สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

น้ำท่วมน้ำแล้ง วิกฤตที่คนไทยต้องเผชิญ

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ เปิดมุมมอง

โดย ชวลิต จันทรรัตน์ TEAM GROUP E-mail : teamgroup@team.co.th

"หน้า ฝนน้ำท่วม หน้าแล้งขาดแคลนน้ำ" เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทุกปี โดยเฉพาะเหตุการณ์มหาอุทกภัยใน พ.ศ. 2554 ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนจำนวนมาก และรัฐต้องสูญเสียงบประมาณมหาศาลเพื่อฟื้นฟูและเยียวยา ทำให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องหารือ ศึกษา วิเคราะห์ และป้องกันวิกฤตการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 

การบริหารจัดการน้ำ จึงเป็นคำตอบของการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งที่เกิดขึ้นซ้ำซากทุกปี แนว คิดเรื่องการบริหารจัดการน้ำสามารถทำได้ 3 รูปแบบ ได้แก่ 1.พื้นที่ต้นน้ำ โดยการปลูกป่าเพื่อให้ผืนป่าดูดซับน้ำฝน การสร้างฝายขนาดเล็กเพื่อชะลอน้ำ และการสร้างอ่างเก็บน้ำเพื่อกักเก็บน้ำ ช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝน และเก็บน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค เกษตรกรรม อุตสาหกรรม และควบคุมคุณภาพน้ำในจุดที่แล้ง 2.พื้นที่กลางน้ำ ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการน้ำ เช่น การระบายน้ำจากเขื่อน การบริหารจัดการน้ำโดยระบบชลประทาน ส่งน้ำเพื่อการเกษตรกรรม การบริหารพื้นที่แก้มลิง และการระบายน้ำลงสู่พื้นที่ตอนล่าง

3.พื้นที่ปลายน้ำ ในกรณีที่น้ำหลาก 

จะ เร่งระบายน้ำและผลักดันน้ำออกสู่ทะเลอย่างรวดเร็ว การสร้างทางระบายน้ำหลาก (Floodway) หากหลีกเลี่ยงเหตุน้ำท่วมไม่ได้ ก็ต้องเร่งระบายน้ำให้เร็วที่สุด โดยให้ส่งผลกระทบต่อสังคมน้อยที่สุด ที่ผ่านมาการบริหารจัดการน้ำของไทยยังมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ และมีจุดอ่อนในหลาย ๆ เรื่อง

สาเหตุ ประการแรก คือ ความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศวิทยาในพื้นที่ต้นน้ำ ทำให้ไม่สามารถดูดซับน้ำและรักษาหน้าดินยามที่ฝนตก เป็นสาเหตุให้ขาดแคลนน้ำในช่วงหน้าแล้ง ประการที่ 2 ประเทศไทยไม่มีเอกภาพในการบริหารจัดการน้ำในภาพรวมอย่างเบ็ดเสร็จ ไม่มีองค์กรที่มีอำนาจเต็มในการสั่งการและตัดสินใจ ประการที่ 3 ไม่มีแผนงานหลัก (Master Plan) ในการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบในระยะยาว ทำให้ขาดทิศทางที่ชัดเจน และขาดแคลนงบประมาณในการแก้ไขปัญหา

ประการ ที่ 4 ฐานข้อมูลเรื่องทรัพยากรน้ำยังกระจาย ขาดการบูรณาการ ทำให้ประสิทธิภาพในการพยากรณ์และบริหารจัดการลดน้อยลง ประการที่ 5 ขาดกฎหมายหรือข้อกำหนดด้านทรัพยากรน้ำที่ทันสมัย และขาดเอกภาพในการสนับสนุนการจัดการทรัพยากรน้ำในภาพรวม

ดัง นั้นเพื่อการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรพัฒนาตามแนวทางต่อไปนี้ อันดับแรก ปลูกป่า เสริมฟองน้ำตามธรรมชาติ ปัจจุบันความต้องการด้านที่อยู่อาศัยและทรัพยากรต่าง ๆ เพิ่มสูงขึ้นตามจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น

ทุก ปี จึงทำให้มีการรุกล้ำพื้นที่ป่า ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ป่าเหลืออยู่ประมาณร้อยละ 25 ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ ทำให้ต้นไม้ที่มีอยู่ไม่สามารถดูดซับปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ในขณะที่น้ำฝนและน้ำท่ามีปริมาณใกล้เคียงเดิมไม่ได้เพิ่มขึ้น 

วิธี การแก้ไข คือ การร่วมกันปลูกและอนุรักษ์ต้นไม้ เป็นการฟื้นฟูป่าให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ เป็นฟองน้ำตามธรรมชาติที่ช่วยเก็บกักน้ำพร้อมกับรักษาหน้าดินไม่ให้พังทลาย นอกจากนี้การสร้างฝายและการปลูกหญ้าแฝก ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีการที่จะช่วยชะลอและดูดซับน้ำที่ต้นน้ำ ไม่ให้ไหลบ่าลงไปอย่างรุนแรงและไม่แห้งลงอย่างรวดเร็วเกินไป

การ สร้างเขื่อน หัวใจของการเก็บน้ำไว้ใช้ยามแล้ง หากพื้นที่ป่าเปรียบเสมือนฟองน้ำดูดซับน้ำ เขื่อนและอ่างเก็บน้ำก็เปรียบเสมือน "โอ่งกักเก็บน้ำ" เพื่อนำไปบริหารจัดการน้ำอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

ปัจจุบัน ประเทศไทยสามารถบริหารจัดการน้ำได้เพียงร้อยละ 25 ของปริมาณน้ำท่าที่มีอยู่ในแต่ละปี ซึ่งการบริหารจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องสามารถบริหารจัดการน้ำให้ได้ถึงร้อยละ 30 จึงจำเป็นต้องสร้างอ่างเก็บน้ำเพิ่ม อย่างไรก็ตาม การสร้างอ่างเก็บน้ำ จำเป็นจะต้องสร้างบนภูมิประเทศที่เหมาะสมและมีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 

ด้วย เหตุนี้เขื่อนขนาดใหญ่ในปัจจุบันจึงอยู่ในภาคกลางและภาคเหนือเสียเป็นส่วน มาก เนื่องจากมีลักษณะภูมิประเทศที่เหมาะสมมากกว่าทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อย่าง ไรก็ตาม แม้ว่าเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำจะมีขนาดใหญ่และกักเก็บน้ำได้จำนวนมาก แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็จำเป็นต้องบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเหมาะสม ตามหลักวิชาการ

ขณะ นี้หน่วยงานภาครัฐ มีการเตรียมพื้นที่แก้มลิงจำนวน 2 ล้านไร่ ซึ่ง ทีมกรุ๊ป ได้ร่วมกับทางกรมชลประทาน ศึกษาความเหมาะสมของพื้นที่ โดยหลักการจะต้องสามารถควบคุมการเข้าท่วมพื้นที่ได้ เพื่อใช้เป็นพื้นที่ฝากน้ำไว้ชั่วคราว ไม่ให้น้ำไหลบ่ามาท่วมพื้นที่เมืองได้ จะต้องสามารถกำหนดระยะเวลา และระดับน้ำที่จะต้องปล่อยน้ำเข้าไปเก็บในพื้นที่แก้มลิง รวมทั้งต้องมีการพิจารณาค่าชดเชยตามความเหมาะสม

ส่วน ในเรื่องของโครงสร้างอาจจะต้องก่อสร้างถนนเดิมเป็นคันดิน สร้างคู ประตู และบาน เพื่อใช้ในการควบคุมน้ำเข้าไปเก็บและปล่อยระบายออกไปในเวลาที่เหมาะสม และสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกระหว่างที่พื้นที่ของประชาชนถูกน้ำท่วม

นอกจากนี้ การวางแผนผันน้ำ ตั้งแต่ต้นน้ำมาเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำ หรือไปยังลำน้ำต่างๆ เพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรม ก็เป็นหนึ่งในวิธีการแก้ปัญหาเรื่องน้ำแล้ง

ประการ ต่อมา เจ้าภาพหลัก จัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน จำเป็นต้องมีหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการน้ำ รวมถึงสั่งการหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อความเป็นเอกภาพและเด็ดขาด ซึ่งเมื่อมีเจ้าภาพหลักแล้ว การออกกฎหมายหรือกฎระเบียบเกี่ยวกับน้ำเพื่อเอื้อต่อการทำงานก็เป็นสิ่ง สำคัญที่ภาครัฐควรจะผลักดันไปพร้อมๆ กัน

ศูนย์ ข้อมูลเรื่องน้ำและศูนย์พยากรณ์ขนาดใหญ่ เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่จำเป็นต้องทำอย่างเร่งด่วน ซึ่งจะเป็นการนำข้อมูลเรื่องน้ำทุกด้านของประเทศไทยมาวิเคราะห์ และสร้างระบบปฏิบัติการ ที่เชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ มาไว้ด้วยกัน โดยจะเป็น Gateway ด้านข้อมูลข่าวสาร ไม่ว่าจะเป็นจากกรมทรัพยากรน้ำ กรมชลประทาน กรมอุตุนิยมวิทยา กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และที่อื่นๆ ซึ่งจะมีการนำข้อมูลต่างๆ มาประมวลผลทางวิชาการ ช่วยให้การพยากรณ์ด้านอุทกศาสตร์และชลศาสตร์ รวมถึงระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำ แม่น้ำลำคลอง ระดับน้ำทะเลปานกลาง เพื่อการบริหารจัดการน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ที่ สำคัญศูนย์ข้อมูลนี้จะกระจายข้อมูลข่าวสารต่างๆอย่างแม่นยำและเชื่อถือได้ไป ยังประชาชนในท้องที่ต่างๆ เป็นการเตรียมพร้อมและเฝ้าระวังภัยทั้งน้ำท่วมและน้ำแล้งอย่างมีประสิทธิภาพ

การ บริหารจัดการน้ำเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายต้องให้ความร่วมมือร่วมใจกันทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน เพื่อให้ประเทศไทยของเรา สามารถขจัดปัญหาเรื่องน้ำได้อย่างถาวร 

เป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์และเขียวขจีต่อไป


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : น้ำท่วม น้ำแล้ง วิกฤต คนไทย ต้องเผชิญ

view