สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

โบดำรัฐบาล ศก.ถดถอย ช่องว่างรายได้เพิ่ม-หนี้นอกระบบพุ่ง

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ ชั้น5ประชาชาติ

โดย วิไล อักขระสมชีพ


เมื่อ ได้ฟังรัฐบาล "ยิ่งลักษณ์" แถลงผลงานในช่วง 2 ปีที่เข้ามาบริหารประเทศ เมื่อวันที่ 24 กันยายนที่ผ่านมา ฟังแล้วทะแม่ง ๆ กับการยอมรับว่า ขณะนี้ช่องว่างของรายได้ระหว่างคนรวยกับคนจนยังมีอยู่มาก และกลายเป็นการเพิ่มจำนวนหนี้นอกระบบเกิดขึ้นมากมาย พราะ รัฐบาลก็บอกเองว่า ผลงานของรัฐบาลมีทั้งการขึ้นค่าแรง 300 บาท การรับจำนำสินค้าเกษตรเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร การเปิดโครงการพักหนี้ รวมไปถึงการทำโครงการบ้านหลังแรก รถคันแรก เพื่อให้ทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมกัน 

เมื่อ ดูตัวเลขหนี้ภาคครัวเรือนของปีนี้ ก็พบว่าล่าสุดทั้งผู้ว่าการ ธปท. "ประสาร ไตรรัตน์วรกุล" หรือ "ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี" หนึ่งในคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พูดเดียวกันว่า หนี้ครัวเรือนพุ่งไปถึง 80% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) แล้ว ซึ่งจำได้ว่าเสียงอื้ออึงตัวเลขหนี้ภาคครัวเรือนดังมาตลอดตั้งแต่ต้นปีที่ อยู่ราว 60-70% ของจีดีพี แค่ ไม่กี่เดือนหนี้ภาคครัวเรือนพุ่งปรี๊ด บวกกับหนี้นอกระบบก็เพิ่มขึ้นอีก ทั้ง ๆ ที่รัฐบาลก็บังคับผู้ประกอบการทั่วประเทศให้ขึ้นค่าแรงเพิ่มรายได้ลูกจ้าง แล้ว

ที่ น่าห่วงกว่านั่นคือ ช่วงครึ่งปีแรกเศรษฐกิจไทยถดถอยทางเทคนิคแล้ว ไตรมาส 3 และ 4 ลุ้นลูกผีลูกคนจากเศรษฐกิจฝืด กำลังซื้อน้อยลง ภาคเอกชนก็ชะลอการลงทุน หวังรัฐบาลจะใช้เงินขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ก็ปรากฏว่า ลงทุนล่าช้าอีก

เศรษฐกิจ ไทยกำลังเผชิญความเปราะบาง หลังจากรัฐบาลใส่นโยบายประชานิยมเต็มสูบหวังผลระยะสั้น ก็ไม่ต่างอะไรกับการ "ขายผ้าเอาหน้ารอด" จึงเป็นผลงาน "โบดำ" ที่คนไทยดูจนลง แถมมีหนี้เพิ่มขึ้น 

ยิ่ง เวลานับจากนี้ รัฐบาลจะยิ่งกระอักกับปัญหาการหาเงินมาจ่าย "โครงการรับจำนำข้าว" ที่กู้เพิ่มเข้ามาอีก 2.7 แสนล้านบาท จากกรอบกำหนดเดิม 5 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นตัวหลักที่ฉุดภาพความเชื่อมั่นรัฐบาลตกต่ำ ต่อการรักษาวินัยการคลัง โครงการนี้ไม่ได้เพิ่มความสามารถผลผลิต (Productivity)ต่อเศรษฐกิจเติบโตในข้างหน้า

นับ เป็นหนึ่งในความเสี่ยงต่อประเทศไทยที่จะถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือ (เครดิตเรตติ้ง) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือทั้งค่าย "เอส แอนด์ พี" ที่จะเดินทางมาเก็บข้อมูลเศรษฐกิจ ภาระหนี้ทางการคลัง ในเดือนตุลาคมนี้ และยังมี "มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส" ซึ่งจะเดินทางมาอีกทีประมาณต้นปีหน้า หลังจากรอบที่แล้วมาเมื่อเดือนกรกฎาคม ที่จบด้วยการคงอันดับเครดิตเรตติ้งของพันธบัตรรัฐบาลไทยในสกุลเงินตราต่าง ประเทศอยู่ที่ Baa1 ทั้งที่ก่อนหน้ามูดี้ส์จะมาถึง มีข่าวหลุดมาว่า โครงการรับจำนำข้าวทำให้ประเทศไทยถูกจับตาเป็น "Negative Outlook" ในระยะข้างหน้า ทั้งนายกรัฐมนตรี "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง "กิตติรัตน์ ณ ระนอง" สะอึกกับข่าวนี้กันทีเดียว 

แม้ จะมีเสียงสะท้อนจากฝ่ายการเมืองว่า อย่าไปสนใจการจัดเรตติ้งพวกนี้ แต่อย่าประมาท เพราะเมื่อไหร่ความเชื่อมั่นต่อประเทศไทยลดลง ย่อมมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจแน่นอน ยิ่งปีนี้ นักลงทุนต่างชาติพาเหรดเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นและตลาดบอนด์ร่วมกว่า 7-8 แสนล้านบาท แม้ได้ทยอยถอนเงินออกไปบ้างแล้ว แต่หากเรตติ้งไทยถูกขยับทางลบ จากปัญหาหนี้สาธารณะสูงเกินเพดาน ไทยคงถูกหลอนไม่ต่างกับวิกฤตที่เกิดกับกลุ่มอียู นำโดยกรีซ

ท่าม กลางความปั่นป่วนทั้งกระแสการเมืองและเศรษฐกิจ ภาพงานหลักของนายกฯ "ยิ่งลักษณ์" ชัดเจน คือ การเดินสายโรดโชว์นอกประเทศฟื้นฟูความสัมพันธ์ เจรจาการค้า เปิดตลาดส่งออกใหม่ ๆ แต่ทว่าไม่ได้ส่งผลตรงต่อภาคธุรกิจส่งออกเพราะเรื่องนี้อยู่ที่การยกระดับ การผลิตของภาคเอกชน ที่ผู้ส่งออกไทยติดกับดักอยู่ ขณะที่ศักยภาพในการแข่งขันไทยทั้งในแง่มูลค่าสินค้าสูงก็ไม่มี หรือจะแข่งในแง่มูลค่าสินค้าราคาถูกก็เข็นไม่ไหว เจอเพื่อนบ้านอย่างเวียดนามขายถูกกว่าไทยเสียอีก ทำ ให้มีเสียงสะท้อนภาคเอกชนว่ารัฐบาลทำอะไรได้บ้าง ถึงเวลาจะเหลียวกลับมาแก้ไขและฟื้นฟูความแข็งแรงภายในประเทศให้ถูกทิศถูกทาง จะดีกว่าไหม ? 

ช่วง ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมสัมภาษณ์ ดร.พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ผู้อุทิศชีวิตบั้นปลายมาพัฒนาด้านระบบการศึกษาของไทย โดยนั่งตำแหน่งประธานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ก็ได้เล่าว่า ประเทศไทยถูก "เวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรั่ม" จัดอันดับการศึกษาไทยตกอยู่อันดับ 8 รั้งท้ายของอาเซียนตามหลังกัมพูชา และเวียดนาม สะท้อนให้เห็นปัญหาเชิงโครงสร้างของคุณภาพคนไทย จึงได้ตั้งใจที่จะทำ "บลูพรินต์การพัฒนาคน" ออกมาให้เป็นผลสำเร็จ 

"อยาก ให้รัฐบาลตั้งเป็น "วาระแห่งชาติ" ไม่ว่ารัฐบาลไหนมาต้องทำต่อและให้ความสำคัญเป็นเรื่องแรก ๆ ซึ่งความจริงเรื่องนี้ควรเป็น "วาระแห่งชาติ" มานานแล้ว แต่ไม่เคยมีรัฐบาลใดเห็นความสำคัญเลย" 

วันนี้สภาพัฒน์ได้ตั้งคณะทำงานศึกษาเรื่องบลูพรินต์การพัฒนาคน มีนายกฯเป็นประธาน ที่ผ่านมามีการประชุมไป 2 ครั้ง ต้องรอนายกฯกลับจากการเดินทางต่างประเทศก่อน ก็เป็นความหวังหนึ่งของผู้ หลักผู้ใหญ่บ้านเมืองมุ่งมั่นสร้าง "สังคมแห่งปัญญา" หรือ "Wisdom Based Society" เพราะความรู้ต้องคู่คุณธรรม ซึ่งเด็กไทยเป็นสมบัติอันมีค่ามากที่สุดของอนาคตประเทศไทย ดังนั้น นายกรัฐมนตรีและทุกภาคส่วน ควรเห็นความสำคัญและร่วมกันผลักดันเพื่อยกระดับสังคมไทย แต่ นายกรัฐมนตรีทุกรัฐบาล เป็นผู้มีอำนาจทางการเมือง ควรมุ่งมั่นสร้างสรรค์ในการยกระดับคุณภาพการศึกษาเพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน ของประเทศไทย


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : โบดำรัฐบาล ศก.ถดถอย ช่องว่าง รายได้เพิ่ม หนี้นอกระบบพุ่ง

view