สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ชินภัทร จวกกลุ่มมัธยม ขอแยกจาก สพฐ. ไม่ดูทิศทางลม

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

     กลุ่มมัธยมกร้าว! ขอแยกตัวจาก สพฐ.“ชินภัทร” จวกกลับเสนอไม่ดูทิศทางลม ย้ำ แยกตัวเรื่องยาก ระบุ ที่ผ่านมา ยกให้มัธยมเป็นพี่ใหญ่ที่จะนำให้น้องระดับประถมพัฒนาตัวตามต่อไป
       
       กรณีนายพิทยา ไชยมงคล นายกสมาคมผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย นายวัชรินทร์ ศรีบุรินทร์ สมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย (ส.บ.ม.ท.) และ นายยงยุทธ ทิพรส ประธานสมาพันธ์ครูโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย ได้ร่วมแถลงมติร่วมกันของสมาคมในการขอจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการมัธยมศึกษา ในกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีฐานะเป็นนิติบุคคลเช่นเดียวกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) พร้อมทั้งให้มีการจัดตั้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาครบทุก จังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นพื้นที่พิเศษควรมี 2 เขตพื้นที่ รวมเป็น 78 เขต โดยให้เหตุผลว่าเพื่อความคล่องตัวและประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาคุณภาพจัดการ ศึกษา อย่างไรก็ตาม ในส่วนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ให้อยู่ในการดูแลของ สพฐ.เช่นเดิม
       
       นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวคงเป็นความคิดและความรู้สึกของชาวมัธยมมีต่อความรู้สึกใน เอกลักษณ์และความเป็นตัวตนของตนเอง แต่ความจริงตนคิดว่าการทำงานไม่ควรจะยึดตัวตนมากเกินไปนัก ควรจะมองถึงเป้าหมายและผลผลิตที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียนเป็นสำคัญ เรื่องขององค์กร เรื่องของสถานะเป็นเพียงปลีกย่อยเท่านั้น และหากมองไปก็เหมือนเป็นการคำนึงถึงแต่สิทธิประโยชน์ระดับบุคคลมากกว่า ทั้งนี้ ตนคิดว่า การที่มัธยมอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ สพฐ.ก็เหมือนอยู่บ้านหลังใหญ่ ซึ่งมีความอบอุ่นในการทำงาน และการขับเคลื่อน จะมีพลังเพราะเป็นองคาพยพเดียวกัน โดยมัธยมทำหน้าที่เป็นพี่ใหญ่เป็นหัวขบวนรถจักร ที่จะดึงขบวนน้อง ๆ ระดับประถมให้พัฒนาก้าวหน้าตามกันไป
       
       “ผมพูดอยู่เสมอว่าการมัธยม ศึกษาเป็นหัวขบวน สามารถที่จะฉุดลากการศึกษาให้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างดี เพราะว่าการที่เราจะพัฒนาคุณภาพ เวลาที่เราพูดถึงโรงเรียนมาตรฐานสากล หรือพูดถึงเรื่องโรงเรียนคุณภาพพิเศษ ก็ล้วนแต่เป็นโรงเรียนมัธยมที่เป็นต้นแบบของการพัฒนา และจะถ่ายทอดลงมาระดับล่าง เวลาเราพูดถึงคุณภาพ พูดถึงอาเซียนก็จะยกมัธยมศึกษามาต้นแบบอธิบาย ถ้าหากไม่มีต้นแบบที่ดีบางที่ก็อธิบายสื่อสารกันลำบาก ดังนั้น จึงคิดว่าการอยู่รวมกันทำให้มีพลัง แต่ถ้าแยกออกไปก็ไม่รู้ว่าเพื่ออะไร ต้องถามคำถามแรกก่อนว่าเพื่ออะไร เพื่อใคร แต่ถ้าตอบคำถามได้ไม่ชัดเจน ผมคิดว่า ผู้บริหารระดับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ก็คงยังไม่สามารถบอกได้ว่า เรื่องนี้เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องคุณภาพการจัดการศึกษาที่ถูกทาง”นายชินภัทร กล่าว
       
       ทั้งนี้ ตนไม่มีความเชื่อแบบที่ ส.บ.ม.ท.ระบุว่า การแยกตัวดังกล่าวจะทำให้การบริหารงานคล่องตัวขึ้นกว่า โดยมองว่า สพฐ.เป็นองค์กรที่มีขนาดใหญ่การบริหารจัดการลำบากไม่คล่องตัว เพราะ สพฐ.ไม่ได้ไปสกัดกั้น แต่พยายามทุกทางที่จะปล่อยให้เขตพื้นที่มีอิสรภาพและความคล่องตัว ปัญหาเรื่องเขตพื้นที่การศึกษา ที่บอกว่ามีไม่ครบทุกจังหวัด ไม่ใช่สิ่งที่ สพฐ.สกัดกั้น สพฐ.เห็นด้วยกับการมีเขตมัธยมฯเขตละ 1 จังหวัด แต่ในทางปฏิบัติยังทำไม่ได้ เพราะความพร้อมเรื่องการกระจายคน เพราะเท่าที่มีตอนนี้ 42 เขตพื้นที่ฯยังมีอัตรากำลังไม่ครบ และหากจะเพิ่มเป็น 78 เขตพื้นที่ฯจะทำให้การทำงานมีความอ่อนแอลงไปอีก ดังนั้นปัญหาจึงไม่ได้ติดขัดที่หลักการแต่ติดขัดที่การกระจายคน ซึ่งตนคงจะนำรายละเอียดทั้งหมดชี้แจงให้นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ทราบอีกครั้ง
       
       เมื่อถามว่า ข้อเสนอดังกล่าวมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน เลขาธิการ กพฐ.กล่าวว่า คงเป็นเรื่องระยะยาว จะทำอะไรต้องดูทิศทางลม อีกทั้ง นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ ก็บอกชัดเจนแล้วว่าจะเดินหน้าเรื่องคุณภาพการศึกษาและคุณภาพต่างๆ ให้ดีขึ้นจะไม่ปรับโครงสร้างใหญ่ในช่วงนี้ เพราะเสียเวลา ซึ่งชัดเจนอยู่แล้ว ดังนั้น มาเสนอตอนนี้ผิดเวลา


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ชินภัทร กลุ่มมัธยม ขอแยก สพฐ. ไม่ดูทิศทางลม

view