สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

อิสรา ยันกนง.คงอัตราดอกเบี้ยที่2.75 เปอร์เซ็นต์

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ระบุการประชุมกนง.วันที่ 9 ม.ค.นี้ คงอัตราดอกเบี้ยที่2.75%

"กรุงเทพธุรกิจทีวี"ข่าวตรงประเด็นช่วงเที่ยง วันนี้( 7 ม.ค.) สัมภาษณ์ คุณอุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด

ถาม :คุณอุสรา ประเมินผลว่าการประชุมทางคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารแห่งประเทศไทยหรือ"กนง." ที่จะมีขึ้นวันที่ 9 มกราคมนี้ จะกำหนดทิศทางดอกเบี้ยไปในทิศทางใดครับ
ตอบ: เชื่อว่าทางกนง.น่าจะตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ก่อนที่ 2.75% สิ่งที่หลายฝ่ายจับตามองนั่นก็คือ ถ้อยแถลงหลังการประชุม เราเองก็เชื่อว่า ถ้อยแถลงน่าจะเป็นลักษณะของความระมัดระวังเรื่องปัจจัยเสี่ยงด้านต่างประเทศเป็นหลัก ส่วนทางด้านเงินเฟ้อ เราเองมองว่า เดือน ธ.ค. ที่ขยับขึ้นมาส่วนหนึ่งเป็นเพราะฐานของดัชนีผู้บริโภค ก่อนหน้านี้ในเดือน ธ.ค. ปี 54 มันต่ำกว่าปกติ เชื่อว่าเรื่องแรงกดดันในเรื่องเงินเฟ้อยังไม่อยู่ในระดับที่น่ากลัว ด้วยฐานดัชนีราคาผู้บริโภคในช่วงครึ่งแรกที่สูงขึ้น อาจจะช่วยให้เงินเฟ้อในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ยังอยู่ในระดับต่ำระหว่าง 3-3.5 ถ้าเราดูอัตราดอกเบี้ยนโยบายขณะนี้ที่ 2.75 ถือว่ายังค่อนข้างผ่อนคลาย เมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อ และเมื่อเทียบกับอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ หลายฝ่ายตั้งเป้าที่เติบโตในระดับ4.5 - 5.5 ก็ตาม กนง. น่าจะใช้โอกาสนี้ซื้อเวลา และดูปัจจัยเสี่ยงด้านต่างประเทศ เรื่องของยุโรปยังไม่จบ อาจวกกลับมาทำให้เกิดปัจจัยเทางเศรษฐกิจได้ตลอดเวลา ในแง่ทางไทยเอง ปัจจัยการเมืองอาจจะร้อนแรง โอกาสที่จะเป็นไปได้สูง กนง น่าจะคงอัตราดอกเบี้ยและรอดูสถานการณ์ ซึ่งปีนี้มองว่าความเสี่ยงในด้านเศรษฐกิจน่าจะเสี่ยงกว่า เรื่องของเงินเฟ้อ

ถาม:ทางอดีตรองผู้ว่าแบงค์ชาติ นายบัณฑิต นิชถาวร ออกมาเสนอให้ขึ้นดอกเบี้ยสวนทางกับคนอื่น เพื่อสกัดฟองสบู่จากเรื่องเงินไหลเข้า มองเรื่องนี้ว่าอย่างไรบ้าง
ตอบ: คิดว่าเรื่องของดอกเบี้ยที่จะขึ้น ภายในปีนี้เป็นไปได้ยาก กน.ง ระมัดระวังเรื่องของขึ้นดอกเบี้ย ถ้าขึ้นไปแล้วมาลดทีหลังจะดูไม่ดี ในปีนี้เราจะสังเกตุได้ว่า เงินร้อนที่เข้ามาในประเทศไทยในปีนี้ เป็นเงินที่เข้าในตลาดหุ้นซะมากกว่า เห็นว่าตลาดพันธมิตร ต่างประเทศ นำเงินเข้ามาลงทุน ส่วนใหญ่เป็นลักษณะซื้อและถือยาว เพราะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในเรื่องของ country risk ของทางด้านยุโรปมีปัญหาหนี้เสีย รัฐบาลเองอาจจะมีปัญหาหนี้เสีย เค้าจะเบนเข็มนำเงินมาลงทุนพันธบัตรในเอเซีย แต่เงินที่เข้ามาจนทำให้ตลาดร้อนแรงมากตอนนี้ทั้งโลก ตลาดหุ้นที่ขึ้นแรงมาก คือ อินโดนีเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ สกัดเงินร้อนต้องเข้าไปดูตลาดหุ้นมากว่า ไม่ให้มันร้อนแรงเกินไป

ถาม:ปัจจุบันเริ่มมองเห็นฟองสบู่บ้างหรือยังครับ
ตอบ:มองว่า ในแง่ของราคาบของหลักทรัพย์ในประเทศไทย เริ่มมีการก่อตัวของฟองสบู่ แล้วอยากแนะนำให้นักลงทุนใช้สติในการลงทุน เพราะว่า ถ้าเราดูจะเห็นได้ว่า อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจก็ดี อัตราผลประกอบการก็ดี มันโตไม่ทันกับราคาที่ขึ้นมาหลายเท่าตัว สังเกตุปี 09 ประมาณ 4ปี สังเหตุง่ายๆ ดัชนีไทยอยู่ที่ 400 จุด ปัจจุบัน 1,400 ในขณะที่หุ้นอื่นๆในเอเชีย เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ขึ้น 1 เท่าตัว แต่ในประเทศไทยขึ้น 3.5 เท่าตัว เช่นเดียวกัน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ถ้าต่างประเทศจะนำเงินเข้ามาลงทุนเพิ่มในเอเชีย เชื่อว่าเค้ามองว่า ข้างบนในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ น่าจะน่าสนใจมากกว่า และสิ่งที่สำคัญ ถ้าเศรษฐกิจสหรัฐเริ่มมีเสถียรภาพ ประเทศข้างบน ที่มี explosure เกี่ยวกับ electronic กับสหรัฐ น่าจะฟื้นตัวได้ดีกว่าเราด้วยซ้ำที่อยู่ใน sounteast asia ซึ่งราคาขึ้นมาเกินกว่าปัจจัยพื้นฐานหลายเท่าตัว

ถาม:คุณอุสราบอกว่า เห็นสัญญาณจากหุ้นที่ราคาสูงเกินไป นอกเหนือจากหุ้นแล้ว ยังมองจุดอื่นไหม ไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ รถยนต์ มีสัญญาณฟองสบู่บ้างไหม
ตอบ:คิดว่าในเรื่อง อสังหาริมทรัพย์ ไม่ใช่ประเด็นที่น่ากลัวเท่าไหร่ ทั้งนี้ เราจะสังเกตุได้ว่า เงินของต่างประเทศที่เข้ามา จะเข้ามาลงทุนในสินทรัพย์ ที่ไม่ใช่อสังหาริมทรัพย์ ในเรื่องอสังหาริมทรัพย์ที่ดีขึ้น เป็นการดีขึ้นจากเศรษฐกิจไทยเองที่ปรับตัวดีขึ้น และเป็นผลจากนโยบายรัฐบาลที่จะกระตุ้นในเรื่องบริโภค ทั้งในเรื่องของสินค้าคงทน อย่าง รถยนต์ หรือบ้าน ก็ดี เชื่อว่า ปัจจัยหรือนโยบายที่กระตุ้นเหล่านี้ มันจบลง เราเชื่อว่าความร้อนแรงในตลาดรถยนต์ หรือตลาดอสังหาก็ดี มันก็คงจะคลายตัวลงเอง แต่แน่นอนว่า ถ้ามีเรื่องของ AEC เกิดขึ้นจะเป็นปัจจัยหนุนระยะกลางและยาว ทั้งในเรื่องของราคาอสังหาริมทรัพย์ ตรงนี้จะเป็นไปตามปัจจัยพื้นฐานของมัน......


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : อิสรา ยันกนง. คงอัตราดอกเบี้ย

view