สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

โจรไร้พรมแดน ตำรวจเจอทางตัน

จาก โพสต์ทูเดย์

โดย...พล.ต.ต.เกษียร วรศิริ เลขาธิการสมาคมตำรวจ

ยิ่งเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารพัฒนาไปเท่าไหร่ โลกก็ยิ่งเล็กลงกว่า 2 ทศวรรษที่เราเริ่มรู้จักกับคำว่าสังคมข้อมูลข่าวสาร ดูเหมือนจะยิ่งทำให้โลกที่เราเคยรู้จักหดแคบเข้าไปอีก |เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสาร สื่อสังคมออนไลน์ หรือโซเชียล มีเดีย (Social Media) สลายพรมแดนทางภูมิศาสตร์ ทำให้รัฐในความหมายเชิงรัฐศาสตร์เปลี่ยนแปลงไป

แต่อย่างไรก็ตาม “รัฐ” ก็ยังมีความสำคัญและจำเป็น อุดมการณ์ประชาธิปไตยนั้นรัฐยังมีหน้าที่สำคัญในการที่จะปกป้องคุ้มครอง สิทธิและเสรีภาพของประชาชน ภายใต้ข้อตกลงร่วมกันของสังคมที่เราเรียกว่า “กฎหมาย”

การที่จะใช้กฎหมายเป็นหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน นั้น แน่นอนว่าต้องมีผู้ทำหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย ซึ่งเป็นองคาพยพเครื่องมือของรัฐ

แต่ทว่าเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารที่มีประโยชน์อนันต์ในการเชื่อมร้อยผู้ คนทั้งโลกเข้าด้วยกัน การข้ามพ้นพรมแดนของอำนาจรัฐได้กลายเป็นช่องว่างให้มิจฉาชีพใช้เป็นช่องทาง ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
รายงานของสำนักงานสืบสวนกลางแห่งสหรัฐ อเมริกา (FBI) ระบุว่า ในปี 2555 ที่ผ่านมา ทุกประเทศทั่วโลกมีผู้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเทคโนโลยีเป็นจำนวน 289,874 ราย ยอดเงินที่สูญเสียเป็นจำนวน 15,763,233,300 บาท โดยเฉลี่ยผู้เสียหายจะสูญเสียรายละ ประมาณ 54,390 บาท

ด้านผลวิจัยจาก McAfee and Guardian Analytics ได้นำเสนอวิเคราะห์อาชญากรรมทางออนไลน์ คาดว่าจะพบเหตุอาชญากรรมโลกไซเบอร์ยกระดับผ่านทางเทคโนโลยีคลังฐานข้อมูลรวม (Cloud Computing) มากขึ้น ซึ่งตามรายงานพบมีเหตุการณ์โอนเงินจำนวนมหาศาลผ่านทางธนาคารออนไลน์ในทวีป ยุโรป สหรัฐ และอเมริกาใต้ โดยมาจากการที่เหยื่อหลงคลิกลิงก์จากอีเมลหลอกลวงที่อ้างเป็นธนาคารโดยใช้ กลยุทธ์การตกเบ็ด (Phishing) โดยลิงก์นี้จะชวนเปลี่ยนรหัส (Password) เมื่อคลิกไป ระหว่างนั้นจะมีการดาวน์โหลดโปรแกรมค้างไว้ในเครื่องโดยอัตโนมัติ ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ตกเป็นเหยื่อของโปรแกรมดังกล่าวซึ่งคอยดัก ข้อมูลการเข้าสู่เว็บไซต์ธนาคาร

สังคมไทยอาจรู้สึกว่าความพยายามของ พล.ต.ต.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ ผู้บังคับการกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทาง เทคโนโลยี ที่จะเข้าไปตรวจสอบข้อมูลของผู้ต้องสงสัย หรืออาชญากรในแอพพลิเคชัน “ไลน์” (LINE) รวมทั้งโซเชียลมีเดีย หรือสื่อทางสังคมออนไลน์นั้นเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพ ผู้เขียนไม่ขอกล่าวถึงในประเด็นนี้ เพราะผู้บริหารของแอพพลิเคชันไลน์ได้ปฏิเสธที่จะให้ความร่วมมือกับตำรวจไทย ไปแล้ว แต่อยากจะชี้ให้เห็นว่า ในยุคสมัยไร้พรมแดนอาชญากรนั้นมีช่องทางใหม่ในการกระทำผิด ขณะที่ผู้บังคับใช้กฎหมายซึ่งตำรวจเป็นหนึ่งในนั้นกำลังเผชิญกับความตีบตัน ของช่องทางในการป้องกันและเอาผิดกับอาชญากร

ประเด็นการตรวจสอบไลน์นั้นเป็นเพียงประเด็นเล็กๆ ปลีกย่อยประเด็นหนึ่ง หากเทียบกับความพยายามขององค์กรบังคับใช้กฎหมายต่างๆ ทั้งตำรวจสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) กรมสรรพากร สรรพาสามิต ธนาคารแห่งประเทศไทย และอื่นๆ อีกมากมาย ที่กำลังหาทางสกัดอาชญากรรมออนไลน์ ซึ่งถือเป็นอาชญากรรมข้ามชาติ

ความพยายามในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาตินี้ เมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2556 ที่ผ่านมา ในการประชุมวุฒิสภาได้มีมติผ่านร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ. ... ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแล้วเสร็จ ด้วยเสียงเอกฉันท์ 80 เสียง

สาระสำคัญคือการสืบสวนและสอบสวนการกระทำความผิดฐานมีส่วนร่วมใน องค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ตามมาตรา 14 ระบุให้อำนาจพนักงานสอบสวนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ในการเข้าไปในเคหสถาน หรือสถานที่อื่นโดยไม่มีหมายค้น หากมีเหตุอัน|ควรสงสัยหรือเชื่อได้ว่ามีทรัพย์สินที่เป็นความผิดได้มา โดยกระทำผิด ได้ใช้หรือจะใช้ในการกระทำความผิดซุกซ่อนอยู่ในเคหสถาน หากปล่อยให้เนิ่นช้าทรัพย์สินหรือพยานหลักฐานอาจถูกย้าย ซุกซ่อน ทำลายหรือทำให้เปลี่ยนไปจากสภาพเดิม

เห็นได้ว่ากฎหมายดังกล่าวซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาและมีผลบังคับ ใช้ตามกฎหมายนั้น มีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนแต่เป็นบุคคลหรือกลุ่มคนที่มีแนวโน้ม ในการกระทำความผิดหรือผู้ต้องสงสัย เพราะให้อำนาจพนักงานสอบสวนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ในการเข้าไปในเคหสถานหรือ สถานที่อื่นโดยไม่มีหมายค้นได้

กฎหมายซึ่งให้อำนาจเจ้าหน้าที่มากขึ้นในลักษณะเช่นนี้เป็นดาบสองคมที่ผู้ บังคับใช้กฎหมายดังกล่าวต้องใช้ดุลพินิจและจริยธรรมในวิชาชีพ เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามที่รัฐธรรมนูญรับรอง ไว้ ดังนั้นควรมีมาตรการควบคุมการใช้ดุลพินิจของพนักงาน หรือเจ้าหน้าที่เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนด้วย

ในโลกอนาคตซึ่งเป็นยุคของโลกไร้พรมแดน การก่ออาชญากรรมไร้ขอบเขตจำกัดมากยิ่งขึ้น สิทธิของผู้ต้องหามักจะได้รับการกล่าวถึงและให้ความสำคัญอย่างมาก จนมีเสียงค่อนขอดว่ามากกว่าจะคำนึงถึงสิทธิของผู้เสียหายหรือเจ้าหน้าที่ บางทีสังคมไทยอาจต้องเลือกว่าจะยอมเสียสิทธิเสรีภาพของกลุ่มน้อย (บางกลุ่มที่ต้องสงสัยว่ากระทำผิด) เพื่อรักษาไว้ซึ่งสิทธิการรักษาความปลอดภัยในทรัพย์สินและชีวิต รวมทั้งความมั่นคงปลอดภัยของสังคมส่วนใหญ่

ประเทศไทยนั้นเป็นนิติรัฐเป็นสังคมประชาธิปไตย แน่นอนว่าถึงที่สุดแล้วกระบวนการนิติบัญญัติ ซึ่งมีพื้นฐานที่มาจากตัวแทนของทุกภาคส่วนในสังคม จะพินิจพิจารณาว่ากฎหมายหรือข้อบังคับใดจะเกิดประโยชน์สูงสุดในการทำหน้าที่ ปกป้องความมั่นคงปลอดภัยของสังคม โดยไม่ละเมิด (หรือหากจะละเมิดก็ส่งผลกระทบน้อยที่สุด) ต่อสิทธิเสรีภาพของปัจเจกชน

แต่ที่แน่ๆ เรากำลังเผชิญกับภาวะที่โจรใหญ่ขึ้นและตำรวจเล็กลง


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : โจรไร้พรมแดน ตำรวจ เจอทางตัน

view