สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

มาตรการลดความเสี่ยง มือถือ

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ คิดนอกกรอบ

ความจริงที่ทุกคนปฏิเสธไม่ได้ คือการสื่อสารโทรคมนาคม โดยเฉพาะโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือมือถือ กลายเป็นปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นในทุกส่วนของสังคม และแม้ว่าคลื่นที่ใช้กับมือถือเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง ตามประกาศองค์การอนามัยโลก แต่เราคงจะเก็บเครื่องใส่ลิ้นชัก แล้วกลับไปใช้โทรศัพท์พื้นฐานแบบมีสายอย่างเดียวไม่ได้ เพราะโทรศัพท์พื้นฐานไม่สามารถติดตามเราไปได้ทุกที่มือถือจึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะในยามมีเหตุฉุกเฉิน

ประเด็นจึงอยู่ที่ว่า เราจะอยู่ร่วมกับมือถือและใช้ประโยชน์อย่างสมเหตุสมผล โดยก่อความเสี่ยงต่อสุขภาพให้น้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้อย่างไร หากเรามีความเข้าใจถึงที่มาและเหตุผลที่อิงบนพื้นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ย่อมจะช่วยสร้างความมั่นใจและนำปฏิบัติต่อไป แต่ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจถึงที่มาของความเสี่ยงจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ในย่านความถี่วิทยุ (เรียกสั้น ๆ ว่า คลื่นวิทยุ หรือ radio-fiequncy, RF) ซึ่งใช้ในมือถือ

ราวสองทศวรรษที่ผ่านมา วงการวิทยาศาสตร์เชื่อว่า "คลื่น" หรือ "รังสี" (radiation) แม่เหล็กไฟฟ้าในย่านความถี่ต่ำกว่าคลื่นแสง มีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตได้ เฉพาะในรูปของความร้อน (thermal หรือ heat effects) เท่านั้น เช่น หากรับคลื่น/รังสีมากไป คือแรงไป หรือนานไป อาจเกิดอาการวิงเวียน หน้ามืด เป็นลม หรือแม้กระทั่งผิวหนังไหม้ หนัก ๆ ถึงกับเนื้อสุก เช่น ในเตาไมโครเวฟ (คลื่นไมโครเวฟอยู่ในย่านความถี่เดียวกับมือถือ)

 

ที่สำคัญ การรับความร้อนที่ไม่สูงมาก แต่ในระยะเวลานาน สามารถให้ผลลัพธ์เหมือนกับการรับความร้อนสูงมากในเวลาเพียงช่วงสั้น ๆ ปรากฏการณ์นี้ทางวิชาการเรียกว่า dose-related หรือผลแห่งการสะสม ด้วยความเชื่อที่ว่าคลื่นความถี่ต่ำกว่าแสงอย่างคลื่นวิทยุ มีผลกระทบทางความร้อนเท่านั้น โดยไม่เกิดกระบวนการแตกตัวออกเป็นอิออนในสสารเหมือนคลื่นในย่านความถี่สูง มาก ๆ เช่น x-ray หรือรังสีปรมาณู คลื่นความถี่ต่ำกว่าแสง จึงเรียกกันว่า nonionizing radiation และองค์กรที่กำหนดเกณฑ์ปลอดภัยอ้างอิงก็คือ International Commission for Non-ionization Radiation Protection หรือ ICNIRP ทั้งนี้ เกณฑ์ที่นานาประเทศใช้กันตามข้อแนะนำโดย ICNIRP จึงมีพื้นฐานเพียงป้องกันไม่ให้เกิดความร้อนต่อเนื้อเยื่อของมนุษย์มากเกิน จนกระทบต่อสุขภาพได้

ต่อมาเมื่ออุปกรณ์และค่าบริการใช้มือถือถูกลง ทำให้นิยมใช้กันมากขึ้นและใช้เป็นระยะเวลานานมากขึ้น กอปรกับได้ปรากฏว่ามีผู้เจ็บป่วยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยที่แพทย์ไม่สามารถวินิจฉัยถึงสาเหตุได้ ทำให้แพทย์และนักวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งเชื่อว่าเป็นผลสะสมจากการใช้มือถือ

เนื่อง จากพบผู้ป่วยเป็นมะเร็งในสมองข้างเดียวกันกับที่มักจะใช้มือถือเพิ่มสูงขึ้น จากปกติ ทั้ง ๆ ที่คลื่นก็มิได้แรงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (นี่คงเป็นเหตุผลที่ทำให้การทำตลาดมือถือ 2 W อันดังระเบิดในอดีตต้องหายตายจากวงการไป) แพทย์และนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งเชื่อว่า คลื่นย่าน nonionizing แม้ในความเข้มไม่สูง แท้จริงแล้วมีผลทางชีววิทยา เพราะในทางการแพทย์มีการใช้คลื่นความเข้มต่ำ ๆ

ในย่านนี้ทำการบำบัด โรคอยู่แล้ว ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า คลื่นวิทยุ แม้ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ หากสะสมเป็นเวลานาน ก็จะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวขึ้นได้

กระนั้นก็ ตาม ยังมีนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากที่คงยืนยันในแนวคิดว่ามีผลกระทบเชิงความร้อน เท่านั้น จึงเป็นต้นเหตุสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้บรรดานักวิทยาศาสตร์ยังมีความเห็นไม่ ตรงกันว่าคลื่นวิทยุทำให้เกิดมะเร็ง แสงและคลื่นวิทยุต่างเป็นแม่เหล็กไฟฟ้าเหมือนกัน แต่แสงมีความถี่สูงกว่า แสงและคลื่นวิทยุจึงมีคุณสมบัติทางธรรมชาติเหมือน ๆ กัน เช่น ทำให้เกิดความร้อน ยิ่งแรงยิ่งรู้สึกร้อนอย่างรวดเร็ว แต่มีสิ่งหนึ่งที่ต่างกัน คือเราไม่สามารถมองเห็นคลื่น แต่สามารถมองเห็นแสง เหตุผลไม่ใช่เกิดจากความแตกต่างในคุณสมบัติทางธรรมชาติ หากแต่เกิดจากตาของมนุษย์จะตอบสนองต่อสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเฉพาะแต่ในย่านความ ถี่แสงเท่านั้น

และนั่นเป็นเหตุผลที่สัตว์จำนวนมากสามารถมองเห็นใน ความ "มืด" ที่มนุษย์มองไม่เห็น คุณสมบัติสำคัญประการหนึ่งของแสงและคลื่นมือถือ คือหากเรายิ่งมีระยะห่างจากแหล่งกำเนิดพลังคลื่น คลื่นที่รับจะลดอ่อนลงในอัตรา "ยกกำลังสอง" หมายความว่า หากห่างจากแหล่งกำเนิดออกไปเพิ่มมากขึ้นสองเท่าตัว พลังงานคลื่นจะลดน้อยลง ไม่ใช่เหลือเพียงกึ่งหนึ่ง หากแต่น้อยลงถึงสี่เท่าตัว หรือเหลือเพียงร้อยละ 25 เท่านั้น ถ้ายิ่งห่างเป็น 10 เท่า ก็จะยิ่งลดเหลือเพียงร้อยละ 1 เท่านั้น

ด้วยเหตุผลข้างต้น จึงเป็นที่มาของมาตรการต่าง ๆ กล่าวคือ ไม่ควรใช้มือถือบ่อย หรือใช้ครั้งละนาน ๆ เวลาพูดคุยมือถือไม่ควรแนบติดศีรษะ แต่ควรถือห่างสัก 2 ซม. หรือควรใช้สายหูฟัง หรือใช้เปิดเสียง

นอกจากนี้ ไม่ควรพกมือถือที่เปิดไว้แนบติดส่วนใดของร่างกาย หรือวางใต้หมอนเวลานาน ทั้งนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการสะสมผลกระทบที่เกิดขึ้นตลอดเวลาที่เครื่องเปิดไว้โดยไม่ จำเป็น ในขณะที่ไม่มีการใช้นั่นเอง ไม่ควรใช้ขณะนั่งอยู่ในรถยนต์ เพราะว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ของรถยนต์เป็นโลหะที่คลื่นทะลุผ่านไม่ได้ สัญญาณระหว่างมือถือและสถานีฐานจึงถูกลดทอนลงอย่างมาก

บางประเทศใน โลกให้ความสำคัญแก่ประเด็นนี้เป็นอย่างมาก ทั้งประกาศแนะนำ ทั้งรณรงค์ต่อผู้ปกครองให้ดูแลบุตรหลาน ทั้งถึงกับออกกฎหมายจำกัดการใช้

ประการ แรก เมื่อเทียบกับผู้ใหญ่ หัวกะโหลกของเด็กจะเล็กกว่า และความหนาจะน้อยกว่า อีกทั้งภายในยังมีของเหลวที่เป็นสื่อคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในปริมาณมากกว่า ทั้งสามปัจจัยนี้ส่งผลให้คลื่น

ในปริมาณเดียวกัน และมีระยะห่างจากศีรษะเท่า ๆ กัน สามารถทะลุผ่านเข้าสมองเด็กได้ลึกกว่า และครอบคลุมพื้นที่ในสมองมากกว่า เมื่อเทียบกับผู้ใหญ่

ประการที่ สอง การที่เด็กยังโตไม่เต็มที่ อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายยังมีการขยายตัวเติบโตจากการแบ่งตัวของเซลล์อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น หากเซลล์ตัวใดเกิดความผิดปกติขึ้น จะด้วยสาเหตุใดก็ตาม การแบ่งเซลล์ตัวนี้ก็จะสร้างเซลล์ที่ไม่ปกติขึ้นตามมาเป็นลูกโซ่ ทำให้อวัยวะส่วนนั้น ๆ เกิดความผิดปกติขึ้นในที่สุด

ด้วยเหตุผลดัง กล่าว หากมีความเป็นไปได้ที่คลื่นวิทยุเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งแล้ว ดังที่องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้อยู่ในกลุ่ม 2B เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2011 จึงย่อมมีโอกาสสูงที่เซลล์ในส่วนสมองของเด็กจะผิดปกติขึ้นได้มากกว่า เมื่อเทียบกับผู้ใหญ่ อีกทั้งเด็กยังคงมีการสร้างเซลล์ใหม่ ๆ ทั้งตัวที่เป็นปกติและที่กลายพันธุ์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จึงหมายถึง ความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งสมองในกลุ่มเด็ก ย่อมจะสูงกว่าผู้ใหญ่มาก แม้มีการใช้มือถือเท่า ๆ กันความเสี่ยงโดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก  หาใช่เป็นสิ่งที่ "คิดไปเอง" ไม่ หากแต่มีสถิติและงานวิจัยทางระบาดวิทยามากพอสมควร ยืนยันสมมติฐานนี้ เช่น ผลงานวิจัยทางระบาดวิทยาในประเทศสวีเดน ปี 1999 นำโดย น.พ.ดร.ฮาร์เดล ศาสตราจารย์ทางเนื้องอกและระบาดวิทยา เนื่องจากสวีเดนเป็นประเทศมีประวัติการใช้มือถือที่ยาวนานที่สุดในโลก

น.พ.ฮา ร์เดลพบว่า ผู้ซึ่งมีประวัติการใช้มือถือนานเกินกว่า 10 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดเนื้องอกสมอง โดยเฉพาะกลุ่มเยาว์วัยเป็นกลุ่มที่พบความเสี่ยงสูงที่สุด สูงกว่าอัตราเฉลี่ยโดยรวมร้อยละ 420 และสูงถึงร้อยละ 680 ในกรณีที่ผู้ใช้มือถือเครื่องทางศีรษะข้างเดียวกันเป็นประจำ

ขณะ เดียวกัน สำนักงานสถิติในสหราชอาณาจักร เปิดเผยว่า จำนวนผู้เป็นเนื้องอกสมองได้พุ่งสูงขึ้นร้อยละ 50 ในช่วง 10 ปี ระหว่างปี 1999 ถึง 2009 เพิ่มอัตราจากสองรายเป็นสามรายต่อประชากร 100,000 คน ส่วนในประเทศออสเตรเลีย มะเร็งสมองคือสาเหตุหลักของการตายด้วยโรคมะเร็งในกลุ่มเด็่กอายุต่ำกว่า 10 ปี ในสัดส่วนทุก ๆ หนึ่งในสามรายที่เสียชีวิตเพราะมะเร็ง

ด้วยสถิติ อันน่าเป็นห่วงนี้ ความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งสมองในเด็กจึงกลายเป็นหัวข้อสำคัญในการประชุม วิชาการทางวิทยาศาสตร์ในหัวข้อ "เด็กที่ป่วยเป็นมะเร็ง (The Children with Cancer Conference)" ในกรุงลอนดอน ระหว่างเดือนเมษายน 2012

สิ่งที่ น่าคิดยิ่งก็คือ ในเมื่อการเกิดเนื้องอก ไม่ว่าที่ส่วนไหนของร่างกาย กว่าจะกลายเป็นมะเร็ง มักใช้เวลา 15-20 ปี เป็นอย่างน้อย แล้วเหตุใดในปัจจุบัน เด็กอายุไม่ถึง 10 ปี จึงเป็นมะเร็งกันมากถึงขนาดนี้ จะไปโทษว่าเกิดจากกรรมพันธุ์เพียงแค่นั้น คงไม่ได้ เพราะไม่น่าจะทำให้เกิดในวัยเยาว์ และในแนวโน้มที่พุ่งสูงขนาดนี้ จึงหนีไม่พ้นที่ต้องมีปัจจัยอื่นมากระตุ้น ซึ่งก็คือการใช้มือถือนั่นเอง เช่นนั้น

ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่ควรศึกษาวิเคราะห์ถึงจำนวนและแนวโน้มมะเร็งสมองในวัยเด็ก และควรให้ข้อมูลความรู้ อีกทั้งรณรงค์ ไม่ว่ามาตรการใด ๆ อันเอื้อต่อการลด หรือป้องกันความเสี่ยงต่ออนาคตของชาติ ชนิดที่เกินกว่าจะคาดคิด


สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : มาตรการลดความเสี่ยง มือถือ

view