สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ยกฟ้อง ประชัย เสี่ยทีพีไอเช่าตึกตัวเอง 900 ล้าน

ยกฟ้อง “ประชัย” เสี่ยทีพีไอเช่าตึกตัวเอง 900 ล้าน

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

ศาลพิพากษายกฟ้อง “ประชัย” กับพี่น้องตระกูลเลี่ยวไพรัตน์ ทำสัญญาเช่าตึกตัวเอง 900 กว่าล้าน ศาลชี้พยานหลักฐานไม่เพียงพอ ฟังไม่ได้ว่าเป็นการยักยอกทรัพย์
       
       ที่ห้องพิจารณา 908 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก วันนี้ (13 พ.ย.) เมื่อเวลา 10.00 น. ศาลอ่านคำพิพากษา คดีดำหมายเลขที่ อ.3097/2549 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 1 และ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายประทีป เลี่ยวไพรัตน์ อดีตกรรมการบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือทีพีไอ, นายประมวล เลี่ยวไพรัตน์ อดีตกรรมการ บมจ.ทีพีไอ, นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ทีพีไอ, นาย ประหยัด เลี่ยวไพรัตน์ อดีตกรรมการ บมจ.ทีพีไอ, น.ส.มาลินี เลี่ยวไพรัตน์ อดีตกรรมการ บมจ.ทีพีไอ และบริษัท พรชัยวิสาหกิจ จำกัด เป็นจำเลยที่ 1-6 กระทำผิดพ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 311, 313 และ 315 ฐานร่วมกันกระทำการใดเพื่อช่วยเหลือและให้ความสะดวกกรรมการบริษัททำให้เกิด ความเสียหายด้วยการยักยอกทรัพย์ ด้วยการทำสัญญาเช่าตึกทีพีไอที่มีการชำระค่าเช่าล่วงหน้า 90 ปีตามสัญญาเช่ารวม 4 ฉบับ เป็นเงินมูลค่า 956,842,206 ล้านบาท อันเป็นการชำระค่าเช่าล่วงหน้าเกินเวลาที่กฎหมายกำหนด
       
       โดยโจทก์ว่า ระหว่างวันที่ 1 ก.พ. 2538 - 27 ก.ค. 2542 จำเลยที่ 1-3 ร่วมกันกระทำการหรือไม่กระทำการเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วย กฎหมาย เพื่อตนเองหรือผู้อื่นอันเป็นการเสียหายแก่นิติบุคคลนั้น และจำเลยที่ 3-6 ร่วมกันกระทำด้วยประการใดๆอันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ กรรมการกระทำผิดดังกล่าว ตามพ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยจำเลยที่ 1 และ 3 ร่วมกันทำสัญญาเช่าพื้นที่ชั้น 7, 8, 9 ในอาคารทีพีไอทาวเวอร์กับจำเลยที่ 6 มีกำหนดระยะเวลาเช่า 3 ปี ซึ่งให้คำมั่นว่าหากทีพีไอประสงค์จะเช่าต่อจะทำสัญญาเช่าให้ใหม่ทุกระยะเวลา 3 ปี จนครบกำหนด 90 ปี การกระทำของจำเลยทั้ง 6 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทีพีไอ เป็นตัวเงินที่ต้องจ่ายตามสัญญาเช่าทั้ง 4 ฉบับ เป็นเงินค่าเช่าล่วงหน้าจำนวน 877,303,888 บาท และเงินกินเปล่าจำนวน 79,538,318 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิน 956,842,206 บาท และความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินได้แก่พื้นที่ที่เช่า นั้นมากเกินความจำเป็นในการใช้สอย คิดเป็นเนื้อที่รวมกัน 10,000 ตร.ม.เศษ ซึ่งการกระทำดังกล่าว ทำให้ทีพีไอประสบปัญหาทางด้านการเงินและขาดสภาพคล่อง โดยจำเลยทั้ง 6 ให้การปฏิเสธ
       
       ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้ว คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า การทำสัญญาเช่าตึกสำนักงานและจ่ายเงินค่าเช่าล่วงหน้าเป็นระยะเวลา 90 ปี ของทีพีไอ โดยจำเลยที่ 1-3 นั้นเป็นการกระทำเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ที่ไม่ควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อตน เองหรือผู้อื่น อันเป็นการเสียหายแก่นิติบุคคลที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 311, 313 หรือไม่ โจทก์และโจทก์ร่วมมีนายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา หนึ่งในคณะผู้บริหารแผนคนใหม่ของกระทรวงการคลังเป็นพยานเบิกความเกี่ยวกับ รายละเอียดการทำสัญญาเช่าอาคารทีพีไอทาวเวอร์ของจำเลยที่ 6 ทั้ง 4 ฉบับที่ต้องจ่ายเงินตามสัญญาเช่าล่วงหน้าทั้งสิ้น 956,842,206 บาท ว่า ทำให้ทีพีไอมีปัญหาขาดสภาพคล่องจนต้องพักชำระหนี้ เพราะนำเงินไปจ่ายเป็นค่าเช่า ค่ามัดจำล่วงหน้าและเงินกินเปล่าตามสัญญาเช่ามีต้นทุนที่สูงมาก ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าว ในแง่ของนักการเงินถือว่าเป็นการเสียค่าโอกาสเป็นอย่างยิ่ง และการจ่ายเงินกินเปล่าให้กับจำเลยที่ 6 พยานในฐานะอดีตเคยเป็นผู้กำกับดูแลตลาดหุ้น เห็นว่า เป็นเหมือนกันการยักย้ายเงินจากกระเป๋าขวาสู่กระเป๋าซ้ายโดยที่ไม่เป็น ประโยชน์กับทีพีไอ ขณะที่ความต้องการที่แท้จริงในการใช้พื้นที่อาคารเพียง 10,000 ตร.ม. แต่ตามสัญญาเช่ากลับใช้พื้นที่ถึง 23,000 ตร.ม. พยานจึงเห็นว่าการกระทำนั้นเป็นการรักษาผลประโยชน์ของบริษัทในเครือและพวก พ้อง มากกว่ารักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น
       
       ศาลเห็นว่า การทำสัญญาเช่าตึกระหว่างทีพีไอกับจำเลยที่ 6 เพื่อต้องการเช่าพื้นที่อาคาร เป็นที่ทำการสำนักงานใหญ่ทีพีไอ และบริษัทในเครือ ขณะเดียวกันในการทำสัญญา 2 ฉบับแรก ทีพีไอก็ยังไม่มีปัญหาขาดสภาพคล่องด้านการเงิน ซึ่งการที่จำเลยที่ 3 เบิกความว่า เงินชำระค่าเช่าล่วงหน้าเป็นการช่วยค่าก่อสร้างอาคารก็สอดคล้องเจือสมของนาย วีรชัย อริยพรพิรุณ รองผู้จัดการใหญ่ฝ่ายบริหารสินทรัพย์ของบริษัท ไออาร์พีซี โจทก์ร่วม และนางวีรายุ อมรลีตระกูล ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของจำเลยที่ 6 ว่า ค่าเช่าบางส่วนนำไปสนับสนุนการก่อสร้างอาคารทีพีไอทาวเวอร์ ศาลเห็นว่า การที่ทีพีไอจ่ายเงินค่าช่วยก่อสร้างอาคารทีพีไอทาวเวอร์ให้กับจำเลยที่ 6 ที่เป็นบริษัทในเครือ เป็นเรื่องบริหารกิจการเชิงธุรกิจที่เกื้อกูลระหว่างกลุ่มบริษัทในเครือที่ เป็นปกติทางการค้าจึงไม่เป็นพิรุธ และเป็นเรื่องธรรมดาที่จำเลยที่ 1-3 ในฐานะกรรมการและผู้เริ่มก่อตั้งทีพีไอขึ้นมาด้วยความรู้ความสามารถของตนเอง จะใช้ดุลพินิจเพื่อบริหารงานให้เกิดผลกำไรกับบริษัทมากที่สุด ส่วนสัญญาเช่าตึกฉบับสุดท้ายแม้จะทำขึ้นหลังรัฐบาลประการลอยตัวค่าเงินบาท แต่เป็นสัญญาที่ทำขึ้นหลังจากสัญญาเช่าฉบับหนึ่งครบกำหนดแล้ว นอกจากนี้ เรื่องการเช่าอาคารพีทีไอทาวเวอร์ยังได้มีการเปิดเผยข้อมูลไว้ในหนังสือชี้ ชวนการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนของทีพีไอที่แม้ว่าในหนังสือชี้ชวนจะแจ้งการเช่า พื้นที่ 10,000 ตร.ม. ระยะเวลา 30 ปี แต่เป็นเพียงการเสนอข้อมูลโดยประมาณเท่านั้น โดยตอนท้ายของหนังสือยังระบุด้วยว่าขอสงวนสิทธิ์ที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง จำนวนพื้นที่และระยะเวลาเช่าตามความเหมาะสม รวมทั้ง มีการเปิดเผยข้อมูลเช่าดังกล่าวในบัญชีการรับ-จ่ายเงินมัดจำค่าเช่าล่วงหน้า และเงินกินเปล่าไว้ในงบดุลของจำเลยที่ 6 และทีพีไอที่ส่งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและสำนักงานคณะกรรมการก.ล.ต. ที่แสดงว่า การทำสัญญาเป็นไปโดยสุจริตและเปิดเผย ซึ่งตั้งแต่เริ่มทำสัญญาเช่าก็ไม่ปรากฏว่ามีผู้ถือหุ้นหลายใดทักท้วงสัญญา ดังกล่าวว่าไม่ชอบอย่างไร และเมื่อมีการบริหารแผนฟื้นฟูกิจการก็ไม่มีการปฏิเสธสิทธิ์ในสัญญาเช่าดัง กล่าวว่า มีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่ทีพีไอควรจะได้รับ โดยพยานโจทก์และโจทก์ร่วม 16 ปาก ก็ไม่มีใครเบิกความยืนยันว่า จำเลยที่ 1-5 รับเงินค่าเช่าไว้เป็นประโยชน์ส่วนตัว ขณะที่ การลงนามในสัญญาเช่าตึกทั้ง 4 ฉบับ จำเลยที่ 1-3 ได้ลงนามฐานะกรรมการแทนบริษัทตามมติประชุมคณะกรรมการ ไม่ใช่กระทำเป็นการส่วนตัว ซึ่งการทำธุรกิจของทีพีไอระหว่างปี 2538-2540 ก็ไม่มีปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินโดยทีพีไอยังมีสินทรัพย์มากกว่าหนี้สิน มาโดยตลอดจนถึงปี 2542 พยานหลักฐานโจทก์และโจทก์ร่วมที่นำสืบมาจึงยังไม่พอให้รับฟังได้ว่า ขณะทำสัญญาเช่าตึกจำเลยที่ 1-3 มีเจตนาที่จะแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมายเพื่อประโยชน์ของตนเอง จนทำให้เกิดความสียหายแก่ทีพีไอ จึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯมาตรา 311 , 313 และเมื่อข้อเท็จจริงยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1-3 กระทำผิด จำเลยที่ 4-6 จึงไม่มีความผิดฐานให้การช่วยเหลือผู้อื่นเพื่อกระทำผิดตามฟ้องด้วย จึงพิพากษายกฟ้อง
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่าภายหลังฟังคำพิพากษาแล้ว นายประชัยมีใบหน้ายิ้มแย้ม และเดินทางกลับโดยไม่ให้สัมภาษณ์แต่อย่างใด


ศาลยกฟ้อง'ประชัย'ทำสัญญาเช่าตึกTPIไม่ผิดพรบ.หลักทรัพย์ฯ

ศาลอาญายกฟ้อง"ประชัย เลี่ยวไพรัตน์"กับพวกอีก 5 คนไม่ผิดพ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ กรณีทำสัญญาเช่าตึกทีพีไอ โดยจ่ายเงินล่วงหน้า 90 ปีกว่า900ล้านบาท
เมื่อเวลา 10.00 น. ศาลอ่านคำพิพากษา คดีดำหมายเลขที่ อ.3097/2549 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 1 และ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ร่วมกันเป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายประทีป เลี่ยวไพรัตน์ อดีตกรรมการ บริษัท อุตสหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทีพีไอ,นายประมวล เลี่ยวไพรัตน์ อดีตกรรมการ บมจ.ทีพีไอ ,นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ทีพีไอ,นาย ประหยัด เลี่ยวไพรัตน์ อดีตกรรมการ บมจ.ทีพีไอ, น.ส. มาลินี เลี่ยวไพรัตน์ อดีตกรรมการ บมจ.ทีพีไอ และบริษัทพรชัยวิสาหกิจ จำกัด เป็นจำเลยที่ 1-6 กระทำผิดพ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 311 , 313 และ 315 ฐานร่วมกันกระทำการใดเพื่อช่วยเหลือและให้ความสะดวกกรรมการบริษัททำให้เกิดความเสียหายด้วยการยักยอกทรัพย์ ด้วยการทำสัญญาเช่าตึกทีพีไอ ที่มีการชำระค่าเช่าล่วงหน้า 90 ปีตามสัญญาเช่ารวม 4 ฉบับ เป็นเงินมูลค่า 956,842,206 ล้านบาท อันเป็นการชำระค่าเช่าล่วงหน้าเกินเวลาที่กฎหมายกำหนด

โดยคำฟ้องโจทก์สรุปว่า ระหว่างวันที่ 1 ก.พ.2538 - 27 ก.ค.2542 จำเลยที่ 1 - 3 ร่วมกันกระทำการหรือไม่กระทำการเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อตนเองหรือผู้อื่นอันเป็นการเสียหายแก่นิติบุคคลนั้น และจำเลยที่ 3-6 ร่วมกันกระทำด้วยประการใดๆอันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่กรรมการกระทำผิดดังกล่าว ตามพ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 โดยจำเลยที่ 1 และ 3 ร่วมกันทำสัญญาเช่าพื้นที่ชั้น 7 , 8 ,9 ในอาคารทีพีไอทาวเวอร์กับจำเลยที่ 6 มีกำหนดระยะเวลาเช่า 3 ปี ซึ่งให้คำมั่นว่าหากทีพีไอประสงค์จะเช่าต่อจะทำสัญญาเช่าให้ใหม่ทุกระยะเวลา 3 ปี จนครบกำหนด 90 ปี การกระทำของจำเลยทั้ง 6 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทีพีไอ เป็นตัวเงินที่ต้องจ่ายตามสัญญาเช่าทั้ง 4 ฉบับ เป็นเงินค่าเช่าล่วงหน้าจำนวน 877,303,888 บาท และเงินกินเปล่าจำนวน 79,538,318 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิน 956,842,206 บาท และความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินได้แก่พื้นที่ที่เช่านั้นมากเกินความจำเป็นในการใช้สอย คิดเป็นเนื้อที่รวมกัน 10,000 ตร.ม.เศษ ซึ่งการกระทำดังกล่าว ทำให้ทีพีไอประสบปัญหาทางด้านการเงินและขาดสภาพคล่อง โดยจำเลยทั้ง 6 ให้การปฏิเสธ

ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้ว คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าการทำสัญญาเช่าตึกสำนักงานและจ่ายเงินค่าเช่าล่วงหน้าเป็นระยะเวลา 90 ปี ของทีพีไอ โดยจำเลยที่ 1-3 นั้น เป็นการกระทำเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ที่ไม่ควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อตนเองหรือผู้อื่น อันเป็นการเสียหายแก่นิติบุคคลที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เป็นความผิดตามพ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 311 , 313 หรือไม่ โจทก์และโจทก์ร่วมมีนายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา หนึ่งในคณะผู้บริหารแผนคนใหม่ของกระทรวงการคลังเป็นพยานเบิกความเกี่ยวกับรายละเอียดการทำสัญญาเช่าอาคารทีพีไอทาวเวอร์ของจำเลยที่ 6 ทั้ง 4 ฉบับที่ต้องจ่ายเงินตามสัญญาเช่าล่วงหน้าทั้งสิ้น 956,842,206 บาท ว่า ทำให้ทีพีไอมีปัญหาขาดสภาพคล่องจนต้องพักชำระหนี้ เพราะนำเงินไปจ่ายเป็นค่าเช่า ค่ามัดจำล่วงหน้าและเงินกินเปล่าตามสัญญาเช่ามีต้นทุนที่สูงมาก ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าว ในแง่ของนักการเงินถือว่าเป็นการเสียค่าโอกาสเป็นอย่างยิ่ง และการจ่ายเงินกินเปล่าให้กับจำเลยที่ 6 พยานในฐานะอดีตเคยเป็นผู้กำกับดูแลตลาดหุ้น เห็นว่า เป็นเหมือนกันการยักย้ายเงินจากกระเป๋าขวาสู่กระเป๋าซ้ายโดยที่ไม่เป็นประโยชน์กับทีพีไอ ขณะที่ความต้องการที่แท้จริงในการใช้พื้นที่อาคารเพียง 10,000 ตร.ม. แต่ตามสัญญาเช่ากลับใช้พื้นที่ถึง 23,000 ตร.ม. พยานจึงเห็นว่า การกระทำนั้นเป็นการรักษาผลประโยชน์ของบริษัทในเครือและพวกพ้อง มากกว่ารักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น

ศาลเห็นว่า การทำสัญญาเช่าตึกระหว่างทีพีไอกับจำเลยที่ 6 เพื่อต้องการเช่าพื้นที่อาคาร เป็นที่ทำการสำนักงานใหญ่ทีพีไอ และบริษัทในเครือ ขณะเดียวกันในการทำสัญญา 2 ฉบับแรก ทีพีไอก็ยังไม่มีปัญหาขาดสภาพคล่องด้านการเงิน ซึ่งการที่จำเลยที่ 3 เบิกความว่า เงินชำระค่าเช่าล่วงหน้าเป็นการช่วยค่าก่อสร้างอาคารก็สอดคล้องเจือสมของนายวีรชัย อริยพรพิรุณ รองผู้จัดการใหญ่ฝ่ายบริหารสินทรัพย์ของบริษัท ไออาร์พีซี โจทก์ร่วม และนางวีรายุ อมรลีตระกูล ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของจำเลยที่ 6 ว่า ค่าเช่าบางส่วนนำไปสนับสนุนการก่อสร้างอาคารทีพีไอทาวเวอร์ ศาลเห็นว่า การที่ทีพีไอจ่ายเงินค่าช่วยก่อสร้างอาคารทีพีไอทาวเวอร์ให้กับจำเลยที่ 6 ที่เป็นบริษัทในเครือ เป็นเรื่องบริหารกิจการเชิงธุรกิจที่เกื้อกูลระหว่างกลุ่มบริษัทในเครือที่เป็นปกติทางการค้าจึงไม่เป็นพิรุธ และเป็นเรื่องธรรมดาที่จำเลยที่ 1-3 ในฐานะกรรมการและผู้เริ่มก่อตั้งทีพีไอขึ้นมาด้วยความรู้ความสามารถของตนเอง จะใช้ดุลพินิจเพื่อบริหารงานให้เกิดผลกำไรกับบริษัทมากที่สุด

ส่วนสัญญาเช่าตึกฉบับสุดท้ายแม้จะทำขึ้นหลังรัฐบาลประการลอยตัวค่าเงินบาท แต่เป็นสัญญาที่ทำขึ้นหลังจากสัญญาเช่าฉบับหนึ่งครบกำหนดแล้ว นอกจากนี้ เรื่องการเช่าอาคารพีทีไอทาวเวอร์ยังได้มีการเปิดเผยข้อมูลไว้ในหนังสือชี้ชวนการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนของทีพีไอที่แม้ว่าในหนังสือชี้ชวนจะแจ้งการเช่าพื้นที่ 10,000 ตร.ม. ระยะเวลา 30 ปี แต่เป็นเพียงการเสนอข้อมูลโดยประมาณเท่านั้น โดยตอนท้ายของหนังสือยังระบุด้วยว่าขอสงวนสิทธิ์ที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนพื้นที่และระยะเวลาเช่าตามความเหมาะสม รวมทั้ง มีการเปิดเผยข้อมูลเช่าดังกล่าวในบัญชีการรับ-จ่ายเงินมัดจำค่าเช่าล่วงหน้าและเงินกินเปล่าไว้ในงบดุลของจำเลยที่ 6 และทีพีไอที่ส่งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและสำนักงานคณะกรรมการก.ล.ต. ที่แสดงว่า การทำสัญญาเป็นไปโดยสุจริตและเปิดเผย ซึ่งตั้งแต่เริ่มทำสัญญาเช่าก็ไม่ปรากฏว่ามีผู้ถือหุ้นหลายใดทักท้วงสัญญาดังกล่าวว่าไม่ชอบอย่างไร และ เมื่อมีการบริหารแผนฟื้นฟูกิจการก็ไม่มีการปฏิเสธสิทธิ์ในสัญญาเช่าดังกล่าวว่า มีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่ทีพีไอควรจะได้รับ โดยพยานโจทก์และโจทก์ร่วม 16 ปาก ก็ไม่มีใครเบิกความยืนยันว่า จำเลยที่ 1-5 รับเงินค่าเช่าไว้เป็นประโยชน์ส่วนตัว ขณะที่ การลงนามในสัญญาเช่าตึกทั้ง 4 ฉบับ จำเลยที่ 1-3 ได้ลงนามฐานะกรรมการแทนบริษัทตามมติประชุมคณะกรรมการ ไม่ใช่กระทำเป็นการส่วนตัว ซึ่งการทำธุรกิจของทีพีไอระหว่างปี 2538-2540 ก็ไม่มีปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินโดยทีพีไอยังมีสินทรัพย์มากกว่าหนี้สินมาโดยตลอดจนถึงปี 2542 พยานหลักฐานโจทก์และโจทก์ร่วมที่นำสืบมาจึงยังไม่พอให้รับฟังได้ว่า

ขณะทำสัญญาเช่าตึกจำเลยที่ 1-3 มีเจตนาที่จะแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมายเพื่อประโยชน์ของตนเอง จนทำให้เกิดความสียหายแก่ทีพีไอ จึงไม่มีความผิดตามพ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯมาตรา 311 , 313 และเมื่อข้อเท็จจริงยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1-3 กระทำผิด จำเลยที่ 4-6 จึงไม่มีความผิดฐานให้การช่วยเหลือผู้อื่นเพื่อกระทำผิดตามฟ้องด้วย จึงพิพากษายกฟ้อง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าภายหลังฟังคำพิพากษาแล้ว นายประชัยรวมทั้งพี่น้องซึ่งตกเป็นจำเลย ได้เดินทางกลับโดยไม่ให้สัมภาษณ์แต่อย่างใด ขณะที่วันนี้ก็มีตัวแทนของบริษัทผู้เสียหายร่วมฟังคำพิพากษาด้วย.


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ยกฟ้อง ประชัย เสี่ยทีพีไอ เช่าตึก

view