สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

สัมภาษณ์พิเศษ: ไม่ขุดก๊าซทับซ้อนเขมร

สัมภาษณ์พิเศษ: ไม่ขุดก๊าซทับซ้อนเขมร

จาก โพสต์ทูเดย์

ไม่มีหรอกครับเรื่องผลประโยชน์ของท่านทักษิณ ด้านพลังงานยิ่งในแถบประเทศเพื่อนบ้านยิ่งไม่มีใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศพม่า

โดย...วิษณุ นุ่นทอง,ชุษณ์วัฏ ตันวานิช      

พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล

เป็นหนึ่งในสมาชิกบ้านเลขที่ 111 ที่ผงาดขึ้นเป็นเจ้ากระทรวงในการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) "ปู3"แต่ชื่อ"เฮียเพ้ง" พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงานป้ายแดง อดีตเสนาบดีหลายกระทรวงทั้งพาณิชย์ อุตสาหกรรม ยันคมนาคม กลับถูกจับตามองมากกว่าใคร เพราะหลายฝ่ายฟันธง "เขา" ถูกส่งตรงจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายใหญ่พรรคเพื่อไทยให้มาคุมขุมพลังงานที่เต็มไปด้วยผลประโยชน์ทางธุรกิจ มหาศาล
         
"ท่านทักษิณไม่เคยสั่ง แม้กระทั่งนายกฯ ยิ่งลักษณ์ก็ไม่เคย" เฮียเพ้งปฏิเสธเสียงดังฟังชัดหลัง"โพสต์ทูเดย์" ถามถึงกระแสข่าว พ.ต.ท.ทักษิณ มีใบสั่งล็อกที่นั่งในคาบิเนตให้ดูแลพลังงาน โดยเฉพาะผลประโยชน์ของก๊าซธรรมชาติบนพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่าง ไทย-กัมพูชา
         
พงษ์ศักดิ์ ให้เหตุผลว่า พลังงานหรือก๊าซในอ่าวไทยอยู่ในเขตแดนที่ยังเป็นปัญหาและมีกรณีพิพาทไม่จบ สิ้น ยืนยันว่า พ.ต.ท.ทักษิณ และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรนายกรัฐมนตรี เองไม่เคยสั่งให้ไปจัดการเรื่องนี้เพราะเป็นหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงกลาโหมที่ต้องดูแลเขตแดนทั้งหมด ทางกระทรวงพลังงานไม่สามารถเข้าไปยุ่งเกี่ยวและตัดสินใจเรื่องนี้ได้ และต้องรอการตัดสินใจทางสภาความมั่นคงแห่งชาติด้วยว่าจะดำเนินการเรื่องนี้ ต่อไปอย่างไร
         
"ก๊าซขาดแคลนที่อ่าวไทย เราได้เตรียมการแก้ปัญหาโดยไปซื้อก๊าซจากประเทศอื่นมาสำรองเพื่อให้คนไทยมี พลังงานใช้อย่างมั่นคง แต่ถ้าจะไปขุดเจาะก๊าซระหว่างเขตแดนไทย-เขมรนั้นยังไม่มีอยู่ในความคิด และก็ยังไม่คิดจะไปเจรจากับใครด้วย" เฮียเพ้งยืนยันหนักแน่น
         
ถาม ถึงแนวโน้มความร่วมมือหากกระทรวงการต่างประเทศสามารถหาข้อตกลงได้สำเร็จ "เฮียเพ้ง"แย้งว่ายังเป็นไปไม่ได้ในช่วงเวลานี้ เพราะกระทรวงการต่างประเทศจะดำเนินการได้ต้องรอให้สถานการณ์ระหว่างประเทศ ถึงจุดปรองดองที่สุดก่อนเป็นอันดับแรก ปัจจัยหลักในการตัดสินใจเรื่องนี้เจ้าตัวย้ำว่าความเข้าใจของประชาชนระหว่าง ประเทศเป็นเรื่องสำคัญที่สุด
         
ภาพ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ควบ 2 สถานะทั้งผู้ก่อตั้งพรรคไทยรักไทยอันเป็นจุดกำเนิดของพรรคเพื่อไทยและสถานะ พี่บังเกิดเกล้าของนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ยังเป็นเงาทาบทับการบริหารงานของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าบารมีของนายใหญ่แผ่ซ่านทุกสารทิศทุกครั้งที่มีการปรับ ครม. รวมถึงเก้าอี้กระทรวงพลังงานที่หลายฝ่ายจับตามอง กรณีนี้เฮียเพ้งอัพเดตความสัมพันธ์กับอดีตนายกรัฐมนตรีว่า 5 ปีที่ถูกตัดสิทธิทางการเมืองได้เดินทางไปพบ พ.ต.ท.ทักษิณบ่อยครั้ง ตามประสาคนเคยรักเคยผูกพันสมัยทำงานการเมืองตั้งแต่ยุคก่อตั้งพรรคไทยรักไทย
         
"ผม มีหลายสถานะ สถานะหนึ่งคือลูกน้องท่าน อีกสถานะหนึ่งท่านยกย่องให้ผมเป็นเพื่อนในยามที่ท่านทุกข์ยากต้องอยู่เมือง นอก ผมก็ไปเยี่ยมเยียนพูดคุยเพื่อให้ท่านมีความสุข เวลาว่างผมมักจะไปเสมอ เพราะเห็นท่านยังเป็นเจ้านายเป็นลูกพี่ ผมไม่ปิดบังหรอกตอนที่ทหารใน ศอฉ. (ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน) เรียกผมไปถามเมื่อปี2553 ผมก็ยืนยันชัดแล้วถามกลับไปว่า ความซื่อสัตย์ความกตัญญูของผมมีความผิดหรือ เพราะผมไม่ได้ทำอะไรที่เลวร้าย"
         
"บางทีไปตีกอล์ฟ หรือสังสรรค์ด้วย 2-3 วันกลับบางครั้ง 1 อาทิตย์กลับ หรือบางทีเดินทางไปเพื่อเป็นเพื่อนท่านเดินทางไปประเทศโน้นเที่ยวประเทศนี้ แต่เรื่องไปทำธุรกิจไม่เคยทำร่วมกันผมจะไปทำร่วมกับท่านได้อย่างไร เพราะสถานะของหุ้นส่วน คือ ต้องมีเงินมากมายใกล้เคียงกัน แต่ของผมมีธุรกิจของตัวเองแค่เล็กๆ เท่านั้น (หัวเราะ)"
         
แม้ สายสัมพันธ์จะเหนียวแน่นขนาดไหน "เฮียเพ้ง" ยังยืนยันว่า ที่มาของเก้าอี้รัฐมนตรีนั้น นายกฯยิ่งลักษณ์พิจารณาความสามารถจากการทำงานในอดีตตั้งแต่บริหารงานพรรคไทย รักไทย และอยู่หลังม่านคอยวิเคราะห์การเมืองให้กับพรรคพลังประชาชนและเพื่อไทยอยู่ ตลอดแต่หากจะถามว่าได้ไปวิ่งเต้นต่อรองตำแหน่งรัฐมนตรีโดยอ้างว่าเป็นคนใกล้ ชิดหรือไม่นั้น "เฮียเพ้ง" ปฏิเสธเสียงแข็ง "ผมไม่เคยทำ"
         
"ผม คิดว่าไม่ใช่เพราะความสัมพันธ์ส่วนตัว เพราะผมเองไม่เคยเสาะถาม ไม่เคยพูดคุยเรื่องตำแหน่งที่ผมจะได้รับหรือไม่ได้รับ ผมบอกไปแล้วว่าไม่จำเป็นต้องตั้งไปเป็นรัฐมนตรี ผมอยู่ช่วยเหลือในพรรคตรงไหนก็ได้ เต็มใจทำให้อยู่แล้ว ผมจะได้มีเวลาท่องเที่ยวมากขึ้น เดินทางมากขึ้น เพราะว่ารุ่นน้องที่ทำงานก็เก่งกันทั้งนั้น ช่วงเวลาที่หยุดไป 4-5 ปี สมาธิเราได้นิ่ง สมองเราก็นิ่ง เรารู้สึกว่าชีวิตความเป็นอยู่แบบนี้ค่อนข้างจะสบายพอสมควร เพราะฉะนั้นความหวังที่จะไปวิ่งเต้นต่อรองเพื่อที่จะให้เขาเห็นใจว่าเป็นคน ใกล้ชิดนั้นไม่ใช่ไม่มีส่วนนั้นเลยครับ"
         
ถามว่า มีชื่อนั่งกระทรวงพลังงานตั้งแต่แรกหรือไม่?รัฐมนตรีรุ่นใหญ่ยอมรับว่า ตอนแรกในใจคิดว่าเป็นแค่รองนายกรัฐมนตรีเพียงตำแหน่งเดียว แต่นายกฯ ยิ่งลักษณ์มอบหมายงานกระทรวงพลังงาน เพราะเห็นว่าเรื่องพลังงานในส่วนที่เป็นนโยบายต้องทำการแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยนายกฯ ยังกำชับว่าให้ดูแลผู้ที่มีรายได้น้อยว่าจะต้องช่วยเหลืออุดหนุนอย่างไร แต่ขณะเดียวกันกองทุนพลังงานต้องบริหารจัดการอย่างไรไม่ให้ขาดทุนระยะยาว ด้วย
         
"ถ้าพูดจริงๆ แล้ว ผมชอบกระทรวงศึกษาธิการมากที่สุด เพราะโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝันที่ผมคิดขึ้นมา ปัจจุบันยังยืนยงคงกระพัน และเด็กนักเรียนที่อยู่ในโครงการนี้ก็มีการพัฒนาการมากขึ้นอย่างที่ผมยังคาด ไม่ถึง แม้กระทั่งระบบครูอาจารย์ที่สอนก็ดีขึ้นเยอะ การมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่กับโรงเรียนมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น"
        
 "ช่วงที่มีการปรับ ครม.มีการพูดกันเยอะอยากให้ผมเป็น รมว.ศึกษาธิการ หลายคนก็สนับสนุน แต่ผมต้องห้าม เพราะการจะได้เป็น
         
รัฐมนตรี หรือไม่มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวผม แต่ขึ้นอยู่กับนายกฯ ก็ขอร้องไปว่าอย่าทำอย่างนั้นมัน ไม่เหมาะสม เพราะจะเป็นการเรียกม็อบมา (หัวเราะ) ทุกคนรักและเห็นใจก็หยุดไป" เฮียเพ้งเล่าพลางยิ้มอารมณ์ดี
         
อดีต รัฐมนตรี3กระทรวง ยังแสดงวิสัยทัศน์ในฐานะผู้ควบคุมทิศทางพลังงานของประเทศว่าโจทย์ของกระทรวง พลังงานที่ต้องเร่งแก้ คือปัญหาการควบคุมพลังงานในภาคต่างๆ เช่นภาคครัวเรือน ภาคการขนส่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ข้อตกลงของการเป็นภาคีร่วมจะทำให้ราคาทั้งพืชผลภาคเกษตรกรรมและภาค อุตสาหกรรมเข้าสู่ระบบเสรีในตลาดเออีซีพลังงานเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะเป็นต้นทุนการ
         
ผลิตและการขนส่งที่ทำให้ราคาสินค้า เท่ากัน แต่ปัจจุบันราคาพลังงานของประเทศไทยแตกต่างกว่าประเทศเพื่อนบ้านเนื่องจาก ประเทศไทยอุดหนุนทุกภาคส่วน การจะปรับเปลี่ยนการอุดหนุนทุกภาคส่วนมาเป็นการอุดหนุนเฉพาะส่วน เช่นอุดหนุนเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อยจะทำอย่างไรขณะเดียวกันพวกภาคส่วนที่ไม่ อุดหนุนจะต้องออกมาตรการอย่างไร เป็นโจทย์ที่ค่อนข้างยาก
         
เมื่อพูดถึงเออีซีหลายฝ่ายจับตามองธุรกิจพลังงานในประเทศพม่าและบทบาทของ พ.ต.ท.ทักษิณ พงษ์ศักดิ์รีบชี้แจงทันที "ไม่ มีหรอกครับเรื่องผลประโยชน์ของท่านทักษิณด้านพลังงานยิ่งในแถบประเทศเพื่อน บ้านยิ่งไม่มีใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศพม่า ปตท.สผ.(บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม) ได้สัมปทานขุดเจาะก่อนตั้งนานแล้ว ประมูลเรียบร้อยแล้วกำลังขุดเจาะอยู่ การเจรจาไม่ใช่เพิ่งทำในปีนี้ มันทำมาตั้งแต่หลายปีก่อนหน้านี้แล้วและก็นำก๊าซขึ้นมาขาย แต่ขุดเจาะผลเป็นอย่างไรก็ไม่มีใครทราบ เพราะเขาเป็นองค์กรที่มีอิสระในการทำงาน กระทรวงพลังงานมีหน้าที่เพียงแต่กำกับดูแลเท่านั้น"
         

"เพราะ ฉะนั้นผลประโยชน์ในพม่าเรื่องก๊าซธรรมชาติหรือน้ำมันก็ไม่มี กัมพูชาก็ไม่มีอยู่แล้วส่วนในมาเลเซียนั้นเรื่องพื้นที่พัฒนาร่วมไทย มาเลเซีย (จีดีเอ) ก็จบไปตั้งนานแล้ว ตอนนี้ยุคทองในการหาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในประเทศเพื่อนบ้านมันหมดลงแล้ว เดี๋ยวนี้เราต้องไปหาไกลออกไปในทะเลลึก ในทะเลที่ปั่นป่วนในสภาพอากาศที่ยากลำบาก เพราะฉะนั้นต้นทุนของก๊าซ น้ำมันในอนาคตมีแต่แพงขึ้น ไม่มีของถูกๆ มาให้เราหาใกล้ๆ เพราะฉะนั้นอดีตนายกฯ ทักษิณเองจะมาสั่งให้มาหาก๊าซบริเวณนี้ก็ไม่ได้ เขาขุดเจาะกันไปหมดแล้วเพราะฉะนั้นไม่มีหรอกครับที่ท่านจะมาสั่ง เป็นการคาดเดาทั้งนั้น"
         

กาวใจสลายก๊ก 

แรงกระเพื่อมหลังการการปรับ ครม.ครั้งล่าสุดผุดทั้งคลื่นใต้น้ำและคลื่นผิวน้ำหลายระลอก เพราะหลายกลุ่ม ก๊ก ในพรรคเพื่อไทยไม่พอใจการสลับตำแหน่งที่ผูกขาดอำนาจการตัดสินใจที่กลุ่ม บุคคลเดียวมากเกินไป หลายเหตุการณ์ที่สร้างแรงสะเทือนในพรรคที่ผ่านมาไม่ว่าจะยุคนี้หรือยุคไหน สส.แกนนำพรรคหลายคนมองว่า “เฮียเพ้ง” คือ มือวางอันดับ 1 คอยประสานรอยร้าวระหว่าง “นายใหญ่” กับคนในพรรคได้ดีที่สุด

“ตัวตนของผมเป็นคนที่นิยมการปรองดอง ผมอยู่กับคน 2 ความคิดมาตลอด หมายความว่า คน 2 ฝั่งคิดแตกต่างกันต่างก็ปรึกษาผม เพราะผมเป็นคนเก็บความลับไม่เคยเอาเรื่องเล่าของคนฝั่งหนึ่งไปทำลายคนอีก ฝั่งหนึ่ง ดังนั้นคนจะชอบมาปรึกษา ผมก็จะรู้ว่าคนฝั่งหนึ่งคิดอย่างไร คนอีกฝั่งคิดอย่างไร เมื่อมีความขัดแย้ง เราจะหาทางดึงเส้นทางความขัดแย้งไปให้สู่ความสงบให้ได้มากที่สุด”

 

“ความคิดของแต่ละคนอาจจะขัดแย้งกันเพราะความเข้าใจผิด เข้าใจคลาดเคลื่อน หรือเข้าใจกันถูกต้องแต่ผิดเจตนา แต่อย่างน้อยเรามองเห็นความดีจุดหนึ่งของแต่ละคน แล้วก็เอาความดีเหล่านั้นให้ทุกฝ่ายมองเห็นว่าทุกคนก็มีความดีอยู่ ความผิดพลาดที่ผ่านมาอาจจะเกิดขึ้นด้วยอารมณ์ชั่ววูบหรือความคิดที่ถูกบิด เบือนโดยคนข้างเคียง พอเกิดความขัดแย้งกันแล้วรีบไปตัดสินใจเลยทำให้บานปลาย แต่ถ้ามีคนกลางที่คอยเชื่อมได้ จากที่เคยขัดแย้งกันมันก็สงบลง”

ได้เข้าไปเคลียร์รอยร้าวระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณกับนายเสนาะ เทียนทองหรือไม่ หลังหลานชาย (ฐานิสร์ เทียนทอง) ถูกโยกไปเป็น รมช.อุตสหกรรม? เฮียเพ้งคิดชั่วครู่ก่อนตอบว่า “ผมคิดว่าคงไม่น้อยใจ ไม่เห็นท่าน (เสนาะ) โทรมาบ่นหรือต่อว่าอะไร เพราะว่าการปรับ ครม.เป็นอำนาจและสิทธิของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ท่านนายกฯ คงดูจากการปฏิบัติงาน แล้วส่วนหนึ่งคงเห็นว่ากระทรวงอุตสาหกรรมมีความสำคัญและเหมาะสมที่จะให้ไป ดูแลแก้ไขปัญหา

แล้ว จตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำคนเสื้อแดงได้ปรึกษาหารือด้วยหรือไม่หลังไม่ได้รับตำแหน่ง? “อัน นี้ผมไม่ทราบ เพราะข้อตกลงการได้ตำแหน่ง ไม่ได้ตำแหน่ง ไม่ได้อยู่ที่ผม แล้วจตุพรเขาก็ไม่เคยเล่าอะไรให้ฟัง ไม่เคยบ่นให้ฟังว่าไม่ได้รับตำแหน่งเพราะอะไร ปกติก็สนิทกันเวลาเขาจัดงานวันเกิดก็ชวนไปกินเหล้า บางทีวันเกิดผมเขาก็มาเยี่ยม แต่ไม่ได้เจอกันบ่อย ทานข้าวกันบ้างปีละสองสามครั้ง แต่ว่าผมก็ดูว่าเขาเป็นคนที่จริงใจกับคน แล้วเขาก็คงมองว่าผมเป็นคนที่พูดอะไรตรงไปตรงมา”

มือประสานรอยร้าวในเพื่อไทยยังย้ำจุดยืนในพรรคว่า “ผมไม่ได้เป็นคนที่มี สส.ในสังกัด แต่ขณะเดียวกันก็มีความสัมพันธ์กับ สส.ทุกภาคส่วนของประเทศ หลายคนมีความเกรงอกเกรงใจกันในฐานะเพื่อนผู้น้อย เพื่อนผู้พี่ หรือเพื่อนรุ่นเดียวกัน เพราะผมเคยเป็นผู้อำนวยการพรรคตั้งแต่พรรคไทยรักไทยเริ่มก่อตั้งและเริ่มคัด สรร สส.เข้ามา ความสัมพันธ์เหล่านี้ล้วนมีความลึกซึ้งและทุกคนให้ความเคารพเนื่องจากผมไม่ เคยไปล่วงละเมิดใคร คอยให้ความช่วยเหลือ แต่ไม่เคยสร้างคนเหล่านั้นให้เป็นลูกน้อง ผมถือว่าเขาเป็นเพื่อนร่วมงานคนหนึ่ง เพราะฉะนั้นการสร้างกลุ่มมันอยู่นอกแนวคิดของผม ระบบพรรคมันควรจะทำงานกันอย่างมีระบบและเป็นที่ยอมรับซึ่งกันและกัน

รู้สูตรการปรองดองในพรรค แล้วการปรองดองในประเทศมีสูตรอย่างไร? เฮียเพ้งชี้ว่า “ต้องรอให้ทุกฝ่ายมีความใจเย็นลง แต่ผมสังเกตช่วงหลังจากมีการสอบสวนคดีขึ้นสู่ศาลทุกคนเริ่มใจเย็นลงแล้ว ถ้าเวลาทอดไปอีก ความคิดในการปรองดองน่าจะเกิดขึ้นจริง เมื่อคนเริ่มใจเย็นลง การเริ่มพูดจาหาเหตุผลมาถกกันมันจะง่ายขึ้น การปรองดองที่เราหวังไว้จะทำให้ประเทศชาติเดินหน้าและเติบโตเร็วขึ้น

“ผมก็พร้อมถ้าทุกฝ่ายบอกว่าให้ผมเป็นคนเจรจา แต่ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องพูดกันอย่างเปิดอก ตรงไปตรงมา ผมเองใครเปิดอกคุยด้วย ผมก็ไม่เปิดเผยให้ฝ่ายตรงข้ามรู้ว่าแต่ละฝ่ายคิดอะไร เพียงแต่จะจับจุดให้มันตรงกันได้อย่างไร เพื่อให้มันจบลงเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ”

แต่ผลสุดท้ายต้องมีฝ่ายได้และฝ่ายเสียประโยชน์ เฮียเพ้งแย้งขึ้นมาว่า “การปรองดองจะไปมองว่าฝ่ายไหนได้ฝ่ายไหนเสียไม่ได้ จะไปวัดกันไม่ได้ว่าคนหนึ่งบาดแผลยาว อีกคนบาดแผลสั้น มันจะต้องมองว่าผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลักคืออะไรและความสงบจะเกิด ขึ้น ทุกคนต้องยอมรับความเจ็บปวดในสิ่งที่ตัวเองรับมา ความปรองดองก็คือว่า เราต้องลืมอดีตและมองอนาคต

ลืมอดีตที่ว่าหมายถึงการนิรโทษกรรมทุกฝ่าย? “ไม่ใช่หมายถึงการนิรโทษกรรมทุกฝ่าย การลืมอดีตหมายความว่า แต่ละคนต้องลืมอดีตที่ทะเลาะกัน อีกคนบอกมึงชกกู อีกคนบอกมึงแทงกู ถ้ามัวแต่พูดตรงนี้มันไม่ลืมอดีต มันก็คุยอนาคตไม่ได้ เราต้องคุยถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติในอนาคต เวลาทะเลากัน โมโหกัน มันสามารถทำได้ทุกรูปแบบ เพราะฉะนั้นสิ่งที่มันไม่ควรเกิดมันก็เกิด ดังนั้นเราต้องมองอนาคต และอนาคตนั้นต้องมีเหตุผลที่จะตอบได้ว่าในอดีตที่ทะเลาะกันมันเกิดจากอารมณ์ ดังนั้นอนาคตของประเทศมันสำคัญกว่า เพราะลูกหลานของเราก็กำลังรอเราว่าประเทศเราจะเดินไปอย่างไร”

‘ปู’ เหมือนทักษิณ จำแม่น ทำงานเป็นระบบ

 

ถือเป็นนักการเมืองรุ่นลายครามลงเล่นสนามการเมืองมาร่วม 40 ปี “พงษ์ศักดิ์” กุนซือคนสำคัญตั้งแต่พรรคไทยรักไทยเริ่มเเตกหน่อ และหนึ่งในฝ่ายบริหารของรัฐบาล ตอกย้ำเชื่อมั่นว่ารัฐบาลภายใต้การนำของ “ยิ่งลักษณ์” และรัฐบาลพรรคเพื่อไทยจะนำพารัฐนาวาล่องครบเทอม พร้อมประเมินจุดแข็งของนายกฯ ไว้น่าสนใจ

“ผมสังเกตการทำงานมานาน จุดแข็งจุดหนึ่งที่นายกฯ ยิ่งลักษณ์ มีคล้ายกับพี่ชายของเขา หรืออดีตนายกฯ ทักษิณ คือ ความจำแม่น อันนี้เป็นจุดเด่น เขาจำได้ว่าสั่งการอะไร และจะเฝ้าติดตามตลอด ข้อสอง คือ จากการทำงานในบริษัท เอไอเอส ตั้งแต่เป็นฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ การเงิน รวมทั้งเป็นซีอีโอ เขาสามารถเรียนรู้งานในทุกๆ ด้าน ดังนั้นเมื่อนายกฯ ยิ่งลักษณ์ เข้ามาบริหารรัฐบาล เขาสามารถใช้ความรู้ที่มีอยู่มาจับงานบริหาร สามารถไล่เรียงไล่งานได้อย่างเป็นระบบ”

“หลายคนจะไปดูว่าท่านไม่เข้าใจคงไม่ใช่ เพราะท่านรู้ละเอียดมากกว่าทุกคนที่มาเสนองานมาอีก ความรู้ของคนมันไม่ใช่การสอบไล่ การเรียนรู้ของยิ่งลักษณ์เนื่องจากท่านเป็นนายกรัฐมนตรี ท่านมีคนนำเสนอข้อมูลมาจากที่หลากหลาย เพราะฉะนั้นสักระยะหนึ่งท่านจะรู้มากกว่าทุกๆ คนที่มีอยู่ เพราะข้อมูลท่านได้จากหลายด้าน แล้วท่านเป็นผู้บริหารก็จะนำข้อมูลเหล่านั้นมาตัดสินใจว่าจะเดินทางไหน และจะเดินอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับประเทศ”

ในฐานะบริหารงานรัฐบาลเต็มตัวและใกล้ชิดกับ พ.ต.ท.ทักษิณ มีแนวโน้มจะได้กลับประเทศไทยสูงไหม? “เท่าที่ผมไปพบปะและเยี่ยมเยียนท่านบ่อยๆ ผมดูแล้วท่านคิดถึงแล้วก็มีความอาลัยอาวรณ์เกี่ยวกับประเทศไทย แต่สิ่งที่พบเห็นเด่นชัดคือ ท่านเป็นห่วงคนไทยมาก แล้วก็ไม่เคยคิดทำร้ายประเทศไทยเลย แม้จะมีคนบางกลุ่มทำร้ายท่าน แต่ท่านก็ไม่คิดที่จะทำลายประเทศ ดังนั้นสิ่งที่คิดว่าจะกลับเมืองไทยหรือไม่ ต้องยอมรับว่าท่านคิดตลอด

“แต่ท่านไม่คิดแบบดึงดันว่าจะกลับ แต่คิดว่าหากมีโอกาสท่านก็จะกลับมา ก็ขึ้นอยู่กับคนไทยว่าจะยอมรับและเปิดโอกาสให้ท่านกลับมาหรือไม่เท่านั้นเอง แต่ไม่ได้มีการวางแผนว่าต้องทำวิธีการนั้น ใช้วิธีการนี้เพื่อให้กลับประเทศ เพราะในช่วงหลังมาหลังจากอยู่เมืองนอกประมาณ 56 ปี ท่านเริ่มชินกับต่างประเทศมากขึ้น พบว่าความสุขสบายในต่างประเทศนั้นมีมาก การไปไหนมาไหนก็มีอิสระ แต่ต้องยอมรับว่าคนที่ไกลบ้านเกิดเมืองนอนก็ต้องคิดถึงภรรยา ลูกๆ หรือคิดถึงเพื่อนเป็นธรรมดา”


นพดลยันแม้วไม่มีประโยชน์ทับซ้อนในพม่า

จาก โพสต์ทูเดย์

นพดลยันทักษิณ-ครอบครัวไม่มีผลประโยชน์ธุรกิจที่พม่า แขวะฝ่ายค้าน-เสธ.อ้ายมีมูลจริงพร้อมยกหุ้นทั้งหมดและบริจาคเงิน 10 ล.ให้เด็กปัญญาอ่อน

นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมายพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า กรณีที่นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณเดินทางไปประเทศพม่าเพื่อเจรจาการลงทุนโครงการทวายนั้น เป็นการพูดความเท็จ ใส่ร้ายป้ายสีพ.ต.ท.ทักษิณ

ทั้งนี้ พรรคประชาธิปัตย์พยายามทำให้เห็นว่าการที่พ.ต.ท.ทักษิณ ไปพบเต็ง เส่ง ประธานาธิบดีของพม่า มีประโยชน์ทับซ้อน และขอยืนยันว่าอดีตนายกฯและครอบครัวไม่มีการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านทั้ง ซ้ายทั้งขวา ไม่ว่าจะเป็นโครงการพลังงาน หรือท่าเรือน้ำลึก โดยโครงการดังกล่าว บริษัท อิตาเลียนไทย ได้รับสัมปทาน ซึ่งนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯและรมว.คลัง เป็นประธานในการเจรจากับพม่า

“พ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้ไปลงทุนอะไรยังถูกใส่ร้ายอยู่ตลอด ถ้าไปลงทุนจริงคงตกเป็นขี้ปากของพรรคประชาธิปัตย์ทั้งชีวิต ถ้าพรรคประชาธิปัตย์ หรือเสธ.อ้าย ค้นพบหลักฐานว่าอดีตนายกฯมีการลงทุนใดๆ จะยกหุ้นให้ทั้งหมด พร้อมทั้งบริจาคเงินช่วยเหลือมูลนิธิคนปัญญาอ่อนอีก 10 ล้านบาท ส่วนความเคลื่อนไหวของพ.ต.ท.ทักษิณนั้นขณะนี้ได้เดินทางออกจากสิงคโปร์เพื่อ ไปยังประเทศแถบแอฟริกา” นายนพดลกล่าว


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : สัมภาษณ์พิเศษ ขุดก๊าซ ทับซ้อน เขมร

view