สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

มองต่างมุมเงินบาทแข็งค่า มีทั้งเสียและได้ประโยชน์

จากประชาชาติธุรกิจ

...ทุกอย่างในโลกนี้มีสองด้านเสมอ เหมือนเหรียญที่มีสองด้าน เมื่อมีผู้ได้ประโยชน์ก็ต้องมีผู้เสียประโยชน์

เช่น เดียวกัน เรื่องนี้สามารถนำมาอธิบายในเชิงพลวัตของเศรษฐกิจได้ด้วย ทั้งในเรื่องดอกเบี้ย และประเด็นร้อนที่ยังถกเถียง วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างเข้มข้นมาตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา นั่นคือ กรณีการแข็งค่าอย่างต่อเนื่องของเงินบาท จนหลุด 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และยังคงเดินหน้าแข็งค่าต่อไปจนกระทั่งลงมาแตะระดับ 28 บาทต่อดอลลาร์หลายต่อหลายครั้ง เพียงแต่มีแรงซื้อขายเข้ามาผลักดันให้กลับไปยืนปริ่มที่ระดับ 29.00-29.03 บาทต่อดอลลาร์ได้อยู่

หลายสำนักทั้งนักวิชาการ สำนักที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยเศรษฐกิจ ประเมินว่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นไปถึงระดับ 25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ระดับเดียวกับก่อนเกิดวิกฤตฟองสบู่แตกเมื่อปี 2540 จนทำให้ประเทศไทยต้องประกาศลอยตัวค่าเงินบาทในที่สุด

จริงอยู่เมื่อ บาทแข็งค่า ส่งออกในรูปดอลลาร์นำกลับเข้ามาแลกเป็นบาทได้เงินน้อยลงย่อมส่งผลกระทบต่อ เศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะเศรษฐกิจไทยพึ่งพาการส่งออกสูงถึงร้อยละ 60 ของจีดีพี


ส่งออกคือ หนึ่งในสี่ เครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการลงทุนภาครัฐ การใช้จ่ายในประเทศ และการลงทุนทางตรงจากนักลงทุนต่างชาติ

...ทว่า อีกด้านยังมีอีกมุมของเหรียญในมิติของผู้นำเข้า!!

ห้วง บาทแข็งค่าเป็นเวลาที่ดีสุดในการนำเข้าเครื่องจักรมาปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี การผลิตให้ทันสมัย และผู้นำเข้าประเภทสินค้าแบรนด์เนม ยังได้ประโยชน์จากการแข็งค่าของเงินบาทจากต้นทุนนำเข้าในรูปดอลลาร์ที่ถูกลง

ซีพีแนะส่งออกปรับตัวผลิตสินค้า′มูลค่าเพิ่ม′

ราย แรก ผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับต้นๆ ของเมืองไทย บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือซีพี ปีก่อนหน้ามีสัดส่วนการส่งออกคิดเป็นร้อย 60% หรือส่งออกข้าวไปต่างประเทศ 6 แสนตัน ขายในประเทศ 4 แสนตัน การแข็งค่าขึ้นของเงินบาทจึงมีผลอย่างยิ่งกับการส่งออกของ ซี.พี อินเตอร์เทรด

นายสุเมธ เหล่าโมราพร ประธานคณะผู้บริหาร กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ สายธุรกิจข้าวและอาหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือซีพี เห็นว่า หากค่าเงินแข็งค่าขึ้นไปแตะที่ 28 บาทต่อดอลลาร์ ยังอยู่ในวิสัยที่สามารถบริหารจัดการความเสี่ยงได้ แต่หากแข็งค่าขึ้นไปมากกว่านั้น จนไปแตะที่ระดับ 26-27 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐจะส่งผลกระทบกับการส่งออกได้

สุเมธให้ข้อมูล เพิ่มเติมว่า ทุกๆ การแข็งค่าของเงินบาทจะทำให้ไทยสูญเสียเงินตราต่างประเทศ 20,000 ล้านบาทต่อเดือน หรือ 2.4 แสนล้านบาทต่อปี เทียบเคียงจากปีก่อนหน้าไทยมีการส่งออก 2.4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเฉลี่ยต่อเดือน 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

สุเมธเห็นว่าเอกชนจึงควร ปรับตัวโดยการหันไปส่งออกสินค้ามูลค่าเพิ่ม เช่นเดียวกับที่ ซี.พี. อินเตอร์เทรด พยายามปรับเพิ่มมูลค่าโดยหันไปส่งออกสินค้ามูลค่าเพิ่ม ทั้งเส้น แป้ง และเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์ในการเพาะปลูกข้าวเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพมากขึ้น

นอก เหนือจากการปรับตัว ปรับระบบการผลิตเน้นสินค้ามูลค่าเพิ่มแล้ว ช่วงบาทแข็งค่าสุเมธเห็นว่า ยังเป็นโอกาสดีในการนำเข้าเครื่องจักรเข้ามาปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต รวมทั้งการมองหาโอกาสในการลงทุนต่างประเทศ ในประเทศเพื่อนบ้านที่ค่าเงินอ่อนกว่าบาทและค่าแรงถูกกว่า ไทย เช่น เวียดนาม พม่า เป็นมาตรการเดียวกับที่ญี่ปุ่นนำมาใช้ช่วงการแข็งค่าของเงินเยนจาก 100 เยน เป็น 70 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐเมื่อหลายปีก่อนหน้า

เมื่อพลวัตเศรษฐกิจ หลายด้านกำลังเปลี่ยนไป หน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่ส่งเสริมการลงทุนและช่วยเหลือผู้ส่งออกอย่าง สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) หรือเอ็กซิมแบงก์ ควรปรับบทบาทตามเช่นกัน

สิ่งที่ผู้ส่งออกรายใหญ่อย่าง ซี.พี. อินเตอร์เทรดอยากเห็นคือ การส่งเสริมให้เอกชนไทยไปลงทุนต่างประเทศ เพื่อใช้เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งในการบริหารจัดการค่าเงิน ควบคู่กับการส่งเสริมให้ต่างชาติมาลงทุนในไทย และกฎเกณฑ์ในการปล่อยกู้ของเอ็กซิมแบงก์ควรมีความยืดหยุ่นให้มากขึ้น

แบรนด์เนมยิ้มต้นทุนลด30%

มอง ในมุมผู้เสียประโยชน์จากผู้ส่งออกแล้ว มาดูเหรียญอีกด้านในมุมของผู้นำเข้ารายหลักที่นำสินค้าแบรนด์เนมทั้งเสื้อ ผ้า เครื่องหนัง จากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเซ็นทรัล มาร์เก็ตติ้ง หรือซีเอ็มจี รวมทั้งผู้นำเข้าแบรนด์เนมที่ขายในสยามเซ็นเตอร์ สยามพารากอน และสยามดิสคัฟเวอรี่ เห็นว่าผู้นำเข้าจะได้ประโยชน์จากต้นทุนนำเข้าถูกลง และจะส่งต่อผลประโยชน์นี้ไปให้กับผู้บริโภคอีกต่อหนึ่งในเรื่องราคาสินค้า

ใน มุมมองของนายชาญชัย เชิดชูวงศ์ธนากร รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด และกรรมการผู้จัดการ บริษัท สยาม สเปเชียล ลิตี้ จำกัด ผู้นำเข้าสินค้าลอฟท์จากประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน อเมริกา เยอรมนี ฝรั่งเศส ฮ่องกง จีน เห็นว่าการแข็งค่าของเงินบาทผู้ส่งออกจะได้ประโยชน์ในแง่ต้นทุนนำเข้าถูกลง หากเงินบาทแข็งค่าขึ้นไปแตะที่ 25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐตามที่ผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายได้ประเมินไว้ต้นทุนนำเข้าจะ ถูกลงถึง 30% เมื่อเทียบกับช่วงค่าเงิน 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

ใน ส่วนนโยบายราคาของลอฟท์เอง ปล่อยยืดหยุ่นตามค่าเงินบาท หากเงินถูกต้นทุนต่ำราคาต่ำลง เช่นเดียวกับช่วงบาทอ่อนค่าต้นทุนนำเข้าแพง ราคาก็จะปรับเพิ่มตาม แต่เมื่อมีการหักลบ นำราคาช่วงบาทแข็งกับอ่อนมาถัวเฉลี่ยกันแล้ว ช่องว่างกำไรยังเท่าเดิม ไม่ได้เพิ่มขึ้นเพราะสินค้านำเข้ายังมีต้นทุนในเรื่องภาษีที่ต้องจ่ายอีก เฉลี่ยประมาณ 30% ของนำเข้าหากขายแพง จะมีภาษีนำเข้าอีกรอบหากทำกำไรเยอะขายของไม่ได้ ปกตินำเข้ามาจะเสียภาษีประมาณ 30%

ประโยชน์เรื่องที่สอง ชาญชัยมองว่า ต้นทุนที่ถูกลง ยังเอื้อให้ผู้นำเข้าสามารถมองหาสินค้ารายการใหม่ เข้ามาทำตลาด เป็นทางเลือกของผู้บริโภค และจากนี้ไปโอกาสทางธุรกิจของญี่ปุ่นในไทยก็จะมีมากขึ้นเช่นเดียวกันเพราะ ไทยถือเป็นประเทศเป้าหมายในการขยายธุรกิจแบรนด์เนมหลังภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่น อยู่ในภาวะถดถอยและพยายามปรับแนวทางด้วยการไปลงทุนต่างประเทศ

ในมุม มองของชาญชัยยังเห็นว่า ต้นทุนนำเข้าที่ถูกลงจากบาทแข็งค่ายังช่วยเอื้อกับการท่องเที่ยว ราคาสินค้าที่ถูกลงเมื่อเทียบกับราคาของลอฟท์ในประเทศใกล้เคียงทำให้นักท่อง เที่ยวตัดสินใจซื้อสินค้าในเมืองไทยได้ง่ายขึ้น

เอสเอ็มอีวอนรัฐช่วยลดต้นทุนสู้บาทแข็ง

ถึง จะมีทั้งมุมได้เสีย ทว่า ในความเป็นจริงต้องเลือกในฝั่งที่เอื้อประโยชน์สูงสุด เรื่องแข็ง-อ่อนของบาทเช่นเดียวกัน เมื่อนำเรื่องจีดีพีเป็นตัวตั้งและส่งออกเป็นภาคหลักในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ไทยไปควบคู่กับอีก 3 เครื่องยนต์หลักข้างต้น ภาครัฐต้องเข้ามาช่วยเหลือผู้ส่งออกโดยเฉพาะผู้ส่งออกรายเล็ก สายป่านสั้นอย่างกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี เพราะเอสเอ็มอีคือธุรกิจรากฐานที่จะกลายเป็นธุรกิจขนาดใหญ่มีผลกับการ กระตุ้นเศรษฐกิจไทยในอนาคต

ในมุมมองของ นายจิรบูลย์ วิทยสิงห์ ประธานกิตติมศักดิ์สมาคมของขวัญของชำร่วยไทย เห็นว่า การแข็งค่าของเงินบาทเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการกำหนดราคาขายสินค้า และกำหนดราคาเปิดรับคำสั่งซื้อล่วงหน้า

สิ่งที่อยากให้ภาครัฐเข้ามา ช่วยเหลือคือ เร่งเข้ามาดูแลและช่วยเหลือผู้ประกอบการในเรื่องส่วนต่างซื้อประกันความ เสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า เพื่อทำให้การเจรจาการค้าไม่สะดุดกระทบกับคำสั่งซื้อไตรมาสสอง

ให้ ภาครัฐช่วยเพราะเอสเอ็มอีสายป่านสั้น แตกต่างจากผู้ประกอบการรายใหญ่ ที่การแข็งค่าของเงินบาทมีผลกระทบน้อยเพราะสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงได้ โดยการซื้อประกันความเสี่ยงล่วงหน้า

ทั้งหมดคือ มองต่างมุมเรื่องบาท-อ่อนแข็ง มีทั้งฝ่ายได้และเสียประโยชน์ และจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ส่งออกทั้งรายเล็ก-กลาง-ใหญ่ ต้องมีการปรับตัวหันมาเน้นประสิทธิภาพการผลิตในลักษณะสินค้าเพิ่มมูลค่า รับเสรีการค้าตามข้อผูกพันที่กำลังจะเกิดขึ้นหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเสรีการค้าไทย-อียู ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี

ต้อง ปรับตัวเพราะการค้ากำลังอยู่ในยุคเปลี่ยนผ่านจากยุคนโยบายการกำกับดูแลให้ เงินบาทอ่อนค่า เพื่อส่งเสริม เอื้อประโยชน์ สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับผู้ส่งออกไปในตลาดการค้าโลก มาเป็นการปล่อยให้เป็นไปตามกลไกอย่างแท้จริง

เป็นความท้าทายในยุคเปิดเสรี!!


ที่มานสพ.มติชน


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : มองต่างมุม เงินบาท  มีทั้งเสีย ได้ประโยชน์

view