สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

อปท.หนี้พุ่งเหตุขาดการตรวจสอบ

จาก โพสต์ทูเดย์

จุฬาฯเปิดผลวิจัยพบอปท.สร้างหนี้เพียบ ขาดการประมาณการรายรับ-รายจ่าย สร้างโครงการตามอำเภอใจ

วันที่ 23 ส.ค. ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์ส่งเสริมนวัตกรรมและธรรมาภิบาลท้องถิ่น ได้จัดการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถอดรหัสการก่อหนี้ขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น (อปท.) กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำก่ำ จ.นครพนม โดยมีนายวีระศักดิ์ เครือเทพ และนายจรัส สุวรรณมาลา อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอข้อมูล และมีตัวแทนหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น

นายวีระศักดิ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันอปท.ทั่วประเทศประสบปัญหาหนี้สินจำนวนมาก โดยไม่มีการเก็บข้อมูลโดยหน่วยงานรัฐ รวมถึงไม่มีการรายงานข้อมูลมายังส่วนกลาง ทำให้รัฐบาลไม่มีข้อมูลของการจัดการหนี้สินในองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้จากข้อมูลล่าสุดที่เก็บได้ในปีงบประมาณ 2552 พบว่า แยกเป็น เทศบาลตำบลมีหนี้ 96.7 ล้านบาท เทศบาลเมืองมีหนี้ 20.5 ล้านบาท และเทศบาลนครเฉลี่ยมีหนี้ระยะยาวกว่า 80.8 ล้านบาท

“มีตัวอย่างที่อบต.น้ำก่ำ อ.ธาตุพนม จ.นครพนม ที่ได้ตัดสินใจกู้เงินเมื่อปี 2548 เพื่อนำไปลงทุนในโครงการต่าง ๆ ภายในอปท.โดยที่นายอำเภอ และธนาคารกรุงไทยต่างก็อนุมัติเงินกู้จำนวน 14 ล้าน แม้ว่าจะไม่มีระเบียบในการให้อบต.กู้เงินลักษณะนี้ก็ตาม ซึ่งในเวลาต่อมา เกิดปัญหาขึ้น เนื่องจากเงินงบประมาณดังกล่าว ไม่ได้ใช้ในลักษณะการลงทุน หรือใช้ในโครงการตามที่ระบุไว้ในเอกสารขอกู้เงินก่อนหน้านี้ แต่กลับใช้เพื่อการหาเสียงในช่วงปีสุดท้ายก่อนเลือกตั้งเท่านั้น ซึ่งในเวลาต่อมาผู้บริหารอบต.น้ำก่ำเปลี่ยนชุด ทำให้เกิดภาระผูกพัก เป็นหนี้สินพร้อมดอกเบี้ยรวมกันกว่า 22 ล้านบาท ซึ่งในขณะนี้ก็ยังไม่ได้ข้อยุติ” นายวีระศักดิ์กล่าว

ทั้งนี้ นายวีระศักดิ์ได้เสนอให้มีระบบตรวจสอบด้านธรรมาภิบาลเพิ่มขึ้น และให้กรมส่งเสริมการปกรครองส่วนท้องถิ่นเข้ามาเป็นพี่เลี้ยงอปท. ขณะเดียวกันก็ควรเสริมสร้างอำนาจประชาชนให้เข้มแข็งเพื่อตรวจสอบการใช้เงิน ซึ่งจะช่วยให้ท้องถิ่น มีธรรมาภิบาลในการกู้เงินเพื่อไปใช้ในโครงการที่มีประโยชน์ต่อประชาชนเท่า นั้น

ขณะที่นายพิสิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน รักษาราชการแทนผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน กล่าวว่า รูปแบบการกู้เงินเพื่อนำไปลงทุนในโครงการที่ไม่ได้ประโยชน์ หรือนำไปหาเสียงนั้นเกิดขึ้นทั่วประเทศ เช่น กู้ไปทำโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งศาลาป่าช้า ใช้เครื่องบินไร้คนขับตรวจมลพิษ หรือทำรถไฟฟ้าโมโนเรลเป็นต้น ซึ่งส่วนหนึ่ง เป็นเพราะว่านักการเมืองใช้อำนาจเข้าไปแทรกแซงภายในอบต. หรือในทุกอปท. ทำให้การเบิกจ่ายเงินใช้ประโยชน์เพื่อรักษาฐานเสียงหรือขยายฐานเสียง โดยแต่ละโครงการใช้จำนวนเงินมหาศาล และไม่สามารถประเมินผลตอบรับได้ โดยที่ผ่านมาทุกอปท.ชี้แจงว่าเป็นองค์กรอิสระ ทำให้กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นตรวจสอบได้ จึงเกิดช่องว่างในการตรวจสอบอยู่

ขณะที่นายสกนธ์ วรัญญูวัฒนา อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า เครื่องมือ ระบบงบประมาณ ระบบบัญชี การรายงานผล ตั้งแต่ปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอด 15 ปีที่ผ่านมาล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ตั้งแต่การกำหนดนโยบาย หรือการกำกับส่งเสริม ทำให้อปท.อยู่นอกเหนือการตรวจสอบจากทุกหน่วยงาน วิธีแก้ปัญหาจึงควรรายงานกลับสู่ประชาชนในท้องถิ่น ให้รู้สึกว่าเป็นภาระของตนเอง เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ ขณะเดียวกัน ก็ควรมองไปถึงขั้นตอนที่ระบุให้ผู้ว่าราชการจังหวัด (ผวจ.) เป็นคนอนุมัติเงินของอปท.ในจำนวนไม่เกิน 50 ล้านบาท แต่วันนี้ผวจ.ซึ่งทำหน้าที่กำกับเข้าใจปัญหา วินัยการเงินการคลังจริงหรือไม่ หากไม่เข้าใจจริง ระบบทุกอย่างก็เป็นเหมือนเดิม


สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : อปท.หนี้พุ่ง เหตุขาดการตรวจสอบ

view