สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ปัจจัยใน-นอกรุมเร้าเศรษฐกิจ เอกซเรย์อาการก่อนประชุม กนง.

จากประชาชาติธุรกิจ

สำหรับการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งจะมีทุก ๆ 6 สัปดาห์ และรอบที่ใกล้เข้ามากำลังจะเกิดขึ้นในวันพุธที่ 3 เม.ย.นี้ ท่ามกลางการเฝ้าติดตามผลการประชุมจากตลาดเงินตลาดทุน ในยามปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศรุมเร้าและเรียกร้องให้อัตราดอกเบี้ย นโยบาย หรืออาร์/พี ที่กำลังจะเปิดเผยออกมา สะท้อนภาพเศรษฐกิจที่แท้จริง ไปพร้อมกับการตอบรับความท้าทายและส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศโดย รวม

"ประชาชาติธุรกิจ" จึงสำรวจความเห็นและเสาะหาปัจจัยแวดล้อมด้านเศรษฐกิจและนโยบายการเงินที่ กนง.จะนำมาพิจารณาจากนักเศรษฐศาสตร์ผู้คลุกคลีในแวดวงธุรกิจ

กนง.รอบนี้ไม่มีปัจจัยลดดอกเบี้ย

"ดร.กอบ ศักดิ์ ภูตระกูล" ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงทิศทางการประชุม กนง.ที่จะเกิดขึ้นว่า กนง.น่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมคือ 2.75% เนื่องจากไม่มีความจำเป็นในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในรอบนี้

โดยให้ เหตุผลว่า ปัจจัยและสถานการณ์ในรอบนี้แตกต่างจากช่วงที่ผ่านมาชัดเจน โดยเฉพาะไม่มีแรงกดดันจากความเสี่ยงด้านการชะลอตัวของเศรษฐกิจ และเศรษฐกิจไทยปีนี้อาจขยายตัวดีกว่าที่ ธปท. คาดการณ์ หรือขยายตัวมากกว่าระดับ 5% ขณะที่ภาครัฐกำลังผลักดัน พ.ร.บ.โครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาทให้ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ยั่งยืนในอนาคต จึงเชื่อว่าจะยิ่งส่งผลให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวเร็วกว่าที่คาดไว้ หากมีเม็ดเงินลงทุนสู่ระบบเศรษฐกิจ

อีกทั้งสถานการณ์ ณ ขณะนี้ต่างจากการประชุม กนง.ครั้งก่อนหน้า (20 ก.พ.) ที่ภาพการเติบโตของเศรษฐกิจยังไม่ชัดเจน อีกทั้งยังมีประเด็นผลกระทบที่จะทำให้การส่งออกมีแนวโน้มชะลอตัว

ขณะ ที่ความผันผวนในตลาดการเงินที่เกี่ยวกับเงินทุนไหลเข้า-ออกในปัจจุบันเริ่ม เคลื่อนไหวอย่างมีเสถียรภาพและลดอุณหภูมิความร้อนแรงไปแล้ว หากเทียบกับช่วง ม.ค.ที่ผ่านมา รวมถึงอัตราแลกเปลี่ยนในปัจจุบันค่อนข้างเคลื่อนไหวแบบนิ่ง ๆ และแข็งค่าสอดคล้องกับภูมิภาค ทำให้มองว่าอัตราแลกเปลี่ยนใน 1-2 ปีข้างหน้าจะมีทิศทางแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง และอาจแตะระดับ 28 บาท/ดอลลาร์ เป็นการแข็งค่าไปในทิศทางเดียวกับภูมิภาค

"ถามว่า วันนี้ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ กนง.ต้องลดดอกเบี้ย เพราะทิศทางความร้อนแรงของเงินทุนไหลเข้าที่ยังคงมีต่อเนื่อง เชื่อว่ายังไม่มี เพราะดอกเบี้ยไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่จะสกัดเงินทุนไหลเข้า-ออก หรือสกัดไม่ให้เงินเฟ้อเร่งตัวสูงขึ้นตามการเติบโตทางเศรษฐกิจได้" ดร.กอบศักดิ์กล่าว

นอกจากนี้ยังมองว่าในช่วงสิ้นปีนี้ ธปท.น่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย เพราะหากเศรษฐกิจเติบโตได้ดี สภาพคล่องตึงตัว มาตรการดอกเบี้ยต่ำคงไม่มีความจำเป็นแล้ว ดังนั้นสิ่งที่ ธปท.ต้องทำ คือการขึ้นดอกเบี้ย เพื่อรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน และหากจะขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่ต่างประเทศเลิกอัดฉีดปริมาณเงินตามนโยบายผ่อน คลายเชิงปริมาณ (QE) ในช่วงปลายปี ก็ถือเป็นช่วงที่เหมาะสมและไม่กระทบต่อตลาดมากนัก

ชี้ตรึง ดบ. ห่วงปัจจัยในประเทศ

ด้าน "ดร.เชาว์ เก่งชน" กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เชื่อว่า กนง.จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.75% เหมือนเดิมในรอบนี้ และคงอัตรานี้ไปจนถึงสิ้นปี 2556 โดยปัจจัยหลักที่ กนง.จะนำไปพิจารณาคือ ภาวะการเติบโตของเศรษฐกิจไทยที่ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าตัวเลขส่งออกของกระทรวงพาณิชย์ในเดือน ก.พ.ติดลบถึง 5.83% แต่เชื่อว่าจะไม่มีนัยสำคัญต่อการพิจารณาของ กนง.ในครั้งนี้ เพราะหากดูเศรษฐกิจโดยรวมยังเติบโตขึ้นทุกหมวดหมู่

ขณะที่ตัวเลขเงิน เฟ้อไม่ได้มีการเร่งตัวขึ้นสูงในระยะนี้เนื่องจากราคาน้ำมันยังค่อนข้างทรง ตัว และเชื่อว่าในช่วงปลายปีเงินเฟ้อจะเร่งตัวขึ้นบ้าง แต่จะอยู่ในกรอบที่ ธปท.สามารถบริหารจัดการได้

ดังนั้นปัจจัยลบตัวเดียวที่ กนง.อาจนำไปเป็นประเด็นพิจารณาคือ ปัญหาของเศรษฐกิจโลกที่ยังขยายตัวในระดับต่ำ โดยเฉพาะยุโรปที่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาทางการเงินได้อย่างเป็นรูปธรรม แต่ในที่สุดจะไม่มีผลต่อการตัดสินใจในการลดดอกเบี้ยของ กนง.ในครั้งนี้ เนื่องจากการลดดอกเบี้ย กนง.ต้องอิงจากปัจจัยในประเทศเป็นหลัก พร้อมกับวิเคราะห์ทิศทางในอนาคตว่า น่าจะเห็นอัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีหลัง สอดคล้องกับการเติบโตของภาวะเศรษฐกิจ และจะเห็นเม็ดเงินต่างชาติเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจทำให้อัตราแลกเปลี่ยนในปีนี้แข็งค่าไปอยู่ที่ 28.50 บาทได้

สอด คล้องกับความเห็นของ "ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ" นักเศรษฐศาสตร์การเงิน ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธรุกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ที่ระบุว่า ประเด็นที่ กนง.จะนำมาพิจารณาดอกเบี้ยนโยบายรอบนี้ นอกจากเรื่องภาวะเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และสถานการณ์ต่างประเทศแล้ว อาจมีการพิจารณารวมไปถึงการไหลเข้า-ออกของเม็ดเงินต่างชาติ ค่าบาทและความร้อนแรงในภาคต่าง ๆ ซึ่งจากสถานการณ์ปัจจุบันยังไม่เห็นความร้อนแรงที่จะทำให้ กนง.ต้องปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

ขณะเดียวกันที่ผ่านมา ธปท.พยายามส่งสัญญาณว่า จะไม่ใช้เครื่องมือหรือมาตรการสกัดเงินทุนต่างชาติหรือเงินเฟ้อ แต่ ธปท.พยายามบริหารงานให้สมดุล โดยเฉพาะการผลักดันให้เกิดการไปลงทุน

ต่าง ประเทศ ดังนั้นในปีนี้ไม่น่าจะเห็น ธปท.ออกมาตรการอะไรที่รุนแรงและมีผลต่อตลาดการเงิน เพราะเชื่อว่ามาตรการที่ทำอยู่ในปัจจุบันสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและความ ร้อนแรงของเงินทุน หรือการแข็งค่าเงินบาทที่สามารถบริหารจัดการได้

ส่วนผลการตัดสินใจจะออกมาอย่างไร ต้องรอฟังบ่าย ๆ วันพุธที่ 3 เม.ย.นี้


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ปัจจัยใน รุมเร้าเศรษฐกิจ เอกซเรย์อาการ ก่อนประชุม กนง.

view