สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ยังไม่สายที่จะป้องกันโรคกระดูกพรุน

จากประชาชาติธุรกิจ

ข้อมูลโดย นพ.จักรา มาสวนิช แพทย์ศัลยกรรมกระดูก โรงพยาบาลธนบุรี2
เรียบเรียงโดย จุฬาพรรณ แม้นมินทร์


กระดูกพรุนเป็นภาวะที่ความหนาแน่นมวลกระดูก น้อยกว่าค่าเฉลี่ยมาตรฐานของคนปกติที่อายุเพศและชาติพันธุ์เดียวกันควรจะมี ทุกคนเมื่อมีอายุมากขึ้นความหนาแน่นของกระดูกก็จะน้อยลงไป แต่ถ้ามีการดูแลร่างกายดี รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมซึ่งจะช่วยสร้างกระดูกเพียงพอ มวลกระดูกที่วัดได้อาจจะดีกว่าคนที่อายุน้อยกว่าแต่ไม่ดูแลตัวเอง โดยเฉพาะเรื่องอาหารได้ แต่ก็ยังไม่สายเกินไปที่จะเริ่มดูแลตัวเอง รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง หรือรับประทานแคลเซียมเสริมในแต่ละวัน เพราะเมื่อร่างกายได้รับแคลเซียมในปริมาณที่มากเกินไป ร่างกายจะขับส่วนที่เกินออกไป ซึ่งดีกว่าการที่ปล่อยให้ร่างกายขาดแคลเซียมซึ่งจะมีผลทำให้เกิดโรคกระดูก พรุนได้ก่อนวัยอันควร

นอกจากในภาวะปกติแล้วสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้อีกเช่นคนที่เป็นโรคเกี่ยวกับเลือด เช่น ธาลัสซีเมีย โรคไต โรคเม็ดเลือดขาวทำงานผิดปกติ ซึ่งร่างกายจะขับแคลเซียมมากไปหรือไม่ดูดซึมแคลเซียมไปใช้สร้างกระดูก ทำให้กระดูกมีมวลหรือความหนาแน่นน้อยกว่าในคนปกติ

กลุ่มเสี่ยงของคนที่มีโอกาสขาดแคลเซียมและเป็นโรคกระดูกพรุน ได้แก่

- ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนหรืออายุมากกว่า 50 ปี และชายที่อายุมากกว่า 60 ปี

- คนปกติที่บริโภคอาหารที่มีแคลเซียมน้อยกว่าที่ร่างกายต้องการ

- คนที่เคยกระดูกหักที่เดิมมากกว่า 2 ครั้ง

- คนที่กระดูกหักง่ายกว่าปกติ

- คนที่มีโรคประจำตัวเช่น ความดัน เบาหวาน ไทรอยด์ แพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง ( SLE )

- คนที่รับประทานยาที่มีส่วนผสมของ สเตียรอยด์ เช่นยาลูกกลอนที่ผลิตไม่ได้มาตรฐาน

อาการของโรคกระดูกพรุนแทบจะไม่แสดงอาการใดๆเลยในช่วงเริ่มแรกจะมี เพียงบางรายเท่านั้นที่มีอาการปวดหลังบ้างแต่ไม่ใช่ปวดกระดูกสันหลังหรือปวด เมื่อยบ้าง  มีการแตกหักของกระดูกง่ายเมื่อเกิดอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย จึงสังเกตได้ยากว่ามวลกระดูกน้อยกว่าปกติหรือไม่ หรือเป็นโรคกระดูกพรุนหรือเปล่า ต้องใช้การวัดมวลกระดูกและเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งแพทย์หรือเจ้าหน้าที่จะทำการตรวจวัดมวลกระดูก 3 ตำแหน่ง คือ ข้อมือ สันหลัง และสะโพก นำค่ามาเปรียบเทียบกับตารางมวลกระดูกของคนปกติในวัยและเพศเดียวกัน และต้องเป็นชาติพันธุ์เดียวกันด้วย เช่น คนไทยเราก็จะมีค่ามวลกระดูกเฉลี่ยแบบคนเอเชีย ซึ่งจะแตกต่างกับชาวยุโรปซึ่งมีกระดูกซึ่งเป็นโครงสร้างของร่างกายที่แตก ต่างกันจึงมีค่ามวลกระดูกไม่เท่ากับคนไทยการที่ใช้เครื่องมือวัดแค่ข้อมือ ที่มักนิยมกันก็จะได้ค่าเพียงการประมาณเท่านั้น เพราะเป็นการวัดเพียงตำแหน่งเดียวจากทั้งหมด 3 ตำแหน่ง

การรักษาเมื่อเป็นโรคกระดูกพรุน


- รักษาด้วยการรับประทานยา และหาสาเหตุที่ทำให้เป็นโรคกระดูกพรุนและทำการรักษาต้นเหตุ เช่นสาเหตุจากการมีโรคประจำตัวก็รักษาโรคประจำตัวซึ่งเป็นสาเหตุของกระดูกพรุนก่อน

- เสริมแคลเซียมในกลุ่มที่ขาดแคลเซียม

- รับประทานยาที่เกี่ยวกับการดูดซึมแคลเซียมและวิตามินเสริมให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น

- ติดตามผลการรับประทานแคลเซียมทุก 1-2 ปี ด้วยการวัดผลมวลกระดูกที่ถูกต้อง

โรคกระดูกพรุนป้องกันได้ในคนทุกเพศทุกวัย การป้องกันโรคกระดูกพรุนก็คือการดูแลให้กระดูกของเราแข็งแรง มีมวลกระดูกดีหรือเท่ากับค่ามาตรฐาน หรือคือการดูแลให้กระดูกมีอายุยืนยาว อยู่กับเราไปได้ตลอดชีวิต ไม่แตกเปราะง่าย มีวิธีง่ายๆ ในการป้องกันคือ

- การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียม เช่น นม ปลาเล็กปลาน้อย หรือปลาที่สามารถเคี้ยวกระดูกได้

- รับประทานแคลเซียมเสริม ทั้งชนิดเม็ดและชนิดน้ำ  ปริมาณแคลเซียมคาบอเนต 300-400 มิลลิกรัมต่อวันก็พอเพียงสำหรับร่างกายแต่ถ้ามากไปร่างกายก็จะขับส่วนที่เกินความต้องการออกได้เอง ถ้าเป็นแคลเซียมที่มีวิตามิน ดี รวมอยู่ด้วยก็ได้ แต่ไม่จำเป็นเพราะการที่เราสัมผัสแดดหรือแสงอาทิตย์ในช่วงเช้าเวลา 7-8 โมงเช้าก็เพียงพอสำหรับร่างกายที่จะช่วยดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่กระแสเลือดได้แล้ว

- ออกกำลังกายที่มีการกระแทก เพื่อให้กระดูกแข็งแรง ยกเว้นคนที่เคยกระดูกหักหรือมีปัญหาเรื่องกระดูกอื่นๆที่ต้องเลือกวิธีการในการออกกำลังกาย หรือออกกำลังกายตามที่แพทย์สั่งสำหรับคนปกติควรเลือกการออกกำลังกายที่มีการกระแทก เช่นวิ่ง

- ระวังตัวเองไม่ให้เกิดอุบัติเหตุที่จะเป็นอันตรายต่อกระดูก

ไม่ว่าคุณจะอายุมากหรือน้อยแต่ถ้ากระดูกยังปกติอยู่ควรป้องกันและดูแลให้กระดูกของคุณมีมวลกระดูกที่ดีกว่ามาตรฐานไปอีกนานเท่านาน เพื่อห่างไกลจากโรคกระดูกพรุน


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ยังไม่สาย ป้องกัน โรคกระดูกพรุน

view