สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

โต้งแจงสภาใช้งบ2ล้านล้านพัฒนาชาติ

จาก โพสต์ทูเดย์

"โต้ง"แจงที่ประชุมวุฒิฯ ตั้งเป้าใช้งบประมาณ2ล้านล้านพัฒนาชาติ ย้ำนโยบายไม่ใช่ประชานิยม แต่เป็นการให้โอกาส-รายได้

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง กล่าวชี้แจงระหว่างการประชุมวุฒิสภาเพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณพ.ศ.2556 วงเงิน 2.4ล้านล้านบาทว่า รัฐบาลมีความตั้งใจบริหารงบประมาณด้วยความระมัดระวัง การขาดดุลงบประมาณจำนวน 4 แสนล้านบาทเมื่อปีที่ผ่านมาเป็นความจำเป็นของรัฐบาลชุดนี้ที่ต้องดำเนินการ ต่อเนื่องมาจากการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลในอดีต ทั้งนี้รัฐบาลมีความตั้งใจที่จะลดการขาดดุลตั้งแต่ปีก่อนแต่พบว่ามีรายการ ต้องชดเชยเงินคงคลัง 5.4หมื่นล้านบาท จึงมีความจำเป็นต้องตั้งงบประมาณขาดดุลต่อไป

"พอมาในปีงบประมาณ 2556 รัฐบาลจึงได้ตั้งใจจัดงบประมาณขาดดุลเหลือเพียง 3 แสนล้านบาทถือว่าเป็นก้าวสำคัญทำให้สัดส่วนการขาดดุลงบประมาณต่อจีดีพีต่ำ กว่า 3 % ซึ่งรัฐบาลตั้งใจบริหารงบประมาณให้ลดการขาดดุลลงเรื่อยๆตามลำดับ" นายกิตติรัตน์ กล่าว

นายกิตติรัตน์ กล่าวว่า รัฐบาลมีความจำเป็นต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานหลังจากประเทศไทยไม่ได้ ดำเนินการในส่วนนี้มากว่า1ทศวรรษปีแล้วส่งผลให้โครงข่ายการคมนาคมของประเทศ มีความจำกัดทำให้ต้นทุนการขนส่งสูงขึ้นโดยไม่จำเป็น โดยแนวทางการลงทุนของรัฐบาลเป็นลักษณะระยะยาว 7 ปีเม็ดเงินระหว่าง 1.6 -2 ล้านล้านบาทเฉลี่ยปีละ 3 แสนล้านบาท ไม่ได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่ให้ตรวจสอบผ่านระบบงบประมาณหรือก่อหนี้แต่อย่าง ใด ซึ่งถ้าสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีความเห็นว่ารัฐบาลจำเป็นต้องลงทุนในระยะ ยาวก็คงต้องมีการปรึกษาอีกครั้ง

"ร่างพ.ร.บ.งบประมาณพ.ศ.2556 มีลักษณะที่ทำให้มองข้อมูลการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระยะยาวไม่ชัดเพราะการ พิจารณางบประมาณจะเป็นลักษณะปีต่อปี การพิจารณาก็จะมองเห็นเพียงแค่ค่าใช้จ่ายในแต่ละปี อย่างไรก็ตาม ร่างพ.ร.บ.การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องเสนอผ่านสภาผู้แทนราษฎรนั้นจะมี การนำเสนอให้ครบถ้วนตั้งแต่บาทแรกจนบาทสุดท้ายของแต่ละโครงการ ไม่เพียงเท่านี้เมื่อมีการเสนอโครงการแล้วใช่ว่าจะไปดำเนินการลงทุนได้เลย เหมือนกับเป็นการเขียนเช็คเปล่าโดยรัฐสภามอบให้รัฐบาล เพราะทุกโครงการต้องผ่านการพิจารณาของสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรวม ทั้งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม"นายกิตติรัตน์ กล่าว

รมว.คลังยังชี้แจงถึงการตั้งกองทุนต่างๆของรัฐบาลว่า กองทุนโดยส่วนใหญ่เป็นกองทุนหมุนเวียน การก่อตั้งกองทุนในปีแรกๆจำเป็นต้องใช้เม็ดเงินลงทุนจำนวนสูง แต่เมื่อดำเนินการไปแล้วก็ไม่มีความจำเป็นต้องตั้งงบประมาณไปเสริมในกองทุน เหล่านั้นมากนักเพียงแต่บริหารจัดการงบประมาณเท่านั้น

"การปราบปรามการทุจริตรัฐบาลให้ความสำคัญจริงๆและได้เห็นภาวะเรื้อรัง มาระยะเวลาหนึ่ง รัฐบาลไมได้ละเลย โดยรัฐบาลได้กำหนดเป็นมติคณะรัฐมนตรีมอบหมายให้หัวหน้าส่วนราชการอย่างน้อย ระดับรองปลัดกระทรวงทำหน้าที่เป็นหัวหน้าติดตามการบริหารในกระทรวงให้มีความ ถูกต้องควบคู่ไปกับการทำหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ (ป.ป.ช.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) และภาคประชาชน เป็นที่ทราบกันดีว่าการทุจริตนั้นจะเกิดขึ้นได้ยากหากมีแต่เพียงนักการเมือง โดยที่ไม่มีข้าราชการและภาคเอกชนเข้าไปร่วมด้วย ดังนั้น ต้องช่วยกันทุกฝ่ายเพื่อให้ประเทศมีความโปร่งใส" นายกิตติรัตน์ กล่าว

นายกิตติรัตน์ กล่าวว่า สำหรับการลดอัตราการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือ 23 %จาก30% รัฐบาลคิดว่าเป็นประโยชน์และเป็นผลชักชวนให้กลุ่มผู้ที่อยู่ในฐานะเสียภาษี ได้เห็นว่าอัตราภาษีที่เหมาะสมได้เกิดขึ้นแล้ว เมื่อเราลดภาษีลงมาเหลือ 23%ก่อนลดลงมาเหลือ 20% จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆในอาเซียนที่มีความเข้มแข็ง ในทางเศรษฐกิจ

รมว.คลัง กล่าวอีกว่า การลดการจัดเก็บภาษีให้เหลือ 17%จะเป็นไปได้หรือไม่นั้นรัฐบาลต้องประเมินผลอีกครั้งก่อนว่าอัตราภาษีที่ ลดลงสามารถทำให้เกิดการขยายฐานภาษีได้มากน้อยหรือไม่อย่างไร ความจริงอัตรา 17%เป็นตัวเลขที่น่าสนใจเพราะมีประเทศในอาเซียนเก็บในอัตราดังกล่าวอยู่โดย เราคิดว่ามีความเป็นไปได้ที่ประเทศเหล่านั้นจะลดลงการจัดเก็บให้ต่ำกว่า 17%

"ยืนยันการลดภาษีไม่ได้มีความตั้งใจเอื้อประโยชน์ให้นายทุนหรือผู้ประกอบ การ แต่ความจริงบริษัทเหล่านั้น คือ ผู้จ้างงาน ซึ่งมีต้นทุนต่างๆที่ต้องดำเนินการ และต้นทุนส่วนสำคัญที่รัฐบาลต้องการขอให้เขาให้ความร่วมมือ คือ การเพิ่มอัตราค่าแรงให้กับบุคลากรในประเทศไทย หากประชาชนที่ทำงานอยู่ในองค์กรขนาดไหนก็ตามหากมีรายได้สูงขึ้นก็ยิ่งทำให้ เป็นผู้บริโภคที่มีคุณภาพได้มากขึ้น ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เก็บได้แม้จะคงที่ 7%เหมือนเดิมแต่จะช่วยให้ขยายฐานการจัดเก็บได้เพิ่มขึ้น" นายกิตติรัตน์กล่าว

นายกิติรัตน์ กล่าวว่า ส่วนนโยบายรถคันแรกรัฐบาลไม่ดำเนินการโดยใช้รูปแบบประชานิยม แต่คิดว่ามีความจำเป็นหลังจากประชาชนเริ่มมีครอบครัวและมีบุตรหลายคนซึ่ง ต้องซ้อนรถจักรยานยนต์ลักษณะ ซ้อนสามคนหรือซ้อนสี่คน ถ้าคนกลุ่มนั้นสามารถมีรถขนาดย่อมๆได้โดยที่ได้รับความปลอดภัยที่ดีขึ้น นโยบายนี้ก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิต

"ผลงานของรัฐบาลหากมองเป็นชิ้นๆส่วนๆก็ดูเหมือนจะเอาใจคนกลุ่มนั้นกลุ่ม นี้ลักษณะประชานิยม แต่รัฐบาลไม่ได้มีโครงการใดเลยที่เป็นการเอาเงินไปใส่มือให้กับประชาชน ไม่ได้ออกเช็คใส่มือประชาชนเพื่อเขากลับมาเป็นผู้ซื้อสินค้า ในกลับกันรัฐบาลมีความประสงค์ที่ต้องการเพิ่มรายได้และโอกาสให้กับประชาชน" นายกิตติรัตน์ กล่าว


สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : โต้งแจงสภา ใช้งบ2ล้านล้าน พัฒนาชาติ

view