สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ปรากฏการณ์ เงินท่วมโลก ต้นตอค่าเงินผันผวน

จากประชาชาติธุรกิจ

โดย ขวัญใจ เตชเสนสกุล ผอ.ฝ่ายวิจัยธุรกิจ ธสน.

คอลัมน์ เลียบรั้วเลาะโลก

ใน เดือนมกราคมที่ผ่านมา รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศใช้นโยบายการคลังโดยอัดฉีดเม็ดเงินจำนวน 10.3 ล้านล้านเยน (116 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในปี 2556 และเตรียมใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย (QE) อัดฉีดเม็ดเงินจำนวน 13 ล้านล้านเยน (ราว 145 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ต่อเดือน ตั้งแต่ต้นปี 2557 โดยไม่กำหนดระยะเวลาสิ้นสุด นับเป็นประเทศที่สองถัดจากสหรัฐ ที่นำมาตรการดังกล่าวมาใช้ การอัดฉีดเม็ดเงินจำนวนมหาศาลของญี่ปุ่น ส่วนหนึ่งเพื่อกดดันเงินเยนให้อ่อนค่าลง ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ภาคส่งออกของญี่ปุ่น

จาก การดำเนินนโยบายดังกล่าว ส่งผลให้เงินเยนอ่อนค่าลงกว่า 6% ภายในเวลา 2 เดือนนับตั้งแต่ต้นปี 2556 ซึ่งในตอนแรกคาดกันว่าการกระทำดังกล่าวของญี่ปุ่นจะถูกคัดค้านจากกลุ่ม ประเทศ G7 ที่ญี่ปุ่นเป็นสมาชิกอยู่ เนื่องจากที่ผ่านมา?กลุ่ม G7 มีจุดยืนชัดเจนในการต่อต้านการแทรกแซงค่าเงินทุกรูปแบบ

อย่างไรก็ ตาม แถลงการณ์ของกลุ่ม G7 ภายหลังการประชุมเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2556 กลับมีท่าทียอมรับต่อการดำเนินนโยบายของญี่ปุ่น โดยเห็นว่า?การที่เงินเยนอ่อนค่าลงมากนั้น เป็นเพียง?ผลกระทบทางอ้อมที่เกิดจากการใช้มาตรการ QE เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ไม่ถือว่าเป็นการแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยน ท่าทีดังกล่าวของกลุ่ม G7 นับเป็นสัญญาณที่เป็นไปได้ว่าประเทศพัฒนาแล้วอื่น ๆ อาจเตรียมที่จะใช้นโยบายค่าเงินอ่อนผ่านการอัดฉีดเม็ดเงินจำนวนมหาศาลเข้า สู่ระบบเช่นเดียวกัน

ปัญหาเศรษฐกิจประเทศหลักตกต่ำ ขณะที่เครื่องมือในการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งนโยบายการเงินและนโยบายการคลังแทบ ไม่เหลือช่องว่างให้ใช้ได้อีกต่อไป ท่ามกลางอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ต่ำมากจนใกล้แตะ 0% ขณะที่ภาคการคลังก็เผชิญกับภาวะหนี้สาธารณะในระดับสูง จนไม่สามารถใช้จ่ายเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้อีกต่อไป มาตรการ QE จึงกลายเป็นยาแก้สารพัดโรคให้กับประเทศเศรษฐกิจหลัก ทั้งนี้ หากนับเม็ดเงินที่จะมีการอัดฉีดเข้าสู่ระบบ เฉพาะสหรัฐและญี่ปุ่นรวมกันมีมูลค่าสูงถึง 1.37 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2556 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.76 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2557 เม็ดเงินจำนวนมหาศาลดังกล่าวมีขนาดใหญ่กว่าเศรษฐกิจไทยถึง 6 เท่า สะท้อนภาพว่าเรากำลังเข้าสู่ยุค "เงินท่วมโลก"

เงินจำนวนมหาศาลเหล่า นั้น ส่วนหนึ่งกลายมาเป็นเงินร้อนที่เข้าไปลงทุนหาผลประโยชน์ระยะสั้นในประเทศ ต่าง ๆ ?โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนารวมถึงประเทศไทย ส่งผลให้ค่าเงินเกิดความผันผวนรุนแรง ทั้งนี้ นับตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา เกิดเหตุการณ์ที่ค่าเงินบาทผันผวนทั้งแข็งค่าและอ่อนค่าในระดับที่เกินกว่า 3% จำนวนทั้งสิ้น 8 ครั้ง ภายในระยะเวลา 2 ปี และคาดว่าความผันผวนของค่าเงินจะอยู่กับเราต่อไปอีกสักระยะ ตราบเท่าที่ประเทศเศรษฐกิจหลักทั้งหลายยังอัดฉีดเงินเข้าระบบอย่างไม่หยุด ยั้ง

สุดท้ายนี้ผู้เขียนขอฝากถึงผู้ประกอบการ?ทุกท่าน โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งไม่ใช่แต่เฉพาะผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจส่งออกเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมด้านเงินตราต่างประเทศ โดยเฉพาะผู้นำเข้าสินค้าหรือวัตถุดิบจากต่างประเทศเพื่อผลิตหรือจำหน่ายใน ประเทศก็ตาม ว่าในยุคที่ค่าเงิน?มีความผันผวนรุนแรงและยากต่อการ?คาดเดาเช่นปัจจุบัน การป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน นับเป็นกลยุทธ์สำคัญที่จะช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ประกอบการให้ไม่ต้องพะวงกับ การเปลี่ยนแปลงของค่าเงินชนิดวันต่อวันอย่างที่เป็นอยู่ ขณะที่?ผู้ประกอบการทุกท่านต้องเผชิญกับ?ข้อจำกัดในการดำเนินธุรกิจมากอยู่ แล้ว จึงอยากให้ท่านทุ่มเทความสามารถไปกับ?การผลิตและพัฒนาสินค้า โดย?ไม่คาดหวังกำไรจากค่าเงิน ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุม

Disclaimer : คอลัมน์นี้เพื่อเผยแพร่?ให้ความรู้ ซึ่งเป็นข้อคิดเห็น?ส่วนบุคคลจึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความคิดเห็นของ ธสน.


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ปรากฏการณ์ เงินท่วมโลก ต้นตอ ค่าเงินผันผวน

view