สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

จังหวะ เวลา ดูให้ดี ไม่มีพลาด

จังหวะ เวลา ดูให้ดี ไม่มีพลาด

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์




ในช่วงนี้ความเป็นห่วงของเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเริ่มมีความกังวลมากขึ้นทั้งในประเทศและในต่างประเทศ

จากที่เราได้คุยกันเมื่อหลายเดือนก่อน ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจมีที่มีกำลังซื้อที่ดูเหมือนจะฝืดมากขึ้น ยอดขายสินค้าทั้งเป็นสินค้าทุน สินค้าอุปโภคบริโภคดูเหมือนจะมีแนวโน้มและเริ่มหดตัวลงอย่างจริงจัง
ถ้าจำได้เมื่อหลายเดือนก่อนผมเคยขอให้ท่านทั้งหลายมองดูว่า การที่ความต้องการในการบริโภคสินค้าของผู้บริโภคนั้นจะสามารถเติบโตได้อยู่เรื่อยๆนั้นทำได้มากน้อยอย่างไร ในแต่ละบริษัทแต่ละกิจการช่วงหลายๆปีที่ผ่านมา มักมีการตั้งใจว่าจะต้องโตยอดขายเท่านั้นเท่านี้เปอร์เซ็นต์ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นหลักสิบขึ้นทั้งนั้น ซึ่งการโตยอดขายหรือกำไรในอัตราสูงอย่างต่อเนื่องนั้น คงทำได้แต่ไม่ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน และคงต้องถามตนเองว่าสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นนั้นเป็นอย่างไร
หากเราย้อนเวลากลับไปตั้งแต่ก่อนวิกฤติต้มยำกุ้งนั้น การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศไทยมีวงจรการเติบโต และหดตัวสลับกันไป โตบ้าง หดตัวบ้าง ปรับตัวบ้าง แต่ในแต่ละคราวนั้นบางคราวเรามีการปรับตัวเองอย่างตั้งใจและมีการจัดการ
ในบางคราวมีการปรับตัวอย่างที่เกิดจากปัจจัยภายนอกและเราต้องจัดการ และในบางคราวเกิดจากปัจจัยภายในประเทศ และทำให้เกิดการจัดการ ซึ่งเหตุการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นต้มยำกุ้ง แฮมเบอร์เกอร์ไครซิส การเปลี่ยนรัฐบาลเองในแต่ละคราว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้าน ซึ่งผมขอเอาตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงในอดีต และเปรียบเทียบกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต มาเป็นกรณีหารือ ซึ่งผลที่อาจเกิดขึ้นนั้นยังไม่รู้แน่ว่าในอนาคตจะเป็นอย่างไร แต่อย่างน้อยถ้าเราดูให้ดีโอกาสพลาดก็จะน้อย
ในประเทศไทยตั้งแต่เกือบ 20 ปีที่ผ่านมา การพัฒนาการในหลายๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นด้านกายภาพของประเทศ (ซึ่งคือ ถนนหนทาง สาธารณูปโภค น้ำ ไฟฟ้า การเดินทาง การขนส่ง) มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อาจจะมีหยุดบ้างในบางคราว แต่ก็ยังมีการพัฒนาในภาพรวมของทั้ง 20 ปีอยู่ ซึ่งเป็นการเพิ่มความสามารถด้านกายภาพให้กับคน ธุรกิจ หรือ ผู้ประกอบการในประเทศไม่น้อย เมื่อเทียบกับหลาย ๆ ประเทศในอาเซียน
การพัฒนาการด้านกายภาพนั้น มีพัฒนาการแต่ยังอยู่ในระดับที่ไม่มากนัก (ต้องยกเว้นสิงคโปร์ ซึ่งเป็นประเทศที่มีการค้าขาย และเป็นศูนย์กลางการค้าทางทะเล และงานด้านบริการเป็นหลัก) แต่ในช่วงไม่เกิน 5 ปีที่ผ่านมา เวียดนามมีการพัฒนาด้านกายภาพเพิ่มขึ้นจากเดิมมากขึ้น ในขณะที่อินโดนีเซียยังมีการพัฒนาการไม่มากนัก
ทางด้านความสามารถในการผลิต การใช้ทรัพยากร และการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตนั้น ประเทศไทยมีการยกระดับการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตมากขึ้นกว่าเดิม จากการใช้แรงงานเป็นการผสมระหว่างแรงงานกับการใช้เทคโนโลยี ซึ่งมีการใช้ทั้งในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมถึงภาคการเกษตรด้วย
ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนนั้น (ยกเว้นมาเลเซีย) มีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ไม่มากนัก และการดำเนินการต่าง ๆ ยังอาศัยแรงงานในการผลิตเป็นหลัก และการผลิตยังมีความซับซ้อนน้อย ซึ่งความซับซ้อนที่มากหรือน้อยในด้านการผลิตยังมีผลให้เกิดธุรกิจที่ต้นน้ำและธุรกิจที่ต่อเนื่องในปริมาณที่ต่างกันด้วย ซึ่งในประเทศไทยมีธุรกิจหลาย ๆ ธุรกิจตั้งแต่การผลิตวัตถุดิบจนถึงผู้บริโภค แต่ในประเทศอื่นนั้นมีอาจมีธุรกิจตอนกลาง คือ เป็นผู้ประกอบมากกว่าการผลิตวัตถุดิบขั้นต้น และเมื่อประกอบเสร็จแล้วจะมีการขายต่อไปต่างประเทศเป็นหลัก
ถ้าเรามองดูประเทศของเราระยะเวลานี้ มีความเป็นห่วงเรื่องภาวะเศรษฐกิจที่ดูเหมือนจะซบเซา และกำลังซื้อในต่างประเทศดูเหมือนจะลดลงไปด้วย แต่หากเราดู Cycle ของเศรษฐกิจและมีการเตรียมตัวรับมือการหดตัวลงในปัจจุบันให้ดีแล้วนั้น การอยู่รอดของธุรกิจนั้นน่าจะทำได้ และการจัดการที่ต้องทำ และปรับแผนต่าง ๆ ตามความจำเป็นจะต้องมีการดำเนินการเพื่อให้ผ่านพ้นช่วงที่ชะลอตัวลงให้ได้
ในอีกด้านที่เราอาจต้องมองดูด้วยคือ การมองภาพเศรษฐกิจระยะยาว อาจจะเป็นเวลา 5ปี 10ปี 15ปี หรือ 20 ปี ขึ้นไปด้วยเหมือนกัน เพราะหลาย ๆ ประเทศในอาเซียนเองนั้น มีผู้ลงทุนนอกประเทศเฝ้ามองอยู่ และคาดการณ์ว่าประเทศไหนจะพัฒนาอย่างไร ประเทศไหนน่าลงทุน และประเทศไหนจะมีผู้บริโภคมากขึ้น
------------------------------------------------------------------------------

10ประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่สุดในโลก (หน่วย: พันล้านดอลลาร์)
------------------------------------------------------------------------------
อันดับ ปี2563 ปี2573 ปี 2593
1 จีน จีน จีน
2 สหรัฐ สหรัฐ อินเดีย
3 ญี่ปุ่น อินเดีย สหรัฐ
4 อินเดีย ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย
5 เยอรมนี บราซิล ไนจีเรีย
6 บราซิล รัสเซีย บราซิล
7 รัสเซีย อินโดนีเซีย รัสเซีย
8 อังกฤษ เยอรมนี ญี่ปุ่น
9 ฝรั่งเศส อังกฤษ ฟิลิปปินส์
10 แคนาดา ฝรั่งเศส อังกฤษ

ผมขอเอาตัวอย่างที่ได้ยินมาเมื่อไปร่วมงานสัมมนาทางธุรกิจที่เมืองหนึ่งในญี่ปุ่น ซึ่งทางผู้แทนจากประเทศอินโดนีเซียได้แสดงให้ผู้ลงทุนในประเทศญี่ปุ่นมองเห็นว่า อินโดนีเซียนั้นเป็นประเทศหนึ่ง ซึ่งหากมองขนาดของเศรษฐกิจในปัจจุบันไม่ติด 1 ใน 10 ของโลกแต่เมื่อเวลาเปลี่ยนไปอินโดนีเซียมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมาก จากไม่ติด 1 ใน 10 เป็น 1 ใน 4 ภายในปี 2050 หรือ พ.ศ 2593 (หรือภายใน 37 ปีต่อจากนี้)
ถ้าถามว่าเหตุใดประเทศนี้ถึงจะโตขึ้น หลายๆคำตอบอาทิ มีประชากรอายุน้อยกว่า 30 มากกว่า50% มีทรัพยากรธรรมชาติมาก มีประชากรมาก ซึ่งหากเรามองดูการนำเสนอโอกาสของอินโดนีเซียโดยผู้แทนจากอินโดนีเซียนั้น เราคงต้องถามตัวเองว่า เห็นด้วยหรือเปล่า ถ้าเห็นด้วย เราต้องทำอะไร หรือถ้าไม่เห็นด้วยเรามองอย่างไร
สำหรับประเทศไทยและธุรกิจที่เราดำเนินการนั้น คงเลี่ยงไม่ได้ว่าการเติบโตของประเทศไทยนั้นคงมีความชะลอตัวลง แต่ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านต่าง ๆ มีการเติบโตเพิ่มขึ้น ประชากรของไทยเริ่มมีอายุ และทรัพยากรบุคคลของประเทศมีอัตราการเติบโตที่ช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ
การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจในปัจจุบัน หรือในปีนี้ อาจเป็นจุดเริ่มต้นที่เราต้องมาวางแผนกันให้ดี ไม่ได้เพื่อในวันนี้เท่านั้น แต่เพื่อให้มั่นใจได้ว่าในอีก 10-20 ปีข้างหน้า ธุรกิจของเรายังอยู่ได้หรือเปล่า หรือเราต้องมีการปรับอะไรอย่างมีนัยยะ เพื่อให้เราและประเทศไทยอยู่ได้ในเวทีนี้ต่อไป การมองโอกาส การจัดการที่ทำร่วมกันทั้งภาคธุรกิจและภาครัฐนั้น จะทำให้สิ่งที่เรามีและเตรียมไว้ สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการรับมือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นได้อย่างดี


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : จังหวะเวลา ดูให้ดี ไม่มีพลาด

view