สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

จิตแพทย์ชี้ คิดบวกเกินไปก็มีปัญหาได้

จากประชาชาติธุรกิจ

"ใครที่ไม่เจอเรื่องเครียดถือว่าผิดปกติ" นายแพทย์อภิชาติ จริยาวิลาศ จิตแพทย์ชำนาญการประจำ ร.พ.ศรีธัญญา และจิตแพทย์ที่ปรึกษา ร.พ.บำรุงราษฎร์และ ร.พ.เวชธานี เกริ่นให้ฟังก่อนจะคุยเรื่องสุขภาพจิตของคนไทย เพื่อชี้ให้เห็นถึงสาเหตุและหนทางเยียวยา ซึ่งผู้ใกล้ชิดสามารถช่วยได้

"มนุษย์ ทุกคนต่างมีปัญหาที่ต้องคิดหาทางแก้ให้ดีขึ้น นี่ต่างหากเป็นเรื่องปกติ" จิตแพทย์ผู้ชำนาญการสรุปและอธิบายเพิ่มเติมว่า ทุกคนไม่ว่าจะร่ำรวยเป็นมหาศาล หรือยากจนข้นแค้นเพียงใดก็มีความเครียดและปัญหาด้วยกันทั้งนั้น

คน มีเงินก็มีปัญหาในแบบคนมีเงิน คนไม่มีเงินก็มีปัญหาในแบบคนไม่มีเงิน เพราะทุกคนทุกอาชีพต่างมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน คือ ความเศร้า ความทุกข์ และความสุข แต่ต่างกันเพียงแค่ตัวเลขเงินในบัญชีเท่านั้น

 


คุณหมอ ยกตัวอย่างคนไข้ที่เป็นมหาเศรษฐีหลายหมื่นล้าน แต่ต้องมาปรึกษาจิตแพทย์ นั่นย่อมแสดงว่าวัตถุที่เขามี ไม่อาจทำให้เขามีความสุขได้ เช่นเดียวกับดาราบางคนที่มาปรึกษา เพราะเกิดข่าวคราวที่ไม่ดีกระทบต่อภาพลักษณ์ของเขา ซึ่งมันส่งผลกับงานที่เขาทำย่อมเกิดความเครียดเป็นเรื่องปกติ ดังนั้นการช่วยแก้ไขความเครียดในแต่ละคนก็ต่างกัน ยกตัวอย่าง คนทำงานที่เดียวกัน สายงานเดียวกัน แต่ชีวิตไม่เหมือนกัน มุมมองและทัศนคติก็ต่างกัน บางคนอาจจะมีความสุข แต่อีกคนอาจจะทุกข์แสนสาหัสก็เป็นได้

หน้าที่ของจิตแพทย์ คือ ต้องค่อย ๆ ดูและแก้ปัญหาว่าอะไรคือสาเหตุ ฟังสิ่งที่เขาเล่า เพื่อหาทางแก้ไขตามรายละเอียด จากปากผู้ป่วย ซึ่งเรื่องที่ผู้ป่วยเล่า หมอจะไม่มีทางรู้ได้เลยว่าเป็นเรื่องจริงกี่เปอร์เซ็นต์ แต่เราสามารถรู้ได้ว่า

มุมมองของเขาต่อเรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างไร ติดลบแค่ไหน บางทีเราไม่จำเป็นต้องรู้ว่าเรื่องจริงเป็นยังไง หรือเร่งปรับความคิดให้เขาเป็นบวกเลยในทันที เพราะมันไกลเกินความจริงที่จะทำได้ แต่เราต้องปรับเปลี่ยนจากความคิดติดลบให้ลบน้อยลง หากความคิดลบน้อยลงเขาก็จะมีความสุขมากขึ้น

การที่จิตแพทย์เปิดใจ รับฟังคนไข้จะทำให้รู้ว่าเขามีความคิดบวกหรือคิดลบยังไง เพราะจิตแพทย์ไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์ที่จะไปชี้ว่ามุมมองความคิดของเขาถูกหรือ ผิด แต่หน้าที่หมอคือดูว่า จิตใจเขาเป็นอย่างไร และจะหาทางช่วยยังไงมากกว่า

"จริงอยู่ที่ว่าคนคิดบวกโอกาสที่จะเป็นโรคด้านสุขภาพจิตน้อยกว่าคน ที่คิดลบ แต่ก็ไม่ใช่ว่าคนที่คิดบวกเต็มที่จะปลอดภัย เพราะถ้าตะบี้ตะบันบวกไปเรื่อย ๆ ก็จะมีปัญหาได้เช่นเดียวกัน เช่น ถ้า คนคิดบวกมองทุกอย่างโลกสวยหมด คนผู้นั้นก็จะมองข้ามความรู้สึกของคนอื่นไป เขาก็จะมองว่าทุกอย่างดีไปหมด ไม่ใช่ปัญหา ไม่มีอะไร ในขณะที่คนคนนั้นกำลังทุกข์ หากคิดบวกกันหมดจะไม่มีทางรู้ว่า เพื่อนอีกคนกำลังเครียดและมีปัญหา โดยที่กลุ่มเพื่อนคิดบวกส่วนใหญ่จะไม่รู้ ไม่ใส่ใจเห็นอกเห็นใจเขาเต็มที่เพราะคิดบวกมากเกินไป บางครั้งความคิดบวกนี้อาจจะไม่ได้ตรงกับชีวิตจริง เพราะคิดบวกเกินไปก็มีปัญหาได้"

เนื่อง จากคนทุกชาติ ทุกภาษา ต่างก็มีทั้งอารมณ์ชอบและไม่ชอบ มีอารมณ์โกรธและเสียใจเหมือนกัน ดังนั้นจึงไม่มีอะไรที่สีดำร้อยเปอร์เซ็นต์ หรือขาวหมด ต้องมีทั้งดำและขาว ซึ่งอาจจะมีหลายเฉดที่กลายเป็นสีเทาก็ได้ นั่นเพราะว่า การกระทำของคนคนหนึ่ง มีผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของอีกคน ยกตัวอย่าง ลูกเกลียดแม่ไม่ชอบพ่อ อาจจะเพราะสิ่งที่ลูกประสบมาทำให้เขารู้สึกแบบนั้น เช่น ตอนเด็ก ๆ เขาอาจจะถูกพ่อข่มขืน ทำให้เขาโกรธและเกลียดพ่อตลอดชีวิต และให้อภัยตอนที่พ่อตายแล้ว

"ดังนั้นทุก ปัญหาที่เกิดจากความเครียด หมอจะไม่แนะนำให้เขาปลง เพราะมันปลงไม่ได้ แต่จะบอกเขาว่า จะอยู่กับมันยังไงให้ได้ อยู่กับความจริงให้เดินหน้าต่อไปได้ ต้องทำให้เขายอมรับสภาพความเป็นเหยื่อให้ได้ ให้รู้จักการปกป้องตัวเองในอนาคต เพื่อให้เขาเป็นคนมีสุขภาพจิตแข็งแรง เพราะเราไม่สามารถทำให้เขาลืมได้ หากจะทำให้เขาลืมได้ก็ต่อเมื่อสมองเสื่อม แต่ความเครียดความโกรธเกลียดชังมันก็จะอยู่กับเขาต่อไป หน้าที่หมอก็คือ ต้องดูว่าเขาจะอยู่อย่างไรถึงจะให้อภัยตัวเองได้ และอภัยให้คนที่เขาโกรธและเกลียดได้"

จิตแพทย์ชำนาญการประจำ ร.พ.ศรีธัญญา ชี้ให้เห็นว่า สังคมไทยได้เปรียบฝรั่งเพราะให้อภัยกันมากกว่า บางทีสังคมไทยไม่มีเหตุผลจะอธิบาย ก็ยกเอาเหตุผลว่า มันอาจจะเป็นกรรมเก่า เราเคยทำไม่ดีกับเขา ก็ช่วยให้เราปล่อยวางได้มากขึ้น แต่ปัญหาที่คนไทยประสบอยู่ในปัจจุบันไม่ใช่ว่าให้อภัยกันน้อยลง แต่เราจะเอาชนะกันมากขึ้น

"การให้อภัยคนไทยมีแนวโน้มให้อภัยสูง แต่การจะเอาชนะกันมันหนักข้อขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ใช่เรื่องว่าใครผิดใครถูก เพราะเราเลี้ยงดูกันมาตั้งแต่เด็ก เลี้ยงดูให้เกิดการแข่งขัน แย่งกันเข้ามหาวิทยาลัย แย่งกันทำงาน แย่งลูกค้ากัน แย่งตำแหน่งกัน แข่งเลี้ยงลูกกัน แย่งสามีกัน แข่งขันกันจนไปถึงวัยเกษียณว่าใครจะเออร์ลี่ก่อนกัน ขนาดจะรำไทเก๊กยังแย่งที่ยืน"

นายแพทย์อภิชาติอธิบายต่อว่า การ ให้อภัยกันของสังคมไทยปลูกฝังมาดี แต่บางทีต้องปลูกฝังว่า "ไม่ต้องเอาชนะกันทุกเรื่องก็ได้" แต่เรื่องนี้ถูกปลูกฝังมานานแล้วโดยที่ไม่มีใครพูดถึง ซึ่งการพยายามเอาชนะกันไม่ได้หมายความว่า ใครผิด ใครถูก แต่การเอาชนะ คือ การอยากจะได้ในสิ่งที่เราอยากได้

สังคมที่เต็มไปด้วยการแข่งขันและแย่งชิง ย่อมหาความสงบและสุขได้ยาก


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : จิตแพทย์ คิดบวกเกินไป มีปัญหาได้

view