สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

กูรูเศรษฐกิจ-นักกฎหมายห่วงหายนะ เสนอล้อมคอก ประชานิยม

จากประชาชาติธุรกิจ

สัมภาษณ์และรายงานพิเศษ
Prachachat Online

วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2556

กูรูเศรษฐกิจ-นักกฎหมายห่วงหายนะ เสนอล้อมคอก "ประชานิยม"

Prev
1 of 1
Next

updated: 17 มี.ค. 2556 เวลา 00:03:29 น.

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์


นโยบาย "ประชานิยม" ที่ทำให้ "พรรคเพื่อไทย" ได้รับชัยชนะเลือกตั้งเข้ามาเป็นรัฐบาล กำลังถูกตั้งคำถามจากสังคมไทย ว่าที่สุดแล้วจะกลายเป็นการสร้างภาระการคลังอย่างมหาศาลให้แก่ประเทศในอนาคต คณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน วุฒิสภา ได้จัดเวที "วิพากษ์นโยบายประชานิยมต่อเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง"

โดย เชิญกูรูด้านเศรษฐกิจ ทั้งอดีตรองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง รวมถึงอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อย่าง "ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล", อดีต รมว.คลัง สมัยรัฐบาล "ยิ่งลักษณ์ 1" อย่าง "ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล", "ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร" นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) รวมทั้งนักวิชาการหัวกะทิ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ อย่าง "ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล" และ "ดร.เอื้ออารีย์ อึ้งจะนิล" นักวิชาการกฎหมายคณะนิติศาสตร์ จากรั้วจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาร่วมให้มุมมอง

หวั่นเสพติด-ดันหนี้พุ่ง 80%

ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าวว่า ประชานิยมหลายโครงการที่ทำอยู่ในปัจจุบัน กำลังส่งผลเสียหาย ซึ่งจะสะสมเป็นหนี้สาธารณะจำนวนที่สูงจนกระทั่งกระทบต่อฐานะการเงิน การคลังของประเทศ เพราะประชานิยมเป็นเรื่อง "การเมือง" 100% ทำเพื่อหวังผลทางการเมือง และรัฐบาลปัจจุบัน เห็นประชานิยม

แบบแปลก ๆ มากขึ้น อย่าง "รถคันแรก" แต่ที่หนักสุดคือการรับจำนำข้าวทุกเมล็ดที่สูงกว่าราคาตลาด 30% ส่งผลปีแรกขาดทุน 1.4 แสนล้านบาท จากปริมาณข้าว 21.64 ล้านตัน และรัฐบาลยังไม่หยุด ประกาศจะทำต่อ ซึ่งรวมแล้วปริมาณข้าวจะเพิ่มเป็น 33 ล้านตัน ก็จะขาดทุนถึง 2.1 แสนล้านบาท

"ม.ร.ว.ปรีดิยาธร" ประเมินว่า ผลพวงจากนโยบายประชานิยมจะทำให้หนี้สาธารณะในปี 2562 ก่อนรวมผลขาดทุนจากรับจำนำข้าวอยู่ที่ 8.696 ล้านล้านบาท หรือ 55.66% ของ GDP แต่หากรวมผลขาดทุนจำนำข้าวทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มเป็น 10.306 ล้านล้านบาท หรือ 65.96% ของ GDP โดยประเมินว่าผลขาดทุนจากปี 2555-2562 จะอยู่ที่ 1.470 ล้านล้านบาท

"ขณะที่ทุกพรรคการเมืองยังคิดว่าเลือก ตั้งคราวหน้า จะใช้ประชานิยมอะไรมาหลอกล่อประชาชน ถ้าไม่ช่วยกันเบรก มันมาอีกแน่ ๆ แล้วหนี้จะกลายเป็น 80% ซึ่งประเทศไทยเอาไม่อยู่"

3 ประเด็นน่ากังวล-อย่ารอจนสายเกินไป

ขณะ ที่ "ดร.กอบศักดิ์" เห็นว่าควรใส่ใจพูดถึงปัญหาของ ประชานิยมก่อนที่จะสายเกินไป ถ้าไม่พูดวันนี้อีก 5-6 ปีอาจต้องเสียใจ เพราะหนี้ภาครัฐขณะนี้ 44% ถือว่ากลาง ๆ เมื่อเทียบกับฐานะประเทศ แต่ก็เพิ่มขึ้นจากช่วงก่อนวิกฤตปี 2551 ถึง 7-8% ถือว่าเพิ่มอย่างรวดเร็วจากการทำงบประมาณที่ไม่ระมัดระวัง

"ประชานิยมหลายอันเข้าไปแทรกแซงกลไกตลาด จนทำให้มีปัญหา ไม่ว่าจะตลาดข้าว ตลาดแรงงาน และตลาดอื่น ๆ"

เรื่อง น่ากังวล 3 ประเด็น ได้แก่ 1.กรณีหนี้ 44% ของจีดีพี แต่แท้จริงยังมีส่วนที่ซุกอยู่ เช่น กรณีเอสเอ็มอีแบงก์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยที่มีปัญหา และ ธ.ก.ส.ที่ต้องเพิ่มทุน เป็นต้น สุดท้ายรัฐบาลต้องใส่เงินให้ และกรณีกองทุนประกันสังคมที่จริง ๆ แล้วมีเงินไม่เพียงพอสำหรับจ่ายสิทธิประโยชน์ให้สมาชิก

2.พฤติกรรม รัฐบาลเปลี่ยนไป ช่วง 5-6 ปีหลังข้อเสนอเรื่องโครงการสวัสดิการสังคมมากขึ้น แม้เป็นเรื่องที่ดี แต่ก็น่ากังวลเรื่องภาระต่อเนื่อง เช่น เบี้ยคนชรา เป็นต้น และที่จะแข่งกันออกมาอีก และ 3.หนี้ที่กำลังจะเพิ่มขึ้น เป็นการเพิ่มในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังดี ซึ่งปกติการเพิ่มหนี้มักจะเกิดในช่วงเศรษฐกิจไม่ดี

เตือนออมเงินรับวิกฤต ศก.โลกลามเอเชีย

ดร.กอบศักดิ์ประเมินว่า มีโอกาสที่ในช่วง 5 ปีข้างหน้า วิกฤตเศรษฐกิจโลกอาจลามมาถึงภูมิภาคเอเชีย ซึ่งจำเป็นต้องมี

เม็ด เงินใช้จ่ายเพื่อให้เศรษฐกิจไทยอยู่รอดไปได้ แต่ถ้าไม่ออมในช่วงนี้อนาคตก็จะลำบาก โดยมีตัวอย่างปัญหาวิกฤตในหลายประเทศ เช่น กรีซ เกิดวิกฤตจากการกู้ไปใช้ทำประชานิยมซื้อใจประชาชน ขณะที่สเปน ซึ่งเป็นประเทศที่มีวินัยการเงินการคลังดี แต่ด้วยความใจดีจัดสวัสดิการให้ประชาชน จนเกิดวิกฤตขึ้น ส่วนอาร์เจนตินา ก็ซุกซ่อนหนี้ไว้ที่รัฐบาลท้องถิ่น

ดังนั้น เพื่อป้องกันวิกฤตการเงินการคลัง มีข้อควรระวัง 4 เรื่อง

คือ 1.การใช้เงินในโครงการที่ง่าย ๆ แต่ไม่ก่อประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ เหมือนนำเงินไปทิ้งแม่น้ำ 2.งบฯลงทุนจะถูกภาระการจ่ายหนี้เบียดบังมากขึ้น 3.ความคล่องตัวของรัฐบาลในการดูแลปัญหากรณีคับขันจะลดลงไป และ 4.วิกฤตจะลากยาว

ชง 6 ข้อแก้รัฐธรรมนูญกติกาเศรษฐกิจใหม่

ด้าน นายธีระชัย เสนอว่า ต้องตีกรอบการบริหารเศรษฐกิจให้ชัดเจน โดยเสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ เพราะกว่า 80 ปีตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง ผ่านการมีรัฐธรรมนูญมา 17 ฉบับ แต่มีการแตะเรื่องเศรษฐกิจน้อยมาก

ข้อเสนอ 6 ข้อ คือ 1.วางกรอบเรื่องแหล่งเงิน โดยเฉพาะประชานิยมที่ไม่ใช่เรื่องจำเป็นของชีวิต ต้องตั้งกติกาให้รัฐบาลหารายได้มาชดเชย ไม่ใช่วิธีเพิ่มหนี้ 2.กำหนดให้พรรคการเมืองที่ประกาศนโยบายประชานิยม ต้องประกาศด้วยว่าจะใช้เงินเท่าใด จากแหล่งไหน 3.ควรห้ามรัฐบาลรับจำนำสินค้าเกษตรเกินราคาตลาด 4.ให้รัฐสภาทำหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินงานของรัฐบาลในภาคเศรษฐกิจ ซึ่งปัจจุบันดูแลมากเฉพาะด้านรายจ่าย แต่ควรดูแลด้านรายได้และหนี้สาธารณะด้วย โดยเสนอต่อรัฐสภาทุกปี

"ผม เห็นว่าควรใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญเลยว่า ถ้ารัฐบาลเบี้ยว ไม่ทำตามที่สัญญาไว้ตามที่แถลงต่อรัฐสภา ควรมีหน้าผาการคลังของประเทศไทย มีข้อกำหนดว่าห้ามรัฐบาลใช้จ่ายเงินชั่วคราวจนกว่าจะหาวิธีการแก้ปัญหา แล้วนำมาเสนอต่อรัฐสภา"

5.ควรกำหนดให้รัฐบาลประเมิน และแถลงภาระของรัฐที่ครบถ้วน ครอบคลุมทุกโครงการ ทั้งปัจจุบันและอนาคต เป็นประจำทุกไตรมาส และ 6.ควรตีกรอบการกู้เงินนอกงบประมาณ

ออก กม.บังคับรัฐบาลเปิดเผยไส้ใน "ประชานิยม"

ส่วน "ดร.นิพนธ์" มองว่า ประชานิยมมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือ ช่วยเรื่องการกระจายรายได้ แต่ข้อเสียคือ ปัญหาวินัยทางการคลัง โดยจะเห็นว่าปัจจุบันรัฐบาลและพรรคการเมืองนิยมใช้เงินนอกงบประมาณที่กู้จาก สถาบันการเงินของรัฐ

นำมาใช้ในนโยบายประชานิยม ทำให้เกิด "ภาระผูกพันในอนาคต" และเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น โดยจะก่อให้เกิด "ความเสี่ยงทางการคลัง" ซึ่งจะร้ายแรงจนก่อให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจได้

"แนว ทางการสร้างวินัยทางการคลังที่สำคัญ ต้องหันมาเน้นเรื่องการมีกฎหมายบังคับให้รัฐบาลจะต้องเปิดเผยข้อมูลที่ เกี่ยวกับภาระหนี้ผูกพันที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต การทำระบบบัญชีคงค้างสำหรับโครงการที่ยังไม่จบ เพื่อประมาณการภาระหนี้

การ จัดทำรายงานความเสี่ยงทางการคลังเสนอต่อรัฐสภา สร้างระบบบริหารความเสี่ยงด้านการคลัง ตลอดจนสร้างหน่วยงานวิชาการที่เป็นอิสระในรัฐสภา ทำการวิเคราะห์ด้านการเงินการคลัง เพื่อให้วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรรู้ภาระที่แท้จริง เวลาตรวจสอบรัฐบาลจะได้เป็นไปในทิศทางที่เป็นประโยชน์" ดร.นิพนธ์กล่าว

จี้เก็บภาษีทรัพย์สินหนุนรัฐสวัสดิการ

ด้าน นักกฎหมายอย่าง "ดร.เอื้ออารีย์" เห็นว่า การดำเนินนโยบายประชานิยมต้องสอดคล้องกับหลักการของรัฐธรรมนูญปี 2550 หมวด 8 ที่ได้มีการวางกรอบต่าง ๆ ไว้ และขณะนี้ได้มีการยกร่างกฎหมายวินัยการเงินการคลัง ซึ่งล่าสุดได้ผ่านการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะมีผลบังคับใช้เร็ววันนี้

"เมื่อระบบสวัสดิการมีประเด็นเรื่องต้นทุนค่อนข้างสูง แหล่งรายได้ต้องมาจากภาษี แต่ถามว่าภาษีที่ควรมีการจัดเก็บอย่าง กม.ภาษีมรดก ภาษีทรัพย์สิน ภาษีที่ดินทำไมไม่มีรัฐบาลไหนกล้าทำ เพราะจะเป็นการกระจายความมั่งคั่งของคนรวยไปช่วยคนจน แม้แต่เรื่องค่าลดหย่อนภาษีต่าง ๆ ที่มีแต่คนรวยที่ได้สิทธิ์ ไม่ได้บอกให้ยกเลิก แต่ลดลงบ้างได้หรือไม่" ดร.เอื้ออารีย์กล่าว


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : กูรูเศรษฐกิจ นักกฎหมาย ห่วงหายนะ ล้อมคอก ประชานิยม

view