สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

จุดจบของสงครามค่าเงิน

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ จับช่องลงทุน

โดย ดร.ตรีพล ภูมิวสนะ ผู้อำนวยการฝ่ายลงทุนต่างประเทศและบริหารผู้จัดการกองทุน กบข.


สงคราม ไม่ได้เกิดขึ้นบนพื้นดินเท่านั้น เพราะเวลานี้สงครามกำลังเกิดขึ้นในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ตลาดการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยปริมาณซื้อขายเฉลี่ย 3.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อวัน สูงกว่าตลาดหุ้นที่นิวยอร์กถึง 60 เท่า

สาเหตุ ที่ผมบอกว่าตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศกำลังกลายเป็นสมรภูมิรบ นั่นเพราะบรรดาธนาคารกลางใหญ่ ๆ ของโลกกำลังทำให้ค่าเงินของประเทศตนอ่อนค่าด้วยการดำเนินนโยบายการเงินเชิง รุก อัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบ ส่งผลกระทบต่อตลาดเงินทั่วโลก

ปัจจุบัน หลายฝ่ายกังวลว่าการต่อสู้เพื่อดูแลไม่ให้ค่าเงินผันผวนจนเกินไปจะระอุขึ้น โดยที่แต่ละประเทศจะไม่ยอมกัน เพราะเดิมพันของสงครามครั้งนี้คือระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศตน

อย่าง ที่ทราบกันดีว่า จุดเริ่มต้นของสงครามค่าเงินมาจากการที่ประเทศยักษ์ใหญ่ของโลก ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น กระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายทางการเงิน ทำให้สภาพคล่องล้นระบบ จึงเกิดการเคลื่อนย้ายเงินลงทุนมายังประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตได้ดี ผลที่ตามมาคือค่าเงินของประเทศเหล่านั้นแข็งค่าขึ้น

ประเทศ ไทยเองก็ได้รับอานิสงส์จากเงินทุนไหลเข้า ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น 2.5% จากต้นปี ในขณะที่หลายประเทศในเอเชีย อาทิ เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ ก็กำลังเผชิญปัญหาเดียวกัน ด้วยความกังวลว่าค่าเงินแข็งค่าเร็วและแรงเกินไป จนอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่พึ่งพาการส่งออก จึงทำให้หลายประเทศเริ่มคิดหาวิธีการทำให้ค่าเงินของตัวเองอ่อนค่าลง เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน

นี่คือจุดเริ่มต้นของจุดจบที่ไม่สวยนักของสงครามค่าเงิน เพราะ ในทางเศรษฐศาสตร์ การทำให้ค่าเงินอ่อนเปรียบเสมือน "การเบียดเบียนเพื่อนบ้าน" เพราะเป็นการตัดราคาสินค้าเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันที่ดีขึ้น

ผู้ ที่เสียหายจากการทำให้ค่าเงินอ่อน ก็คือคู่แข่งที่เป็นเพื่อนบ้านที่มีสินค้าในลักษณะคล้ายกันนั่นเอง ถ้าเพื่อนบ้านเริ่มรู้สึกถึงการถูกแย่งลูกค้า ก็อาจเอาคืนโดยลดค่าเงินเช่นกัน ประโยชน์จากการลดค่าเงินคงไม่เกิดขึ้นซ้ำร้าย อาจถูก "เอาคืน" โดยเพื่อนบ้านที่ลดค่าเงินเพิ่มขึ้น

สิ่ง ที่น่าห่วงไปกว่านั้นคือ ค่าเงินอ่อนค่าอาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ในมุมมองของนักลงทุนเพื่อการออมระยะยาว นี่ย่อมเกิดผลในทางลบต่อผลตอบแทนจากการออม นอกจากนั้น อัตราเงินเฟ้อยังมีผลกระทบต่อผู้สูงอายุที่รายได้คงที่อีกด้วย ในทางกลับกัน การที่ค่าเงินแข็งอาจช่วยลดแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อ แต่จะส่งผลกระทบทางลบกับการลงทุนในต่างประเทศเช่นกัน

อย่าง ไรก็ดี หากค่าเงินแข็งค่าเร็วไปก็ไม่เป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ เพราะอาจกระทบอย่างรุนแรงต่อผู้ส่งออก และการที่ค่าเงินผันผวนมาก ๆ จะทำให้ต้นทุนในการปิดความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้นด้วย

กลับ มาที่สถานการณ์ค่าเงินในประเทศ ส่วนตัวผมมองว่าในระยะยาวค่าเงินบาทควรแข็งขึ้น ตราบใดที่นักลงทุนยังคงคาดว่าส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยและอัตราการขยายตัวทาง เศรษฐกิจระหว่างไทยและประเทศ

คู่ค้ายังคงอยู่ในระดับสูง แต่หากค่าเงินแข็งเร็วเกินไปก็ควรมีการชะลอการแข็งค่าในระยะสั้นแล้วค่อย ๆ ปล่อยกลไกตลาดให้ทำงานตามปกติ และ ผมเชื่อในความสามารถในการปรับตัวและข้อได้เปรียบในการแข่งขันของภาคเอกชนไทย ที่จะรับมือสถานการณ์เงินบาทแข็งครับ เพราะในรอบ 15 ปีที่ผ่านมาภาคเอกชนไทยเคยประสบปัญหานี้มาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน และเราก็ผ่านมาได้ คราวนี้ก็เช่นกัน ผมหวังว่าภาคเอกชนไทยจะสามารถสร้างศักยภาพในการแข่งขันจากการเพิ่มคุณภาพและ มูลค่าของสินค้ามากกว่าแค่การแข่งราคากับเพื่อนบ้าน

เชื่อเถอะครับ ว่า การทำสงครามค่าเงินไม่เกิดประโยชน์กับใครทั้งสิ้น เพราะสุดท้ายคนที่จะแพ้สงครามคือประชาชนทั่วไปที่ต้องต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : จุดจบ สงครามค่าเงิน

view