สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เจาะพฤติกรรมผู้บริโภคยุค Multi-Tasks อิทธิพล สมาร์ทดีไวซ์ กับการดูทีวี

จากประชาชาติธุรกิจ

ผลวิจัยประจำปีฉบับที่ 4 ของอีริคสัน คอนซูเมอร์ แล็บ (EricssonConsumer Lab) ล่าสุดเปิดเผยให้เห็นถึงทัศนคติและแนวโน้มของผู้บริโภคกับการรับชมทีวีที่ เปลี่ยนแปลงไปอย่างน่าสนใจ จากผลกระทบจากการเติบโตของอุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างแท็บเลตและสมาร์ทโฟนที่คาด ว่าจะมีการใช้งานมากถึง 4.5 พันล้านเครื่องในปี 2018

นอกจากนี้ การใช้งานดาต้าผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มขึ้นถึงเท่าตัวหากเทียบไตรมาส 1 ปี 2012 และ 2013 ส่งผลให้ผู้บริโภคเปลี่ยนเป็นผู้เลือกช่องทางการรับชม และเปลี่ยนจากผู้ใช้เป็นผู้เรียนรู้ที่จะค้นหาสิ่งที่ตัวเองต้องการมากขึ้น


 


ดังนั้น แนวโน้มของเนื้อหารายการในอนาคตจะมีการแข่งขันค่อนข้างสูง เนื่องจากผู้ชมส่วนใหญ่เลือกดูวิดีโอสตรีมมิ่ง เพราะไม่มีโฆษณาเป็นอันดับ 1

"บัญญัติ เกิดนิยม" ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและองค์กรสัมพันธ์ บริษัท อีริคสัน ประเทศไทย กล่าวว่า อีริคสันได้ทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่างใน 15 ประเทศ ได้แก่ บราซิล แคนาดา ชิลี จีน ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี เม็กซิโก รัสเซีย เกาหลีใต้ สเปน สวีเดน ไต้หวัน อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา โดยสัมภาษณ์ออนไลน์กับประชาชน 15,000 คน และสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริโภค 30 คน จาก 4 เมืองใหญ่

สำหรับกลุ่มตัวอย่างอายุตั้งแต่ 16-59 ปี ส่วนกลุ่มอายุ 60 ขึ้นไป มีการหาข้อมูลเพิ่มเติมอีกกว่า 2,300 คน ผลการสำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภคพบว่าการรับชมรายการผ่านทีวีแบบเดิมยังได้ รับความนิยม เนื่องจากการถ่ายทอดสดบางรายการเลือกถ่ายทอดผ่านช่องทางเหล่านั้น แต่ที่น่าแปลกคือการรับชมแบบ Pay-Per-View และการรับชมวิดีโอผ่านดีวีดีหรือบลูเรย์ลดลง 2-3%
เนื่อง จากเหตุผลผู้บริโภคมีการรับชมวิดีโอเหล่านั้นง่ายขึ้น เช่น ผ่านยูทูบ ซึ่งดูได้ตลอดเวลาและทุกสถานที่ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ ส่งผลให้ผู้บริโภคกว่า 57% มองว่าคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนหนึ่งของพฤติกรรมการรับชมทีวีและ วิดีโอ
ผู้บริโภค 72% ของผู้ตอบแบบสอบถามใช้อุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่เพื่อรับชมวิดีโออย่างน้อย ทุกวัน นอกจากนี้ กว่า 24% ต้องการรับชมช่องรายการตามความต้องการมากกว่าการดูตามผังรายการ


และ ช่องทางที่เลือกดูอันดับ 1 เป็นการดูผ่านวิดีโอสตรีมมิ่ง อาทิ ยูทูบ เพิ่มจากปี 2554 จาก 61% เป็น 63% ส่วนอัตราการบันทึกรายการถ่ายทอดสดเพื่อมาดูลดลงจาก 47% เป็น 31% เช่นเดียวกับการดาวน์โหลดภาพยนตร์ รายการเกมโชว์ ลดลงจาก 38% เป็น 29% ในปีนี้ ส่วนช่วงเวลาการรับชม หากเป็นทีวีและวิดีโอแบบดั้งเดิมคือดูผ่านโทรทัศน์ ช่วงที่รับชมมากที่สุดคือช่วงเช้าเป็นการรับชมข่าวสาร และช่วงเย็นจนถึงค่ำเป็นช่วงเวลาละคร

แต่ปัจจุบันช่องทางการรับชมมี หลากหลาย และเป็นแบบ On Demand มากขึ้น ทำให้ช่วงเวลาหลากหลาย เช่น ตื่นตอนเช้า 23% ระหว่างทานข้าวเช้า 35% บนเตียง 49% การรับชมทีวีแบบ On Demand ยังได้รับความนิยมมากกว่า 40% ในกลุ่มผู้ชมที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ด้วยความสะดวกสบายในการรับชม

ผู้บริโภคในปัจจุบันนิยมทำ กิจกรรมหลายอย่างพร้อมกัน (Multi-Tasks) กับการรับชมทีวี เช่น ใช้อินเทอร์เน็ตระหว่างการรับชมช่องรายการโทรทัศน์กว่า 56% ใช้แอปพลิเคชั่นหรือเว็บบราวเซอร์ในการแชตหรือคุยออนไลน์เกี่ยวกับเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นทางทีวี 49% และ 63% อ่านอีเมล์ระหว่างรับชมทีวี หากเทียบพฤติกรรมนี้กับปีที่ผ่านมามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 37%

นอก จากนี้ยังแบ่งกลุ่มคนที่ทำกิจกรรมหลายอย่างในเวลาเดียวกันได้ 4 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มที่ดูรายการถ่ายทอดสด 2.กลุ่มที่ดูรายการกีฬา 3.กลุ่มที่ดูรายการเกมโชว์ และ 4.กลุ่มที่ดูละครชุด ภาพยนตร์ พฤติกรรมของคนกลุ่มที่ 1 และ 2 เป็นกลุ่มคนที่มีความกระตือรือร้นสูงในการดูรายการ 2 ช่อง หรือทำกิจกรรมอื่นในเวลาเดียวกัน แต่กลุ่มที่ 3 และ 4 เลือกดูเพียงรายการเดียว และให้ความสนใจกับรายการเกมโชว์หรือละครที่ดูอยู่เท่านั้น

ผู้ บริโภคในปัจจุบันยังมีความสามารถในการเลือกรับชมช่องรายการผ่านช่องทางที่ หลากหลายมากขึ้น เช่น การรับชมรายการกีฬาจากการถ่ายทอดผ่านโทรทัศน์ทั่วไป ผ่าน Pay-Per-View หรือการดาวน์โหลดเก็บไว้ ส่วนการดูซีรีส์หนังและโชว์ เลือกดูจากวิดีโอ On Demand และวิดีโอออนสตรีมมิ่ง หรือแม้แต่การดาวน์โหลดข้อมูลมาเก็บไว้ค่อยดู หมายความว่าตลาดไม่ได้อยู่เพียงผู้ผลิตรายการ แต่ผู้บริโภคมีทางเลือกเพื่อการเข้าถึงข้อมูลวิดีโอที่ง่ายและสะดวกขึ้น

ดัง นั้น คุณภาพของรายการจะเป็นสิ่งสำคัญที่ดึงดูดคนดู เมื่อเปรียบเทียบกับสมัยก่อนที่ไม่มีทางเลือกมากนัก การวิจัยดังกล่าวยังมีการเจาะลึกลงไปถึงการรับชมวิดีโอแบบบอกรับสมาชิก เพื่อศึกษาสภาพตลาดและการเปลี่ยนแปลง ใน 1 ปีที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงการดูที่แบบบอกรับสมาชิกหรือไม่

เมื่อ เปรียบเทียบในปี 2012 มีการลดปริมาณการใช้กว่า 7% และในปีนี้ลดไปถึง 12% เพราะผู้บริโภคส่วนใหญ่มีทางเลือกมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายในเรื่องนี้ ส่วนการยกเลิกปีที่แล้วยกเลิกไปกว่า 7% ปีนี้ 11% โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังต้องการเปลี่ยนผังรายการตามความต้องการ

ดัง นั้น การรับชมวิดีโอ On Demand จึงตอบโจทย์ และเข้ามาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดูทีวี วิดีโอ และมีบทบาทพอสมควรในประเทศไทย ดูจากสถิติการดาวน์โหลดไฟล์ที่น้อยลง เพราะสุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดลิขสิทธิ์ ขณะที่การรับชม On Demand เสี่ยงน้อยกว่า

"อุตสาหกรรมทีวีเริ่มมีการพูดถึง เรื่องทีวีบนมือถือ ทุกคนจะเหมารวมว่าคือวิดีโอคลิปอย่างสั้น ๆ ที่ได้รับการตัดต่อมาอย่างดี แต่ทุกวันนี้เราเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ต่างออกไป เรากำลังชมโชว์และภาพยนตร์ที่ยาว ๆ แต่เป็นแบบช่วงสั้น ๆ และต่อเนื่อง มีการใช้ฟังก์ชั่นหยุดชั่วคราวและกลับไปดูอีกครั้งที่จุดเดิมที่หยุดไว้ เพื่อการรับชมได้อย่างต่อเนื่องในทุกสถานที่และทุกเวลา"

สำหรับ บริการใดที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญ อันดับ 1 คือการรับชมวิดีโอแบบปราศจากโฆษณา อันดับ 2 คือต้องการเนื้อหาที่มีคุณภาพระดับเอชดี อันดับ 3 คือการรับชมเมื่อใดก็ได้และรับชมต่อเนื่อง ส่วนอันดับ 4 รับชมอย่างไรให้ง่ายต่อความต้องการมากที่สุด สุดท้าย คือเลือกรับชมทีวีได้ตามความต้องการ


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : เจาะพฤติกรรมผู้บริโภค ยุค Multi-Tasks อิทธิพล สมาร์ทดีไวซ์ การดูทีวี

view