สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

งานสัมมนา วิพากษ์นโยบายประชานิยมต่อเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง

ปรีดิยาธร'จวกนักการเมืองขาดหิริโอตัปปะ

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

"ปริดิยาธร"จวกนักการเมืองไทยขาด"หิริโอตัปปะ" ละอายต่อการทำชั่ว กลัวต่อการทำบาป ยกกรณีจำนำข้าว เสียหายยับ แต่รัฐบาลนิ่ง

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวในงานสัมมนา "วิพากษ์นโยบายประชานิยมต่อเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง" ตอนหนี่งว่า ห่วงการดำเนินนโยบายประชานิยมของละอาย เพราะนัการเมืองในปัจจับัน ไม่มีหิริโอตัปปะ หรือกควาสมละอายต่อการทำชั่ว กลัวต่อการทำบาบ

ทั้งนี้ ยกตัวอย่างกรณีโครงการรับจำนำข้าวที่สร้างความเสียหายนับแสนล้านบาท แต่รัฐบาลยิ่งนิ่งเฉย คิดว่าตัวเองมีเสีียงข้างมาก 2 ใน 3 ในสภาไม่เห็นต้องกังวล

"ผมมองว่าความละอายใช้กลไกบังคับไม่ได้ ต้องใช้กฎหมายบังคับ"

อ่านบทความเพิ่มเติม

จี้รัฐเลิกประชานิยม หวั่นหนี้สาธารณะพุ่ง


หม่อมอุ๋ย” เตือนสัญญาณร้ายหนี้สาธารณะพุ่ง 65.96% ต่อจีดีพี แนะรัฐบาลเลิกประชานิยม

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร” ห่วงหนี้สาธารณะไทยเพิ่มเป็น 65.96% ต่อจีดีพี ในปี 2562 แนะรัฐบาลหยุดโครงการประชานิยม พร้อมระบุโครงการจำนำข้าวส่อแนวโน้มขาดทุนบักโกรกปีละ 1.4-1.7 แสนล้าน
       
       ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวในการสัมมนา “วิพากษ์นโยบายประชานิยมต่อเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง” โดยยอมรับว่า ตนเองมีความกังวลต่อหนี้สาธารณะที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 44 ต่อจีดีพี ในขณะที่รัฐบาลไม่แสดงความกังวลต่อเรื่องดังกล่าว แต่หากมองถึงการใช้จ่ายภาครัฐในหลายโครงการ เช่น การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท โครงการบริหารจัดการน้ำ รวมทั้งนโยบายประชานิยมต่างๆ เช่น โครงการรับจำนำข้าว ซึ่งมีแนวโน้มขาดทุนเพิ่มขึ้นปีละ 1.4-1.7 แสนล้านบาท จะส่งผลต่อสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีให้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 65.96 ในปี 2562
       
       นอกจากนี้ ยังมีโครงการที่รัฐบาลดำเนินการซึ่งมีผลต่อหนี้สาธารณะ เช่น โครงการรถยนต์คันแรก โครงการบ้านหลังแรก จึงเห็นว่ารัฐบาลควรจะทบทวน และหยุดดำเนินโครงการบางอย่าง เช่น โครงการรับจำนำข้าว


หม่อมอุ๋ยเตือนรัฐระวังหนี้ท่วม

จาก โพสต์ทูเดย์

ม.ร.ว.ปรีดิยาธรเตือนรัฐบาลระวังหนี้สาธารณะท่วมจากนโยบายประชานิยม ชี้ อาจถึง 65%ของจีดีพีในปี62 แนะหยุดโครงการรับจำนำข้าว

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง กล่าวในงานสัมมนาวิพากษ์นโยบายประชานิยมต่อเศรษฐกิจ การเงิน การคลังว่า ส่วนตัวมีความกังวลต่อหนี้สาธารณะที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยปัจจุบันอยู่ที่ 44% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) แต่รัฐบาลกลับยังไม่แสดงความกังวลต่อเรื่องดังกล่าว

ทั้งนี้การใช้จ่ายภาครัฐในหลายโครงการ อาทิ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท โครงการบริหารจัดการน้ำ รวมทั้งนโยบายประชานิยมต่างๆ เช่น โครงการรับจำนำข้าวนั้น มีแนวโน้มขาดทุนเพิ่มขึ้น ปีละ 1.4-1.7 แสนล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีโดยจะเพิ่มขึ้น เป็น65% ของจีดีพี ในปี 2562

"ขณะนี้รัฐบาลควรจะทบทวนและหยุดดำเนินโครงการบางอย่าง เช่น โครงการรับจำนำข้าว"ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าว

ก่อนหน้านี้สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ (ทีดีอาร์ไอ) คาดการณ์แนวโน้มหนี้สาธารณะของประเทศไทยว่ามีความเสี่ยงที่จะมีหนี้สาธารณะ สูงถึง 70-80%ของจีดีพี โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากโครงการรับจำนำข้าวที่ประสบภาวะขาดทุน การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน 2.2 ล้านล้านบาท และการใช้จ่ายภาครัฐ



ธีระชัย'แนะไทยควรกำหนดหน้าผาการคลัง

ธีระชัย"อดีตขุนคลังรัฐบาลยิ่งลักษณ์ รัฐบาลกำหนดหน้าผาการคลัง แก้รัฐธรรมนูญ ปิดช่องใช้เงินนอกงบได้เฉพาะในกรณีฉุกเฉิน

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวในงานสัมมนา "วิพากษ์นโยบายประชานิยมต่อเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง" ตอนหนึ่งว่า การดำเนินนโยบายประชานิยมของรัฐบาล ต้องกำหนดกรอบกติกาชัดเจนว่าจะหารายได้มาชดเชยอย่างไร

นอกจากนี้ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยังระบุด้วยว่า ควรมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อปิดช่องการใช้เงินนอกงบประมาณ โดยเขียนกรอบกติกาให้ชัดเจนว่าจะใช้ได้ในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น

ขณะเดียวกัน จำเป็นต้องมีการกำหนดหน้าผาการคลัง เพื่อป้องกันให้รัฐบาลไม่ใช่นโยบายประชานิยม จนกระทบต่อวินัยการคลัง


'กอบศักดิ์'ห่วงมาร์เก็ตติ้งเซลประชานิยม

"กอบศักดิ์"ห่วงรัฐบาลโหม "มาร์เก็ตติ้งเซล ประชานิยม" ดันหนี้สาธารณะพุ่ง

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล นักเศรษฐศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและตลาดทุน ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวในงานสัมมนา "วิพากษ์นโยบายประชานิยมต่อเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง" ตอนหนึ่งโดยระบุว่า ทุกครั้งที่มีการเลือกตั้งพรรคการเมืองต่างๆ จะมีการแข่งขันนโยบายประชานิยม หรือ Marketting Sale ประชานิยม ซึ่งในอดีตพูดกันแล้วไม่ทำ แต่ปัจจุบันแล้วพูดไปแล้วต้องทำ ซึ่งถือเป็นเรื่องน่ากลัวมาก เพราะนโยบายประชานิยมกระทบกับภาระงบประมาณรายจ่ายของประเทศ และส่งผลกับภาระหนี้สาธารณะ

ส่วนที่รัฐบาลมีนโยบายลงทุนโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ และโครงการบริหารจัดการน้ำ ณ ขณะนี้เศรษฐกิจไทยกำลังไปได้ดี ทำให้สามารถเป็นหนี้ได้มากขึ้น

"หนี้ที่เกิดขึ้นเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจดี และทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นไม่เกิน 50% ถือว่ายังไม่น่าห่วง แต่สิ่งที่ห่วงคือ ในอนาคต หากเศรษฐกิจไม่เป็นไปตามคาด หากเศรษฐกิจโลกเกิดวิกฤติ อีกรอบ ปัญหาจะตามมา"


นิพนธ์'แนะออกก.ม.บีบรัฐบาลแจงภาระหนี้

ทีดีอาร์ไอแนะออกฏหมายบีบรัฐบาลเปิดเผยภาระหนี้ผูกพันในนาคต ป้องกันวิกฤติหนี้สาธารณะ เตือนใช้เงินนอกงบผ่านแบงก์รัฐ ระวังก่อวิกฤติ

นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวในงานสัมมนา "วิพากษ์นโยบายประชานิยมต่อเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง" ตอนหนี่ง โดยระบุว่า แนวทางการสร้างวินัยการคลัง ต้องบังคับให้รัฐบาลเปิดเผยภาระหนี้ผูกพันที่เกิดขึ้นในอนาคต เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้

นอกจากนี้ นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ยังแสดงความกังวลกับการใช้จ่ายเงินนออกงบประมาณของภาครัฐ ผ่านโครงการต่างๆ เช่น โครงการประชานิยม โครงการพักชำระหนี้ ผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ซึ่งถือเป็นกิจการกึ่งการคลัง ที่สำคัญคือ ไม่ผ่านกระบวนการตรวจสอบของรัฐสภา

"เรื่องนี้ถือเป็นการใช้เงินนอกงบ เป็นกิจการกึ่งการคลัง ซึ่งในอนาคตจะเป็นความเสี่ยงทางการคลัง และอาจก่อให้เกิดวิกฤติหนีั้ในอนาคต"

โดยกฎหมายที่ออกมาต้องกำหนดให้รัฐบาลทำบัญชีที่โปร่งใส ให้บทบาทรัฐสภา ตรวจสอบการใช้งบกึ่งการคลัง ได้อย่างโปร่งใส เพื่อการสร้างวินัยการคลัง และเปิดเผยขอมูลอย่างโปร่งใส


แนะต่อยอดประชานิยมเป็นรัฐสวัสดิการ

นักวิชาการจุฬาฯแนะรัฐบาลต่อยอดโครงการประชานิยมเป็นรัฐสวัสดิการ พร้อมเสนอให้มีการจัดลำดับความสำคัญคนที่จะเข้าถึงรัฐสวัสดิการ

ดร.เอื้ออารีย์ อิ้งจะนิล คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวในงานสัมมนา "วิพากษ์นโยบายประชานิยมต่อเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง" ตอนหนี่ง โดยระบุว่า รัฐบาลควรพัฒนาแนวคิดการดำเนินนโยบายประชานิยม ส่วนหนึ่งไปต่อยอดให้เห็นระบบรัฐสวัสดิการ และที่สำคัญต้องมีการจัดลำดับสำคัญ ว่า กลุ่มไหนควรได้รับการช่วยเหลือ หรือรัฐสวัสดิการ

นอกจากนี้ ยังยกตัวอย่างถึงความเหลื่อมล้ำเกี่ยวกับนโยบายประชานิยมหรือการให้สวัสดิการรัฐว่า ในส่วนของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (แอลทีเอฟ) หรือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (อาร์เอ็มเอฟ) กลุ่มคนส่วนใหญ่ที่ได้ประโยชน์ด้านสิทธิภาษี ตกอยู่ในกลุ่มคนไม่กี่กลุ่ม ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นคนรวยทั้งนั้น ดังนั้น ควรมีการวางกรอบการให้ความช่วยเหลือ


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : งานสัมมนา วิพากษ์ นโยบายประชานิยม เศรษฐกิจ การเงิน การคลัง

view