สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

แกะรอย วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ปลดหนี้ 26 ล้านใน 4 ปี

แกะรอย“วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล”ปลดหนี้ 26 ล้านใน 4 ปี

จากสำนักข่าวอิสรา

แกะรอยหนุ่มโสด ?“วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล”ทายาทกลุ่มบ้านปู จากเก้าอี้รัฐมนตรีวัฒนธรรม - ศึกษาฯ - ประจำสำนักนายกฯ - วิทยาศาสตร์ฯ 4 ปีหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ - เงินกู้พ่อ หายเกลี้ยงบัญชีฯ 26 ล้าน

นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (แจ้งว่าโสด) ระบุว่ามีหนี้สินกว่า 26 ล้านในช่วงปี 2551 ทว่าหนี้ก้อนดังกล่าวหายไปในช่วงเวลา 4 ปี

สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ตรวจ สอบพบว่า 25 ก.ย.2551 กรณีรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นายวรวัจน์แจ้งว่ามีหนี้สิน 26,191,242.99 บาท แบ่งเป็น หนี้เบิกเกินบัญชี 754,366.72 บาท และหนี้เงินกู้จากธนาคารและสถาบันการเงินอื่น 25,436,876.27 บาท

หนี้เงินกู้จาก ธนาคารฯประกอบด้วย หนี้ธนาคารกรุงไทย สาขาศรีย่าน จำนวน 854,208.27 บาท โดยใช้บุคคลค้ำประกัน หนี้ บริษัท สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด 183,668 บาท และ หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 24,399,000 บาท โดยใช้หุ้นค้ำกัน

22 ธ.ค. 2551 กรณีพ้นตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ระบุว่ามีหนี้สิน 26,761,047.38 บาท แบ่งเป็นหนี้ เบิกเกินบัญชี 1,011,664.30 บาท หนี้เงินกู้จากธนาคารและสถาบันการเงิน 22,749,383.08 บาท (ในจำนวนนี้เป็นหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ 21,899,000 บาท หุ้นค้ำประกัน) หนี้สินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ 3,000,000 บาท (นายเมธา เอื้ออภิญญกุล บิดาเจ้าของ บมจ.บ้านปู)

22 ธ.ค. 2552 กรณีพ้นตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ครบ 1 ปี ระบุว่ามีหนี้สิน 25,650,164.14 บาท แบ่งเป็น เงินเบิกเกินบัญชี 536,470.14 บาท หนี้เงินกู้จากธนาคารและสถาบันการเงินอื่น 22,113,694 บาท (หนี้กองทุนฟื้นฟูฯ 21, 899,000 บาท หุ้นค้ำประกัน) และหนี้ที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ 3,000,000 บาท (เมื่อกรอกรายละเอียดที่ต้องอธิบายเพิ่มในแบบบัญชีทรัพย์สิน กลับระบุว่าไม่มีหนี้ก้อนนี้)

10 ส.ค.2554 กรณีรับตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ระบุว่ามีหนี้สิน 2,379,162.39
บาท ประกอบด้วย หนี้สินเลิกเกินบัญชี 669,162.39 บาท เงินกู้ธนาคารและสถาบันการเงินอื่น 1,710,000 บาท

23 ม.ค.2555 กรณีรับตำแหน่ง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุว่ามีทรัพย์สิน 26,298,064.19 บาท มีหนี้สิน 1,730,602 บาท แบ่งเป็นหนี้เบิกเกินบัญชี 210,602 บาท หนี้ เงินกู้สถาบันการเงิน 1,520,000 บาท (เกียรตินาคิน)

1 พ.ย.2555 กรณีรับตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ระบุว่ามีหนี้สิน 173,821 บาท( เบิกเกินบัญชี)

17 ม.ค. 2556 กรณีพ้นตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ครบ 1 ปี ระบุว่ามีทรัพย์สิน 21,398,677.07 บาท หนี้สิน 111,295.77 บาท มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 21,287,381.30 บาท

เปรียบ เทียบการยื่นบัญชีฯ 2 ครั้ง ได้แก่ กรณีรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมปี 2551 กับกรณีล่าสุด 17 ม.ค. 2556 พบว่านายวรวัจน์ มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สินเพิ่มขึ้น 14,159,252.12 บาท

น่า สังเกตว่า หนี้กองทุนฟื้นฟูและสถาบันการเงินกว่า 24 ล้านบาท และหนี้เงินกู้นายเมธา เอื้ออภิญญกุล บิดา จำนวน 3 ล้านบาท ในช่วงปี 2551 ทั้งสองรายการหายไปเมื่อแจ้งบัญชีทรัพย์สินในปี 2554


สาวลึกเครือญาติ“วรวัจน์”ตั้งบริษัทผลิตไฟฟ้า กลุ่ม“เจ๊แดง”ร่วมหุ้น

วันพุธที่ 22 พฤษภาคม 2013 เวลา 20:00 น. เขียนโดย isranews

สาวคอนเนกชั่นลึกพบพี่ชาย“วรวัจน์”รมว. วิทยาศาสตร์ฯตั้งบริษัทผลิตไฟฟ้าร่วมกลุ่ม “เจ๊แดง-เยาวภา” โยงว่องกุศลกิจเจ้าของ บมจ.บ้านปู บ.เครือ“เกษม นิมมลรัตน์”อดีตส.ส.เชียงใหม่ โผล่ถือหุ้น

นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มิได้มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจโดยตรงกับกลุ่มชินวัตร แต่ทว่านายองอาจ เอื้ออภิญญกุล ผู้บริหาร บมจ.บ้านปูเกี่ยวโยงทางธุรกิจกลุ่มบุตรสาวนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ (ชินวัตร) ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย และคนใกล้ชิด

 

สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ตรวจสอบพบว่า นายองอาจทำธุรกิจร่วมกับกลุ่มนางเยาวภา ผ่านนางสาวชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ ชื่อ บริษัท โซล่าร์ พาวเวอร์ ซิสเต็ม จำกัด

บริษัท โซล่าร์ พาวเวอร์ ซิสเต็ม จำกัด จดทะเบียนวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2548 (จดทะเบียนเลิกกืจการ 11 กันยายน 2549) ทุน 10 ล้านบาท ประกอบธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังแสงอาทิตย์ ที่ตั้งเลขที่ 518/5 อาคารมณียา เซ็นเตอร์ ชั้น 6 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร นายธนญ ตันติสุนทร 499,998 หุ้น (49.99%) บริษัท พาวเวอร์ แอด จำกัด 349,999 หุ้น (34.99%) บริษัท ทีเอ็มอี แคปิตอล จำกัด 100,000 หุ้น (10%) นายองอาจ เอื้ออภิญญกุล 49,999 หุ้น (4.99%) มีนายองอาจ เอื้ออภิญญกุล นางสาวชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ นายภัทรลาภ ทวีวงศ์ ณ อยุธยา นายสารัชถ์ รัตนาวะดี นางพรทิพา ชินเวชกิจวานิชย์ นายรวิ กูรมะโรหิต นายธนญ ตันติสุนทร เป็นกรรมการ

นาย ธนญ ตันติสุนทร ผู้อำนวยการอาวุโสสายงานองค์กรสัมพันธ์ บริษัท กัลฟ์ เจพี จำกัด (ผู้ลงทุนโรงไฟฟ้าในจ.สระบุรีและหลายแห่ง) เป็นลูกชายนายรักษ์ ตันติสุนทร อดีตส.ส.ตาก พรรคประชาธิปัตย์

บริษัท พาวเวอร์ แอด จำกัด ประกอบธุรกิจรับจ้างทำโฆษณาและตัวแทนการโฆษณา จดทะเบียนวันที่ 13 ธันวาคม 2547 ทุน 5 ล้านบาท นายพันธุ์เทพ ทานชิติกุล นายกสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน เจ้าของ บริษัท บริษัท เมคเคอร์โฮม จำกัด ถือหุ้นใหญ่ 99.98% นายเกษม นิมมลรัตน์ อดีต ส.ส.เชียงใหม่ เขต 3 พรรคเพื่อไทย (ใกล้ชิดนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์) รวมถือหุ้น

ขณะ ที่ บริษัท ทีเอ็มอี แคปิตอล จำกัด ประกอบธุรกิจ การลงทุนซื้อขายตราสารทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จดทะเบียนวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2526 ทุนปัจจุบัน 200 ล้านบาท บริษัท ยูฟินเวส จำกัด (บริษัท ทีเอ็มอี แคปิตอล จำกัด ถือหุ้นใหญ่ 99.99%) ของกลุ่มว่องกุศลกิจ ถือหุ้นใหญ่ 69.45% นายองอาจ เอื้ออภิญญกุล 1,688,990 หุ้น (8.44%) 16,889,900 บาท นายเมธี เอื้ออภิญญกุล พี่ชายนายวรวัจน์ 1,072,110 หุ้น (5.36%) มูลค่า 10,721,100 บาท

ปัจจุบัน กลุ่มตระกูลว่องกุศลกิจเป็นเจ้าของโรงงานน้ำตาลมิตรผล บริษัท เวียงพิงค์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด เจ้าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพฯและ จ.เชียงใหม่ และเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ บมจ.บ้านปู ผู้ประกอบการนำเข้าและจำหน่ายถ่ายหิน ที่มีนายองอาจและนายเมธีพี่ชายนายนายวรวัจน์เป็นผู้บริหาร

ขณะ เดียวกันนายองอาจ เอื้ออภิญญกุล ยังทำธุรกิจร่วมกับนายพายัพ ชินวัตร ในชื่อ บริษัท พี โอ พี เรสทัวรองท์ ซิสเต็ม จำกัด ร้านอาหาร จดทะเบียนวันที่ 12 มีนาคม 2540 ทุน 4 ล้านบาท ที่ตั้งเลขที่ 626 อาคารชินวัตร ทาวเวอร์ ถนนพระรามที่ 4 แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร นายพิทยา พันธุ์เพ็ญโสภณ เจ้าของภัตตาคารโคคาร่วมเป็นกรรมการ เลิกกิจการในปี 2547

ทั้ง นี้ บมจ.บ้านปูเคยเป็นคู่สัญญาในการซื้อถ่านหินชนิด LOW SULPHUR จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2543 จำนวน 23,800,000 บาท และวันที่ 10 ส.ค. 2543 จำนวน 258,400,000 บาท

ตอน รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม 25 ก.ย.2551 นายวรวัจน์ ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ระบุ ถือครองหุ้น บมจ.บ้านปู จำนวน 24,269 หุ้น ปัจจุบันมิได้แจ้งว่าถือครองหุ้นดังกล่าวแต่อย่างใด


เปิดหนังสือปลดหนี้ 24 ล้าน“วรวัจน์” ชำระเรียบใน 5 เดือน

วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม 2013 เวลา 20:00 น. เขียนโดย isranews

พลิกแฟ้มเอกสารขอประนอมหนี้กองทุน ฟื้นฟูฯ 24.3 ล้าน “วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล”ยื่นชำระเรียบใน 5 เดือน พบแจ้ง ป.ป.ช.มีเงินฝากแบงก์ 1 ล้านเศษ

นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล (ปัจจุบันเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโยลี) ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน กรณีรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม วันที่ 25 ก.ย.2551 แจ้งว่ามีหนี้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (กองทุน) 24,399,000 บาท (โดยใช้หุ้นค้ำกัน) จากจำนวนหนี้สินทั้งหมด 26,191,242.99 บาท

 ต่อ มาวันที่ 22 ธ.ค. 2551 กรณีพ้นตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม วันที่ 22 ธ.ค. 2551 ระบุว่าเป็นหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ 21,899,000 บาท จากหนี้สินทุกรายการทั้งหมด 26,761,047.38 บาท

กรณีพ้นตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ครบ 1 ปี วันที่ 22 ธ.ค. 2552 ระบุว่าหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ 21, 899,000 บาท จากหนี้สินทั้งหมด 25,650,164.14 บาท

สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สรุปที่มาของหนี้สิน จำนวน 24,399,000 บาท ตาม
เอกสารที่นายวรวัจน์แสดงต่อ ป.ป.ช. ดังนี้

หนี้จำนวนนี้เป็นหนี้ที่นายวรวัจน์ มีภาระกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ จีเอฟ จำกัด (มหาชน) ต่อมา
บริษัทดังกล่าวได้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ และได้ถูกบังคับคดี นายวรวัจน์ เป็นลูกหนี้รายที่ 211

วัน ที่ 25 กันยายน 2551 นายวรวัจน์ได้ขอประนอมหนี้และเสนอเงื่อนไขในการชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ และขอคืนหลักประกันที่ได้ประกันหนี้ทั้งหมด

โดย การชำระหนี้ จะชำระให้เสร็จสิ้นภายใน 5 เดือนปลอดดอกเบี้ย นับแต่วันที่ได้มีการทำหนังสือประนอมนี้ และถ้าชำระหนี้ได้ตาม เงื่อนไขทั้งหมด ขอให้หนี้ที่เหลือทั้งหมดเป็นอันสิ้นสุด

วัน ที่ 6 ตุลาคม 2551 ศาลล้มละลายกลางสรุปการพิจาณารับคำขอประนอมหนี้ โดยระบุ ให้ชำระเงินจำนวน 24,399,000 บาทโดยปลอดดอกเบี้ยให้เสร็จสิ้นภายในเดือนมีนาคม 2552 โดยมีเงื่อนไขคือ

ให้ ชำระเงินจำนวน 10,000,000 บาท ในคราวเดียว ภายในเดือนตุลาคม 2551 และเมื่อเมื่อชำระเงินแล้ว ให้ผู้ถูกทวงหนี้ไถ่ถอนจำนำหุ้น บมจ.บ้านปู จำนวน 24,269 หุ้น คืนแก่ผู้ถูกทวงหนี้ และให้ชำระหนี้ส่วนที่เหลือ 14,399,000 บาท ให้เสร็จสิ้นภายในเดือน มีนาคม 2552

หลังจากนั้นวัน ที่ 31 ตุลาคม 2551 ศาลล้มละลายกลาง ระบุว่า กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน(กองทุน) พิจารณาแล้วเห็นควรรับคำขอเปลี่ยนแปลง โดยให้ชำระเงินจำนวน 24,399,000 บาทโดยปลอดดอกเบี้ยให้เสร็จสิ้นภายในเดือนมีนาคม 2552 มีเงื่อนไขคือ ให้ชำระหนี้บางส่วนเป็นเงิน 2,500,000 ภายในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2551 และให้ชำระหนี้ส่วนที่เหลือจำนวน 21,899,000 บาท ภายในเดือน มีนาคม 2552

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2551 นายเชิดศักดิ์ ธีรนันทวาณิช ผู้รับมอบอำนาจ จากนายวรวัจน์ ได้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ขอชำระหนี้ให้แก่กองทุนตามเอกสารสรุปการพิจารณาคำขอประนอมหนี้ ตามเอกสารสรุปการพิจารณาคำขอประนอมหนี้ฉบับวันที่ 31 ตุลาคม 2551 งวดแรกเป็นจำนวนเงิน 2,500,000 บาท โดยสั่งจ่ายเป็นแคชเชียร์เช็ค ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาปิ่นเกล้า เลขที่ 3233744 ฉบับลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2551

กระทั่งหนี้ก้อนดังกล่าวไม่ปรากฏในการยื่นบัญชีฯ ต่อ ป.ป.ช. กรณีรับตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 10 ส.ค.2554

เท่ากับนายวรวัจน์ชำระหนี้ที่มีก่อนหน้านี้หมดแล้ว?

น่า สังเกตว่าในการยื่นบัญชีฯต่อ ป.ป.ช. ณ วันที่ 25 ก.ย.2551 นายวรวัจน์แจ้งว่ามีเงินฝาก 1,381,632.17 บาท และ วันที่ 22 ธ.ค. 2552 แจ้งว่ามีเงินฝากเพียง 791,269.45 บาท ไม่มีเงินสด

 

[อ่านประกอบ แกะรอย“วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล”ปลดหนี้ 26 ล้านใน 4 ปี]

 


โชว์สัญญา“วรวัจน์”ยืมตังค์“พ่อ”ช่วงปลดหนี้ - เงินปริศนา!โผล่ 4.6 ล้าน?

วันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม 2013 เวลา 20:00 น. เขียนโดย isranews

“วรวัจน์”กู้ยืมเงิน“เมธา เอื้ออภิญญกุล” 3 ล้านไร้ดอกเบี้ย ช่วงปลดหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ 24 ล้าน โชว์สัญญาในบัญชีทรัพย์สิน ป.ป.ช. ล่าสุดไม่มีแล้ว ทิ้งปริศนา! 4.6 ล้าน?

นอก จากเงินกู้ยืมกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จำนวน 24.3 ล้านบาท ที่นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปลดหนี้ไปก่อนหน้านี้ หนี้สินอีก 1 รายการที่แจ้งปลดไปเรียบร้อยแล้วคือหนี้เงินกู้ จำนวน 3 ล้านบาทที่กู้ยืมจากนายเมธา เอื้ออภิญญกุล เมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2551

เนื่อง เพราะไม่ปรากฏว่ามีรายการหนี้สินจำนวนดังกล่าวในบัญชีแสดงรายการทรัพย์สิน และหนี้สินต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กรณีรับตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 10 ส.ค.2554

หนี้จำนวนดังกล่าวนายวรวัจน์ทำสัญญากู้จากนายเมธา เอื้ออภิญญกุล (บิดา) เมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2551 โดยไม่มีดอกเบี้ย มีเนื้อหาดังนี้

สัญญา ดังกล่าวระบุว่า เขียนที่บ้านเลขที่ 58/1 หมู่ 1 ต.ทุ่งกวาว อ.เมือง จ.แพร่ วันที่ 3 พ.ย. 2551 ทำขึ้นระหว่างนายเมธา เอื้ออภิญญกุล เลขที่บัตรประชาชน 3549900138619 เกิดวันที่ 23 เมษายน 2470 วันออกบัตร 4 ส.ค.2549 สถานที่ออกบัตร อ.เมืองแพร่ ที่อยู่ตามบัตรประชาชนเลขที่ 58/1 หมู่ 1 ต.ทุ่งกวาว อ.เมือง จ.แพร่ ในสัญญานี้เรียวกว่า “ผู้ให้กู้” ฝ่ายหนึ่งกับ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ถือบัตรประจำตัวประชาชนเลขที่ 35499 00138 63 5 เกิดวันที่ 8 พ.ย.2502 วันออกบัตร 1 มิ.ย.2547 วันบัตรหมดอายุ 1 พ.ย.2557 สถานที่ออกบัตร อ.ลอง ที่อยู่ตามบัตรประชาชน เลขที่ 164/16 หมู่ 6 ต.ห้วยอ้อ อ.ลอง จ.แพร่ ที่อยู่ปัจจุบัน เลขที่ 164/16 หมู่ 6 ต.ห้วยอ้อ อ.ลอง จ.แพร่ ในสัญญานี้จะเรียกว่า “ผู้กู้”

เนื้อหาในสัญญามีทั้งหมด 7 ข้อ

ข้อ 1 ระบุว่า ผู้ให้กู้ตกลงให้กู้และผู้กู้ตกลงกู้ยืมเงินจำนวน 3,000,000 บาท( สามล้านบาทถ้วน) โดยผู้กู้ได้รับเงินจำนวนดังกล่าวจากผู้ให้กู้ไปเรียบร้อยแล้วในวันทำสัญญา นี้

ข้อ 3 ระบุว่า ผู้กู้ตกลงชำระหนี้เงินกู้ทั้งหมด คืนแก่ผู้ให้กู้ภายในวันที่ 20 พ.ย.2555

มีพยาน 2 คนลงชื่อเป็นพยานในสัญญากู้เงิน คือ นายปภัส สินธุวงศ์ และ ด.ต.ช่วงวิทย์ รัชตวรคุณ

น่า สังเกตว่า การทำสัญญากู้เงิน 3 ล้านบาทเกิดขึ้นในช่วงนายวรวัจน์ขอประนอมหนี้กับกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบ สถาบันการเงิน จำนวน 24,399,000 บาท (ภาระหนี้ติดมาจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ จีเอฟ จำกัด) โดยนายวรวัจน์ได้ยื่นเงื่อนไขขอชำระในส่วนที่ค้างจำนวน 21,899,000 บาท ให้หมดภายในเดือนมีนาคม 2552 (ก่อนหน้านี้ชำระงวดแรก 2,500,000 บาทเมื่อ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2551)

อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้นายวรวัจน์มีเงินลงทุนหุ้น บมจ.บ้านปู 24,269 หุ้นๆละ 538 บาท 13,056,722 และติดภาระจำนำ

หาก ขายหุ้นดังกล่าวเพื่อชำระหนี้ จำนวน 21,899,000 บาท นายวรวัจน์จะต้องใช้เงินอีกประมาณ 8.9 ล้านบาท ณ วันที่ 25 ก.ย.2551 นายวรวัจน์แจ้งว่ามีเงินฝากอยู่เพียง 1,381,632.17 บาท วันที่ 22 ธ.ค. 2552 แจ้งว่ามีเงินฝากเพียง 791,269.45 บาท ไม่มีเงินสด

และถ้านายวรวัจน์กู้เงินจากนายเมธา จำนวน 3 ล้านบาทมาชำระหนี้ก้อนนี้ ได้เงินรวมทั้งสิ้นประมาณ 4.3 ล้านบาท

กระนั้นยังไม่ถึง 8.9 ล้านบาท

จึงเป็นปริศนา!เงินอีกประมาณ 4.6 ล้านบาทลอยมาได้อย่างไร?


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : แกะรอย วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ปลดหนี้

view