สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

แบลร์ชี้ไทยต้องก้าวข้ามความขัดแย้ง

แบลร์ชี้ไทยต้องก้าวข้ามความขัดแย้ง

จาก โพสต์ทูเดย์

นายกเปิดปาฐกถาผนึกกำลังสู่อนาคตย้ำมุ่งสร้างสันติภาพ แบลร์ชี้ปัญหาไทยต้องก้าวข้ามความขัดแย้งก่อน

เมื่อวันที่ 2 ก.ย.น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เป็นประธานงานปาฐกถาพิเศษ “ผนึกกำลังสู่อนาคต : เรียนรู้ร่วมกันจากประสบการณ์” (Uniting for the future: learning from each other’s experiences) ที่จัดขึ้นโดยสถาบันความมั่นคงและนานาชาติศึกษา (Institute of Security and International Studies –ISIS) คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ กระทรวงการต่างประเทศ  

น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ขอบคุณองค์ปาถกทุกท่าน  ที่ให้เวลาอันมีค่ามาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในวันนี้ ความตั้งใจในการจัดปาฐกถาพิเศษเป็นเวทีเสวนาเพื่อให้ทุกท่านและทุกฝ่ายแลก เปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องของส่วนตัว เพื่อที่เราจะได้เรียนรู้จากกันและกัน และผนึกกำลังสู่อนาคต เพื่อสันติภาพและความมั่งคังของประชากรของเรา ตนเชื่อว่าจะมีการปาฐกถาต่อไปอีกเรื่อย ๆ เพื่อพัฒนาความเข้าใจใน แต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และเป็นเหมือนเครื่องมือทั่วไปที่นำมาใช้งานได้ ซึ่งการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเป็นเรื่องสำคัญ แต่ท้ายที่สุดแล้วจะต้องสามารถแนะนำเหล่านั้นไปเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน

เราอยู่ในช่วงเวลาที่ประชาธิปไตยเป็นทางแยก ซึ่งมีความพยายามที่จะทำให้ประชาธิปไตยเดินไปไม่ได้ในหลายส่วนของโลก หลายท่านที่อยู่ที่นี้ทำงานเพื่อประชาธิปไตยมาโดยตลอด ประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่า เราจะสามารถมีสิทธิเสรีภาพ ทำให้แต่ละท่านพัฒนาศักยภาพของแต่คนออกมา และมีการเคารพความแตกต่างซึ่งกันและกัน และความแตกต่างสามารถทำให้การทำงานมีสันติภาพ

"เรามีความตั้งใจที่จะให้มีการผนึกกำลังกัน เพื่อสันติภาพอันถาวร เพราะว่าประชาธิปไตยและสันติภาพเป็นพื้นฐานของทุกด้าน ความท้าทายของเราคือ อนาคตเราต้องสร้างความมั่นคงทางการเมืองให้กับลูกหลาน และต้องมีสภาวะแวดล้อมที่เท่าเทียมกัน การที่เราสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ก็ทำให้เรามีประชาธิปไตยอย่างถาวร และประชาธิปไตยก็ไม่ได้หมายความว่ารัฐบาลเป็นเสียงส่วนมากและผู้ที่ตรงข้าม เป็นผู้ที่คัดค้าน แต่เป็นเรื่องของแต่ละฝ่ายที่เคารพซึ่งกันและกัน มีหลักนิติธรรม"

สำหรับอนาคตของลูกหลานของเรา ที่เราจะต้องมาเรียนรู้จากกันและกัน ตนเชื่อว่าคนไทยทุกคนสามารถที่จะเรียนรู้ประสบการณ์จากนานาชาติได้ว่าความ ขัดแย้งทางการเมืองจะสามารถดำเนินไปได้อย่างไร และมีการเคารพประชาธิปไตยเพื่อให้ทุกคนได้วาง ความแตกต่างลงไปและทำงานร่วมกัน เพื่ออนาคตทางด้านประชาธิปไตยอย่างมั่นคง

"นอกจากเรียนรู้ความสำเร็จจากทุกท่านแล้ว เราต้องเรียนรู้จากความล้มเหลวและความแตกต่าง รวมถึงจะทำอย่างไรเมื่อเราไม่สามารถมีเอกภาพได้ เมื่อมีความขัดแย้งทางการเมืองและไม่สามารถที่จะปรองดองได้ ก็หวังว่าบทเรียนที่เรียนรู้มาจากประเทศอื่นๆ ที่จะได้รับฟังในวันนี้จะทำให้เรามีแรงบันดาลใจและแรงกระตุ้นว่าสิ่งที่ดี ที่สุดสำหรับประเทศของเราคืออะไร เราก็หวังที่จะก้าวไปร่วมกันในแง่ของประชาธิปไตยและสามารถที่จะทำงานร่วมกัน อย่างเป็นเอกภาพในคนรุ่นต่อไปได้"นายกฯกล่าว

ด้าน นายโทนี่ แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ กล่าวว่า ไม่ได้รับเงินในการร่วมปาฐกถา ครั้งนี้ พร้อมระบุว่าปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในประเทศ คนไทยเท่านั้นจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ และสันติภาพจะเกิดขึ้นได้ เมื่อทุกฝ่ายมองเห็นรางวัลที่วางอยู่ในเบื้องหน้าร่วมกัน

พร้อมกันนี้ ยังระบุว่า การสร้างความปรองดองมีหลักอยู่ 5 ประการ ทั้ง การสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้น และมีความรู้สึกที่อยากจะแบ่งปันโอกาสมากกว่าความแตกแยก / การนำเหตุการณ์ในอดีตมาบทเรียนและต้องมีการกำหนดกรอบการทำงานให้ชัดเจน ซึ่งกระบวนการปรองดองต้องเกิดความยุติธรรมและทุกฝ่ายยอมรับได้

เมื่อมีการกำหนดเป้าหมายในการปรองดองแล้ว หลักการที่สำคัญที่สุดอีกประการคือจะต้องเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง มีหลักนิติธรรม โดยประชาธิปไตยที่แท้จริงไม่ใช่เพียงแค่การลงคะแนนเลือกตั้งและไม่ใช่การที่ คนส่วนใหญ่เข้ามามีอำนาจแต่ขึ้นอยู่กับว่าได้ให้ความสำคัญกับคนส่วนน้อย อย่างไร รวมถึงเห็นว่าฝ่ายบริหารควรเคารพอำนาจและการตัดสินของฝ่ายตุลาการแม้ บางอย่างอาจขัดใจตัวเองและตนเชื่อว่าการที่ทำให้องค์กรดังกล่าวมีความเป็น อิสระ ปราศจากอคติ คือกระบวนการยุติธรรมที่ถูกต้อง

ทั้งนี้รัฐบาลต้องมีประสิทธิภาพในการดูแลประชาชนและต้องทำงานให้ได้ ตามนโยบายที่ใช้หาเสียง ซึ่งการปรองดองจะเกิดขึ้นถ้าประชาชนรู้สึกว่ามีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างไรก็ ตาม ยอมรับว่าการปรองดองเกิดขึ้นได้ยาก แต่อย่ายอมแพ้และทุกคนในประเทศต้องเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งหากทำสำเร็จจะประโยชน์มาสู่ประชาชนทุกคน


“แบลร์” ชู 5 ทางปรองดอง “พริซิลลา” ค้านแหลกนิรโทษ “นิชา” โผล่ซัก ผู้จัดหักหน้า “สุรินทร์” ถาม อ้างขัดแย้ง

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

อดีตนายกฯ อังกฤษ ยันไม่ได้ถูกจ้างมาจ้อ ชู 5 แนวทาง ชี้ต้องแบ่งปัน คิดสู่อนาคต ตั้งกรอบที่ยุติธรรมปราศจากอคติและแทรกแซง ระบุแก้ รธน.แค่ผิว ลั่นประชาธิปไตยไม่ใช่แค่ลงคะแนน รัฐต้องโปร่งใส แต่รับพูดไปไม่ง่าย อดีต ปธน.ฟินแลนด์ บอกอยู่ที่พฤติกรรมนักการเมืองและชาวบ้าน ผู้เชี่ยวชาญ ยธ.โผล่ค้านนิรโทษ แค่ใช้กำลังข่มขู่ก็ล้มเหลวแล้ว ปฏิรูปรีบก็ไม่ได้ ไล่ไปดูข้อเสนอ คอป. อย่าเลิกหาความจริง “นิชา” แจมซัก “แบลร์” ตอบเสียใจสามีสิ้นชีพ ย้ำกระบวนการยุติธรรมต้องอิสระ ผู้จัดโร่แจงไม่เกี่ยวกับรัฐ แค่บังเอิญตรงปฏิรูป ก่อนหักหน้าอดีตเลขาฯ อาเซียนขอถาม บอกสุ่มเสี่ยงขัดแย้ง
       
       วันนี้ (2 ก.ย.) ที่โรงแรมพลาซ่า แอทธินี บรรยากาศ ช่วงเช้าในงานปาฐกถา “ผนึกกำลังสู่อนาคต : เรียนร่วมกันจากประสบการณ์” (UNITING FOR THE FUTURE: LEARING from each other’s experiences) เป็นไปอย่างคึกคัก โดยมีบุคลากรจากหน่วยงานต่างๆทั้งไทยและต่างประเทศทยอยลงทะเบียนเพื่อร่วม งานเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ในห้องประชุมได้จัดเตรียมเก้าอี้เพื่อรองรับผู้ร่วมงานไว้จำนวน 500 ที่นั่งโดยประมาณ
       
       ภายหลังจากที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวเปิดงานแล้วนั้น นายฐิตินันท์ พงษสุทธิรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันความมั่นคงและนานาชาติศึกษา ในฐานะผู้ดำเนินรายงาน ได้เชิญนายโทนี แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร นายมาร์ติ อาห์ติซารี อดีตประธานาธิบดีฟินแลนด์ ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ปี 2551 และนางพริซิลลา เฮย์เนอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านและที่ปรึกษาอาวุโสขององค์กร center for humanitarian dialogue (HDC) ขึ้นเวทีเพื่อร่วมเสวนา
       
       โดยนายฐิตินันท์อธิบายในช่วงต้นว่า การจัดงานครั้งนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับรัฐบาล โดยงานปาฐกถานี้ได้เตรียมการมา 3 เดือนกว่า แต่บังเอิญว่าไปตรงกับเวทีปฏิรูปสภาของรัฐบาล งานนี้อาจเสริมได้บางส่วน แต่การจัดการงานแยกกันมาโดยตลอด ขณะเดียวกันหากมีเวทีการปรองดองอีกก็ยินดีเข้ามามีส่วนร่วมด้วย
       
       จากนั้น นายโทนี แบลร์ ได้ปาฐกถาเป็นคนแรก โดยกล่าวในช่วงต้นว่าสาเหตุที่ได้มาร่วมงานนี้เนื่องจากผู้จัดงานเชิญมา โดยไม่ได้รับเงินรับทองอะไร แต่มาเพราะเชื่อในกระบวนการสมานฉันท์และปรองดอง ซึ่งไม่ใช่มาเพื่อบรรยายแต่มาเพื่อแบ่งปันประสบการณ์ อย่างไรก็ตาม สุดท้ายแล้วจะแก้ไขปัญหาอย่างไรเป็นหน้าที่ของคนไทย
       
       นายโทนีกล่าวต่อว่า อยากบอกหลักการ 5 ประการจากการเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการปรองดอง หลักการที่ 1 คือ การปรองดองเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อสังคมมีความรู้สึกอยากแบ่งปันมากกว่าแบ่ง แยก หรือหมายความว่าเรามีความรู้สึกไม่พอใจเกิดขึ้น แต่ก็อยู่ในบริบทที่สังคมรู้สึกต้องการเห็นโอกาสมากกว่าไม่พออกพอใจในอดีต สิ่งที่สำคัญคือ การเจรจาต่อรองสันติภาพและการผนึกกำลังร่วมกันที่จะแบ่งปันโอกาส
       
       นายโทนีกล่าวอีกว่า ประการที่ 2 สังคมจะต้องอยู่สถานการณ์ที่พูดถึงเรื่องการปรองดอง หมายความว่าเป็นความขัดแย้งที่มีการปรองดอง อดีตสามารถที่จะวิเคราะห์ได้แต่ไม่ควรตัดสิน ทั้งนี้ก็เพื่อความพอใจของทุกฝ่ายได้ อย่างไรก็ตาม เราต้องยอมรับว่าจะอย่างไรก็ตามมีเรามีสองฝ่ายและเราไม่สามารถข้ามพ้นได้ แต่สามารถตรวจวิเคราะห์อดีตเพื่อเดินสู่อนาคตได้ สิ่งที่ยากที่สุดคือการที่จะยอมรับความไม่พอใจและการปล่อยตัวนักโทษ ดังนั้นความปรองดองจะไม่ใช่เกี่ยวกับเรื่องความคิดในอดีต แต่เป็นความคิดที่จะนำไปสู่อนาคต อย่างไรก็ตามหากวิเคราะห์เหตุการณ์ประเทศไทย เราจะเห็นประเด็นต่างๆ ที่คล้ายคลึงกัน คือเรื่องของความทุกข์ของญาติเหยื่อที่เสียชีวิตก็ยังอยู่ แต่การปรองดองต้องก้าวข้ามมันไป
       
       นายโทนีกล่าวด้วยว่า หลักการที่ 3 คือ เราไม่สามารถลบล้างความอยุติธรรมได้ แต่สาระที่แท้จริงคือสามารถตั้งกรอบการทำงานที่ทุกคนเห็นว่ายุติธรรมได้ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง ทั้งนี้ประเทศไทยมีกรอบอยู่แล้ว คุณสามารถลงรายละเอียดเพิ่มเติมในผลลัพท์ที่ถูกต้อง สำหรับประเด็นเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือประเด็นว่าใครขึ้นมายึดอำนาจ ประเด็นเหล่านั้นเป็นประเด็นแค่พื้นผิว แต่ลึกลงไปคือความไม่เห็นชอบของแต่ละฝ่าย การปรองดองจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อคุยในประเด็นที่ลึกลงไปในแง่ของความยุติธรรม และความสมดุล ไม่ว่าจะเห็นขัดแย้งอย่างไรก็ต้องทำให้เห็นว่ามีทางเดินไปสู่อนาคต
       
       นายโทนีกล่าวเพิ่มเติมว่า หลักการที่ 4 คือ หลักการประชาธิปไตยที่แท้และใช้งานได้ หมายความว่า ในแต่ละประเทศมีการแบ่งแยกกัน มีพรรค ชนชั้น ศาสนา เชื้อชาติ และสีผิว ในประเทศไทยมีการแบ่งแยกมากมาย แต่เป็นเรื่องปกติ อย่างไรก็ตามสองสามอย่างที่เกี่ยวกับประชาธิปไตยอย่างแท้จริง คือ ประชาธิปไตย ไม่เรื่องลงคะแนนเสียงเฉยๆ ไม่ใช่เรื่องว่าคนส่วนใหญ่เข้าไปมีอำนาจ แต่ประชาธิปไตยเป็นเรื่องเกี่ยวกับแนวคิดที่ว่าคนส่วนใหญ่จะมีความสัมพันธ์ กับคนกลุ่มน้อยอย่างไร หากคิดว่าประชาธิปไตยคือการชนะทุกอย่างจะทำให้คนกลุ่มน้อยรู้สึกว่าถูกกีด กันในทุกเรื่อง
       
       “ผมเห็นว่าประชาธิปไตยคือพหุภาคี ไม่ใช่อำนาจกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่เป็นเรื่องการมีพื้นที่แบ่งปันทำงานกันได้ แบ่งปันค่านิยมบางอย่างร่วมกัน ประชาธิปไตยเป็นเรื่องของความคิด นี่คิดแกนของประชาธิปไตย ส่วนเรื่องหลักนิติธรรมต้องดำเนินไปไม่เอนเอียง ไม่ว่าจะเป็นตุลาการหรือรัฐบาลต้องตรวจสอบได้ ความยุติธรรมต้องมีความอิสระปราศจากการแทรกแซงและอคติ นี่คือกระบวนการยุติธรรมที่ถูกต้อง” นายแบลร์กล่าว
       
       อดีตนายกฯ อังกฤษ กล่าวอีกว่า หลักการที่ 5 คือ หลักการที่นำไปปฏิบัติได้จริงแต่ปัจจุบันหลงลืมไป การปรองดองจะเกิดขึ้นได้ง่ายถ้าถ้ารัฐบาลมีประสิทธิภาพในการดูแลประชาชน โปรงใส่ตรวจสอบได้ ทั้งนี้ การปรองดองจะง่ายขึ้นถ้ารัฐบาลกำลังทำงานเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ ประชาชนรู้สึกดีขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งคือให้ประชาชนรู้สึกว่ากระบวนการสันติภาพนำความเป็นอยู่ที่ ดีขึ้น ดังนั้นประเด็นที่รัฐบาลจะเดินหาประชาชนทำให้เขาเป็นอยู่ดีขึ้น คือประเด็นที่สำคัญและเป็นสิ่งที่ท้าทายของรัฐบาล
       
       “นี่คือหลักการทั้งห้าข้อในการทำงานปรองดองของผม กระบวนการนี่ไม่ง่าย และบางครั้งคุณก้าวสู่ในเหตุการณ์ที่ว่าความแตกต่างไม่สามารถนำสู่ความ ปรองดองได้เลย สิ่งที่สำคัญในการปรองดอง คืออย่ายอมแพ้ เพราะเป็นอนาคตของประเทศ แม้จะดูยากแค่ไหน แต่ก็คุ้มค่าที่จะปรองดอง ขอย้ำว่าประชาชนต้องเข้ามามีส่วนร่วม ในทุกประสบการณ์ที่ตนทำมา ผู้นำต้องอยู่หน้าขบวนการปรองดอง แต่ประชาชนต้องตามหลังมาด้วย ฉะนั้นอย่ายอมแพ้และอยากจะบอกว่า คุณไม่สามารถลบเลือนความแตกต่างได้ แต่ยืนยันว่าหากสามารถทำงานร่วมกันก็จะนำผลประโยชน์ไปสู่ประชาชนได้ อย่างมหาศาล” นายโทนี แบลร์ ระบุ
       
       ด้านนายมาร์ตีปาฐกถาว่า การสร้างความปรองดองได้นั้น อยู่ที่พฤติกรรมของประชาชนทั้งนักการเมืองและคนทั่วไป นอกจากนี้ต้องทำให้ประชาชนมีการศึกษาและสุขภาวะที่ดี รวมถึงต้องหาวิธีการดูแลเรื่องความยุติธรรมและความเศร้าโศกในอดีต อีกทั้งต้องมีการสานเสวนาเพื่อสร้างความปรองดอง รวมถึงผู้นำรัฐบาลต้องมีความมุ่งมั่นในการทำงานเพื่อแก้ไขความขัดแย้งได้ใน อดีต และต้องมีประชาชนสนับสนุนตลอดจนก้าวไปพร้อมกันด้วย ปัญหาในบ้านเมืองไม่สามารถแบ่งแยกประเทศได้ ซึ่งถ้าเรามองตรงนี้และมีความมุ่งมั่นตั้งใจ การปรองดองย่อมประสบความสำเร็จและจะนำมาซึ่งประโยชน์ของประชาชนอย่างมหาศาล แต่จะเป็นเรื่องน่าเสียดายถ้าไม่สามารถก้าวไปสู่โอกาสนี้
       
       ขณะที่นางพริซิลลาปาฐกถาตอนหนึ่งว่า ความผิดอย่างหนึ่ง คือเรื่องที่บอกว่ายกโทษให้ทุกเรื่อง นิรโทษกรรมทุกอย่างเคยเกิดขึ้นที่ประเทศอาร์เจนตินาเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมาแล้ว สิ่งต่างๆเหล่านี้ คนอาร์เจนติน่าส่วนใหญ่ปฏิเสธ และคำว่านิรโทษกรรมก็เป็นคำลบ บางครั้งผู้ที่เคราะห์ร้ายไม่ยอมรับ และตนก็คิดว่าไม่ถูกต้องเช่นกัน การใช้กำลังข่มขู่เพื่อปรองดอง ตนคิดว่าเริ่มต้นก็ล้มเหลวแล้ว ยกตัวอย่างเช่น เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่อียิปต์ฝ่ายทหารยึดอำนาจ ปิดปากพวกที่ล้มประธานาธิบดี ชาวโลกก็เห็นแล้วว่าผลเป็นอย่างไร เรื่องนี้เป็นการคุกคามข่มขู่ อีกเรื่องหนึ่งที่ใช้แล้วผิด คือการนำสิ่งต่างๆปิดบังแก่นแท้โดยเฉพาะในประเทศที่ต้องมีการตระหนักรู้ ทั้งนี้การปรองดองไม่ใช่เรื่องการบังคับขู่เข็นหรือปกปิด
       
       “การปรองดองไม่ใช่การเร่งรีบ เราเร่งไม่ได้ เมื่อเริ่มแล้วกระบวนการแล้วจะต้องดูแลและเคารพในเรื่องการสื่อสารและรับฟัง ความเห็นที่แตกต่างทางการเมือง คอป.เสนอในหลายด้านเราควรมองว่าข้อเสนอเน้นเรื่องอะไร ก่อนที่จะสรุปจบนี้ ดิฉันขอหันไปในประเด็นที่การนิรโทษกรรม ดิฉันทราบว่าประเด็นนี้อาจมีความผิดพลาดหากตีความแคบมากเกินไปหากใช้แนวทาง สากลมากเกินไป อาจนำไปใช้ในบริบทท้องถิ่นไม่ได้ หลักการคือต้องมีการเคารพกับผู้ประสบเคราะห์ ไม่ควรมองว่าเป็นไปเพื่อจุดมุ่งหมายทางการเมือง ควรมีการเสวนา และมองว่ากระบวนการปรองดองควรจะทำอย่างไรต่อไป” นางพริซิลลากล่าว
       
       นางพริซิลลากล่าวอีกว่า แม้จะมีการยกโทษให้อาชญากรรมบางอย่าง แต่ไม่ควรลบกระบวนการค้นหาความจริง แม้จะนิรโทษก็ต้องมีกระบวนว่าอดีตเกิดอะไรขึ้นบ้าง ขอเน้นจุดสุดท้ายกรอบทุกอย่างที่พูดในวันนี้ควรมีหลักการประชาธิปไตยรองรับ อยู่ ควรมีพื้นที่ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง สิ่งที่ตนพยายามพูดมีสิ่งที่น่าสนใจคือ ขณะที่เราหาผลประโยชน์ให้กับชาติ พรรคการเมืองก็จะมีความเห็นที่แตกต่างกัน เราควรปล่อยให้มีสานเสวนาและเคารพความคิดที่แตกต่างเพื่อให้ถกเถียงกันและ เพื่อธรรมมาภิบาลที่ดี แต่ใจกลางความขัดแย้งต้องยอมรับว่าต้องให้ประชาธิปไตยนำทาง เป็นภาพรวมวิสัยทัศน์ที่ควรนำมาใช้เพื่อประเทศชาติเป็นหลัก
       
       ภายหลังจากที่วิทยากรได้กล่าวปาฐกถาจบลง ผู้ดำเนินรายการได้เปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานถามคำถาม โดยนางนิชา ธุวธรรม ภรรยาของ พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม ผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์วันที่ 10 เม.ย.53 ถามนายโทนีว่าบทบาทของรัฐบาลจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศได้อย่างไร เพราะรัฐบาลเป็นผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ความขัดแย้ง และตนขอถามนางพริซิลลาว่า ถ้ารัฐบาลจะนิรโทษโดยไม่ฟังเสียงคนไม่เห็นด้วยจะเกิดผลอย่างไรในอนาคต
       
       โดยนายโทนีได้กล่าวว่า ตนขอแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และทุกคนไม่สามารถที่จะลืมเหตุการณ์ดังกล่าวได้ ซึ่งการนิรโทษกรรมต้องรับฟังผู้ที่สูญเสียด้วยความเคารพ หลายประเทศก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกันและนักการเมืองต้องมีการสื่อสารกับ ประชาชน สร้างความไว้วางใจให้เกิดขึ้น รวมถึงย้ำว่าการให้กระบวนการยุติธรรมให้มีความเป็นอิสระปราศจากการครอบงำ เป็นสิ่งที่ดีที่สุด โดยขณะที่ตนทำงานในไอร์แลนด์เหนือ ได้พยายามหาวิธีที่จะไม่ทำให้เหตุการณ์ในอดีตเกิดขึ้นในอนาคตโดยหาทางจากผู้ ที่เคราะห์ร้าย
       
       ด้านนางพริซิลลา กล่าวว่า ส่วนตัวคงไม่สามารถตอบถึงผลที่ตามมาของกฎหมายดังกล่าว เพราะขึ้นอยู่กับเนื้อหาและกระบวนการ การบังคับใช้กฎหมาย แต่ก็ชี้ให้เห็นว่ามีความสำคัญ และส่วนตัวไม่สามารถตอบได้ โดยขอให้เป็นหน้าที่คนที่เกี่ยวข้องให้ความเห็น โดยเฉพาะตัวแทนจากฝ่ายค้านที่มีความเห็นต่าง และมีความพยายามหาวิธีที่ดีกว่าในการดำเนินการนิรโทษกรรม สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าสำคัญมากๆ อย่างไรก็ตาม เห็นว่าตนไม่ใช่คนที่จะตอบคำถามนี้ แต่ควรจะตัวแทนฝ่ายค้านที่มาร่วมงานเป็นผู้ตอบคำถาม
       
       จากนั้น นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน ซึ่งเข้าร่วมฟังการบรรยายในห้องได้ขอใช้สิทธิแสดงความเห็นโดยกล่าวว่า ตนไม่ได้มาในฐานะตัวแทนพรรคประชาธิปัตย์ แต่มาร่วมงานในนามส่วนตัว และขอขอบคุณเรื่องของแนวความคิดที่ลึกล้ำที่ให้กับเราในวันนี้ โดยนายโทนี และนางฟริซิลลาพูดถึงการสร้างความไว้วางใจ แต่ในประเทศไทยได้มีการเสนอให้ถอนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมออกจากการพิจารณาของสภา ซึ่งถือเป็นการทดสอบเรื่องความไว้วางใจที่ฝ่ายค้านกำลังเรียกร้อง และเห็นว่าไม่ควรที่จะเร่งรีบ ส่วนตัวคิดว่าเป็นแนวทางที่จะสามารถสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์มองหาอยู่
       
       “ผู้ปาฐกถาทั้ง 3 ท่านพูดถึงเรื่องให้ทุกคนมีส่วนร่วม แต่สำหรับประเทศไทยของเราไม่ได้แบ่งออกเป็นสองฝ่ายเท่านั้น แต่ยังได้มีการส่งอำนาจผ่านทางสไกป์เกี่ยวกับอนาคตประเทศ มีการแทรกแซงจากภายนอก ซึ่งถือว่าเป็นการกระทบเจตจำนงของเรา จนส่งผลกระทบต่อภายในประเทศ โดยการสร้างความปรองดองจะแก้ปัญหานี้อย่างไร” นายสุรินทร์กล่าว
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังที่นายสุรินทร์ถามจบ ทางนายฐิตินันท์กลับไม่เปิดโอกาสให้นายโทนีตอบคำถาม โดยอ้างว่าเป็นคำถามที่สุ่มเสี่ยงให้เกิดความขัดแย้ง ก่อนที่สรุปและรวบรัดปิดการปาฐกถาในช่วงเช้าด้วยตัวเอง และให้ผู้เข้าร่วมงานพักรับประทานอาหารกลางวัน ซึ่งจะเริ่มปาฐกถาอีกครั้งเวลา 13.15 น.
       
       มีรายงานว่า สำหรับ นายฐิตินันท์ พงษสุทธิรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันความมั่นคงและนานาชาติศึกษา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาจารย์ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ผ่านมาเคยเขียนบทวิจารณ์ถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเวลานั้น ทำให้เกิดอาการโกธรเหล่านักวิชาการ ถึงขั้นออกมาโจมตีเสียๆ หายๆ แบบเก็บอาการไม่อยู่
       
       อย่างไรก็ตาม ในช่วงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายฐิตินันท์ได้ให้สัมภาษณ์ในสื่อต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสำนักข่าวรอยเตอร์ เอพี เอเอฟพี นิตยสารไทม์ สถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็น บีบีซี โดยโจมตีรัฐบาลนายอภิสิทธิ์บ่อยครั้งในช่วงเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง ปี 2553 โดยเฉพาะข้อกล่าวหาที่ว่ารัฐบาลนายอภิสิทธิ์กำจัดกลุ่มคนเสื้อแดง ทำให้กลุ่มคนเสื้อแดงไม่พอใจ อีกทั้งเห็นว่าพรรคที่มีเสียงส่วนใหญ่เขาควรได้ทำหน้าที่
       
       


       นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จับมือกับนายโทนี แบลร์ ณ บ้านพักเอกอัครราชทูตอังกฤษระหว่างงานเลี้ยงอาหารกลางวันวันนี้ (2 ก.ย.) โดยมีนายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส.ประชาธิปัตย์ร่วมอยู่ด้วย (ภาพจากเฟซบุ๊กอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)

โทนี่ แบลร์'ชู5แนวทางสร้างปรองดอง


ส่องโมเดลปรองดองอังกฤษรับ"โทนี่ แบลร์"

โดย...ชุษณวัฎ ตันวานิช

แสงไฟทั่วสารทิศจับจ้องไปยัง "โทนี แบลร์" อดีตนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร ที่เดินทางเยือนประเทศไทยเพื่อร่วมเวทีปาฐกถาแลกเปลี่ยนประสบการณ์การสร้าง สันติภาพและการปรองดองดอง

แน่นอนว่าอดีตผู้นำพรรคแรงงานรายนี้ถือเป็นหนึ่งใน "กุญแจ" สำคัญในการปลดล็อกกรณีความขัดแย้งยาวนานกว่า 30 ปีในไอร์แลนด์เหนือ สหราชอาณาจักร อันเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกในฐานะหนึ่งในกรณีตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จใน การสร้างสันติภาพมากที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองสมัยใหม่และแน่นอนว่าย่อม เป็นบทเรียนที่ไทยควรศึกษาอย่างยิ่ง 

เมธัส อนุวัตรอุดม นักวิชาการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า ศึกษาวิจัยกรณีข้างต้น เผยแพร่ผ่าน “รายงานวิจัยการสร้างความปรองดองแห่งชาติ” เรียบเรียงประวัติศาสตร์ที่คนไทยไม่ควรพลาด โดยเฉพาะในภาวะประเทศชาติติดกับดักความขัดแย้งมาเกือบทศวรรษ

ทั้งนี้กรณีความขัดแย้งในไอร์แลนด์เหนือสืบเนื่องมาจากราวพุทธศตวรรษที่ 22 ชาวอังกฤษและสก็อตแลนด์ที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์จำนวนมากเข้าไป ตังถิ่นฐานในไอร์แลนด์เหนือ ซึ่งมีประชากรดั้งเดิมเป็นชาวไอริชที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกอาศัย อยู่ ทำให้คนกลุ่มนี้รู้สึกว่าถูกขโมยดินแดน จึงกลายเป็นความขัดแย้งรุนแรงระหว่าง ‘กลุ่มคนอังกฤษโปรเตสแตนท์’ 60% ในพื้นที่ที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของอังกฤษต่อไป กับ ‘กลุ่มคนไอริชคาทอลิก’ 40% ในพื้นที่ที่ต้องการแยกตัวเป็นอิสระออกจากอังกฤษ

กลุ่มอังกฤษโปรเตสแตนท์ เรียกอีกชื่อว่า Unionist มีอุดมการณ์เดียวกับกลุ่ม Loyalist ที่เน้นใช้วิธีการรุนแรง Unionist มีพรรคการเมืองหลัก คือ พรรค DUP และพรรค UUP ส่วนกลุ่ม Loyalist นั้นมีกลุ่มกองกำลังติดอาวุธ คือ กลุ่ม UDA และ UVF ขณะที่ กลุ่มคนไอริชคาทอลิก เรียกอีกชื่อว่า Nationalist มีอุดมการณ์เดียวกับกลุ่ม Republican ที่เน้นใช้ความรุนแรง Nationalist มีพรรคการเมืองหลัก คือ พรรคชินเฟน และพรรค SDLP ส่วนกลุ่ม Republican มีกองกำลังติดอาวุธ IRA

กลุ่มอังกฤษโปรเตสแตนท์กุมอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรมมาเกือบ 50 ปี จนกระทั่งปี 2511 เกิดการประท้วงเดินขบวนเรียกร้องให้คณะผู้บริหารท้องถิ่นของไอร์แลนด์เหนือ ปฏิรูประบบเศรษฐกิจและสังคม เนื่องจากชาวคาทอลิกรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการจัดสรรที่อยู่อาศัย แต่ถูกตอบโต้ด้วยความรุนแรงจากตำรวจของรัฐไอร์แลนด์เหนือ

ต่อมาในวันอาทิตย์ที่ 30 ม.ค.2515 ชาวไอริชคาทอลิกได้ชุมนุมประท้วงการควบคุมโดยมิชอบโดยรัฐบาล แต่ทหารอังกฤษได้เปิดฉากยิงใส่กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วง เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 13 คนเป็นชาวคาทอลิกทั้งหมด เหตุการณ์ “อาทิตย์เลือด” หรือ Bloody Sunday ครั้งนี้ ส่งผลให้ความขัดแย้งขยายตัว มวลชนเข้าร่วมกับกลุ่ม IRA มากขึ้น อย่างไรก็ตามหากนับไล่ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงทั้งหมด มีผู้เสียชีวิตถึง 3,636 คน และบาดเจ็บอีกกว่า 3 หมื่นคน

ตลอดระยะเวลาร่วม 30 ปี รัฐบาลอังกฤษแสวงทางออกจากความขัดแย้งหลายครั้งโดยจัดทำข้อตกลง 2 ครั้ง คือ ข้อตกลง Sunningdale และอังกฤษ-ไอริช AIA (Anglo-Irish Agreemen) กลับไม่ได้ผล แต่มาประสบความสำเร็จกับข้อตกลง “Good Friday” ในปี 2541 ที่นับว่ากระบวนการ “การพูดคุย” กลายเป็นเครื่องมือสำคัญนำพาประเทศออกจากความขัดแย้ง

อย่างไรก็ตามด้วยการที่ต้องอาศัยการพูดคุยจากทุกฝ่ายทั้งพรรคการเมือง คู่ขัดแย่ง และกลุ่มติดอาวุธทุกฝ่าย แต่รัฐบาลอังกฤษภายใต้การนำของพรรคอนุรักษ์นิยมยังไม่สามารถโน้มน้าวกลุ่ม ที่ไม่เห็นด้วยกับกระบวนการสันติภาพให้เข้าสู่การเจรจาได้ จนกระทั่งพรรคแรงงานนำโดย โทนี แบลร์ ชนะการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2540 ด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น ทำให้รัฐบาลมีความเข้มแข็งทางการเมืองด้วยเสียงสนับสนุนจำนวนมากจากประชาชน

“หลักความเห็นชอบของส่วนใหญ่ถือเป็นหัวใจของนโยบายรัฐบาลของผมต่อ ไอร์เลนด์เหนือ..ไม่มีใครในห้องประชุมแห่งนี้จะมีโอกาสได้เห็นสถานะของ ไอร์แลนด์เหนือเป็นอย่างอื่น นอกจากการเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร นี่เป็นหลักการสากลที่ยอมรับทั่วโลก...ขบวนรถไฟสู่การยุติปัญหากำลังเคลื่อน ตัวไป ผมต้องการให้คุณอยู่บนขบวนนี้ด้วย อย่างไรก็ตามมันกำลังวิ่งไปข้างหน้า และผมจะไม่หยุดมันเพื่อรอคุณ คุณไม่สามารถหยุดยั้งกระบวนการเพื่อมาต่อรองอะไรอีก จงหยุดความรุนแรงเสียแต่เดี๋ยวนี้”

วาทะอันหนักแน่นของแบลร์สื่อสารไปถึงทั้ง 2 ฝ่ายว่าไอร์แลนด์เหนือจะยังคงเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรตราบเท่าที่ ประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ต้องการ ความรุนแรงจะยุติลง และจะนำฝ่ายขึ้นสู่โต๊ะเจรจาให้ได้ไม่ว่าจะต้องใช้ไม้อ่อนหรือไม้แข็งหรือ แม้กระทั่งต้องเผชิญกับการต่อต้านก็ตาม เหตุนี้ฝ่ายพรรคชินเฟนและกลุ่ม IRA ตัดสินใจยุติความรุนแรงและเข้าสู่กระบวนการเจรจา โดยมีการเจรจาต่อเนื่องจนกระทั่งบรรลุข้อตกลงระหว่างกันได้สำเร็จในวันที่ 10 เม.ย.2541

ทั้งนี้ข้อตกลง Good Friday ในปี 2541 ที่นำมาซึ่งการยุติความรุนแรงกว่า 30 ปีนั้นปฏิรูปโครงสร้างการเมืองการปกครองและกระบวนการยุติธรรมหลายด้าน โดยในส่วนกระบวนการเยียวยาฟื้นฟูสังคม รัฐบาลมีการ ‘ปล่อยตัวนักโทษการเมือง’ ภายหลังบรรลุข้อตกลงจำนวน 449 คน โดยอาศัยอำนาจตามพ.ร.บ.ไอร์แลนด์เหนือ พ.ศ.2541 ที่ตราขึ้นตามข้อตกลงสันติภาพ โดยได้จัดตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อพิจารณาคุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับการ ปล่อยตัว ตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ดังนี้

1.ถูกตัดสินจำคุกจากการกระทำที่เป็นการ “ก่อการร้าย” ตามนิยามว่าเป็นการใช้ความรุนแรงเพื่อบรรลุเป้าหมายทางการเมือง ซึ่งต้องเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นก่อนวันลงนามข้อตกลง

2.ไม่เป็นผู้สนับสนุนหรือสมาชิกองค์กรเคลื่อนไหวใดๆ ที่ยังไม่ประกาศหยุดยิง

3.จะไม่เข้าร่วมเป็นผู้สนับสนุนหรือสมาชิกองค์กรเคลื่อนไหวใด ๆ ที่ยังไม่ประกาศหยุดยิง หลังจากได้รับการปล่อยตัว

4.จะไม่กระทำการใดๆ ที่เป็นอันตรายต่อสาธารณะในกรณีที่ได้รับการปล่อยตัวจากคดีที่ถูกศาลตัดสินจำคุกตลอดชีวิต

ทั้งนี้การดำเนินการของรัฐบาลไม่ได้ออกเป็นพ.ร.บ.นิรโทษกรรม เนื่องจากรัฐบาลทราบดีว่า จะทำให้เกิดข้อถกเถียงและต่อต้านอย่างมากจากฝ่าย Unionist อีกทั้งในประวัติศาสตร์อังกฤษ ไม่เคยมีการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมเลยตั้งแต่ปี พ.ศ.2341 นอกจากนี้การขอพระราชทานอภัยโทษจากสมเด็จพระราชินี (Royal Prerogative of Mercy) ที่แม้ว่าจะเกิดเสียงต่อต้านน้อยกว่า แต่ก็จะทำให้รัฐสภาของอังกฤษไม่มีอำนาจในการเข้าไปตรวจสอบกระบวนการ แนวทางที่รัฐบาลใช้จึงจำเป็นต้องตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อพิจารณาคุณสมบัติ และดูแลการปล่อยตัวนักโทษที่กล่าวไป

ขณะที่ “การแสวงหาความจริง” เหตุการณ์ที่เป็นบาดแผลในใจของชาวไอริชคาทอลิก คือ กรณี Bloody Sunday แม้หลังเกิดเหตุรัฐบาลได้ตั้ง Lord Widgery สอบสวนข้อเท็จจริงโดยออกรายงานหลังเกิดเหตุ 11 สัปดาห์ ว่า จะไม่มีการตายเกิดขึ้น หากการประท้วงที่ผิดกฎหมายครั้งนั้นไม่ได้เกิด ทำให้สุดท้ายต้องมีการปะทะกับเจ้าหน้าที่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ผลสรุปนี้ยังค้างคาใจชาวไอริชตลอดมา และรู้สึกว่าความเป็นธรรมไม่ได้ปรากฏ และการปรองดองจะเกิดขึ้นได้ยาก หากไม่มีการเปิดเผยความจริง

หลังบรรลุข้อตกลง Good Friday ในปี 2541 รัฐบาลอังกฤษให้ความสำคัญกับกระบวนการทำให้ความจริงปรากฎที่เป็นส่วนหนึ่ง ของการสร้างสันติภาพ จึงตั้ง Lord Saville of Newdigate ขึ้นมาเพื่อสอบสวนเหตุการณ์นี้ใหม่ โดยคณะสืบสวนข้อเท็จจริงใช้เวลาสอบพยานกว่า 900 คน รวมทั้งสิ้น 12 ปี ด้วยงบประมาณจำนวน 288 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (9 พันล้านบาท) จึงได้ออกรายงาน Bloody Sunday Inquiry ในปี 2553 โดยมีข้อสรุปว่าทหารอังกฤษเป็นผู้ยิงกลุ่มผู้ชุมนุมดังกล่าวจริง ซึ่งผู้เสียชีวิตทั้งหมดต่างไม่มีอาวุธในครอบครอง

กรณีนี้ความจริงได้ถูกเปิดเผยขึ้นต่อสาธารณะหลังจากเหตุการณ์ถึง 38 ปี พร้อมคำขอโทษจากรัฐบาลอังกฤษ ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่และมีความหมายมากสำหรับครอบครัวผู้สูญเสีย และชุมชนไอริชคาทอลิก ทำให้เกิดความเชื่อมั่นศรัทธาในรัฐบาลมากขึ้นว่า มีความตั้งใจจริงต่อการสร้างความปรองดอง

ทั้งนี้ในส่วนเหตุการณ์ความรุนเเรงอื่น ซึ่งมีจำนวนมากเเละยังไม่สามารถหาตัวผู้กระทำผิดได้นั้น ทางสำนักงานตำรวจไอร์เเลนด์เหนือได้ตั้งทีมสอบสวนเหตุการณ์ในอดีตตั้งเเต่ปี 2512-2541 เพื่อสืบสวนหาข้อเท็จจริงเเละผู้กระทำผิด โดยไม่มีการออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้เเก่ผู้ที่ยังไม่ได้รับโทษ โดยคณะทำงานเริ่มปฏิบัติหน้าที่ตั้งเเต่ปี 2549 โดยคาดว่าจะใช้เวลา 7 ปีในการสอบสวน


แบลร์'ยันไม่ได้ถูกจ้าง ชู5แนวทางปรองดอง

อดีตนายกฯอังกฤษ ยันไม่ได้ถูกจ้างมาจ้อ ชู 5 แนวทางปรองดอง ชี้ต้องแบ่งปัน คิดสู่อนาคต ตั้งกรอบที่ยุติธรรมปราศจากอคติ

นายโทนี่ แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ ได้ปาฐกถาว่า สาเหตุที่ได้มาร่วมงานนี้เนื่องจากผู้จัดงานเชิญมา โดยไม่ได้รับเงินรับทองอะไร แต่มาเพราะเชื่อในกระบวนการสมานฉันท์และปรองดอง ซึ่งไม่ใช่มาเพื่อบรรยายแต่มาเพื่อแบ่งปันประสบการณ์ อย่างไรก็ตาม สุดท้ายแล้วจะแก้ไขปัญหาอย่างไรเป็นหน้าที่ของคนไทย โดยนายโทนี่ แบลร์ กล่าวว่า อยากบอกหลักการ 5 ประการจากการเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการปรองดอง หลักการที่ 1 คือ การปรองดองเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อสังคมมีความรู้สึกอยากแบ่งปันมากกว่าแบ่งแยก หรือหมายความว่าเรามีความรู้สึกไม่พอใจเกิดขึ้น แต่ก็อยู่ในบริบทที่สังคมรู้สึกต้องการเห็นโอกาสมากกว่าไม่พออกพอใจในอดีต สิ่งที่สำคัญคือ การเจรจาต่อรองสันติภาพและการผนึกกำลังร่วมกันที่จะแบ่งปันโอกาสประการที่ 2 สังคมจะต้องอยู่กับสถานการณ์ที่พูดถึงเรื่องการปรองดอง หมายความว่าเป็นความขัดแย้งที่มีการปรองดอง อดีตสามารถที่จะวิเคราะห์ได้แต่ไม่ควรตัดสิน ทั้งนี้ก็เพื่อความพอใจของทุกฝ่ายได้ อย่างไรก็ตาม เราต้องยอมรับว่าจะอย่างไรก็ตามเรามีสองฝ่ายและเราไม่สามารถข้ามพ้นได้ แต่สามารถตรวจวิเคราะห์อดีตเพื่อเดินสู่อนาคตได้ สิ่งที่ยากที่สุดคือการที่จะยอมรับความไม่พอใจและการปล่อยตัวนักโทษ ดังนั้นความปรองดองจะไม่ใช่เกี่ยวกับเรื่องความคิดในอดีต แต่เป็นความคิดที่จะนำไปสู่อนาคต อย่างไรก็ตามหากวิเคราะห์เหตุการณ์ประเทศไทย เราจะเห็นประเด็นต่างๆ ที่คล้ายคลึงกัน คือเรื่องของความทุกข์ของญาติเหยื่อที่เสียชีวิตก็ยังอยู่ แต่การปรองดองต้องก้าวข้ามมันไป

นายโทนี่ แบลร์ ล่าวด้วยว่า หลักการที่ 3 คือ เราไม่สามารถลบล้างความอยุติธรรมได้ แต่สาระที่แท้จริงคือสามารถตั้งกรอบการทำงานที่ทุกคนเห็นว่ายุติธรรมได้ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง ทั้งนี้ประเทศไทยมีกรอบอยู่แล้ว คุณสามารถลงรายละเอียดเพิ่มเติมในผลลัพท์ที่ถูกต้อง สำหรับประเด็นเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือประเด็นว่าใครขึ้นมายึดอำนาจ ประเด็นเหล่านั้นเป็นประเด็นแค่พื้นผิว แต่ลึกลงไปคือความไม่เห็นชอบของแต่ละฝ่าย การปรองดองจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อคุยในประเด็นที่ลึกลงไปในแง่ของความยุติธรรมและความสมดุล ไม่ว่าจะเห็นขัดแย้งอย่างไรก็ต้องทำให้เห็นว่ามีทางเดินไปสู่อนาคตหลักการที่ 4 คือ หลักการประชาธิปไตยที่แท้และใช้งานได้ หมายความว่า ในแต่ละประเทศมีการแบ่งแยกกัน มีพรรค ชนชั้น ศาสนา เชื้อชาติ และสีผิว ในประเทศไทยมีการแบ่งแยกมากมาย แต่เป็นเรื่องปกติ อย่างไรก็ตามสองสามอย่างที่เกี่ยวกับประชาธิปไตยอย่างแท้จริง คือ ประชาธิปไตย ไม่เรื่องลงคะแนนเสียงเฉยๆ ไม่ใช่เรื่องว่าคนส่วนใหญ่เข้าไปมีอำนาจ แต่ประชาธิปไตยเป็นเรื่องเกี่ยวกับแนวคิดที่ว่าคนส่วนใหญ่จะมีความสัมพันธ์กับคนกลุ่มน้อยอย่างไร หากคิดว่าประชาธิปไตยคือการชนะทุกอย่างจะทำให้คนกลุ่มน้อยรู้สึกว่าถูกกีดกันในทุกเรื่อง

"ผมเห็นว่าประชาธิปไตยคือพหุภาคี ไม่ใช่อำนาจกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่เป็นเรื่องการมีพื้นที่แบ่งปันทำงานกันได้ แบ่งปันค่านิยมบางอย่างร่วมกัน ประชาธิปไตยเป็นเรื่องของความคิด นี่คิดแกนของประชาธิปไตย ส่วนเรื่องหลักนิติธรรมต้องดำเนินไปไม่เอนเอียง ไม่ว่าจะเป็นตุลาการหรือรัฐบาลต้องตรวจสอบได้ ความยุติธรรมต้องมีความอิสระปราศจากการแทรกแซงและอคติ นี่คือกระบวนการยุติธรรมที่ถูกต้อง" นายโทนี่ แบลร์ กล่าว

อดีตนายกฯ อังกฤษ กล่าวอีกว่า หลักการที่ 5 คือ หลักการที่นำไปปฏิบัติได้จริงแต่ปัจจุบันหลงลืมไป การปรองดองจะเกิดขึ้นได้ง่ายถ้ารัฐบาลมีประสิทธิภาพในการดูแลประชาชน โปรงใส่ตรวจสอบได้ ทั้งนี้ การปรองดองจะง่ายขึ้นถ้ารัฐบาลกำลังทำงานเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ประชาชนรู้สึกดีขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งคือให้ประชาชนรู้สึกว่ากระบวนการสันติภาพนำความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ดังนั้นประเด็นที่รัฐบาลจะเดินหาประชาชนทำให้เขาเป็นอยู่ดีขึ้น คือประเด็นที่สำคัญและเป็นสิ่งที่ท้าทายของรัฐบาล


แนะไทยใช้"นอร์ดิกโมเดล"พัฒนาชาติ

จาก โพสต์ทูเดย์

เวทีปาฐกถาแนะรัฐบาลใช้"นอร์ดิกโมเดล"พัฒนาเศรษฐกิจควบทรัพยากรมนุษย์ "ปลัดยธ."ยันคอป.ทำหน้าที่อิสระเป็นกลาง

เมื่อวันที่ 2 ก.ย. การปาฐกถาพิเศษ “ผนึกกำลังสู่อนาคต : เรียนรู้ร่วมกันจากประสบการณ์” ณ โรงแรมพลาซ่าแอทธินี ช่วงบ่ายเป็นการเสนอมุมมองของผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศและวิทยากรชาวไทย เช่น นายเยนส์ ออร์บัค อดีตรมว.ยุติธรรม ประเทศสวีเดน

ศ.สตีเฟน สเตทแมน นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) เมืองสแตนฟอร์ด รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา นายเคนท์ ฮาร์สเต็ดท์ สมาชิกรัฐภาสวีเดน นายไมเคิล วาทิคิโอทิส ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียของ HDC นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม และ นายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

นายเยนส์ กล่าวว่า การสร้างบรรยากาศที่ดีในประเทศ หากภาคประชาสังคมมีความเข้มแข็งจะนำไปสู่การสร้างประชาธิปไตยที่ยั่งยืน  ซึ่งประเทศไทยถือเป็นประเทศที่ประชาชน มีสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยการสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นต้องสร้างความไว้วางใจ

นายเคนท์ ระบุว่า ประเทศไทยมีทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมาก แตกต่างจากสวีเดนที่เคยประสบปัญหาการขาดแคลนอาหาร รวมถึงไทยมีโอกาสในการแข่งขัน แต่คนที่จะทำลายโอกาสนั้น คือ ปัญหาภายในประเทศ
ดังนั้น การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเป็นเรื่องท้าทาย และต้องมีการนำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศมาเป็นบทเรียนด้วย

“ผมเสนอ นอร์ดิก โมเดล ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศต้นแบบการปรับปรุงระบบเศรษฐกิจ ประกอบด้วย นอร์เวย์ เดนมาร์ก สวีเดน และฟินแลนด์ ที่ประสบความสำเร็จด้านดังกล่าวควบคู่ไปกับทรัพยากรมนุษย์ และให้ความสำคัญกับการปราบปรามการทุจริตของนักการเมือง”นายเคนท์ กล่าว

นอกจากนี้ ยังมีการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐ ผ่านการทำงานที่เข้มแข็งของฝ่ายค้าน ซึ่งสวีเดนมีความสามารถในการพัฒนาสังคม และลดช่องว่างของรายได้ ส่วนปัญหาการชุมนุมนั้น สวีเดนก็เน้นเรื่องของการเจรจาเป็นหลัก แม้รัฐบาลหรือฝ่ายค้านจะมีความขัดแย้ง แต่ควรมีพื้นที่ในการหารือกัน

ขณะที่ นายกิตติพงษ์ กล่าวว่า ในฐานะอดีตคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ซึ่งคอป.ถูกตั้งขึ้นท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองสูงสุด เป็นการแต่งตั้งพร้อมกับการตั้งคณะกรรมการปฏิรูปด้านอื่นๆ อาทิ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ การเมือง และปฏิรูปสื่อสารมวลชน

ทั้งนี้ ได้มีการวางกรอบการศึกษาให้ลงลึกถึงรากเหง้าของปัญหาความขัดแย้ง ซึ่งยอมรับว่าการศึกษาไม่ใช่เรื่องง่าย และขอยืนยันว่าการทำงานของคอป.มีอิสระ และได้ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อมูลและรับฟังข้อมูลจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง ที่คนกลุ่มนั้นไม่เคยได้รับโอกาสในช่วงที่ผ่านมา

“การนิรโทษกรรมนั้นจะต้องพิจารณาร่วมกันว่าเรื่องใดยอมรับได้หรือไม่ และส่วนตัวมองว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติ แต่ในวิกฤติก็ยังมีโอกาส ซึ่งจากผลการศึกษาของคอป.และสถาบันพระปกเกล้าฯ มีความเห็นสอดคล้องกันในการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น เพื่อเดินหน้าสร้างความปรองดอง ส่วนรายงานคอป.จะนำไปใช้ประโยชน์ได้มากน้อยแค่ไหนก็ต้องมาพิจารณาร่วมกันอีก ครั้ง”นายกิตติพงษ์ กล่าว

ขณะที่ นายธงทอง กล่าวว่า ข้อเสนอของคอป. และสถาบันพระปกเกล้าฯ ได้นำมาสู่แนวทางการสร้างความปรองดองในช่วงที่ผ่านมา ด้วยการจัดเวทีประชาเสวนา 108 เวทีทั่วประเทศ เพื่อใช้เป็นพื้นที่การหารือ ซึ่งบรรยากาศโดยรวมการเสวนาเป็นไปด้วยดี และได้รับความร่วมมือจากกลุ่มต่างๆมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยเฉพาะกลุ่มเสื้อเหลือและเสื้อแดง แม้มีความเห็นต่างเรื่องมุมมองประชาธิปไตย หลักนิติธรรม และกระบวนการตรวจสอบการทุจริตคอรัปชั่นก็ตาม


โทนี่ แบลร์" ปาฐกถาปรองดอง - ยก 5 บทเรียนเน้นทุกฝ่ายมองอนาคตร่วมกัน

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

มื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 2 ก.ย. ผู้สื่อข่าว "ข่าวสด" รายงานว่า ที่โรงแรมพลาซ่า แอทธินี รอยัล เมอริเดียน ผู้สื่อนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวเปิดงาน การปาฐกถาพิเศษ “ผนึกกำลังสู่อนาคต: เรียนรู้ร่วมกันจากประสบการณ์” โดยมีนายมนัสวี ศรีโสดาพล อธิบดรกรมสารนิเทศ และ นายธีรวัฒน์ ภูมิจิตร ผอ.สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมให้ความรู้เบื้องหลัง ซึ่งงานดังกล่าวจัดขึ้นจากวัตถุประสงค์เพื่อต้องการเผยแพร่ความตระหนักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และเรียนรู้จากประสบการณ์ของบุคคลสำคัญเกี่ยวกับการปรองดองแห่งชาติ ที่อาจนำมาปรับใช้เพื่อเยียวยาวิกฤตการเมืองของไทย

ทั้งนี้ มีบุคคลสำคัญร่วมเป็นองค์ปาฐากถาสำคัญในช่วงเช้า ได้แก่ นายโทนี่ แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร นายมาร์ตี อาห์ติซารี อดีตประธานาธิบดีฟินแลนด์ และนางพริซิลลา เฮย์เนอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านและที่ปรึกษาอาวุโสขององค์กร เซ็นเตอร์ ฟอร์ ฮิวแมนิแทเรี่ยน ไดอาล็อก หรือเอชดีซี รวมทั้งมี รศ.ดร. ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันความมั่นคงและนานาชาติศึกษา หรือไอซิส คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย เป็นพิธีกรดำเนินรายการ



นายโทนี่ แบลร์ องค์ปาฐกถาคนแรก กล่าวว่า ปัญหาความขัดแย้งในประเทศควรต้องแก้ไขด้วยมือของคนในประเทสด้วยกันเอง ตนเป็นคนต่างชาติ คงไม่สามารถมาสอนได้ โดยตนไม่ได้ถูกจ้างมา แต่ถูกเชิญให้มาแบ่งปันประสบการณ์ส่วนตัวเพื่อให้ได้ทุกฝ่ายนำไปปรับใช้ได้ตามเหมาะสม โดยจากประสบการณ์การเจรจาสันติภาพไอร์แลนเหนือ และตะวันออกกลาง ตนมีบทเรียนทั้งหมด 5 ประเด็นด้วยกัน ได้แก่ 1. กรณีความสำเร็จของไอร์แลนด์เหนือ มาจากความเห็นพ้องของทั้งสองฝ่ายที่ตระหนักถึงประโยชน์ที่ทุกฝ่ายจะมีร่วมกันหากความขัดแย้งยุติลง 2. อดีตนั้นไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขได้ และยากมากที่จะนำมาตัดสินให้ถูกใจทุกฝ่าย สำคัญคือ ทุกฝ่ายจะพยายามเรียนรู้จากมัน 3. การปรองดองจำเป็นต้องมีกรอบในอนาคตที่แน่ชัด และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย 4. การเปลี่ยนมุมมอง หรือวิธีคิดต่อประชาธิปไตย ซึ่งไม่ใช่การโหวต และผู้ครองเสียงข้างมากต้องได้ทุกอย่าง แต่เป็นเรื่องของความร่วมมือและเกื้อกูลกันของทั้งสองฝ่าย นอกจากนี้ จะต้องยอมรับในกระบวนการนิติรัฐและนิติธรรมด้วย และ 5. การปรองดองนั้นจะดำเนินไปได้ง่ายขึ้น หากรัฐทำไปเพื่อประโยชน์โดยรวมของประชาชนอย่างแท้จริง ผ่านการสร้างสะพานเชื่อมกับประชาชน และทำให้ผู้คนรู้สึกจริงๆว่า คุณภาพชีวิตดีขึ้น

“สิ่งที่สำคัญที่สุดในการปรองดองแห่งชาติ คือ การไม่ท้อถอย ไม่ว่าจะต้องเจ็บปวดแค่ไหน จะแตกแยกกันมากเพียงใด เพราะมันคุ้มค่าเสมอที่กลับมาปรองดองกัน โดยผู้นำจะต้องเป็นผู้เริ่มและมีประชาชนส่วนใหญ่คอยสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง เพราะหากปราศจากพลังจากประชาชนแล้ว การปรองดองย่อมเป็นไปไม่ได้ และหากการปรองดองประสบผลสำเร็จผลประโยชน์ของมันก็ย่อมตกอยู่กับประชาชน” นายแบลร์ กล่าว

นอกจากนี้ นายแบลร์ กล่าวด้วยว่า กรณีของการเจรจาสันติภาพไอร์แลนเหนือนั้นบางครั้งก็มีการเอาคนนอกเข้ามา แต่ในที่สุด ผู้ที่ลงมือปฏิบัติก็คือประชาชนในไอร์แลนด์ โดยต้องหาทางให้บุคคลที่มีส่วนสำคัญในความขัดแย้งได้มีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน เพราะการสื่อสาร รวมทั้งคำพูดเป็นสิ่งสำคัญ อย่างไรก็ดี สุดท้ายก็อยู่ที่ความมุ่งมั่นของแต่ละฝ่ายที่จะก้าวข้ามความขัดแย้ง เพราะถ้าหากไม่มี ก็ทำอะไรไม่ได้

“ผมแก้ไขด้วยการพยายามเข้าไปนั่งในหัวใจของอีกฝ่าย และจำเป็นต้องมีการสร้างบรรยากาศของการเจรจาก่อน ทำให้คนต่อต้านน้อยลงก่อน ให้คนรู้สึกยอมรับกลไกที่จะเกิดขึ้น ผู้คนข้างนอกสามารถช่วยได้ ค่อยๆไปทีละขั้น ไม่จำเป็นต้องพุ่งเป้าฉะกันทันที” นายแบลร์ กล่าวทิ้งท้าย

ด้านนายมาร์ตี อาห์ติซารี กล่าวว่า บาดแผลในอดีตนั้นใช้เวลานานกว่าจะเยียวยาได้ แต่การปรองดองและการเคารพในกระบวนการยุติธรรม ถือเป็นปัจจัยสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มั่นคง และการปรองดองบางครั้งใช้เวลานานกว่า 10 ปีก็มี สิ่งสำคัญคือ ทุกฝ่ายต้องมีความจริงใจ และต้องมีความยืดหยุ่น ยอมถอยบ้าง เพื่อหาจุดร่วมสมานฉันท์ มุ่งไปที่จุดร่วมแห่งประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่กว่า

นายอาห์ติชาร เห็นว่า การปรองดองควรเริ่มจากระดับชุมชนก่อน และทุกฝ่ายควรจะมีจุดร่วมกัน คือ การสร้างจุดเริ่มต้นใหม่ ปูทางไปสู่อนาคตที่อดีตอันเจ็บปวดเหล่านั้นจะไม่มีวันเกิดขึ้นได้อีก

“ต้องตระหนักว่าจะก้าวข้ามอดีตและจะต้องทำให้ดีกว่าในอดีต มองไปในอนาคต ความเชื่อใจซึ่งกันและกัน การเจรจาปรองดองเป็นเพียงขั้นตอน เพราะการปรองดองที่แท้จริงอยู่ที่ประชาชน การปรองดองสร้างความแตกต่างได้ และเราสามารถเริ่มต้นได้เสมอ” นายอาห์ติชารี กล่าว

ด้านนางพริซิลลา เฮย์เนอร์ กล่าวว่า ความแตกแยกไม่ใช่สิ่งแปลกประหลาดในสังคมปัจจุบันที่มีความแตกต่าง ที่ผ่านมาไทยทำได้ดีแล้วในการตระหนักถึงปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น คนต่างชาติสามารถเสนอประสบการณ์ได้ แต่คงไม่มีวันเข้าใจคนในประเทศได้ พร้อมเตือนว่า การปรองดอง มักหมายความแตกต่างกันไป กับแต่ละคน ยิ่งโดยเฉพาะการปรองดองทางการเมือง ทำให้เกิดแต่ละฝ่ายวาดภาพอนาคตไว้แตกต่างกันไป นอกจากนี้ บางฝ่ายอาจนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองได้

นางเฮย์เนอร์ กล่าวว่า หนึ่งในความหมายของการปรองดอง เช่น การลืมอดีต เช่น การนิรโทษกรรมให้ผู้กระทำผิด โดยอ้างว่า เพื่อการปรองดอง แต่ก็ถูกต่อต้านโดยเหยื่อ อีกความหมายหนึ่ง คือ การเปลี่ยนขั้วอำนาจ เช่นในอียิปต์ ภายหลังการล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ทำให้กองทัพอิยิปต์พยายามที่จะควบคุมสถานการณ์ ถือว่าเป็นการใช้ที่ผิด เพราะเป็นการปฏิเสธการมีอยู่ของอีกฝ่าย

นางเฮย์เนอร์ กล่าวอีกว่า อีกตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ การมุ่งเป้าไปที่กระบวนการหรือผลลัพธ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง หากแต่ละฝ่ายมีวัตถุประสงค์ซ่อนเร้น กระบวนการปรองดองก็เดินต่อไปไม่ได้ และการปรองดองไม่สามารถเร่งรัดได้ เพราะจะต้องดำเนินไปด้วยความระมัดระวัง ใช้การสื่อสาร การฟัง เพื่อหาจุดร่วมกันให้ได้ ด้วยความเคารพและให้เกียรติแต่ละฝ่ายด้วย

นายเฮย์เนอร์ ระบุถึงกฎหมายนิรโทษกรรมที่กำลังเป็นเรื่องสำคัญในไทย ว่า สามารถใช้รูปแบบของสากลเป็นแม่แบบได้ และจะต้องไม่เอนเอียง หรือยกประโยชน์ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง คือต้องอยู่บนพื้นฐานความยุติธรรม และสำคัญคือบนความเคารพต่อเหยื่อผู้ได้รับผลกระทบ เช่น ความจริงที่เกิดขึ้นต้องได้รับการเปิดเผย

“การหาจุดร่วม แปลว่าต้องมีความต่างระหว่างฝ่าย เป็นเรื่องธรรมดามาถกเถียงกันได้ แต่ทั้งสองฝ่ายต้องเคารพกฎหมายระเบียบที่มีอยู่ของบ้านเมือง และทั้งคู่จะต้องยืนอยู่บนผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก ถือเป็นหัวใจของการปรองดอง” นายเฮย์เนอร์ กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า นายโทนี่ แบลร์ หนึ่งในสาม องค์ปาฐกถาช่วงเช้า มีกำหนดจะเดินทางกลับประทศอังกฤษคืนวันนี้ ขณะที่อีกสองคนที่เหลือจะเดินทางกลับประเทศของตัวเองในวันพรุ่งนี้ (3 ก.ย.)

วันเดียวกัน นายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระ สรุปใจความสำคัญของสุนทรพจน์โดย โทนี่ แบลร์ เสนอหลักการ 5 ข้อในการปรองดอง ว่ามีดังนี้

1. ยึดโอกาสร่วมกันในอนาคตเหนือความเจ็บปวดในอดีต ต้องมองให้เห็นประโยชน์ของสันติภาพและความเจริญเป็นรางวัลชิ้นใหญ่ร่วมกันที่รออยู่ข้างหน้า

2. อดีตเป็นเรื่องที่ตรวจสอบได้ แต่คงตัดสินให้ทุกฝ่ายพอใจไม่ได้ บางครั้งต้องยอมอดทนกับความเจ็บปวด เช่น การตกลงยอมปล่อยตัวนักโทษในไอร์แลนด์เหนือ ซึ่งอาจถูกมองเป็นทั้งวีรบุรุษและผู้ก่อการร้าย

3. วางกรอบความร่วมมือในอนาคต ที่เป็นธรรม และแก้รากเหง้าปัญหา เช่น ในไอร์แลนด์เหนือ มีข้อตกลงให้คู่ขัดแย้งมีช่องทางแบ่งปันอำนาจร่วมกัน

4. ยึดประชาธิปไตยทั้งในเนื้อหา ไม่ใช่เฉพาะในรูปแบบ เสียงข้างมากต้องร่วมคิดกับเสียงข้างน้อยภายใต้หลักนิติธรรม ศาลต้องเป็นกลางและอิสระ

5. การปรองดองต้องสร้างประโยชน์ให้กับประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ใช่แค่เพียง
โปร่งใส ประโยชน์เข้าถึงทุกฝ่าย นักการเมืองต้องเป็นฝ่ายนำ โดยมีประชาชนหนุน

 "โทนี่ แบลร์ปิดท้ายด้วยการย้ำถึงความยากของการปรองดอง ต้องอดทนเพื่ออนาคตที่คุ้มค่า และเชื่อมั่นว่าคนไทยทำได้" นายวีรพัฒน์ ระบุ

ที่มา ข่าวสด


นายกฯปาฐกถาปชต.ไม่ใช่เรื่องเสียงข้างมาก

นายกฯปาฐกถาพิเศษ ประชาธิปไตยไม่ใช่เรื่องเสียงข้างมากข้างน้อย แต่เป็นความเคารพซึ่งกันและกัน หวังนำแนวคิดอดีตผู้นำโลกเป็นแรงบรรดาลใจหาทางออก

เมื่อเวลา 08.45 น. ที่รร.พลาซ่า แอทธินี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหมเป็นประธานกล่าวเปิดงาน การปาฐกถาพิเศษ "ผนึกกำลังสู่อนาคต: เรียนรู้ร่วมกันจากประสบการณ์" หรือ Uniting for the Future: Leaning form each other’s experiences ซึ่งเป็นการจัดปาฐกถาพิเศษวิชาการเพื่อส่งเสริมให้สาธารณชนไทยได้รับฟังประสบการณ์จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ ที่มีส่วนร่วมและประสบการณ์ในการส่งเสริมประชาธิปไตย และเสริมสร้างสันติภาพในหลายประเทศทั่วโลก ที่จะเป็นประโยชน์สำหรับสังคมไทยในการสร้างอนาคตและส่งเสริมการพัฒนาประชาธิปไตย

ซึ่งมีนายโทนี่ แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร นายมาร์ตรี อาห์ติซารี อดีตประธานธิบดีฟินแลนด์ นางพริซิลลา เฮย์เนอร์ ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน และที่ปรึกษาอาวุโส Centre for Humanitarian Dialogue (HDC) ร่วมเป็นองค์ปาฐก โดยมีนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รมว.พาณิชย์ นรายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและรมช.เกษตรและสหกรณ์ นางปวีณา หงสกุล รมว.กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย บรรดาตัวแทนจากสถานฑูต และองค์การระหว่างประเทศ นักวิชาการ มูลธิองค์การเพื่อประชาธิปไตย ภาคประชาชน เข้าร่วม

น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวถ้อยแถลงเปิดงานว่า การแลกเปลี่ยนความรู้เชิงวิชาการซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรก ขอขอบคุณวิทยากรผู้ทรงเกียรติที่ได้สละเวลาอันมีค่าเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในวันนี้ รวมทั้ง สถาบันเทวะวงศ์ วโรปการณ์ กระทรวงการต่างประเทศ และ ภาควิชาระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำหรับการจัดงานสำคัญครั้งนี้ ความตั้งใจของงานปาฐกถาพิเศษครั้งนี้ คือการจัดเวทีเปิดสำหรับการร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความคิด และแม้แต่เรื่องราวส่วนบุคคล เพื่อสร้างการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ในการสร้างเอกภาพเพื่อสันติภาพและความรุ่งเรืองของประชาชน โดยนายกรัฐมนตรีเชื่อว่า การปาฐกถาพิเศษครั้งนี้ รวมทั้งเวทีต่างๆในอนาคต จะเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาและสร้างความเข้าใจในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้อง และสำคัญไปกว่านั้น จะเป็นการเตรียมพื้นฐานอันจะนำไปสู่แนวทางที่ปฏิบัติได้เพื่อนำไปดำเนินการ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับอุดมการณ์นั้นเป็นสิ่งสำคัญ แต่ท้ายที่สุดแล้ว เราต้องสามารถใส่เนื้อหา เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

นายกฯ กล่าวว่า ขณะนี้ประชาธิปไตยอยู่ในช่วงที่ยืนอยู่บนทางแยก และยังคงมีความพยายามที่จะริดรอนเสรีภาพของประชาชนในหลายๆแห่งทั่วโลก ซึ่งหลายท่านในที่นี้เชื่อในระบอบประชาธิปไตย และได้ทำงานอย่างหนักเพื่อปกป้องและรักษาหลักประชาธิปไตย ประชาธิปไตยนั้นคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของปัจเจกบุคคล รวมทั้งสนับสนุนอัจฉริยะภาพของบุคคลให้งอกงาม นอกจากนี้ ประชาธิปไตยให้โอกาสทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมเพื่อการเติบโต และประชาธิปไตยเคารพความแตกต่างหลากหลาย ในขณะที่เปิดให้ความแตกต่างนี้ สามารถแก้ไขได้ในแนวทางที่สันติ การให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อให้เกิดความมั่นคงและสันติภาพที่ยั่งยืน เพราะความมั่นคงเป็นพื้นฐานสำหรับทุกประเทศและภูมิภาคในการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน โดยความท้าทายของคนในรุ่นนี้ คือการสร้างอนาคตที่มั่นคงสำหรับลูกหลาน ที่ซึ่งความขัดแย้งลดน้อยลง และมีสภาพแวดล้อมที่ให้โอกาสที่เสมอภาคเพื่อการเติบโต รุ่งเรือง

ดังนั้น กุญแจสำคัญคือการทำงานเพื่อสร้างอนาคตที่รายล้อมด้วยประชาธิปไตยที่มีพื้นฐานที่เข้มแข็งและมั่นคง และเมื่อกล่าวถึงประชาธิปไตยนั้น ไม่ได้เพียงหมายถึงระบบที่เสียงข้างมากเป็นรัฐบาลและเสียงข้างน้อยเป็นฝ่ายค้าน แต่หมายรวมถึงวัฒนธรรมที่ประชาชนทุกคนเคารพความคิดเห็นซึ่งกันและกัน และที่ทุกคนยึดและเคารพต่อหลักนิติรัฐ นิติธรรม การมาร่วมปาฐกถาในวันนี้เพื่อลูกหลาน เราจำเป็นต้องเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และเชื่อว่า คนไทยทุกคนจะได้รับประโยชน์จากประสบการณ์จากประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่จะเรียนรู้ว่าประเทศต่าง ๆ ได้แก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองและส่งเสริมการพัฒนาประชาธิปไตยอย่างไร รวมทั้งการสนับสนุนให้ทุกฝ่ายยกความขัดแย้งออกไปก่อน และร่วมกันทำงานเพื่อสร้างอนาคตของประชาธิปไตยที่มั่นคง แน่นอนว่าเราต้องรับฟังถึงความสำเร็จ แต่เราต้องเรียนรู้ความล้มเหลวเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเอกภาพไม่บรรลุผล รวมทั้งผลที่ตามมาจากความขัดแย้งทางการเมือง เมื่อไม่มีความปรองดอง ในตอนท้าย

"หวังว่าบทเรียนจากกรณีศึกษาจากประเทศต่าง ๆ จะสร้างแรงบันดาลใจทุกคนในการสะท้อนมุมมองว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดของประเทศ ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยให้เราก้าวไปด้วยกันตามแนวทางประชาธิปไตย ในขณะที่เราแสวงหาความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่ออนาคตของลูกหลาน"นายกฯ กล่าว


"แบลร์"เดินสายพบมาร์ค-กรณ์

จาก โพสต์ทูเดย์

แบลร์ร่วมรับประทานอาหารกลางวันกับประชาธิปัตย์ "กรณ์"เผยได้ชี้แจงว่าไม่เข้าร่วมเวทีปฏิรูปเพราะรัฐบาลไม่จริงใจ

เมื่อวันที่ 2 ก.ย. นายกรณ์ จาติกวนิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) โพสต์ข้อความพร้อมภาพการพบปะระหว่าง นายโทนี แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร กับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ผ่านเฟซบุ๊กสว่นตัว Korn Chatikavanij โดยระบุว่า ได้พบรับประทานอาหารกลางวันกับนายแบลร์ พร้อมกับนายอภิสทธิ์ ที่บ้านของเอกอัครราชทูตอังกฤษที่ถนนวิทยุ

"Mr. Blair ทราบแต่แรกว่าเราไม่ได้เข้าร่วมกระบวนการ 'ปาหี่ปฏิรูป' ของรัฐบาล จึงได้ขอนัดพบเราต่างหาก หลังจากที่ท่านได้ไปบรรยายให้กับฝ่ายรัฐบาลฟังตอนเช้า

"Mr. Blair ได้เดินทางมาครั้งหนึ่งเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งในคราวนั้นเราก็ได้อธิบายให้ท่านเข้าใจว่าจุดยืนเราคืออะไร เราเห็นว่าการให้อภัยกันเป็นเรื่องจำเป็น แต่ต้องมีการเคารพสิทธิของผู้สูญเสียที่จะได้รับความยุติธรรมก่อน เรามองว่าการรักษาหลัก "นิติธรรม" เป็นเรื่องจำเป็นในสังคมประชาธิปไตย ซึ่งทั้งหมดนี้ Mr. Blair ก็เห็นด้วยและได้สัมภาษณ์ในหลักการเดียวกันด้วย

"วันนี้เราก็จึงได้ชี้แจงกับท่านอีกครั้งว่าเราไม่เข้าร่วมกระบวนการ ปฏิรูปของรัฐบาลเพราะรัฐบาลไม่แสดงความจริงใจที่จะปฏิรูปจริง และไม่ยอมที่จะทบทวนความเหมาะสมเรื่องการผลักดันกฎหมายนิรโทษกรรม ทั้งๆที่กฎหมายฉบับนี้สร้างความแตกแยกอย่างมาก และหลายฝ่ายมองว่ามีผลในทางลบกับระบอบการปกครองประเทศ

"ส่วนกระบวนการปฏิรูปที่แท้จริงนั้น มีเวทีอื่นที่เหมาะสมกว่า และเราพร้อมเข้าร่วมเสมอ ต่อเมื่อรัฐบาลพร้อมยอมรับว่าในการปฏิรูปประเทศนั้น ประชาชนทุกภาคส่วนต้องมีสิทธิมีเสียงเท่ากัน และเวทีนั้นไม่ได้มีไว้เพียงเพื่อหาความชอบธรรมในการจัดผลประโยชน์ระหว่าง นักการเมืองให้ลงตัว

"ทั้งหมดเป็นการนั่งสนทนากันอย่างเป็นกันเอง คือท่านทูตฯได้จัดให้เราสามคนตักอาหารแบบบุฟเฟ่ต์มานั่งทานไปคุยไป ใครบอกว่าอังกฤษทำอะไรต้องมีพิธีรีตองมากมาย จริงๆสมัยนี้ไม่เป็นอย่างนั้นแล้วครับ"


อภิสิทธิ์'แจงโทนี่แบลร์ไม่ร่วมปาหี่ปฏิรูป

"กรณ์"โพสต์เฟสบุ๊คโชว์หลา"อภิสิทธิ์"กินอาหารกลางวัน"โทนี่ แบลร์" แจงไม่ร่วมขบวนการ"ปาหี่ปฏิรูป" อัดรัฐบาลไม่จริงใจปฏิรูป-ไม่ทบทวนนิรโทษกรรม

นายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ค Korn Chatikavanij โดยระบุว่า วันนี้ท่านหัวหน้ากับผมได้พบและรับประทานอาหารกลางวันกับท่านอดีตนายกฯอังกฤษ Mr. Tony Blair ที่บ้านท่านทูตอังกฤษที่ถนนวิทยุ Mr. Blair ทราบแต่แรกว่าเราไม่ได้เข้าร่วมกระบวนการ 'ปาหี่ปฏิรูป' ของรัฐบาล จึงได้ขอนัดพบเราต่างหาก หลังจากที่ท่านได้ไปบรรยายให้กับฝ่ายรัฐบาลฟังตอนเช้า

Mr. Blair ได้เดินทางมาครั้งหนึ่งเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งในคราวนั้นเราก็ได้อธิบายให้ท่านเข้าใจว่าจุดยืนเราคืออะไร เราเห็นว่าการให้อภัยกันเป็นเรื่องจำเป็น แต่ต้องมีการเคารพสิทธิของผู้สูญเสียที่จะได้รับความยุติธรรมก่อน เรามองว่าการรักษาหลัก 'นิติธรรม' เป็นเรื่องจำเป็นในสังคมประชาธิปไตย ซึ่งทั้งหมดนี้ Mr. Blair ก็เห็นด้วยและได้สัมภาษณ์ในหลักการเดียวกันด้วย

วันนี้เราก็จึงได้ชี้แจงกับท่านอีกครั้งว่าเราไม่เข้าร่วมกระบวนการปฏิรูปของรัฐบาลเพราะรัฐบาลไม่แสดงความจริงใจที่จะปฏิรูปจริง และไม่ยอมที่จะทบทวนความเหมาะสมเรื่องการผลักดันกฎหมายนิรโทษกรรม ทั้งๆ ที่กฎหมายฉบับนี้สร้างความแตกแยกอย่างมาก และหลายฝ่ายมองว่ามีผลในทางลบกับระบอบการปกครองประเทศ

ส่วนกระบวนการปฏิรูปที่แท้จริงนั้น มีเวทีอื่นที่เหมาะสมกว่า และเราพร้อมเข้าร่วมเสมอ ต่อเมื่อรัฐบาลพร้อมยอมรับว่าในการปฏิรูปประเทศนั้น ประชาชนทุกภาคส่วนต้องมีสิทธิมีเสียงเท่ากัน และเวทีนั้นไม่ได้มีไว้เพียงเพื่อหาความชอบธรรมในการจัดผลประโยชน์ระหว่างนักการเมืองให้ลงตัว

ทั้งหมดเป็นการนั่งสนทนากันอย่างเป็นกันเอง คือท่านทูตฯได้จัดให้เราสามคนตักอาหารแบบบุฟเฟต์มานั่งทานไปคุยไป ใครบอกว่าอังกฤษทำอะไรต้องมีพิธีรีตองมากมาย จริงๆสมัยนี้ไม่เป็นอย่างนั้นแล้วครับ


สุรินทร์ชี้คนนอกประเทศป่วนประชาธิปไตยไทย

จาก โพสต์ทูเดย์

"สุรินทร์"ยันประชาธิปไตยไทยไม่คืบหน้าเหตุอำนาจนอกประเทศเข้าแทรกแซง เปรยฝ่ายค้าน-องค์กรอิสระ-สื่อมวลชนทำงานไร้อิสระ

นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน เปิดเผยภายหลังร่วมฟังสัมมนาเวทีปาฐกถาพิเศษ ผนึกกำลังสู่อนาคต : เรียนรู้ร่วมกันจากประสบการณ์ครั้งที่ 1 ว่า สิ่งที่พูดกันในเวทีนี้ ยืนยันชัดเจนแล้วว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย อยู่ที่หลักการและกระบวนการประชาธิปไตย ที่ถูกตีความไปตามแต่ละความเห็น ซึ่งสิ่งสำคัญอยู่ที่การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ และเปิดพื้นที่ให้มีส่วนร่วม จะช่วยคลี่คลายปัญหาได้

อย่างไรก็ดี แต่ทุกวันนี้ฝ่ายค้านไม่สามารถทำงานได้ในรัฐสภา หรือองค์กรอิสระยังไม่มีความเป็นอิสระอย่างแท้จริง ทำให้ทำงานไม่มีสิทธิภาพ รวมทั้งสื่อมวลชนตกอยู่ในภาวะกีดกันเข้าถึงข้อมูล ทำให้ไม่มีเสรีภาพเท่าที่ควรจะเป็น สำหรับข้อเสนอแนะที่มีการพูดกันวันนี้ คงต้องให้ทุกฝ่ายได้เปิดรับและนำไปใช้ ก็เพื่อให้การปรองดองประเทศสามารถเกิดขึ้นได้

"ผมยืนยันว่ากระบวนการประชาธิปไตยที่มีประสิทธิภาพ ไม่ใช่หน้าที่ของฝ่ายค้านหรือรัฐบาลเท่านั้น แต่ยังมีความพยายามผลักดันของบางคนจากนอกประเทศ ทำให้สิ่งที่ทำกันอยู่ในประเทศเกิดความไขว้เขว เพิ่มเชื้อความเข้าใจผิดๆ และทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจกัน แล้วกระบวนการปรองดองประเทศจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ในเมื่อยังมีสิ่งรบกวนประชาธิปไตยและสันติสุขของประเทศอยู่"นายสุรินทร์ กล่าว


สุรินทร์'ชี้คนนอกประเทศดันปรองดองยาก

"สุรินทร์"ระบุประชาธิปไตยไม่ใช่หน้าที่ของฝ่ายค้านหรือรัฐบาล แต่ถูกผลักดันจากบางคนอยู่นอกประเทศ ปรองดองเกิดยาก

นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน ให้สัมภาษณ์หลังการร่วมงานเวทีปาฐกถาพิเศษ ผนึกกำลังสู่อนาคต : เรียนรู้ร่วมกันจากประสบการณ์ครั้งที่ 1 ว่า สิ่งที่พูดกันในเวทีนี้ ยืนยันชัดเจนแล้วว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย อยู่ที่หลักการและกระบวนการประชาธิปไตย ที่ถูกตีความไปตามแต่ละความเห็น ซึ่งสำคัญอยู่ที่การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ และเปิดพื้นที่ให้มีส่วนร่วม จะช่วยคลี่คลายปัญหาได้ แต่ทุกวันนี้ ฝ่ายค้านไม่สามารถทำงานได้ในรัฐสภา หรือองค์กรอิสระยังไม่มีความเป็นอิสระอย่างแท้จริง ทำให้ทำงานไม่มีสิทธิภาพ รวมทั้งสื่อมวลชนตกอยู่ในภาวะกีดกันเข้าถึงข้อมูล ทำให้ไม่มีเสรีภาพเท่าที่ควรจะเป็น สำหรับข้อเสนอแนะที่มีการพูดกันวันนี้ คงต้องให้ทุกฝ่ายได้เปิดรับและนำไปใช้ ก็เพื่อให้การปรองดองประเทศสามารถเกิดขึ้นได้

นายสุรินทร์ ยืนยันว่า กระบวนการประชาธิปไตยที่มีประสิทธิภาพ ไม่ใช่หน้าที่ของฝ่ายค้านหรือรัฐบาลเท่านั้น แต่ยังมีความพยายามผลักดันของบางคนจากนอกประเทศ ทำให้สิ่งที่ทำกันอยู่ในประเทศเกิดความไขว่เขว่ เพิ่มเชื้อความเข้าใจผิดๆ และทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจกัน แล้วกระบวนการปรองดองประเทศจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ในเมื่อยังสิ่งรบกวนประชาธิปไตยและสันติสุขของประเทศอยู่


นักวิชาการชี้การเมืองติดหล่ม แนะยึดปชต.

"ฐิตินันท์"ระบุการเมืองไทยติดหล่ม ขณะที่"สตีเฟน"แนะเจรจาหาประสบการณ์มาแก้ปัญหา ด้านปลัดยธ.ย้ำระบอบประชาธิปไตยดีที่สุด

นายฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันความมั่นคงและนานาชาติศึกษา ในฐานะผู้ดำเนินรายงาน เปิดเวทีผนึกกำลังฯ ในช่วงสุดท้าย ระบุว่า ประเทศไทยกำลังติดหล่มกับสถาบันทางการเมืองหรือไม่ เมื่อประชาชนได้เลือกผู้แทนราษฎรเข้ามาทำหน้าที่ในรัฐสภา แต่กลุ่มนักการเมืองเหล่านี้ กลับใช้อำนาจในทางผิดๆ ทั้ง ๆ ที่การเลือกตั้งระยะหลังมีประชาชนออกไปเลือกตั้งกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็ไม่ใช่เครื่องยืนยันว่า ระบบการเมืองไทยจะมีประสิทธิภาพ และประชาธิปไตยจะก้าวหน้าไปจากเดิม โดยเฉพาะในเรื่องการพิจารณาออกกฎหมายของรัฐสภา ที่ไม่ได้ผ่านความเห็นและกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างที่ควรเป็น

นายสตีเฟน เสตทเมน รองผู้อำนวยการศูนย์ประชาธิปไตยการพัฒนาและหนักนิติธรรม มหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด กล่าวว่า ในเรื่องนี้ มีหลายประเทศที่ประสบเหตุการณ์ในลักษณะนี้ ซึ่งพรรคที่เสียงข้างน้อย ไม่มีโอกาสได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกกฎหมาย หรือชี้ให้เห็นถึงความไม่เป็นธรรมอย่างไร ทำให้เกิดแรงต่อต้าน นำไปสู่สถานการณ์แช่แข็งที่หยุดนิ่ง ดูเหมือนไร้ทางออก โดยตนมองว่า ต้องใช้การเจรจา และต้องมีโมเดลเทียบเคียงจากประสบการณ์ เพื่อนำมาใช้แก้ไขปัญหาเฉพาะเรื่อง

นายเยนส์ ออร์บัค (Jens Orback) อดีตรัฐมนตรีด้านประชาธิปไตยกิจการเมือง ความกลมกลืนในสังคมและความเสมอภาคทางเพศ กระทรวงยุติธรรม สวีเดน เชื่อว่า การรณรงค์ให้ประชาชน และกลุ่มภาคประชาสังคมมีความตื่นตัว และมีส่วนร่วมในกระบวนการประชาธิปไตย ซึ่งมองว่า ทุกบทบาทและการแสดงล้วนออกมีความหมาย อย่าปล่อยให้สถานการณ์ผ่านเลย ขณะที่ฝ่ายผู้นำทางการเมืองจะต้องเอื้อบรรยากาศทางประชาธิปไตยในประเทศด้วย โดยชี้ว่า การเมืองเป็นเรื่องผลประโยชน์เลือกจะพูดและสนับสนุนความคิดนั้น

นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ในฐานะอดีตคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ(คอป.) กล่าวถึงมุมมองประชาธิปไตยและความเลื่อมล้ำในประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยว่า ปัญหาความเลื่อมล้ำในสังคม เกิดจากการที่แสดงความคิดเห็นอย่างเป็นธรรมทำให้คนกลุ่มหนึ่งหมดความเชื่อถือและศรัทธาในหลักการประชาธิปไตย ทำให้ต้องมองหาวิธีการใหม่ ๆ แต่ในทางกลับกัน เราต้องตอกย้ำให้เกิดความเชื่อมั่นต่อประชาธิปไตยว่า เป็นระบอบปกครองที่ดีที่สุด โดยการสร้างความโปร่งใส เปิดพื้นที่การมีส่วนร่วม และพร้อมรับฟังความคิดเห็นกันและกัน

ในประเด็นต่อเนื่องกันนี้ นายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการประสานและติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของคอป. (ปคอป.) กล่าวว่า ในระยะหลัง 3 - 4 ปีนี้ การแสดงความคิดเห็นทางการเมืองมีความแตกต่างกัน จนเกิดคำถามว่า แล้วสิ่งไหนคือความถูกต้อง และการแสดงออกทางการเมืองควรเป็นเรื่องของคนกลุ่มไหน โดยเรื่องนี้ เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ ตามหลักการประชาธิปไตย หากยังมีคำถามนี้อยู่เหมือน เป็นการย้อนกลับไปก่อนที่จะมีประชาธิปไตยเสียด้วยซ้ำ


เต้น"โชว์สวย!โพสต์FBอำ"แบลร์"

จาก โพสต์ทูเดย์

"ณัฐวุฒิ"โพสต์เฟซบุ๊กอำโทนี แบลร์ บอกช่วยรับคนหนีทหาร-หาเรื่องรัฐบาลกลับไปด้วยหลังเสร็จงาน

เมื่อวันที่ 2 ก.ย.นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.พาณิชย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวถึงกรณีที่ นายโทนี แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรที่เดินทางมาร่วมเวทีปาฐกถาแลกเปลี่ยน ประสบการณ์การสร้างสันติภาพและการปรองดองตามคำเชิญของรัฐบาล โดยข้อความดังกล่าวมีเนื้อหาดังนี้  

"ขอบคุณท่านนายกฯโทนี่ แบลร์ สำหรับข้อคิดและประสบการณ์อันมีค่า แต่ไหนๆมาแล้วผมรบกวนท่านอีกอย่างได้มั้ยครับ?

"คือ... มีพลเมืองประเทศท่านอยู่ที่นี่คนนึงอ่ะ หนีทหาร ตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร ทำคนตายเป็นร้อยบาดเจ็บเป็นพัน แถมยังหาเรื่องรัฐบาลตะพึดตะพือ

"อ่า... คือว่า... เสร็จงานแล้วท่านเอากลับไปด้วยได้มั้ยครับ แหะๆ แหะๆ"

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าข้อความดังกล่าวได้ถูกผู้ใช้อินเทอร์เน็ตนำไปแบ่งปันและวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางบนเครือข่ายสังคมออนไล


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : แบลร์ ไทย ก้าวข้ามความขัดแย้ง

view