สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เปิดคำชี้แจง ขุนค้อน แก้ทุกข้อหาล้มล้างประชาธิปไตย

จาก โพสต์ทูเดย์

นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ได้ขึ้นเบิกความและตอบข้อซักถามต่อศาลรัฐธรรมนูญแก้ทุกข้อหาล้มล้างประชาธิปไตย

โดย.. ไพบูลย์ กระจ่างวุฒิชัย

หมายเหตุ: นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ได้ขึ้นเบิกความและตอบข้อซักถามต่อศาลรัฐธรรมนูญในฐานะผู้ถูกร้องที่1ตามคำ ร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 เข้าข่ายล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือไม่ เมื่อวันที่ 6 ก.ค.โดยมีสาระสำคัญดังนี้

 

ในชีวิตของผมไม่เคยคาดฝันว่าวันหนึ่งจะมาเป็นผู้ถูกร้องในข้อหาล้มล้าง การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพราะผมเองเป็นคนที่เกิดในชนบท ไม่คิดเลยจะได้เติบโตมาเป็นประธานรัฐสภาหนึ่งในประมุขอำนาจอธิปไตย ผมโตทางการเมืองด้วยระบอบการปกครองนี้ เป็นพระมหากรุณาธิคุณที่สุดในชีวิตผมที่ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ดำรงตำแหน่งทางการเมืองถึง5ครั้ง เป็นไปไม่ได้เลยที่จะคิดล้มล้างการปกครอง จึงเป็นประจักษ์พยานที่ผมศรัทธาในระบอบประชาธิปไตย ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญสบายใจว่าสิ่งที่ผมถูกกล่าวหามันเป็นเรื่องที่รับไม่ได้ จริงๆ ยิ่งจะให้กระทำเป็นไปไม่ได้เข้าไปใหญ่

การเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญและข้อบังคับรัฐสภา ทุกขั้นตอน การบรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ได้อยู่ดีๆบรรจุเข้ามาเพราะต้องให้ข้าราชการ กลั่นกรองและเสนอมาที่ผมโดยต้องไม่ขัดข้อบังคับ ถ้าทุกอย่างถูกต้องตามกฎหมายต้องบรรจุระเบียบวาระภายใน 20 วัน ผมมีหน้าที่แค่ดำเนินการให้การประชุมรัฐสภาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาเท่านั้น ส่วนอื่นผมไม่ได้ก้าวล่วงแค่ทำให้การประชุมดำเนินการต่อไปได้

สิ่งหนึ่งถ้าศาลรัฐธรรมนูญได้ติดตามการประชุมจะเห็นว่าผมได้อะลุ่มอล่วย ไม่ได้เร่งรัดตามที่มีการกล่าวหา ไม่เคยกำหนดเวลาประชุม จะประชุมทุกวันแบบไม่หยุดเลยก็ได้ ตั้งแต่มีรัฐสภามาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีเนื้อหา 7 หน้ากระดาษเอ4แต่ใช้เวลาพิจารณา 15 วัน 15 คืน ดังนั้น ที่บอกว่ารวบรัดจึงกล่าวหาขัดกับความเป็นจริง
 
ส่วนประเด็นที่ติดใจ คือ มาตรา 291/13 ที่ให้อำนาจประธานรัฐสภาวินิจฉัยว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เข้าข่ายล้มล้าง การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือไม่ เรื่องนี้ต้องเรียนว่าผมไม่ได้กำหนดให้อำนาจผมเอง รัฐสภากำหนดให้ผมและผมก็ไม่อยากจะได้ สมาชิกรัฐสภาหลายคนทักท้วงว่าจะเชื่อใจประธานรัฐสภาได้อย่างไรหรืออาจไปซู เอี๋ยกับสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ส่งไปประชามติ แม้แต่ท่าประธานศาลรัฐธรรมนูญก็ห่วง
ผมถึงได้พูดกับสมาชิกรัฐสภาว่าผมจะ ใช้ดุลยพินิจด้วยการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อใช้ดุลยพินิจแทนผม คณะกรรมการ คือ ข้าราชการรัฐสภา แต่พอผ่านมาจนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญรอลงวาระ 3 มีหลายคนเป็นห่วง เพื่อให้เกิดความสบายใจแก่ทุกฝ่ายรวมศาลรัฐธรรมนูญด้วย ทำให้ต้องเปลี่ยนรูปแบบคณะกรรมการว่าไม่ควรใช้ข้าราชการรัฐสภาเพราะจะมองว่า ผมสั่งได้ แต่จะใช้ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่เป็นกลางมาพิจารณาแทน
 
ใน ฐานะประธานรัฐสภาเชื่อว่าคงมีเกียรติพอที่จะพิจารณาผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็น กลางจริงๆ เช่น อาจใช้คณบดีคณะนิติศาสตร์ทุกมหาวิทยาลัย หรือการเสนอชื่อบุคคลเข้ามา ถ้ามีการร้องเรียนเข้ามาว่ามีใครไม่มีความเป็นกกลางก็ตัดชื่อออก เมื่อได้คณะกรรมการแล้วตัดสินอย่างไรผมก็ว่าตามนั้นเพื่อให้เป็นไปตามครรลอง ครองธรรม
 
ใช่สิผมเป็นสส.พรรคเพื่อไทยจะไว้วางใจอย่างไร แต่จะให้ผมทำอย่างไรเมื่อรัฐธรรมนูญกำหนดมาอย่างนั้น แต่ประธานรัฐสภามีเกียรติมีศักดิ์ศรีไม่ใช่อยู่พรรคไหนจะมาสั่งกันได้ ที่ผ่านมาผมถูกกล่าวหาเรื่องความไม่เป็นกลางเพราะใช้ดุลยพินิจไม่ได้ดั่งใจ ใคร แต่ไม่เคยบอกว่าผมไม่เป็นกลางอย่างไรบอกเพียงว่าผมรับใบสั่ง ผมจะเอาเกียรติของฝ่ายนิติบัญญัติเพื่อไปเอาเปรียบทางการเมืองในรัฐสภา เรื่องเล็กๆน้อยๆทำไม

ในทางกลับกันในเรื่องสำคัญอย่างลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 3 พรรคเพื่อไทยทั้งพรรคมีความเห็นอยากให้ลงวาระ 3 เสื้อแดงก็ชัดเจน คณะกรรมการยุทธศาสตร์ของพรรคก็ให้ลงวาระ 3 มีผมหนึ่งเดียวที่ไม่เห็นด้วย... กล่าวหาผมรับคำสั่งจากคนทางไกลแต่ทำไมวาระ 3 ผมยืดออกไปก่อนตามความเห็นของผู้นำฝ่ายค้าน (อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) อย่างนี้หมายถึงผมรับคำสั่งผู้นำฝ่ายค้านใช่หรือไม่
 
(จากนั้นศาลรัฐธรรมนูญอนุญาตให้ผู้ร้องได้ซักถาม)
 
พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม สว.สรรหา : ทราบว่าประธานรัฐสภารับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมา 3ฉบับและมีร่างแก้ไขของภาคประชาชนอีก 2 ฉบับอยากถามว่าร่างของประชาชนหายไปไหน
 
สมศักดิ์ : เข้าใจว่าในประเด็นนี้ศาลรัฐธรรมนูญให้ตกไปแล้วใช่หรือไม่
 
พล.อ.สมเจตน์ : เหตุที่เลื่อนร่างแก้ไขของภาคประชาชนออกไปเพราะใช้เวลาตรวจสอบรายชื่อจนต้องประนีประนอมให้ถอนร่างแก้ไขออกไป
 
สมศักดิ์ : เรื่องนี้ผมให้ความสำคัญเป็นพิเศษที่ไม่รอเพราะวันที่พิจารณาร่างแก้ไขรัฐ ธรรมนูญได้หารือเพราะพบว่ามีอยู่ในระหว่างการตรวจสอบ จึงได้หารือกับนพ.เหวง โตจิราการ ซึ่งก็ไม่ได้ติดใจอะไร
 
พล.อ.สมเจตน์ : ระบอบประชาธิปไตยให้ถือว่าประชาชนเป็นใหญ่ ดังนั้น ควรมีการพิจารณาร่างแก้ไขของภาคประชาชนด้วยถ้าไม่มีอะไรเคลือบแฝง แต่กลับบรรจุระเบียบวาระการประชุมรัฐสภาโดยขัดกับรัฐธรรมนูญมาตรา 291 และดำเนินการต่อไปจนหมดวาระ 2 

สมศักดิ์ : ประเด็นนี้เป็นการถามซ้ำเพราะในบันทึกที่ทำถึงศาลรัฐธรรมนูญมีรายละเอียดแล้ว และยืนยันว่าทำทุกอย่างถูกต้อง
 
พล.อ.สมเจตน์ :
วันสองวันที่ผ่านมามีคลิปเสียงของประธานรัฐสภา เป็นเสียงจริงหรือไม่เพราะมีความเชื่อมโยงถึงที่มาที่ไปของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ: ควรถามให้อยู่ในประเด็นตามคำร้อง

พล.อ.สมเจตน์ : ถ้าศาลไม่อนุญาตให้ถามจะไม่เห็นการเชื่อมโยงถึงการได้อำนาจโดยมิชอบ เพราะจะเกี่ยวข้องในกรณีที่ประธานรัฐสภาวางตัวไม่เป็นกลางผ่านการประชุมกับ คนทางไกลที่หนีโทษอาญาแผ่นดินและการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อ ไทย
 
สมศักดิ์ : ผู้ร้องทำคำร้องผมว่าจะไปล้มล้างประชาธิปไตยด้วยการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ใหม่ ส่วนคลิปเสียงเป็นเหตุการณ์ข้างนอกหลังจากวาระ 2 ผ่านไปแล้วไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญในรัฐสภา ถ้าเอาเรื่องนี้มาสอบถามจะเสียเวลาของศาลรัฐธรรมนูญ...ที่ผมไม่ตอบเพราะนอก ประเด็นไม่ใช่ไม่อยากตอบแต่ผมได้ตอบกับสื่อมวลชนไปแล้ว

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ : ศาลมีความเห็นแล้วว่าไม่ให้ถามประเด็นนี้...การจะหักล้างในประเด็นนี้ขอให้ ทำเป็นคำแถลงการณ์มายังศาลแทน เพราะถามไปประธานรัฐสภาก็คงไม่ตอบ
 
พล.อ.สมเจตน์ : ได้รับความเห็นผู้ตรวจการแผ่นดินและแจ้งให้ที่ประชุมรัฐสภาหรือไม่ในประเด็น ที่มีความเป็นห่วงเกี่ยวกับการให้อำนาจประธานรัฐสภาวินิจฉัยร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ว่าล้มล้างการปกครองหรือไม่ แทนที่จะให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้พิจารณา
 
สมศักดิ์:  ผมได้แจ้งให้สมาชิกรัฐสภาทราบถึงความเห็นผู้ตรวจ
 
พล.อ.สมเจตน์ : เมื่อร่างแก้ไขมอบให้ประธานรัฐสภาวินิจฉัยเรื่องดังกล่าวและประธานรัฐสภาเอง ก็มีความต้องการจะตั้งคณะกรรมการมาใช้ดุลยพินิจทำไมไม่เสนอเนื้อหาไปในร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญ
 
สมศักดิ์:  ผมไม่มีส่วนเกี่ยวข้องที่จะกำหนดให้อำนาจตัวเอง เมื่อรัฐสภาให้อำนาจผมก็ต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย แต่ผมจะใช้ดุลยพินิจอย่างไรก็เป็นเรื่องของผม
 
พล.อ.สมเจตน์: ทำไมร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมีเพียง 7 หน้าแต่กลับใช้เวลานานถึง 15 วัน และเป็นการแก้ไขมาตราเดียวเพื่อล้มทั้งฉบับ
 
สมศักดิ์: การไปกล่าวเรื่องล้มล้างการปกครองเป็นเรื่องของการจินตนาการมากกว่า

(สุวัฒน์ อภัยภักดิ์ ตัวแทนวันธงชัย ชำนาญกิจ หนึ่งในผู้ร้อง ดำเนินการซักถาม)
สุวัฒน์: สมัยรัฐบาลคุณสมัคร สุนทรเวช ได้มีความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญถูกหรือไม่
 
สมศักดิ์ :ตอนหาเสียงก็มีการหาเสียงเรื่องนี้
สุวัฒน์: ครั้งนั้นไม่สำเร็จเพราะประชาชนคัดค้านใช่หรือไม่
สมศักดิ์ : ผมขอเข้าประเด็นเลยได้มั้ยว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้าข่ายล้มล้างการปกครองหรือไม่มากว่า
สุวัฒน์: เมื่อคุณสมครัแก้ไขไม่ได้จึงเป็นที่มาของการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้
สมศักดิ์: ท่านคิดไปเองหรือไม่
สุวัฒน์: ผมไม่ได้คิดไปเอง การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ล้วนมีประเด็นมาแต่ในอดีตตั้งแต่รัฐบาลไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติว่าเป็นตัวแทนเชิดของไทยรักไทย มาจนถึงพรรคเพื่อไทย ดังนั้น ความพยายามการแก้ไขรัฐธรรมนูญจึงมีความเชื่อมโยงกัน
 
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ: ขอให้ตัวแทนผู้ร้องเอาเฉพาะประเด็นในปัจจุบัน

สมศักดิ์: ตอนไปหาเสียงก็ใช้เรื่องนี้ขอให้ถามเฉพาะการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่อยากให้ถามเลยเถิด
สุวัฒน์: ได้รับคำสั่งพ.ต.ท.ทักษิณ หรือไม่
สมศักดิ์: เป็นจินตนาการ
สุวัฒน์: เคยคุยโทรศัพท์คุยโทรศัพท์กับพ.ต.ท.ทักษิณหรือไม่
สมศักดิ์: คุยครับ
สุวัฒน์: รู้มั้ยว่าเป็นนักโทษคดีอาญา
สมศักดิ์ : ขอให้ถามเข้าประเด็น
สุวัฒน์: การบอกว่าอุ้มเผือกร้อนแทนคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี คืออะไร
สมศักดิ์ : เรื่องคลิปเสียงศาลไม่อนุญาตให้ถาม
 
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ: ขอร้องคุณสุวัฒน์ย่าไปพาดพิงบุคคลอื่น เมื่อท่านถามแล้วพยานจะตอบหรือไม่คนถามก็ได้ประจานบุคคลแล้วและมีเอกสารมาที่ศาลหมดแล้ว

สุวัฒน์: ในมาตรา 122 ตามรัฐธรรมนูญตัวประธานรัฐสภามีหน้าที่เป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยและต้องทำหน้าทีโดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์

สมศักดิ์ : ถูกต้อง
สุวัฒน์: แต่วันนี้ท่านประธานรัฐสภากำลังฉีกรัฐธรรมนูญ
สมศักดิ์: คำว่าฉีกเป็นคำพูดของท่านแต่นี้เป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ

(วิรัตน์ กัลยาศิริ สส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ เริ่มซักถาม)
วิรัตน์ : ถ้ามีสส.สว.หรือคณะรัฐมนตรีเสนอกฎหมายให้ยกเลิกหรือล้มรัฐธรรมนูญมาที่ประธานรัฐสภา จะบรรจุวาระหรือไม่

สมศักดิ์: เรื่องนี้ยังไม่มีใครเสนอ ถ้าเสนอโดยชอบด้วยกฎหมายผมก็บรรจุอยู่แล้ว แต่คำว่าล้มล้างคืออะไร แต่ถ้าเข้าข่ายล้มล้างการปกครองก็ไม่บรรจุอยู่แล้ว

วิรัตน์ : การเบิกของประธานรัฐสภามีการใช้คำว่าสส.เพื่อไทยและเสื้อแดงทั้งหมดบีบให้บรรจุวาระลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 3

สมศักดิ์:  ความเห็นต่างเป็นสีสันประชาธิปไตยแต่ต้องหาข้อสรุปร่วมกัน...ไม่มีใครเร่งรัด ความเห็นเป็นสิทธิของแต่ละบุคคล

(วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ขอใช้สิทธิสอบถามประธานรัฐสภา)

วสันต์: ตามร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่รอลงมติวาระ 3 ในมาตรา 291/11 วรรค 5 ระบุ ว่าร่างรัฐธรรมนูญที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขหมวดพระมหากษัตริย์จะกระทำมิได้ อันนี้หมายความว่าหมวดว่าด้วยพระมหากษัตริย์จะให้ลอกของปี 2550 ใช่หรือไม่

สมศักดิ์: ควรเป็นอย่างนั้น

วสันต์ : ถ้าเขาร่างให้ผิดเพี้ยนไปจากกลุ่มนี้และอยู่ในอำนาจท่านคนเดียวท่านได้ตอบไปแล้วว่าจะมีทีมงานพิจารณา
สมศักดิ์: เอาสรุปง่ายๆดังนี้เลยครับว่าหมวด 2 ไปแตะไม่ได้เลย

วสันต์: พระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ไม่ได้มีอยู่ในหมวด 2 ที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์มีอยู่กระจายทั่วๆไป พระราชอำนาจในการที่จะทรงยับยั้งร่างกฎหมายชั่วครั้งชั่วคราว พระราชอำนาจในการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งบุคคล สิ่งเหล่านั้นถ้ามีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงจะถือหรือไม่ว่านี่คือหมวดพระมหา กษัตริย์เช่นเดียวกัน

สมศักดิ์ : ประเด็นนี้เป็นเรื่องละเอียดครับ เพราะฉะนั้นทางออกควรให้ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นกลางมาช่วยพิจารณาน่าจะเป็น ประโยชน์…ความเห็นของผมหลักในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ มีหลักสำคัญ 3 ประการ 3 สถาบัน นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ซึ่งตรงนี้ไม่น่าไปแตะต้องเลย ส่วนประเด็นอื่นๆน่าจะพิจารณาตามความเหมาะสม

วสันต์ : เช่น ถ้ามีการแก้ไขในหมวดพระมหากษัตริย์ ไปตัดพระราชอำนาจในการอภัยโทษ พระราชอำนาจในการยับยั้งกฎหมายได้ชั่วครั้งชั่วคราว

สมศักดิ์ : ถ้ากรณีอย่างนี้ถือว่าเข้าข่าย
วสันต์: ถือว่าเข้าข่ายเช่นเดียวกันนะครับถือเป็นการแตะต้องในหมวดพระมหากษัตริย์เช่นเดียวกัน
สมศักดิ์: ครับ


สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : เปิดคำชี้แจง ขุนค้อน แก้ทุกข้อหา ล้มล้างประชาธิปไตย

view