สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

พิสิฐ ชี้เรื่องดอกเบี้ย ต้องพิสูจน์ทางวิชาการ

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

อดีรมช.คลัง ย้ำเรื่องลดดอกเบี้ย เงินทุนไหลเข้า-ออก ต้องศึกษาให้ถ่องแท้ พิสูจน์กันทางวิชาการ เพราะเป็นนโยบายการเงิน

ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม อดีตรมช.คลัง ให้สัมภาษณ์"กรุงเทพธุรกิจทีวี" เรื่องอนาคตอิสระแบงก์ชาติ"ต่อกรณีที่นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ทำหนังสือถึงบอร์ดธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ต่อการดำเนินนโยบายทางการเงิน ไม่ว่าเรื่องเงินทุนไหลเข้า-ออก ดอกเบี้ย หรืออัตราแลกเปลี่ยน สามารถทำได้ แต่การตัดสินอยู่ที่แบงก์ชาติ

ดร.พิสิฐ กล่าวว่า กรณีภาระการขาดทุนของแบงก์ชาติในปัจจุบันที่ตอนนี้อยู่ประมาณ 5.3 แสนล้านบาทนั้น จริงๆในแง่ของการบริหารจัดการ เป็นผลมาจากนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน โดยทั่วไปแล้วก็มีหลักอยู่ที่ว่าแบงก์ชาติ คงไม่ได้ตั้งขึ้นมาเพื่อหวังกำไร เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการในเรื่องนโยบายการเงินและอัตราแลกเปลี่ยน เพราะฉะนั้นประเด็นนี้คงไม่ใช่เรื่องใหญ่โต แต่ขณะเดียวกันให้ตัวเลขงบธปท.ขาดทุนที่โชว์อยู่ คงต้องหาทางแก้ไขกัน

"ในแง่การดำเนินงานของธนาคารโดยทั่วไป ถือว่าธนาคารกลางไม่ได้ตั้งขึ้นมาเพื่อหากำไรตรงนี้ ก็ไม่ควรปล่อยให้มันเรื้อรัง ต้องมีวิธีการ เพื่อทำให้ตัวเลขเหล่านี้ถูกจัดการออกไป โดยไม่ให้เกิดความสับสน ที่จะเกิดความเข้าใจผิดได้ ส่วนในแง่ที่ว่ากระทรวงการคลัง พูดในเชิงธุรกิจก็เป็นผู้ถือหุ้น เป็นเจ้าของในแง่ของตัวแทน รัฐบาล ต้องคุยกัน และหาทางออกร่วมกัน"ดร.พิสิฐ กล่าว

อดีตรมช.คลัง ระบุว่า กรณีกระทรวงการคลังมองว่าการลดดอกเบี้ย ช่วยชะลอเงินทุนไหลเข้าได้ จนถึงขั้นทำหนังสือส่งไปที่ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ ถือว่าเป็นคนละเรื่องกัน ตัวเลขขาดทุนมันสะสมเป็นตัวเลขของงบดุล มันเป็นหน้าตาไม่ให้ดูน่าเกลียดแค่ไหนเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ส่วนเรื่องจะเปลี่ยนขึ้นดอกเบี้ยหรือลดดอกเบี้ย เป็นเรื่องของการดำเนินนโยบายการเงิน ซึ่งโดยเจตนาหรือไม่ กฎหมายมอบให้แบงก์ชาติดูแลอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตามในทางการเมืองสามารถเสนอแนะธปท.ได้ ทุกประเทศกระทรวงการคลังก็ต้องมีส่วนเกี่ยวข้องไม่มากก็น้อย คงห้ามพูดไม่ได้ และทุกประเทศกระทรวงการคลังก็ต้องทำงานร่วมกับแบงก์ชาติอยู่แล้ว ถึงอย่างไรก็เป็นศูนย์รวมของประเทศเหมือนกัน ต่างฝ่ายต่างก็มีหน้าที่ไปคนละอย่างก็จริง แต่ต่างฝ่ายต่างก็สิทธิเสนอแนะอะไรได้ แต่ว่าเมื่อเสนอแนะแล้ว การตัดสินก็อยู่กับตัวองค์กรที่รับผิดชอบ

"สมัยก่อนที่ผมทำงานกับผู้ว่าฯแบงก์ชาติท่าน นุกูล ประจวบเหมาะ สมัยอยู่แบงก์ชาติ ก็เคยทำหนังสือถึงรัฐมนตรีในเรื่องนโยบายการคลัง เป็นหนังสือลงนามชัดเจนก็มี อันนี้เป็นเรื่องที่ทำได้อยู่แล้ว"อดีรมช.กล่าวย้ำ

ดร.พิสิฐ แนะว่า ดอกเบี้ยจะช่วยเรื่องชะลอเงินทุนไหลเข้าได้ไหมต้องศึกษาให้ลึกซึ้ง เรื่องปัจจุบันเป็นเรื่องเงินทุนไหลเข้ามาก มาจากดอกเบี้ยสูงอย่างเดียวหรือเปล่า หรือมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยว ดังนั้นถ้าลดดอกเบี้ยแล้วมีผลข้างเคียงอย่างไร เราคงต้องมีการศึกษาในเรื่องกลไกเหล่านี้ให้ดี หากศึกษาไม่ถ่องแท้ก็จะทำไปโดยที่ไม่คำนึงถึงผลกระทบ ตรงนี้พยายามอย่าให้เกิดบ่อยนัก

"แคปปิตอลคอนโทรลเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นภาคธุรกิจการเงิน อาจจะเป็นบทบาทที่จะดำเนินตัดสินใจเรื่องการเงิน ว่าจะเอี้ยวไปไหนดีเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน เก็งกำไร ที่ทางการอาจไม่ชอบ ผมเรียนหนังสือปี1970-1972 ตอนนั้นเงินดอลลาร์ ก็ถูกโยกไปโยกมา นำไปสู่การล่มสลายของระบบอัตราแลกเปลี่ยน ตั้งแต่นั้นมาเงินทุนไหลเข้าไหลออก ถือว่าเป็นเรื่องที่ทางการต่างๆ ก็ยังไม่อยากเข้าไปแตะต้องมาก ปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด"ดร.พิสิฐ กล่าว

ดร.พิสิฐ ย้ำว่า แต่มาในช่วงหลัง เริ่มมีเสียงต่อว่า มันควรจะต้องทำอย่างไร ที่จะไม่ให้มีผลกระทบ โดยทั่วไปแล้วนักเศรษฐศาสตร์คงอยากให้เงินทุนไหลเข้าไหลออกเป็นสิ่งที่สะท้อนกลไกตลาด แล้วจะมีปัญหาพื้นฐานที่ไม่เหมาะสมอย่างไรก็อยู่ที่ปัญหาพื้นฐาน เช่นเรื่องการค้า เรื่องการใช้นโยบายการคลัง แม้ดอกเบี้ย ที่พูดถึงก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ว่าจะมีบทบาทสักแค่ไหนคง ต้องไปพิสูจน์ในเชิงวิชาการ


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : พิสิฐ ดอกเบี้ย ต้องพิสูจน์ ทางวิชาการ

view