สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ถอดรหัสคลิปฉาว!ใครคือ มิน อ่อง หล่าย

จาก โพสต์ทูเดย์

โดย...ทีมข่าวต่างประเทศ

ตอนหนึ่งของคลิปเสียงสนทนาที่เขย่าการเมืองไทยอยู่ในขณะนี้ มีการกล่าวถึงชื่อของ "มิน อ่อง หล่าย" โดยระบุว่า เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของพม่า และเป็นมือหนึ่งของประธานาธิบดีเต็งเส่ง

เสียงของชายจากแดนไกลในคลิปบอกว่า เคยไปร่วมงานสงกรานต์กับมิน อ่อง หล่าย พร้อมระบุว่า "พวกผมทั้งนั้นแหละ มันยกที่ให้ผมแปลงนึง ใจกลางเมืองย่างกุ้ง"

เมื่อสืบค้นดูก็พบว่าชื่อมิน อ่อง หล่ายนั้น ตรงกับ "พล.อ.มิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการสูงสุดแห่งกองทัพพม่า" ที่หนังสือพิมพ์อิระวดี สื่อท้องถิ่นของพม่าได้รายงานว่า เมื่อช่วงเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้เดินทางไปเยือนพม่า และเข้าพบ พล.อ. มิน อ่อง หล่าย

หลักฐานยืนยันการเข้าพบครั้งนี้เป็นภาพถ่ายจากเฟซบุ๊กของพ.ต.ท.ทักษิณ ที่เจ้าตัวกำลังรดน้ำผู้บัญชาการทหารแห่งพม่า ณ บ้านพักตากอากาศเขตเมย์เมียว (Maymyo) เมืองหุบเขา แห่งมัณฑะเลย์

แม้จะไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดของการเข้าพบดังกล่าว นอกเหนือจากระบุว่าเป็นการเยี่ยมเยียนทักทายและสวัสดีปีใหม่ตามธรรมเนียม ประสาคนรู้จักมักคุ้น แต่นักวิเคราะห์หลายรายเชื่อว่า การพบกันครั้งนี้ ได้ส่งผลให้อดีตผู้นำประเทศไทยมีโอกาสเข้าพบพล.อ.อาวุโสตานฉ่วย อดีตผู้นำสูงสุดของประเทศพม่า

การพบปะทักทายตามประสาคนรู้จักที่บรรดานักวิเคราะห์เคลือบแคลงว่าน่าจะมี นัยยะทางการเมืองระหว่างประเทศแอบแฝงไม่น้อยครั้งนี้ ก่อให้เกิดกระแสคำถามสงสัยเล็กๆ ว่า มินอ่องหล่ายเป็นใคร และมีความสำคัญอย่างไร

ยิ่งเมื่อมีข่าวลือที่ยังไม่สามารถยืนยันที่มาได้เพิ่มเติมอีกว่า เมื่อช่วงไม่กี่วันก่อนหน้านี้ ทักษิณ ได้เดินทางเข้าพบพล.อ. มิน อ่อง หล่ายอีกครั้ง ก็ยิ่งทำให้แวดวงผู้ติดตามข่าวสารเริ่มเสาะหาข่าวคราวของผู้บัญชาการสูงสุด ของประเทศเพื่อนบ้านมากยิ่งขึ้น

ตามประวัติที่สืบค้นได้ พล.อ. มินอ่องหล่าย นับเป็นทหารที่มีผลงานโดดเด่นอย่างมาก และได้รับความไว้วางใจจากพล.อ.อาวุโสตานฉ่วย อดีตผู้นำประเทศ และผู้นำทหารสูงสุดของประเทศพม่า ในปัจจุบันเป็นอย่างมาก

เส้นทางสายทหารของพล.อ.มินอ่องหล่ายเริ่มต้นขึ้นหลังสำเร็จการศึกษาจาก วิทยาลัยป้องกันชาติแห่งประเทศพม่า(Defense Services Academy -DSA) โดยหลังจากนั้น พล.อ. มินอ่องหล่ายรับตำแหน่งผู้บัญชาการรัฐมอญ ก่อนที่ในปี 2545 จะได้รับการเลื่อนขั้นรับตำแหน่งผู้บังคับบัญชีการกองบัญชาการของกรมทหารภาค สามเหลี่ยมในรัฐฉาน (the Triangle Regional Military Command) ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการเจรจากับกองกำลังชนกลุ่มน้อย 2 กลุ่มคือ กองทัพแห่งรัฐว้า (United Wa State Army - UWSA) และกองกำลังสัมพันธมิตรชาติประชาธิปไตย หรือ กลุ่มหยุดยิงเมืองลา (National Democratic Alliance Army - NDAA)

เรียกได้ว่า จากประวัติและผลงานนับตั้งแต่เข้ารับราชการทหาร พล.อ. มินอ่องหล่ายได้รับการจับตามองอย่างมากในฐานะดาวดวงใหม่แห่งกองทัพพม่า เลยทีเดียว

ต่อมา ในปี 2552 ชื่อของพล.อ. มินอ่องหล่ายเริ่มฉายแววโดดเด่นอย่างเห็นได้ชัด จากการเป็นผู้นำกำลังเข้าต่อต้านกลุ่มกองกำลังสัมพันธมิตรชาติประชาธิปไตย  (NDAA) ในพื้นที่ของชนกลุ่มน้อยโกกัง ส่งผลให้ชาวโกกังราว 3.7 หมื่นคนลี้ภัยไปจีน

หลังจากนั้น ในปี 2553 พล.อ. มินอ่องหล่าย ซึ่งในขณะนั้นมียศเป็น พล.ท. ได้รับตำแหน่งผู้บัญชาการกองยุทธการพิเศษที่ 2 (the chief of the Bureau of Special Operations-2) หน่วยบัญชาการทหารภาครัฐฉานและรัฐกะเหรี่ยง ก่อนที่ในปี 2554 จะได้รับการสืบทอดตำแหน่งจากพล.อ.อาวุโสตานฉ่วยให้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับ บัญชาการสูงสุดของกองทัพจนถึงปัจจุบัน

ขณะที่ ในเดือนพ.ย. ปี 2554 พล.อ. มินอ่องหล่ายเป็นตัวแทนรัฐบาลกรุงเนปิดอว์เดินทางไปเจรจากับรัฐบาลจีนที่ กรุงปักกิ่ง ซึ่งได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือทางการทหารของสองประเทศ รวมถึงได้เข้าพบปะพูดคุยกับประธานาธิบดี สีจิ้งผิง ซึ่งขณะนั้นอยู่ในตำแหน่งรองประธานาธิบดีจีน

นักวิเคราะห์หลายฝ่ายเชื่อว่า การเข้าพบกับมหาอำนาจแห่ง เอเชียครั้งนี้ เพื่อแสดงให้เห็นว่ากองทัพพม่ายังคงมีบทบาทสำคัญในการบริหารประเทศ นอกเหนือไปจากการขอความร่วมมือจากกระทรวงกลาโหมจีนในการจัดการกับกลุ่มกบฎคะ ฉิ่นบริเวณชายแดนจีน-พม่า

นอกจากนี้ ในฐานะผู้บัญชาการกองทัพพม่า พล.อ.มิน อ่อง หล่ายถือได้ว่ามีบทบาทสำคัญอย่างมากในการปกครองระบอบประชาธิปไตยของพม่า โดยภายใต้รัฐธรรมนูญปี 2551 ผู้บัญชาการกองทัพพม่ามีอำนาจโดยชอบธรรมที่จะเข้าบริหารประเทศทันทีหากว่า สถานการณ์บ้านเมืองในขณะนั้นอยู่ในภาวะฉุกเฉิน

และล่าสุด ในเดือนเม.ย. ปีที่ผ่านมา พล.อ.มิน อ่อง หล่ายได้รับการเลื่อนขั้นให้ดำรงตำแหน่งรองพล.อ.อาวุโส ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สูงที่สุดเป็นลำดับสองในลำดับขั้นของกองทัพพม่า

รายงานจากหนังสือพิมพ์อิระวดี อ้างแหล่งข่าวภายในที่ระบุว่า พล.อ.มิน อ่อง หล่ายมีจุดยืนสนับสนุนทหารอย่างค่อนข้างชัดเจน และไม่ค่อนข้างจะเพิกเฉยต่อการปฎิรูปประเทศตามแนวทางประชาธิปไตยของ ประธานาธิบดีเต็งเส่ง เห็นได้จากการการเพิกเฉยต่อคำสั่งของผู้นำประเทศเมื่อเดือนธ.ค. ปี 2554 ที่สั่งให้กองทัพยุติการสู้รบกับกองกำลังคะฉิ่น ก่อนหน้าที่จะเกิดการเจรจาสันติภาพ

ยิ่งไปกว่านั้น จุดยืนที่ขัดแย้งกับประธานาธิบดีเต็งเส่งยังเห็นได้ชัดเจน จากการขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ของพล.อ.มิน อ่อง หล่าย เดือนมี.ค. ปี 2555 เนื่องในวันกองทัพ ที่กรุงเนปิดอว์ เมืองหลวงของพม่า ตอกย้ำชัดเจนว่า กองทัพจะยังคงมีบทบาททางการเมืองของประเทศต่อไป

อย่างไรก็ตาม พล.อ.มิน อ่อง หล่ายได้ออกมาให้สัมภาษณ์ในภายหลังยืนยันหนักแน่นว่า กองทัพยังคงสนับสนุนรัฐบาลในการผลักดันประเทศในดำเนินไปตามแนวทางของ ประชาธิปไตยแน่นอนด้วยความสำคัญและความโดดเด่นในตำแหน่งหน้าที่ของพล.อ.มิ นอ่องหล่าย  นักวิเคราะห์และนักสังเกตการณ์ส่วนใหญ่จากหลายสำนักจึงอดตั้งข้อสงสัยถึงการ พบกันของอดีตผู้นำไทยที่ยังคงมีอิทธิพลทางการเมืองกับผู้บัญชาการกองทัพพม่า ในครั้งนี้ไม่ได้

แลร์รี จาร์แกน นักวิเคราะห์และผู้สื่อข่าวสัญชาติอังกฤษ ซึ่งตามติดตามทำข่าวความเคลื่อนไหวในพม่า และภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าวว่า แม้เจตนาของการ พบกันยังไม่แน่ชัด แต่สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนก็คือ ทักษิณ มี สินทรัพย์และบ้านอยู่ในเขตเมย์เมียว ขณะเดียวกัน อดีตผู้นำของไทยยังครอบครองอสังหาริมทรัพย์ ในเขตเศรษฐกิจ พิเศษทวาย และมีผลประโยชน์ด้านน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในพม่า

ดังนั้น จุดประสงค์ของการเยือนจึงอาจเกี่ยวข้องกับธุรกิจและผลประโยชน์ที่ครอบ ครองอยู่เป็นสำคัญ และธุรกิจส่วนใหญ่ที่มีอยู่ก็เกี่ยวพันกับผลประโยชน์ของทางกองทัพพม่าไม่ น้อย

ทั้งนี้ นักวิเคราะห์สรุปปิดท้ายว่า แม้จะ ไร้คำอธิบายถึงเจตนาและวัตถุประสงค์ในการไปพม่า แต่ผลลัพธ์ของการกระทำมักจะสะท้อนให้เห็น "ประสงค์" ของสิ่งที่ทำเสมอ ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องจับตามองต่อไป

ในระหว่างนั้น การทำความรู้จักกับบุคคลที่อดีตผู้นำไทยให้ความสนิทสนม อาจทำให้ได้ "รู้เขา" ได้มากยิ่งขึ้น


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ถอดรหัส คลิปฉาว มิน อ่อง หล่าย

view