สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ชำแหละ เค-วอเตอร์ หนี้ท่วม-ทำโครงการเหลว


ชำแหละ"เค-วอเตอร์"หนี้ท่วม-ทำโครงการเหลว

จาก โพสต์ทูเดย์

โดย... ธนวัฒน์ เพ็ชรล่อเหลียน

เวทีเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านน้ำและเปิดปูมหลังบริษัท เค-วอเตอร์ ซึ่งจัดขึ้นโดยชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม และโครงการสื่อสารสุขภาวะคนชายขอบ เมื่อวันที่ 26 มิ.ย.ที่ผ่านมา ยัม ฮยอง โชว ผู้อำนวยการสหพันธ์สิ่งแวดล้อมเกาหลีใต้ เอ็นจีโอซึ่งเกาะติดการดำเนินโครงการก่อสร้างต่างๆ ในเกาหลีใต้ ของบริษัทเค-วอเตอร์ ได้เปิดปูมชำแหละความล้มเหลวรัฐวิสาหกิจแห่งนี้อย่างละเอียดและน่าสนใจยิ่ง

“ปี 1960 ยุคที่เกาหลีกำลังก่อร่างสร้างตัว รัฐบาลท้องถิ่นหรือภาคเอกชนเองไม่มีศักยภาพพอที่จะสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เกี่ยวกับเขื่อน การจัดการน้ำขนาดใหญ่ได้ รัฐบาลจึงลงทุนตั้งรัฐวิสาหกิจคือ “เค-วอเตอร์” ขึ้นมารับผิดชอบโครงการเหล่านี้”ยัม เริ่มกล่าวถึงที่มา

ล่าสุดข้อมูลเมื่อปี 2012 จะพบว่าทรัพย์ของบริษัทเค-วอเตอร์ อยู่ที่ 6.76 แสนล้านบาท ทุนอยู่ที่ 3.04 แสนล้านบาท โดยรัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นหลัก 99.9% มีรายได้ 2.27 แสนล้านบาท ขณะที่หนี้สินอยู่ที่ 3.72 แสนล้านบาท ภาษีที่ได้ 9.9 หมื่นล้านบาท รายได้สุทธิอยู่ที่เพียง 8,000 ล้านบาทเท่านั้น

เมื่อไปดูประวัติการทำโครงการของเค-วอเตอร์ ในเกาหลี ตั้งแต่ปี 1967 ที่ก่อตั้งบริษัทในฐานะรัฐวิสาหกิจ จากช่วงปี 1970-1980 ได้งานก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่จำนวนมากทั่วประเทศเกาหลี

ถัดมาในปี 1980-1990 ย้ายไปรับงานระบบประปาและระบบน้ำ หลังจากนั้นตั้งแต่ปี 1990 เป็นต้นมา เริ่มทำงานที่ไม่ใช่ภารกิจหลัก แต่เป็นการก่อสร้างในภารกิจอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาพื้นที่ชุ่มน้ำตลอดชายฝั่ง การก่อสร้างพนังกั้นน้ำป้องกันน้ำท่วม

“สถานการณ์ทางการเงินของบริษัทเค-วอเตอร์ ตั้งแต่ปี 2006-2012 เห็นได้ว่าทุนจะอยู่เท่าเดิม แต่หนี้สินเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก โดยในปี 2012 จะเห็นว่าหนี้สินสูงกว่าทุน ฉะนั้นเท่ากับว่าสถานการณ์ทางการเงินของเค-วอเตอร์ย่ำแย่ ภายในระยะเวลา 3 ปี คือตั้งแต่ปี 2009-2012 การดำเนินงานใน 2 โครงการหลักของเค- วอเตอร์ ได้แก่ 1.พัฒนาแหล่งน้ำหรือ 4 rivers project 2.พัฒนาคลองใช้เป็นฟลัดเวย์ พบว่าหนี้สินเพิ่มขึ้นถึง 758%”

ยัม ระบุอีกว่า กลุ่มงานของเค-วอเตอร์แบ่งได้เป็น 3 ประเภท 1.งานเขื่อน 2.ระบบน้ำประปา 3.งานพัฒนาทั่วไป เช่น เขตเศรษฐกิจพิเศษ หรือพื้นที่อยู่อาศัย โดยทุกๆ ปี รัฐบาลเกาหลีต้องนำเงินมาถมเพื่อใช้หนี้ให้กับรัฐวิสาหกิจแห่งนี้สูงมาก

เหตุผล 3 ข้อที่องค์กรสิ่งแวดล้อมมอง เค-วอเตอร์ ก็คือ เป็นองค์กรที่เป็นมิตรกับฝ่ายการเมืองในประเทศมาก ได้แก่ 1.ซีอีโอของเค-วอเตอร์ แต่งตั้งโดยประธานาธิบดีของเกาหลี 2.เค-วอเตอร์ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลมาโดยตลอด 3.ลูกค้าหลักของเค-วอเตอร์ คือหน่วยงานรัฐหรือรัฐบาลท้องถิ่น ดังนั้น เค-วอเตอร์ จึงไม่ต้องสนใจเรื่องการขาดทุนหรือกำไร เพราะได้รับการอุดหนุนอยู่แล้ว และไม่ต้องรับผิดชอบต่อสาธารณะเพราะลูกค้าหลักคือรัฐบาลท้องถิ่น

“ที่มองเห็นว่าเค-วอเตอร์ทำงานสร้างเนื้อสร้างของตัวเอง มี 5 ประเด็น คือ 1.ตลอดเวลาที่อยู่ในโครงการสร้างเขื่อน เค-วอเตอร์จะสร้างเร็วและเก็บค่าดูแลรักษาโครงการจากรัฐบาล 2.ยิ่งสร้างโครงการมากกำไรก็มากขึ้นตามไปด้วย 3.เค-วอเตอร์สร้างเขื่อนและโครงสร้างขั้นพื้นฐานเกินความจำเป็น โดยปัจจุบันมีเขื่อนหรือโครงการต่างๆ ที่ทำแล้วและไม่ได้ใช้งานถึง 50% หรือครึ่งหนึ่งของโครงการที่อนุมัติทั้งหมด

จริงๆ แล้ว เค-วอเตอร์ไม่จำเป็นต้องสร้างอะไรต่อแล้ว เพราะไม่มีที่ให้สร้างแล้ว แต่เขาก็พยายามที่จะสร้างโครงการต่อไปในเกาหลี ซึ่งสะท้อนถึงการพยายามรักษาฐานอำนาจของตัวเองต่อไปในเกาหลี แต่เมื่อไม่มีงานให้ทำ ตอนหลังก็พยายามจะออกนอกประเทศไปลงทุนในประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยโครงการต่างๆ อาทิ โครงการกิจการพลังงาน โครงการการแปรรูปกิจการน้ำ”

เอ็นจีโอ รายนี้ย้ำว่า หลายโครงการที่เค-วอเตอร์ดำเนินการในเกาหลีและต่างประเทศ มีผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างมหาศาล

“โครงการใหญ่โครงการหนึ่งที่อยากจะนำเสนอในวันนี้ คือโครงการที่เค-วอเตอร์สร้างในเกาหลี คือการพัฒนา 4 แม่น้ำ ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ สร้างเขื่อน 6 แห่ง ใน 4 ลุ่มน้ำ นอกจากนี้ยังมีการขุดลอกนำทรายออกไปถึง 560 ล้านลูกบาศก์เมตร (กว้าง 100 เมตร สูง 10 เมตร ยาว 560 กิโลเมตร) และยังมีการก่อสร้างเป็นสวนสาธารณะ 234 แห่ง เงินทุนที่ใช้ประมาณ 5.9 ล้านล้านบาท โดยครึ่งหนึ่งเป็นเงินทุนของเค-วอเตอร์เอง ความยาวทั้งหมด 600 กิโลเมตร ดำเนินการก่อสร้าง 3 ปี ตั้งแต่ปี 2008-2011

สำหรับโครงการนี้ ประเด็นปัญหาแรกคือผิดกฎหมายสิ่งแวดล้อมเกาหลี โดยเฉพาะการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และผลกระทบต่อพื้นที่มรดก รวมถึงพื้นที่แม่น้ำ

“ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มขึ้นของสาหร่ายสีเขียวในแม่น้ำ เป็นผลให้เกิดน้ำเสีย ปลาในแม่น้ำตาย นอกจากนี้ยังมีการตรวจสอบโครงการโดยสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินของเกาหลี พบว่าโครงการดังกล่าวไม่มีความจำเป็นที่จะต้องก่อสร้าง และไม่เกี่ยวข้องกับการป้องกันน้ำท่วมและการนำมาใช้เพื่อประปา และยังพบความเสียหายที่เกิดขึ้นกับโครงสร้างต่างๆ ที่ได้ก่อสร้างไปจำนวนมาก พบกรณีการคอรัปชั่น และสวนสาธารณะมีปัญหา

เมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลที่มี พบว่าการก่อสร้างเขื่อนใน 4 ลุ่มน้ำไม่สัมพันธ์กับพื้นที่น้ำท่วมแต่อย่างใด เช่นเดียวกันกับพื้นที่ภัยแล้ง เมื่อเปรียบเทียบจากแผนที่แล้วก็พบว่าไม่สัมพันธ์กัน สรุปคือโครงการที่ก่อสร้างไม่สัมพันธ์ทั้งกับปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง หลายกรณี ยังพบว่ามีการก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน นำมาสู่ความเสียหายในโครงสร้าง ไม่ว่าจะเป็นสะพาน ฝาย คันกั้นน้ำ และยังพบการคอร์รัปชั่นด้วย โดยใช้วิธีฮั้วประมูลเพื่อให้ช่องว่างของกำไรเพิ่มมากขึ้น”

อย่างไรก็ดี การก่อสร้างโครงการ 4 ลุ่มน้ำขึ้นในหลายพื้นที่ดังกล่าวทำให้ชาวเกาหลีเกิดคำถามมากมายและมีการรวม ตัวคัดค้าน โดยเฉพาะจาก 70% ของชาวบ้านในพื้นที่ ไม่พึงพอใจโครงการ จนขณะนี้มีการวางแผนตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างรัฐ เอกชน และภาคประชาชน เพื่อตรวจสอบ

“อีกกรณีซึ่งเป็นผลงานของเควอเตอร์คือการสร้างคลอง Gyungin เพื่อใช้เป็นทางระบายน้ำออกจากพื้นที่ และขนส่งสินค้า โดยขนาดมีขนาดยาว 18 กิโลเมตร กว้าง 100 เมตร ลึก 6 เมตร งบประมาณประมาณ 54.7 หมื่นล้านบาท ได้ยินว่าเค-วอเตอร์มาโฆษณาในเมืองไทยว่ามีประสบการณ์มากในการทำทางระบายน้ำ หรือฟลัดเวย์ แต่เท่าที่หาข้อมูลมา พบว่ามีเพียงโครงการนี้โครงการเดียวเท่านั้นที่ยาว 18 กิโลเมตร”

จากการศึกษารายงานของสถาบันพัฒนาเกาหลี พบว่าโครงการดังกล่าวไม่สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมได้ และมีผลกระทบด้านระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง นอกจากนี้หลังจากการสร้างเรียบร้อยแล้วพบว่า ไม่มีเรือขนส่งสินค้ามาใช้พื้นที่นี้แต่อย่างใด มีการวางแผนไว้ว่าจะมีเรือขนของ 5 แสนลำต่อปี เรือนักท่องเที่ยว 6 แสนลำต่อปี แต่เอาเข้าจริงแทบไม่มีเลย”

ยัม ทิ้งท้ายอีกว่า ไม่ทราบข้อมูลที่นายกรัฐมนตรีของไทยได้เชิญไปเยือนเกาหลี และต่อมาบริษัท เค-วอเตอร์ มาได้งานใน 2 โมดูลหลักในโครงการบริหารจัดการน้ำมูลค่า 3.5 แสนล้านบาท แต่จะพยายามตรวจสอบในเรื่องนี้มีนัยยะอะไรหรือไม่ เพราะเค-วอเตอร์ก็ถูกกล่าวถึงในเรื่องคอร์รัปชั่นในประเทศตัวเอง และยังเป็นหน่วยงานที่มีปัญหาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย

“ในฐานะที่ผมเป็นเอ็นจีโอเกาหลีที่ติดตามผลงานเค-วอเตอร์มาโดยตลอด ก็จะติดตามโครงการน้ำในประเทศไทยด้วย โดยจะร่วมมือกับเครือข่ายเอ็นจีโอในในประเทศไทยทำงานอย่างใกล้ชิดต่อไป เพราะเงินที่นำมาลงทุนเป็นภาษีของคนเกาหลี และหากมาสร้างเสียหายในประเทศไทยจะทำให้คนไทยได้รับความเสียหายเช่นกัน” ยัม ทิ้งท้าย

นายมณฑล ภาณุโภคิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท เค-วอเตอร์ ได้แถลงตอบโต้ว่า ข้อมูลของ นายยัม ฮยอง โชว ผู้อำนวยการสหพันธ์สิ่งแวดล้อมเกาหลีใต้ ไม่เป็นความจริง และยืนยันว่าบริษัทมีความพร้อมที่จะทำงานโครงการบริหารจัดการน้ำที่ชนะการ ประมูลจำนวน 2 โมดูล

 


นักสิ่งแวดล้อมโสมขาวชำแหละ “เค วอเตอร์” ประวัติฉาว หวั่นโครงการน้ำ 3.5 แสนล.มีปัญหา

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

ผอ.สหพันธ์สิ่งแวดล้อมเกาหลีใต้ กังวล “เค วอเตอร์” ชนะประมูลโครงการน้ำ 3.5 แสนล้านใน 2 โมดูล หวั่นมีปัญหาภายหลัง ชี้ระบบการเงินห่วย ไร้ความสามารถแก้ปัญหาระบบน้ำ เอ็นจีโอฝ่ายไทยรับข้อมูลน่าห่วง ย้ำรัฐบาลไม่ควรเดินหน้าต่อ หันมาใส่ใจการแก้ปัญหาระบบน้ำที่ชุมชนทั้งต้นน้ำ ปลายน้ำมากกว่า ส่วน หน.ปชป. ลุ้นศาลปกครองสั่งทำประชาพิจารณ์ แนะรัฐถามเค วอเตอร์ พร้อมทำหรือเปล่า
       
       วันนี้ (26 มิ.ย.) ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย มีเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการจัดการน้ำ ระหว่างเครือข่ายภาคประชาชนไทย และเครือข่ายสิ่งแวดล้อมประเทศเกาหลีใต้ โดยโครงการสื่อสุขภาวะชุมชนชายขอบ และชมรมนักข่าสิ่งแวดล้อม โดยมีนายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานมูลนิธิการจัดการน้ำแบบบูรณาหการ นายสมเกียรติ เขื่อนเชียงสา ผู้ประสานงานเครือข่ายลุ่มน้ำภาคเหนือ นายกมล เปี่ยมสมบูรณ์ ประธานสภาเครือข่ายลุ่มน้ำท่าจีน ตัวแทนจากประเทศไทย และนายยัม ฮคองเชิล ผู้อำนวยการสหพันธ์สิ่งแวดล้อมเกาหลีใต้ (Korean Federation Environmental Movement : KFEM )
       
       โดยนายหาญณรงค์ กล่าวว่า จากโครงการ 3.5 แสนล้านของรัฐบาลนั้น มีการดำเนินการที่ไม่เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชนนั้น สะท้อนชัดว่ารัฐบาลมีการให้ข้อมูลที่บิดเบือน ไม่แสดงข้อมูลเท็จจริงที่โปร่งใส ทำให้ชาวบ้านเกิดความสับสน อย่างกรณีของบริษัท โคเรีย วอเตอร์ รีซอสเซส คอร์ปอเรชั่น หรือ เค วอเตอร์ ที่ได้ชนะการประมูลแผนก่อสร้างใน 2 โมดูล คือ โมดูล เอ 3 และโมดูล เอ 5 ซึ่งเป็นโครงการแก้มลิงและฟลัดเวย์ ที่ทางเครือข่ายภาคประชาชนเกาหลี ได้ลงพื้นที่สำรวจเมื่อวันที่ 24-25 มิ.ย. ใน จ.พิษณุโลก และนครสวรรค์นั้น ก็เป็นอีกแผนที่ไร้ซึ่งการทำกรอบแนวคิดในการศึกษาว่า เพราะเหตุใดจึงจำเป็นต้องก่อสร้าง ขณะที่หลายๆ โครงการมีการแอบลงพื้นที่สำรวจ เพื่อก่อสร้างเส้นทางฟลัดเวย์ และพัฒนาคูคลองโดยการขุดลอก และไม่แสดงข้อมูลเท็จจริงให้ประชาชนรับรู้ ที่น่ากังวลมากที่สุด คือ รูปแบบการพัฒนาเส้นทางต่างๆ ในงบ 3.5 แสนล้าน นั้นคนยังสงสัยว่าเป็นโครงการขุดลอกคลองชลประทาน หรือเป็นการแก้ปัญหาน้ำท่วม ซึ่งจุดนี้เป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องเร่งแก้ไข หรือแม้กระทั่งการขุดลอกบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ ก็เป็นการแสดงออกซึ่งความไร้แผนงานในการพัฒนา
       
       ด้านนายยัม กล่าวว่า หลังจากที่เครือข่ายสิ่งแวดล้อม ทราบว่า เค วอเตอร์ ชนะการประมูลแผนพัฒนาการทรัพยากรน้ำใน 2 แผนของประเทศไทย งบประมาณ 1.5 แสนล้านนั้น รู้สึกกังวลอย่างมาก กลัวว่าจะมีปัญหาตามมาภายหลัง ทั้งปัญหาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่ตามมา และปัญหาเรื่องงบประมาณค่าใช้จ่ายที่เกินกว่าราคาเสนอโครงการ เพราะเค วอเตอร์ มีประวัติที่ไม่ดีนัก โดยแต่เดิมนั้นบริษัทดังกล่าวเป็นรัฐวิสาหกิจ ที่ดำเนินการในการพัฒนาระบบน้ำ แต่ต่อมา เค วอเตอร์ มารับงานก่อสร้างอื่นๆ เช่น การสร้างระบบน้ำประปาในพื้นที่อุตสาหกรรม และเมืองใหญ่ จากนั้นก็ย้ายมาก่อสร้างด้านการพัฒนาพื้นที่ชุ่มน้ำ การก่อสร้างพนังกั้นน้ำท่วม ซึ่งไม่ใช่งานหลัก ทั้งๆ ที่ก่อตั้งมาในฐานะรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีทุนสนับสนุนโดยรัฐบาลที่ถือหุ้นมากถึง 99% และมีผู้บริหารระดับสูงหรือซีอีโอที่แต่งตั้งโดยประธานาธิบดีเกาหลีใต้ นอกจากนี้ยังพบว่า ในปี 2012 เควอเตอร์มีทรัพย์สินอยู่ที่ 676,000 ล้านบาท 304,000 ล้านบาท และหนี้สินประมาณ 372,000 ล้านบาท ส่วนภาษีเงินได้ของบริษัท อยู่ที่ 99,000 ล้านบาท
       
       นายยัม กล่าวต่อว่า ระยะเวลา 3 ปีจากปี 2008-2011 ที่เควอเตอร์ดำเนินโครงการสร้างเขื่อนใน 4 แม่น้ำและคลองกังงิน รวมระยะทางทั้งหมด 600 กม. โดยใช้งบประมาณสูงถึง 5,945,000 ล้านบาท ซึ่งทางบริษัทระบุว่าเป็นการสร้างฟลัดเวย์ และแก้ปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้งของเกาหลีใต้ นั้น พบว่า ผลจากการก่อสร้างก่อหนี้สินสูงขึ้นถึง 758% ซึ่งถือว่าเป็นโครงการที่ประสบความล้มเหลวของเควอเตอร์มากที่สุด โดย 50% ของงบประมาณนั้น เค วอเตอร์ใช้เพื่อการบำรุงรักษาโครงการหลังก่อสร้าง ซึ่งความล้มเหลวที่มีนี้ทำให้คนเกาหลีใต้เกือบ 80% ต่อต้านโครงการสร้างเขื่อนดังกล่าว ขณะที่ความไม่โปร่งใสเรื่องการเงินนั้นอยู่ในช่วงการตรวจสอบของสำนักงานตรวจ เงินแผ่นดินของเกาหลีใต้ และสำนักงานตรวจสอบการทุจริต เพราะเข้าข่ายทำผิดกฏหมายการเงิน ส่วนผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมนั้นเกิดขึ้นมากมายเช่นกัน ซึ่งเขื่อนใน 4 แม่น้ำ สร้างปัญหาสาหร่ายเขียว (Green late) ทำลายระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมในแม่น้ำของเกาหลีใต้ ทำให้สัตว์และพืชสำคัญเสียหายอย่างรุนแรง ดังนั้น เค วอเตอร์ จึงเข้าข่ายทำผิดกฎหมายสิ่งแวดล้อมด้วย ซึ่งทางภาคประชาชนจะเร่งตั้งคณะทำงานจากองค์กรอิสระและภาคประชาชนเพื่อตรวจ สอบ กรณีปัญหาดังกล่าวและสรุปนำเสนอสาธารณะอีกครั้ง
       
       ด้านนายกมล กล่าวว่า จากสถานะการเงินที่แย่ลงของเค วอเตอร์นั้น สะท้อนให้เห็นชัดว่าไม่เหมาะสมแก่การรับดำเนินโครงการเส้นทางผันน้ำ สร้างฟลัดเวย์ และโครงการขุดลอกคลองบางส่วนในแผนโมดูล เอ 5 ซึ่งครอบคลุมพื้นที่แม่น้ำสายสำคัญ เช่น แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำเจ้าพระยา และท่าจีน ในภาคตะวันตก และปริมณฑล เพราะแม้แต่โครงการในประเทศยังมีความเสียหายมหาศาลแล้ว หากปล่อยให้ดำเนินย่อมไม่เกิดผลดี อย่างไรก็ตาม อยากขอให้รัฐบาลเร่งพิจารณาในส่วนของภาคประชาชนมากกว่า ว่า ต้องการอะไร รวมทั้งรัฐบาลเองต้องเร่งชี้แจงข้อเท็จจริง กรณีแผนพัฒนาลุ่มน้ำด้วย ว่าดำเนินการเพื่ออะไร เป็นโครงการขุดคลองของชลประทาน หรือเป็นการแก้ปัญหาระบบน้ำอย่างไร เพราะขณะนี้ประชาชนยังกังวลอยู่มาก
       
       นายสมเกียรติ กล่าวว่า อยากให้รัฐบาลใจเย็นในเรื่องของการเดินหน้าโครงการ แล้วหันมาใส่ใจการแก้ปัญหาระบบน้ำที่ชุมชนทั้งต้นน้ำ ปลายน้ำมากกว่าการเร่งอนุมัติงบประมาณ อย่างน้อยก็ไม่ต้องเสี่ยงกับความล้มเหลว ทั้งนี้ตนหวังว่า กรณีสถานการณ์ของเควอเตอร์ น่าจะเป็นบทเรียนสำคัญที่ทำให้รัฐบาลไตร่ตรองแล้วยอมฟังเสียงประชาชน โดยการประชาพิจารณ์อย่างจริงจัง นอกจากนี้ กรณีที่ในแผนพัฒนาลุ่มน้ำภาคเหนือซึ่งรัฐบาลสนับสนุนให้มีการขุดลอก คลอง หนองน้ำและบึงต่างๆ นั้น เห็นว่าเป็นสิ่งไม่สมควร เพราะภาคเหนือเป็นต้นน้ำ ควรเน้นที่การรักษาป่าไม้ มากกว่าการขุดลอก
       
       อีกด้านหนึ่งที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีศาลปกครองจะพิพากษากรณีโครงการบริหารจัดการน้ำในวันที่ 27 มิ.ย.นี้ ว่า ในการแถลงของตุลาการเจ้าของสำนวนเมื่อวันที่ 25 มิ.ย.นั้น แม้ไม่ใช่คำวินิจฉัย แต่ว่าก็มีประเด็นที่น่าสนใจคือมีการพูดถึง การปฏิบัติตามมาตรา 67 ซึ่งดูเหมือนว่าจุดยืนหรือแนวคิดของผู้ที่แถลงบอกว่า ควรที่จะต้องมีการปฏิบัติตามมาตรา 67 โดยการเข้าไปรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนเพื่อประกอบกับการศึกษาผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมกับสังคม ก่อนที่จะมีการลงนามในสัญญา ซึ่งหากมีการวินิจฉัยตามแนวนี้ รัฐบาลก็ต้องไปดำเนินการตามแนวนี้ ส่วนอาจจะเซ็นสัญญาไม่ทันวันที่ 30 มิ.ย. ซึ่งครบกำหนดการกู้เงิน ตนคิดว่ารัฐบาลจะกู้เงินแล้วค่อยไปทำสัญญาในภายหลัง
       
       ส่วนกรณี นายยัม ยุง โซ ผู้อำนวยการสมาพันธ์สิ่งแวดล้อมเกาหลีใต้ออกมาระบุว่า บริษัท เค วอเตอร์ ที่ชนะการประมูลหลายโมดูลในโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ว่ามีฐานะการเงินย่ำแย่และมีหนี้สินสูงกว่า 700% และไม่มีศักยภาพที่จะทำโครงการใหญ่ได้นั้น อันนี้ก็เป็นคำถามต่อไปถึงรัฐบาลว่า เรามีความมั่นใจอะไรว่าบริษัทดังกล่าวทำได้
       
       “รัฐบาลต้องไปตรวจสอบว่า เขาพร้อมทำจริงหรือเปล่า แต่ว่าถ้ากระบวนการบอกว่า ผ่านการคัดเลือกมาแล้วนี่ อันนี้ก็ต้องมาตอบคำถามว่าทำไมคนที่เขาตั้งข้อสังเกต หรือมีข้อมูลตรงนี้มา เขาถึงมีความไม่เชื่อมั่นตรงนี้ แล้วรัฐบาลมีความมั่นใจอะไร”นายอภิสิทธิ์ กล่าว
       
       เมื่อถามว่า ในส่วนการตรวจสอบของพรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า กำลังตรวจสอบต่อเนื่อง ซึ่งการที่เราจะยื่นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจรติแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ก่อนหน้านี้นั้นก็น่าจะเกี่ยวพันกับเรื่องเหล่านี้ด้วย เพราะข้อสังเกตเราเกี่ยวกับปัญหาการจัดซื้อจัดจ้าง แล้วก็มีข้อสังเกตของ ป.ป.ช. เองว่า บริษัทต่างๆ จะสามารถทำงานได้จริงหรือไม่ จะเกิดการทิ้งงานหรือไม่ ซึ่งก็อยู่ในคำร้องหมดแล้ว
       
       นายอรรถวิช สุวรรณภักดี ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เรื่องคุณสมบัติของเควอเตอร์นั้น เชื่อว่าเขาสามารถสร้างตามโครงการที่กำหนดไว้ได้ เพราะสุดท้ายก็จะมีการจ้างบริษัทก่อสร้างขนาดเล็กในประเทศทำโครงการ และพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หรือน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรเองก็เคยไปดูถึงประเทศเกาหลีมาแล้ว ดังนั้นเรื่องนี้จึงไม่ใช่เรื่องของคุณสมบัติ แต่เชื่อว่าเป็นเพียงการตีหัวผู้รับเหมาแบบเหนือเมฆ เพื่อต่อรองราคาและผลประโยชน์กัน เพราะรัฐบาลมีเวลาต่อรองราคาจนถึงวันที่ 30 ก.ย. ก่อนจะมีการลงนามในสัญญาจ้าง ซึ่งหากผู้ชนะคือเควอเตอร์ไม่สามารถต่อรองราคา ต่อรองผลประโยชน์กับรัฐบาลได้ลงตัว รัฐบาลก็จะสามารถพิจารณาบริษัทร่วมประมูลอันดับสองได้ ซึ่งก็คือบริษัทอิตาเลียนไทย ซึ่งเหตุนี้เองที่ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ต้องยื่นถอดถอนครม.ทั้งคณะ เพราะสุดท้ายแล้วงานก็จะอยู่ในมือแค่ไม่กี่บริษัทเท่านั้น
       
       ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจรติแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เคยเตือนรัฐบาลแล้วว่า ไม่ควรประมูลโครงการทั้งหมดแบบรวมเข่ง เพราะนายสุพจน์ โตวิจักษณ์ชัยกุล เลขาธิการสำนักงานนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (กบอ.) ให้ข้อมูลว่ารัฐบาลมีรูปแบบการก่อสร้าง งบประมาณที่ชัดเจนประมาณ 30% ซึ่งก็ควรแยกประมูลเป็นรายโครงการโดยให้บริษัทขนาดเล็กในประเทศเข้ามาทำ และหากไม่มีความพร้อมที่จะทำทั้งหมดก่อนที่สิ้นสุดการกู้ในวันที่ 30 มิ.ย.นี้ ก็ควรกู้แค่ที่มีความพร้อม แต่การรวมทั้งหมดแล้วประมูลแบบยกเข่ง โดยปิดโอกาสบริษัทขนาดเล็กนั้น เป็นการเปิดช่องให้มีการทุจริตและสามารถตีหัวผู้รับเหมาหาผลประโยชน์ได้หรือ ไม่ และพอมีแค่ไม่กี่บริษัทที่ได้งานหากบริษัทใดบริษัทหนึ่ง อย่างกรณีของเควอเตอร์ถ้ามีปัญหาก็จะส่งผลกระทบต่อโครงการทั้งหมด แต่หากมีการแยกประมูลตั้งแต่ต้นก็จะมีปัญหาเป็นบางโครงการเท่านั้น


เค-วอเตอร์ โต้เอ็นจีโอโสมกล่าวหาไม่เคยรับงานใหญ่ ลั่นเดินหน้าโครงการจัดการน้ำ 1.6 แสนล้าน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

เอ็มดี "เค-วอเตอร์" โต้เอ็นจีโอเกาหลีใต้กล่าวหาไม่เคยรับงานใหญ่ ชี้ เป็นข้อมูลที่บิดเบือน ยืนยันความพร้อมลงทุน พร้อมเปิดให้ตรวจสอบได้ ทุกข้อกล่าวหา ลั่นเดินหน้าโครงการจัดการน้ำ 2 โมดูล 1.6 แสนล้านในไทย
       
       นายมณฑล ภาณุโภคิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท เค-วอเตอร์ ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจแห่งเกาหลีใต้ มีรัฐบาลถือหุ้น 99% ชี้แจงกรณีที่นายยัม ยุง โซ ผู้อำนวยการสมาพันธ์สิ่งแวดล้อมเกาหลีใต้ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเค-วอเตอร์ในเชิงลบว่า บริษัทขอยืนยันว่ามีความพร้อมที่จะทำงานโครงการบริหารจัดการน้ำที่ชนะการ ประมูลจำนวน 2 โมดูล รวมมูลค่ากว่า 1.6 แสนล้านบาท และขอชี้แจงว่าข้อมูลที่นักสิ่งแวดล้อมเกาหลีใต้ให้มานั้นเป็นข้อมูลที่บิด เบือน
       
       ทั้งนี้ กรณีที่นายยัม ยุง โซ ระบุว่า เค-วอเตอร์เคยรับเฉพาะงานเล็กและไม่มีศักยภาพนั้น ขอยืนยันว่า กลุ่มเค-วอเตอร์ มีหน้าที่ดูแลเขื่อนทุกเขื่อนในเกาหลีใต้ และโครงการต่างๆ เกี่ยวกับน้ำในเกาหลีใต้ รวมถึงโครงการลุ่มแม่น้ำ 4 สายที่มีการโจมตีอย่างหนักจากนักสิ่งแวดล้อมเป็นโครงการที่ดำเนินการเสร็จ แล้ว และประชาชนเกาหลีใต้ ก็ให้การยอมรับแล้ว จากก่อนหน้าที่จะเริ่มโครงการที่มีการต่อต้านจากภาคประชาชน
       
       แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ฝนตกหนักในรอบ 100 ปีเมื่อประมาณกลางปี 2554 เกิดน้ำท่วมในกรุงโซล และสามารถระบายน้ำออกได้ภายใน 48 ชั่วโมง ทำให้ประชาชนยอมรับในโครงการบริหารจัดการน้ำที่รัฐบาลได้ดำเนินการ แต่ต้องยอมรับว่า โครงการลุ่มแม่น้ำ 4 สายเป็นแนวคิดของรัฐบาลชุดเดิม พอมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล จึงอาจมีการนำมาเป็นข้อมูลโจมตีทางการเมือง
       
       ทางด้านสถานะทางการเงิน ยืนยันว่า กลุ่มเค-วอเตอร์ ซึ่งถือหุ้นโดยรัฐบาล ย่อมมีความแข็งแกร่งทางการเงิน ส่วนเรื่องภาระหนี้สิน เป็นเรื่องปกติของการลงทุน และโครงการต่างๆ ที่เค-วอเตอร์ดำเนินการ ล้วนเป็นโครงการบริการประชาชนที่ไม่ได้มุ่งหวังกำไร โดยขณะนี้ได้ทำหนังสือถึงรัฐบาลเกาหลี ให้ส่งรายงานทางการเงินมาให้ทางเค-วอเตอร์ไทยนำเสนอกับสังคมไทย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนคนไทย ให้เชื่อมั่นว่าเค-วอเตอร์จะไม่ทิ้งงาน
       
       “เราเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐ เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลยที่จะรับงานในไทยแล้วจะทิ้งงาน อีกทั้งตั้งแต่เข้าร่วมการประมูลครั้งนี้ เค-วอเตอร์ได้ผ่านการตรวจสอบสถานะทางการเงินแล้วว่ามีความพร้อม และยังได้วางเงินประกันซื้อซองเป็นมูลค่าสูงถึง 1.5 หมื่นล้านบาท มีธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์สาขาในไทย เป็นผู้ค้ำประกันวงเงิน”
       
       ขณะที่การดำเนินการทำโครงการบริหารจัดการน้ำในไทย จะใช้แหล่งเงินกู้ของไทยบางส่วน ส่วนเงินหมุนเวียน รัฐบาลเกาหลีในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ของเค-วอเตอร์จะต้องเป็นผู้เตรียมเงินหมุน เวียนอย่างต้องครอบคลุมมูลค่าของโครงการที่ชนะประมูล คือ ไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาท จึงอยากให้ประชาชนคนไทย มีความมั่นใจในเรื่องนี้
       
       ส่วนประเด็นเรื่องปิดบังข้อมูลเป็นความลับ ไม่เปิดเผยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมตามที่นักสิ่งแวดล้อมเกาหลีใต้ได้ กล่าวถึงนั้น เค-วอเตอร์ขอยืนยันว่าไม่เป็นความจริง เพราะทุกโครงการที่จะดำเนินการได้นั้น จะต้องผ่านกระบวนการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) และการจัดรายงานประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (เอชไอเอ) ซึ่งเท่ากับเป็นการฟังเสียงของประชาชนก่อนดำเนินโครงการอยู่แล้ว หากอีไอเอ และเอชไอเอไม่ผ่าน ก็ต้องยุติโครงการ
       
       สำหรับกรณีที่ศาลปกครองนัดไต่สวนคดีบริหารโครงการจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาทในวันพรุ่งนี้ (27 มิ.ย.) หลังจากสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน และกลุ่มชาวบ้าน 45 คน ยื่นฟ้องนายกรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จากการได้รับผลกระทบจากแผนบริหารจัดการน้ำ เค-วอเตอร์ก็พร้อมที่จะน้อมรับทุกคำตัดสินใจของศาลปกครอง เพียงแต่ขอให้มีความชัดเจนว่าจะมีแนวทางให้เค-วอเตอร์ทำอย่างไรต่อไป


ช่อง 5 ตัดกลางอากาศ สกู๊ปข่าว'เค วอเตอร์'เจ๊ง

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

วิจารณ์ขรม ทีวีช่อง 5 กองทัพบกเอาใจรัฐบาล ยัดโฆษณาแทรก“ฮาร์ดคอร์ข่าว”ขณะกำลังเสนอสกู๊ป “เค วอเตอร์” ผู้ชนะประมูลโครงการแก้มลิงแก้น้ำท่วม 1.63 แสนล้านมีผลขาดทุนต่อเนื่องมากกว่า 700 เปอร์เซ็นต์
         26 มิ.ย.56 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนว่า ขณะดูรายการ “ฮาร์ดคอร์ข่าว” จากทางสถานีวิทยุและโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ซึ่งออกอากาศในช่วงเวลา 18.00-18.30 น. มีการเสนอสกู๊ปข่าวกรณีบริษัทเค วอเตอร์ รีซอสเซส คอร์ปอเรชั่น ซึ่งชนะการประมูลโครงการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาล โดยได้โมดูล 3 สร้างฟลัดเวย์และแก้มลิงในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ งบประมาณ 1.63 แสนล้านบาท อันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการบริหารจัดการน้ำมูลค่า 3.5 แสนล้านบาทของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
       
       ข้อร้องเรียนระบุว่า พิธีกรโปรยหัวข่าวว่า พบความไม่ชอบมาพากลที่บริษัทแห่งนี้มีหนี้สินสะสมมากกว่า 700 เปอร์เซ็นต์ รวมทั้งไม่เคยดำเนินโครงการขนาดใหญ่มาก่อน และให้ผู้ชมติดตามรายงานข่าวชิ้นนี้ ปรากฏว่า เมื่อปล่อยภาพครู่เดียว ก็ถูกตัดเข้าโฆษณาแบบไม่มีปี่มีขลุ่ย จนกระทั่งจบโฆษณาและกลับมาเข้ารายการ พิธีกรก็กล่าวสวัสดีทันที และไม่มีการนำเสนอรายงานข่าวชิ้นนี้อีกแต่อย่างใด ทำให้เกิดกระแสวิพากวิจารณ์ว่าเป็นการแทรกแซงสื่อมวลชนในการเสนอข้อเท็จจริง


ปชป.จี้รัฐสอบเควอเตอร์พบมีหนี้อื้อ

จาก โพสต์ทูเดย์

องอาจ จี้รัฐบาลตรวจสอบเควอเตอร์ หลังพบมีหนี้อื้อ  ชี้ ตั้งปลอดประสพบี้ไทยเข้มแข็งแค่แก้เกี้ยว

นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่นักวิชาการสิ่งแวดล้อม สมาพันธ์สิ่งแวดล้อมเกาหลี และกลุ่มนักวิชาการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล นำสื่อมวลชนลงพื้นที่บริเวณที่ที่จะมีการสร้างทางผันน้ำ หรือฟลัดเวย์ และพื้นที่เพื่อทำแก้มลิง และพนังกั้นน้ำป้องกันน้ำท่วม ที่ จ.นครสวรรค์ ว่า จากการเปิดเผยของ นายยัม ยุง โซ ผู้อำนวยการสมาพันธ์สิ่งแวดล้อมเกาหลีใต้ ระบุว่า บริษัท เค วอเตอร์ ที่เป็นผู้ประมูลระบบฟลัดเวย์และทำพื้นที่แก้มลิงเป็นบริษัทที่มีฐานะทางการ เงินย่ำแย่ มีหนี้ท่วมสูงกว่า 700% รวมทั้งไม่มีศักยภาพที่จะทำโครงการใหญ่ได้ เพราะเคยทำฟลัดเวย์ในเกาหลีใต้ระยะทาง 18 กิโลเมตร กว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จใช้เวลาศึกษา 10 ปี ในขณะที่การดำเนินโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท รัฐบาลประมาณการว่าจะเสร็จ 3-5 ปี นอกจากนี้ การดำเนินโครงการขนาดใหญ่ในเกาหลีใต้ของเค วอเตอร์ จะปิดข้อมูลเป็นความลับ และมีความสัมพันธ์กับนักการเมือง

นายองอาจยังกล่าวว่า การออกมาชี้แจงของนายยัม ยุง โซ ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง และอยากจะตั้งข้อสังเกตไปยังรัฐบาล 1.รัฐบาลได้ทราบข้อมูลมาก่อนหรือไม่ 2.ขณะที่มีการยื่นเรื่องรัฐบาลได้ตรวจสอบสถานะการเงิน และการทำงานในอดีต ของบริษัท เค วอเตอร์ หรือไม่ และอยากจะเรียกร้องไปยังนายกรัฐมนตรี ตรวจสอบเรื่องนี้อย่างจริงจัง และขอให้รัฐบาลเอาจริงกับข้อมูลนี้ เพื่อให้โครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท เป็นประโยชน์กับประชาชนมากที่สุด

 

นายองอาจกล่าวด้วยว่า ส่วนกรณีที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 25 มิ.ย. มีมติแต่งตั้งนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะทำงานประเมินผลเพื่อศึกษาการดำเนินการภายใต้พระราชกำหนดให้ อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 (ไทยเข้มแข็ง) และประเมินโครงการดังกล่าว ว่า การดำเนินการดังกล่าว เป็นแค่การแก้เกี้ยวของรัฐบาล เนื่องจากช่วงนี้รัฐบาลมีแต่ข่าวการทุจริตทั้งทุจริตข้าวและทุจริตน้ำ

"หากโครงการไทยเข้มแข็งมีการทุจริตจริง รัฐบาลคงดำเนินการตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่ง ไม่ใช่อย่างเช่นในปัจจุบันที่รัฐบาลบริหารประเทศมาจะครบ 2 ปี แต่เพิ่งเริ่มคิดที่จะตรวจสอบ เพียงเพื่อกลบข่าวการทุจริตในรัฐบาลยิ่งลักษณ์" นายองอาจกล่าว

นายองอาจกล่าวว่า ขอฝากไปถึงรัฐบาลว่าการกระทำในลักษณะนี้ไม่เกิดประโยชน์และไม่เป็นการแก้ ปัญหาให้กับประชาชน สิ่งที่รัฐบาลควรทำอย่างเร่งด่วนคือการแก้ปัญหาให้กับประชาชนและลดการทุจริต อย่างเช่นในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่บริหารประเทศอย่างโปร่งใส และดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อพี่น้องประชาชนอย่าแท้จริง


เค-วอเตอร์โต้NGOกล่าวหาไม่เคยรับงานใหญ่

จาก โพสต์ทูเดย์

เค-วอเตอร์ โต้เอ็นจีโอเกาหลีใต้กล่าวหาไม่เคยรับงานใหญ่ ยืนยันพร้อมให้ตรวจสอบ เดินหน้าโครงการจัดการน้ำ2โมดูลในไทย

นายมณฑล ภาณุโภคิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท เค-วอเตอร์ ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจแห่งเกาหลีใต้ มีรัฐบาลถือหุ้น 99%  ชี้แจงกรณีที่นายยัม ยุง โซ ผู้อำนวยการสมาพันธ์สิ่งแวดล้อมเกาหลีใต้ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเค-วอเตอร์ในเชิงลบว่า บริษัทขอยืนยันว่ามีความพร้อมที่จะทำงานโครงการบริหารจัดการน้ำที่ชนะการ ประมูลจำนวน 2 โมดูล รวมมูลค่ากว่า 1.6 แสนล้านบาท และขอชี้แจงว่าข้อมูลที่นักสิ่งแวดล้อมเกาหลีใต้ให้มานั้นเป็นข้อมูลที่บิด เบือน

ทั้งนี้ กรณีที่นายยัม ยุง โซ ระบุว่า เค-วอเตอร์เคยรับเฉพาะงานเล็กและไม่มีศักยภาพนั้น ขอยืนยันว่า กลุ่มเค-วอเตอร์ มีหน้าที่ดูแลเขื่อนทุกเขื่อนในเกาหลีใต้ และโครงการต่างๆ เกี่ยวกับน้ำในเกาหลีใต้ รวมถึงโครงการลุ่มแม่น้ำ 4 สายที่มีการโจมตีอย่างหนักจากนักสิ่งแวดล้อมเป็นโครงการที่ดำเนินการเสร็จ แล้ว และประชาชนเกาหลีใต้ ก็ให้การยอมรับแล้ว จากก่อนหน้าที่จะเริ่มโครงการที่มีการต่อต้านจากภาคประชาชน

แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ฝนตกหนักในรอบ 100  ปีเมื่อประมาณกลางปี 2554 เกิดน้ำท่วมในกรุงโซล และสามารถระบายน้ำออกได้ภายใน 48 ชั่วโมง ทำให้ประชาชนยอมรับในโครงการบริหารจัดการน้ำที่รัฐบาลได้ดำเนินการ แต่ต้องยอมรับว่า โครงการลุ่มแม่น้ำ 4 สายเป็นแนวคิดของรัฐบาลชุดเดิม พอมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล จึงอาจมีการนำมาเป็นข้อมูลโจมตีทางการเมือง

ทางด้านสถานะทางการเงิน ยืนยันว่า กลุ่มเค-วอเตอร์ ซึ่งถือหุ้นโดยรัฐบาล ย่อมมีความแข็งแกร่งทางการเงิน ส่วนเรื่องภาระหนี้สิน เป็นเรื่องปกติของการลงทุน และโครงการต่างๆ ที่เค-วอเตอร์ดำเนินการ ล้วนเป็นโครงการบริการประชาชนที่ไม่ได้มุ่งหวังกำไร โดยขณะนี้ได้ทำหนังสือถึงรัฐบาลเกาหลี ให้ส่งรายงานทางการเงินมาให้ทางเค-วอเตอร์ไทยนำเสนอกับสังคมไทย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนคนไทย ให้เชื่อมั่นว่าเค-วอเตอร์จะไม่ทิ้งงาน

“เราเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐ เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลยที่จะรับงานในไทยแล้วจะทิ้งงาน อีกทั้งตั้งแต่เข้าร่วมการประมูลครั้งนี้ เค-วอเตอร์ได้ผ่านการตรวจสอบสถานะทางการเงินแล้วว่ามีความพร้อม และยังได้วางเงินประกันซื้อซองเป็นมูลค่าสูงถึง 1.5 หมื่นล้านบาท มีธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์สาขาในไทย เป็นผู้ค้ำประกันวงเงิน”

ขณะที่การดำเนินการทำโครงการบริหารจัดการน้ำในไทย จะใช้แหล่งเงินกู้ของไทยบางส่วน ส่วนเงินหมุนเวียน รัฐบาลเกาหลีในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ของเค-วอเตอร์จะต้องเป็นผู้เตรียมเงินหมุน เวียนอย่างต้องครอบคลุมมูลค่าของโครงการที่ชนะประมูล คือ ไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาท จึงอยากให้ประชาชนคนไทย มีความมั่นใจในเรื่องนี้

ส่วนประเด็นเรื่องปิดบังข้อมูลเป็นความลับ ไม่เปิดเผยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมตามที่นักสิ่งแวดล้อมเกาหลีใต้ได้ กล่าวถึงนั้น เค-วอเตอร์ขอยืนยันว่าไม่เป็นความจริง เพราะทุกโครงการที่จะดำเนินการได้นั้น จะต้องผ่านกระบวนการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) และการจัดรายงานประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (เอชไอเอ) ซึ่งเท่ากับเป็นการฟังเสียงของประชาชนก่อนดำเนินโครงการอยู่แล้ว หากอีไอเอ และเอชไอเอไม่ผ่าน ก็ต้องยุติโครงการ

สำหรับกรณีที่ศาลปกครองนัดไต่สวนคดีบริหารโครงการจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาทในวันพรุ่งนี้ (27 มิ.ย.) หลังจากสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน และกลุ่มชาวบ้าน 45 คน ยื่นฟ้องนายกรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จากการได้รับผลกระทบจากแผนบริหารจัดการน้ำ เค-วอเตอร์ก็พร้อมที่จะน้อมรับทุกคำตัดสินใจของศาลปกครอง เพียงแต่ขอให้มีความชัดเจนว่าจะมีแนวทางให้เค-วอเตอร์ทำอย่างไรต่อไป


เอ็นจีโอเกาหลี ขุดปมเควอเตอร์หนี้ท่วม

เอ็นจีโอเกาหลี ขุดปมเควอเตอร์หนี้ท่วม จัดการน้ำไม่คุ้มลงทุน จี้รัฐทบทวนโครงการน้ำ

ยัม ฮคอง เชิล ผู้อำนวยการสหพันธ์สิ่งแวดล้อมเกาหลี (KFEM) เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่แลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการจัดการน้ำระหว่างเครือข่ายภาคประชาชนและเครือข่ายสิ่งแวดล้อมเกาหลี จังหวัดพิษณุโลก และนครสวรรค์ วันที่ 24-25 มิ.ย. ในพื้นที่ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ โมดูล A1 เขื่อนคลองชมพู และแก้มลิง โมดูล A3 จังหวัดนครสวรรค์

ผลจากการลงพื้นที่ได้สะท้อนให้เห็นภาพว่า โครงการบริหารจัดการน้ำขนาดใหญ่ของประเทศไทย ขาดความโปร่งใส และไม่มีการนำเสนอข้อมูลกับภาคประชาชน อีกทั้งยังแปลกใจว่า เหตุใดรัฐบาลไทยถึงเลือกให้บริษัทเควอร์เตอร์ ทำโครงการขนาดใหญ่ ในขณะที่รัฐบาลชุดใหม่ของประเทศเกาหลียังอยู่ระหว่างตั้งคณะกรรมการตรวจอสอบโครงการก่อสร้างของบริษัท ที่ส่อทุจริต และสร้างความเสียหายให้กับประเทศ โครงการก่อสร้าง แม่น้ำ 4 สาย และคลองกังยิน เป็น 2 ตัวอย่างของโครงการบริหารจัดการน้ำในประเทศเกาหลีที่ประชาชนกว่า 70% มองว่า เป็นโครงการที่ไม่มีความจำเป็น และทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามมา

ในช่วงพัฒนาประเทศของเกาหลี รัฐบาลได้ออก พรก. จัดตั้งรัฐวิสาหกิจบริหารจัดการน้ำ หรือ เคเวอร์เตอร์ เพื่อก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการจัดการน้ำให้กับประเทศ โดยเริ่มต้นจากเขื่อน และระบบผลิตน้ำประปา จนมาระยะหลังได้เริ่มมีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ เพิ่มเติม นอกเหนือจากภารกิจที่เคยทำ เพื่อหารายได้เข้าบริษัท

ทั้งนี้ โครงการลงทุนก่อสร้างแม่น้ำ 4 สายในประเทศเกาหลี ทำให้บริษัทเควอเตอร์มีหนี้สินเพิ่มขึ้นกว่าทุนที่มีอยู่ถึง 78% โดยโครงการดังกล่าวเดินหน้าโดยผิดกฎหมายการเงินประเทศเกาหลี สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม งานก่อสร้างไม่ได้มาตรฐานจากโรงการที่เสียหายในหลายจุด อย่างไรก็ตาม รัฐบาลเกาหลีได้ตั้งหน่วยงานตรวจสอบโครงการก่อสร้างแม่น้ำ 4 สาย รวมถึงคลองกังยิน หลังจากที่ประชาชนเกาหลีกว่า 70% ไม่พอใจในโครงการของบริษัท

“สถานการณ์ทางการเงินของเควอเตอร์ไม่ดีเหมือนก่อน ทำให้ต้องเพิ่มโครงการก่อสร้างเพื่อทำกำไรให้กับบริษัทจากการเก็บค่าดูแลจากรัฐบาล ทำให้โครงการจัดการน้ำในประเทศเกาหลี มีจำนวนมากกว่าที่จำเป็น โดย 50% และหลายโครงการสร้างแล้วไม่ได้ใช้งาน จึงได้ขยายไปทำโครงการร่วมกับต่างประเทศรวมถึงประเทศไทย” เขากล่าว และมองว่า การที่เควอเตอร์ ชนะในโมดูลฟลัดเวย์ และแก้มลิง เกิดจากข้อตกลงระหว่างรัฐบาล ที่มีเงื่อนงำ ซึ่งเอ็นจีโอจากเกาหลี พร้อมให้ความร่วมมือกับเอ็นจีโอไทย เพื่อตรวจสอบโครงการดังกล่าวอย่างใกล้ชิด


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ชำแหละ เค-วอเตอร์ หนี้ท่วม ทำโครงการเหลว

view