สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

กฎหมายการลงทุนพม่า

จากประชาชาติธุรกิจ

ณกฤช เศวตนันทน์

คอลัมน์ พร้อมรับAECหรือยัง?

พม่าเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติหลากชนิด ทั้งป่าไม้ แร่ธาตุ ก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน เป็นต้น

ทรัพยากร ธรรมชาติเหล่านี้ต่างเป็นวัตถุดิบที่สำคัญทางอุตสาหกรรม และเป็นที่ต้องการสูงในตลาด นอกจากนี้พม่ายังมีทำเลที่ตั้งอยู่ระหว่างกลางของสองประเทศที่มีประชากรมาก ที่สุด และกำลังเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงอย่างจีนและอินเดีย ดังนั้นเมื่อพม่าเปิดประเทศ โดยมีการปฏิรูปทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง พม่าจึงเป็นเป้าหมายที่น่าเข้าไปแสวงหาโอกาสทางธุรกิจสำหรับนักลงทุนต่าง ชาติ

อย่างไรก็ดี แม้ทรัพยากรและผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้จากการลงทุนในพม่าจะดูหอมหวานเพียง ใด แต่เท่าที่ผ่านมาการลงทุนในพม่าก็ยังคงมีอุปสรรคอยู่หลายประการ หนึ่งในอุปสรรคที่บั่นทอนความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ ได้แก่ ระบบกฎหมายที่ล้าสมัยไม่มีความน่าเชื่อถือ และที่สำคัญคือไม่คุ้มครองนักลงทุน

เดิมทีก่อนพม่าจะปฏิรูปประเทศ รัฐบาลพม่าเคยมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (Foreign Direct Investment : FDI) โดยมีการประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยการลงทุนของต่างชาติ หรือ Myanmar Foreign Investment Law (FIL) เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 เพื่อจูงใจให้นักลงทุนชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนในพม่า

กฎหมายฉบับนี้ได้ผลพอสมควร

ผู้ ประกอบการต่างชาติที่เข้าไปลงทุนนั้นส่วนใหญ่ลงทุนในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตามกฎหมายฉบับเดิมจะสามารถดึงดูดนักลงทุนต่างชาติได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วพม่ามีศักยภาพด้านการลงทุนที่สูงกว่านี้ ขณะที่กฎหมายการลงทุนฉบับเดิมมีขีดจำกัดด้านการลงทุนโดยชาวต่างชาติหลาย ประการ เช่น ไม่สามารถถือหุ้นในกิจการได้ 100% นักลงทุนต่างชาติไม่สามารถเช่าที่ดินจากเอกชนได้ ต้องเช่าจากรัฐ เป็นต้น

ทั้ง นี้ การที่รัฐบาลพม่ามีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนประเทศให้เป็นประเทศอุตสาหกรรม โดยใช้เขตเศรษฐกิจพิเศษดึงดูดนักลงทุน จึงเล็งเห็นว่าควรมีการปรับปรุงกฎระเบียบด้านการลงทุนให้ทันสมัย มีสิทธิพิเศษ

ต่าง ๆ ดึงดูดใจนักลงทุนมากขึ้น น่าเชื่อถือมากขึ้น และที่สำคัญคือต้องคุ้มครองนักลงทุน ทำให้นักลงทุนต่างชาติมั่นใจว่ากิจการของตนจะไม่ถูกแทรกแซงโดยรัฐ

ดัง นั้น เมื่อวันที่ 19 มิถุนายนที่ผ่านมา ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง แห่งพม่า ได้แถลงแผนปฏิรูปขั้นที่สองผ่านทางสถานีโทรทัศน์ โดยแผนปฏิรูปขั้นที่สองนี้จะมุ่งพัฒนาด้านเศรษฐกิจและประชาชน ซึ่งต่างจากแผนปฏิรูปขั้นที่หนึ่ง ที่รัฐบาลเน้นปฏิรูปด้านการเมืองและการปรองดองภายในชาติเป็นสำคัญ

แผน ปฏิรูปขั้นที่สอง รัฐบาลมีแผนที่จะเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เป็น 7.7% ต่อปีภายในระยะ 5 ปีข้างหน้า รวมไปถึงการเพิ่มการลงทุนจากต่างชาติ จึงจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงกฎหมายการลงทุนรองรับแผนปฏิรูปดังกล่าว ซึ่งประธานาธิบดีเต็ง เส่งแถลงว่า รัฐสภาจะผ่านความเห็นชอบร่างกฎหมายว่าด้วยการลงทุนของต่างชาติฉบับใหม่ในการ ประชุมสภาสมัยหน้าที่จะเริ่มวันที่ 4 กรกฎาคมนี้

สำหรับกฎหมายว่า ด้วยการลงทุนของต่างชาติฉบับใหม่ของพม่านี้ มีรายละเอียดที่แตกต่างจากฉบับเดิมคือ กฎหมายฉบับใหม่อนุญาตให้บริษัทต่างชาติเข้าถือหุ้นได้ 35%-100% ในบริษัทท้องถิ่น โดยผู้ที่ต้องการถือหุ้น 100% จะต้องผ่านการตรวจสอบอย่างละเอียด ในเรื่องสิทธิพิเศษทางภาษี กฎหมายฉบับใหม่กำหนดให้มีการลดหย่อนภาษีแก่นักลงทุนต่างชาติ 5 ปี จากเดิมที่ให้แค่เพียง 2 ปีเท่านั้น

นอกจากนี้ยังอนุญาตให้นักลงทุน ต่างชาติสามารถเช่าที่ดินจากเอกชนได้ จากเดิมเช่าได้เฉพาะที่ดินของรัฐ อย่างไรก็ดี กฎหมายฉบับใหม่ก็ยังมีข้อจำกัดบางประการที่เป็นการคุ้มครองคนในชาติ เช่น แรงงานไร้ฝีมือทั้งหมดในบริษัทต่างชาติต้องเป็นคนพม่า ห้าปีต่อไปแรงงานฝีมือในบริษัทต้องเป็นคนพม่า 25% เพิ่มขึ้นเป็น 50% ในห้าปีต่อไป และ 75% ภายใน 15 ปีตั้งแต่เริ่มกิจการ เป็นต้น ทั้งนี้เป็นเพราะพม่ามีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยการเพิ่มการจ้างงานของคนในชาตินั่นเอง

การแก้ไขปรับปรุงกฎหมายลง ทุนของพม่าในครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อนักลงทุนไทย ซึ่งเดิมทีก็มีการเข้าไปลงทุนในพม่าในกิจการหลาย ๆ ประเภทอยู่แล้ว

อย่าง ไรก็ดี พม่ายังมีปัจจัยเสี่ยงต่อการลงทุนหลายประการ เช่น ปัญหาด้านการคอร์รัปชั่น ปัญหาเรื่องชนกลุ่มน้อยที่ปะทุอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงปัญหาเสถียรภาพทางการเมืองที่ไม่รู้ว่าจะเป็นไปในทางที่ดีแบบนี้จน ถึงเมื่อใด นักลงทุนจึงควรระมัดระวังต่อความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ดังคำกล่าวเตือนของออง ซาน ซู จี ในงาน World Economic Forum 2012 ที่ไทยว่า "Optimism is good but it should be cautious optimism. I have come across reckless optimism. A little bit of healthy scepticism is in order."

ซึ่งแปลได้ว่า "การมองอะไรในแง่ดีนับว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่ควรเป็นการมองในแง่ดีที่ใช้ความระมัดระวัง ดิฉันเคยมองโลกในแง่ดีแบบไม่ระวังมาแล้ว ตอนนี้การมองโลกในเชิงสงสัยตามสมควรน่าจะดีกว่า"


สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : กฎหมายการลงทุนพม่า

view