึ่งรัฐธรรมนูญปัจจุบันก็สามารถบริหารได้”นายจุรินทร์ กล่าว

สำหรับการเสนอกฎหมายปรองดอง ถือว่าเป็นการสร้างความแตกแยกในสังคมวงกว้าง และในที่สุดนำไปสู่การล้างผิดทั้งหมด ทุกขั้นตอนกระบวนการยุติธรรม คืนเงิน คืนสิทธิทางการเมืองให้คนๆเดียว จนทุกฝ่ายออกมาต่อต้าน ถามว่าจะแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้อย่างไร และกรณีศาลรัฐธรรมนูญสั่งชะลอการพิจารณาลงมติพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ นั้น ถือว่าไม่ใช่ความขัดแย้งแต่เป็นการตีความกฎหมายที่ไม่ตรงกัน

ทั้งนี้ การที่อัยการสูงสุด (อสส.) รับเรื่องดังกล่าวไปแล้วหลายเดือน แต่กลับไม่มีการดำเนินการใด ศาลจึงมีคำสั่งให้ชะลอ ฝ่ายหนึ่งบอกศาลสังไม่ได้ เพราะเป็นอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ อีกฝ่ายอกสั่งได้เพราะไม่ก้าวก่าย ฝ่ายสั่งไม่ได้คือเสียงข้างมาก ฝ่ายบอกสั่งได้คือเสียงข้างน้อย แต่ศาลไม่ได้สั่งสภา แต่เป็นการสั่งเจ้าหน้าที่รัฐ คือ เลขาธิการสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร เพราะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในชะลอการลงมติ ดังนั้น สส.-สว. จะดื้อแพ่งได้หรือไม่


อุกฤษชี้อำนาจปกครองไม่อยู่ที่ประชาชน

จาก โพสต์ทูเดย์

อุกฤษ เขียนบทความ80ปชต. ชี้ ปัญหาประเทศอยู่ที่อำนาจไม่เป็นของประชาชน แนะเลิกระบบศาลเดียว

นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ(คอ.นธ.) และอดีตประธานรัฐสภา ได้เสนอบทความ “80 ปี กับการพัฒนาประชาธิปไตยประเทศไทย” เนื่องในโอกาสครบ 80 ปีเปลี่ยนแปลงการปกครอง วันที่ 24 มิ.ย.2555 มีใจความโดยสรุปว่า ตลอดระยะ 80 ปีที่ผ่านมา ย่อมเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าสังคมแบบวิถีประชาธิปไตยที่ถูกต้องตามแบบนานาอารย ประเทศ ยังมิได้ฝังหยั่งลึกในไทยเท่าที่ควร

อุกฤษ

"แม้ในช่วง 15 ปีแรกหลังพ.ศ.2475เป็นช่วงเวลาที่ระบบกำลังดำเนินไปในทิศทางประชาธิปไตย แต่ก็มาสะดุดเมื่อมีการทำรัฐประหารปี 2490  นับแต่นั้นมาอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ แทบไม่ได้ตกมาอยู่ในมือประชาชนอย่างแท้จริง ส่งผลให้ประเทศเข้าสู่วงจรการทำรัฐประหาร ยึดอำนาจ ฉีกทำลายรัฐธรรมนูญตกอยู่ภายใต้การปกครองในรูปแบบเผด็จการอำนาจนิยม กล่าวได้ว่าปัญหาอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ระบอบประชาธิปไตยในไทยไม่ประสบผล สำเร็จ เพราะอำนาจสูงสุดยังไม่เป็นของประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาง่ายที่สุดคือต้องยอมรับในหลักการเบื้องต้นว่า อำนาจสูงสุดต้องเป็นของประชาชน" นายอุกฤษ กล่าว

นายอุกฤษ กล่าวว่า การแก้ปัญหาต้องแก้ไปตามระบบนักการเมืองที่ทุจริตคอร์รัปชั่นต้องจัดการตาม ระบบกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมตามหลักสากล ไม่ควรพิจารณาโดยศาลเดียว ผู้พิพากษาตุลาการทุกคนต้องยึดมั่นในความเป็นอิสระ วินิจฉัยคดีโดยปราศจากอคติ แต่ถึงแม้ระบอบประชาธิปไตยต้องผ่านเหตุการณ์ล้มลุกคลุกคลานมาหลายครั้งก็ อยากให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา เพราะเป็นระบอบการปกครองที่ดีที่สุดในกระแสโลกปัจจุบัน และการที่ประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้ากว่าประเทศเพื่อนบ้านหลาย ๆประเทศ และได้รับการยอมรับนับถือจากนานาประเทศ

"ความสามัคคีปรองดอง จะเกิดขึ้นโดยกฎหมายปรองดองอย่างเดียวไม่ได้ แต่ทุกฝ่ายต้องยึดมั่นในหลักกฎหมายเดียวกัน โดยกฎและกติกาจะต้องยุติธรรม ผู้ใช้กฎหมายต้องใช้โดยปราศจากอคติทั้งปวง และต้องประกอบด้วยหลักเมตตาธรรม ประชาธิปไตยเริ่มต้นปีที่ 81 ขอให้ยึดมั่นในหลักที่ว่า ความยุติธรรมไม่มี ความสามัคคีไม่เกิดเมตตาธรรมค้ำจุนโลก" นายอุกฤษ กล่าว


สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : 80ปีประชาธิปไตย การเมือง ยังจมปลักข้างถนน

view