สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

SMEs ต้องปรับตัวอย่างไร ในสภาวะเศรษฐกิจขาลง

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ Smart SMEs

โดย เวทย์ นุชเจริญ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย

ในปัจจุบันสภาวะเศรษฐกิจไทยถดถอยชะลอลงตามการอุปโภค บริโภคภาคเอกชน โดยดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนหดตัวร้อยละ 0.2 ส่วนหนึ่งเพราะครัวเรือนระมัดระวังการใช้จ่ายจากภาระหนี้ที่สูงขึ้น ทำให้สภาพคล่องในระบบลดลง ประกอบกับแรงกระตุ้นจากนโยบายของรัฐทยอยหมดลง ขณะที่การส่งออกสินค้าลดลงตามเศรษฐกิจของต่างประเทศที่ชะลอตัว ส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรม และการลงทุนภาคเอกชนชะลอลงตาม

อย่างไร ก็ตาม อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยังเติบโตต่อเนื่อง เห็นได้จากจำนวนของนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 21.6 ตามการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวเกือบทุกภูมิภาค โดยเฉพาะจีนและรัสเซีย และส่งผลให้อัตราการเข้าพักโรงแรมสูงขึ้น (ทีมเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย และทีมงานวิจัยภาวะเศรษฐกิจและพยากรณ์ บมจ.ธนาคารกรุงไทย)

ผู้ประกอบการ SMEs จึงต้องรู้ถึงวิธีการปรับตัว ทั้งด้านการบริหารการจัดการ การขาย และการตลาดเพื่อรักษากิจการให้อยู่รอดท่ามกลางเศรษฐกิจขาลงในช่วงภาวะ เศรษฐกิจในปัจจุบัน ดังนั้น แนวทางการพัฒนาเพื่อการอยู่รอดของธุรกิจ SMEs แบ่งออกเป็น 2 ด้านสำคัญ มีดังนี้

กิจกรรมด้านเงินทุนในยามที่ เศรษฐกิจถดถอย บริษัทมีกำไรต่ำ ขาดเงินทุนหมุนเวียน บริษัทก็ต้องการแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ จากธนาคารมาลงทุนและหมุนเวียนในกิจการ เพื่อเสริมสภาพคล่องในกิจการให้คงอยู่ต่อไปได้ แต่ในขณะเดียวกัน ธนาคารเองก็มีการคัดเลือกลูกค้า และเพิ่มหลักเกณฑ์/นโยบายการปล่อยสินเชื่อมากขึ้นเช่นกัน โดยจะเน้นการปล่อยเงินกู้ธุรกิจภายใต้ความเสี่ยง เพื่อลดความเสี่ยงจากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL)

ดังนั้น ธุรกิจ SMEs ที่ประสบปัญหาต้องปรับตัวด้วย การตัด ลด หรือหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูงทางด้านการเงินและสภาพคล่องของ กิจการ เช่น การขอสินเชื่อมาประมูลงานรับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่ สร้างโรงงาน ขยายกิจการนอกสายงานธุรกิจเดิมของตน เป็นต้น

โดยกิจกรรมการดำเนิน งาน จะมีเป้าหมาย คือ สร้างกำไร และสภาพคล่องให้ได้มากที่สุด โดยจำเป็นต้องอาศัยกลยุทธ์ เพื่อประคับประคองธุรกิจให้อยู่รอด โดยหลักแล้วกลยุทธ์ที่สำคัญมีอยู่ 2 วิธี คือ กลยุทธ์ต้นทุนต่ำ และกลยุทธ์สร้างความแตกต่าง

ส่วนกลยุทธ์ต้นทุนต่ำ ในส่วนนี้ธุรกิจต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับเงินในกระเป๋าของผู้บริโภค แต่เมื่อผู้บริโภคกำลังซื้อที่ต่ำลง ธุรกิจ SMEs ต้องปรับตัวควรเน้นไปที่การผลิตต้นทุนต่ำ นั่นคือกลยุทธ์ทางด้านราคา และต้องมีการรักษา/พัฒนาคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับควบคู่ กันไป จัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด เช่น สร้างกิจกรรมการส่งเสริมการขาย เพิ่มช่องทางการกระจายสินค้า เจาะตลาดให้ตรงกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนตรงกับความต้องการของลูกค้า เป็นต้น

กลยุทธ์ สร้างความแตกต่าง ทางผู้ประกอบการ SMEs จะต้องยอมรับว่าสภาพทางธุรกิจในปัจจุบันมีความพลิกผันและมีการเปลี่ยน แปลงอย่างรวดเร็ว ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการสร้างนวัตกรรม (Innovation) และการรักษาสิ่งแวดล้อม เริ่มเข้ามามีบทบาทต่อเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การศึกษา โครงสร้างประชากร และวัฒนธรรม เป็นต้น มากยิ่งขึ้น

การ เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้พฤติกรรมและนิสัยใจคอของผู้บริโภคปรับเปลี่ยนไปด้วย ดังนั้น แนวทางที่ธุรกิจจะประสบความสำเร็จและเจริญเติบโตต่อไปในอนาคต คือ การคิดธุรกิจในแนว Innovation โดยควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า และแนวโน้มการบริโภคของลูกค้าในอนาคต

ใน ช่วงที่เศรษฐกิจขาลง SMEs จะต้องเผชิญกับวิกฤตไม่มากก็น้อย แต่ SMEs ที่รู้จักปรับตัว เตรียมรับมือแต่เนิ่น ๆ ก็คงจะแสวงหาโอกาสให้ธุรกิจเช่นกัน ซึ่งผมเชื่อว่าโอกาสมีเสมอครับ


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : SMEs ปรับตัวอย่างไร สภาวะเศรษฐกิจขาลง

view