สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เร่งเจรจาพม่าปลดล็อกข้อตกลงแรงงาน

จาก โพสต์ทูเดย์

โดย...ทีมข่าวต่างประเทศ

หนังสือพิมพ์เมียนมาร์ ไทมส์ รายงานข่าวความเคลื่อนไหวการเจรจาระหว่างรัฐบาลไทยและพม่า เพื่อขอให้แรงงานชาวพม่าที่มีวีซ่าครบ 4 ปี กลับออกจากประเทศและเข้าทำงานกับนายจ้างเดิมได้โดยไม่ต้องรอ 1 เดือน ว่า การที่รัฐบาลทั้งสองฝ่ายไม่สามารถหาข้อยุติแน่นอนได้ ทำให้เกิดความระส่ำระสายในแวดวงแรงงานต่างด้าวของไทย

หนังสือพิมพ์จากประเทศเพื่อนบ้านอ้างความเห็นของ ฟิล โรเบิร์ตสัน ผู้อำนวยการองค์กรสิทธิมนุษยชน (ฮิวแมนไรต์สวอตช์) สาขาเอเชีย ซึ่งระบุว่า การที่รัฐบาลไทยและพม่าไม่สามารถเดินหน้าโครงการร่างบันทึกความเข้าใจทางแรง งานฉบับใหม่ร่วมกันได้ หลังจากมีการประชุมครั้งแรกไปแล้วเมื่อวันที่ 5 ก.ย. สะท้อนให้เห็นการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพของรัฐบาล

เมียนมาร์ ไทมส์ อ้างบทสัมภาษณ์ของ ปีอิง พาฮ์พ ผู้เชี่ยวชาญชาวพม่า ซึ่งทำงานอยู่ในหน่วยราชการของไทยใน จ.เชียงใหม่ ระบุว่า บันทึกความเข้าใจฉบับใหม่นี้จะต้องผ่านความเห็นชอบจากสภาไทยก่อนนำมาปรับใช้ แต่ปัจจุบันกลับยังไม่มีความคืบหน้า ซึ่งความคลุมเครือดังกล่าวทำให้เกิดข่าวลือแพร่สะพัดในหมู่แรงงานชาวพม่า ว่าสามารถต่อวีซ่าได้เพียง 1 ปี และต้องเดินทางกลับเลยโดยไม่ได้เงินชดเชยการออกจากงาน

“แม้นำข้อเท็จจริงไปแก้ความเข้าใจผิด แต่แรงงานพม่าก็ไม่เชื่อถือ ซึ่งท้ายที่สุดอาจนำไปสู่ปัญหาแรงงานผิดกฎหมายที่จะเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ” พาฮ์พ กล่าว

ด้านแหล่งข่าวไม่เปิดเผยชื่อ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับทางการพม่า ระบุว่า ข้าราชการบางคนต้องการคงนโยบายแรงงานแบบเดิมไว้ เพราะหวังขูดรีดเงินและสินบนจากแรงงานพม่าและนายจ้าง ขณะที่อีกแหล่งข่าวหนึ่งเชื่อว่านโยบายแรงงานใหม่ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหา คอร์รัปชั่น

ด้านสำนักข่าวโอแมน เดลี ออพเซอร์เวอร์ ตามติดกระแสน้ำท่วมในประเทศไทย โดยระบุว่าชาวไทยหลายคนไม่เชื่อถือความสามารถในการบริหารน้ำท่วมของรัฐบาล โดยอ้างบทสัมภาษณ์ของ จิราภา สระทองหน เจ้าของโรงแรมบ้านคุณพระ ใน จ.พระนครศรีอยุธยา ของไทย ที่กล่าวว่า เมื่อปีที่แล้วรัฐบาลเตือนว่าจะเกิดน้ำท่วม ปรากฏว่าน้ำแห้งสนิท ขณะที่ปีนี้แสดงความมั่นใจว่าจะไม่ท่วม แต่น้ำกลับท่วมมิด

สำนักข่าวดังกล่าวระบุต่อไปว่า มหันตภัยน้ำท่วมของไทยเมื่อปีที่แล้วเป็นบทเรียนราคาแพงที่รัฐบาลควรเรียน รู้และนำมาแก้ปัญหาในปีต่อๆ มา รัฐบาลยิ่งลักษณ์จึงเปิดโปรเจกต์สร้างเขื่อนกว่า 20 เขื่อน ขุดคลองรับน้ำ และเปลี่ยนพื้นที่การเกษตรให้กลายเป็นพื้นที่รับน้ำ ภายใน 5 ปี แต่แผนการของรัฐบาลกลับต้องถูกชะลอไปเมื่อศาลปกครองไทยตัดสินระงับ 9 โปรเจกต์ เนื่องจากไม่ผ่านการตรวจเช็กมาตรฐานสิ่งแวดล้อม โดยกรณีล่าสุดคือ กระแสต่อต้านเขื่อนแม่วงก์ ซึ่งกำลังโหมกระหน่ำในประเทศไทย

โอแมน เดลี ออพเซอร์เวอร์ ทิ้งท้ายด้วยการแนะว่า รัฐบาลไทยเสียเงินไปกับโครงการแก้ปัญหาไม่ตรงจุด และโครงการแก้น้ำท่วมแบบผักชีโรยหน้ามานักต่อนักแล้ว ทางแก้ง่ายๆ ที่ไม่ต้องเสียงบประมาณมากและทำได้ทันที คือ การบริหารระดับน้ำในเขื่อนทั้ง 33 แห่ง ที่มีอยู่ให้มั่นใจว่าจะไม่มีน้ำทะลักเขื่อนอย่างที่เกิดขึ้นในปี 2011 ที่ผ่านมา 


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : เร่งเจรจา พม่า ปลดล็อก ข้อตกลงแรงงาน

view