สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ชี้สาเหตุ-วัยเสี่ยงปัญหานอนไม่หลับ แนะเร่งแก้ก่อนโรคแทรก

จากประชาชาติธุรกิจ

ผศ.นพ.สุรชัย เกื้อศิริกุล ผอ.ฝ่ายการแพทย์ และ ผอ.คลินิกปัญหาการนอน ร.พ.มนารมย์ กล่าวว่า ปัจจุบันแนวโน้มปัญหานอนไม่หลับเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ คาดว่า ประมาณร้อยละ 30 ของประชากรทั่วไปเคยมีปัญหาเกี่ยวกับการนอนไม่หลับ และร้อยละ 6-10 มีปัญหารุนแรงต้องได้รับการรักษา ยิ่งอายุมากขึ้นจะมีปัญหาการนอนหลับยากมากขึ้น และช่วงเวลาการนอนหลับลึกจะน้อยกว่าช่วงเด็ก ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดต่อการนอนจะมากขึ้นทั้งความเครียด การเจ็บป่วย สิ่งแวดล้อม เป็นต้น โดยผู้ที่อายุ 55 ปีขึ้นไป มีอัตราเสี่ยงสูงมากขึ้น เนื่องจากมีฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) ที่ช่วยทำให้นอนหลับลดลง รายงานการวิจัยพบว่าความต้องการในการนอนหลับของคนเราคงที่ตลอดช่วงชีวิต คือ 7-9 ชั่วโมงต่อคืน ไม่ว่าในวัยเด็กหรือผู้ใหญ่ที่อยู่ในช่วงวัยทองแล้วก็ตาม

"ผู้มีอาการนอนไม่หลับ ควรแก้ไขรักษาตั้งแต่ต้นเพื่อไม่ให้เกิดอาการเรื้อรัง และอาจช่วยไม่ให้มีปัญหาโรคแทรกซ้อนเกิดตามมา ปัจจุบันมีตัวยาหลายชนิดที่ใช้รักษาหรือบรรเทาอาการนอนไม่หลับได้ แต่ยาเหล่านั้นก็ยังมีผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ คือ อาการเพลีย และอาจรู้สึกง่วงซึม รวมทั้งปัญหาการดื้อยาทำให้ต้องรับประทานยาเพิ่มขนาดขึ้นไปเรื่อยๆ และอาจมีอาการนอนไม่หลับที่รุนแรงกว่าเดิมเกิดขึ้นหลังจากการหยุดยาอย่างกะทันหัน" ผศ.นพ.สุรชัยกล่าว

ผศ.นพ.สุรชัยกล่าวว่า ปัจจุบันมีการรักษาอาการนอนไม่หลับด้วยเมลาโทนิน แทนยานอนหลับทั่วไป โดยพบว่านำมาใช้ช่วยปรับเวลานอนหลับและหายจากการอ่อนเพลียในการเดินทางข้ามโซนเวลา เพิ่มภูมิคุ้มกัน ต้านเนื้อร้ายของโรคมะเร็ง และการชะลอวัย เป็นต้น ทั้งนี้ เมลาโทนินเป็นฮอร์โมนที่ร่างกายผลิตได้เองจากต่อม ไพเนียลในสมอง โดยแสงสว่างทำให้มีการผลิตเมลาโทนินน้อยในช่วงเวลากลางวัน และความมืดทำให้มีการผลิตเมลาโทนินมากในช่วงเวลากลางคืน




ที่มา : นสพ.ข่าวสด


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ชี้สาเหตุ วัยเสี่ยงปัญหา นอนไม่หลับ แนะเร่งแก้ ก่อนโรคแทรก

view