http://www.108acc.com
  
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

วิสัยทัศน์/พันธกิจ

บริการของเรา

LINK 4 A/C

DOWNLOAD

ติดต่อเรา

.......... บทความ 108 ..........

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (๔)

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (2)

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (๓)

ราชกิจจาฯ ประกาศมาตรการคง VAT 7% ออกไปอีก 1 ปี ถึงวันที่ 30 ก.ย.61 ..... คั่นเวลา

บัญญัติ 10 ประการที่ต้อง คำนึงในการวางระบบบัญชี และการควบคุม ภายใน (1)

อะไรคือข้อมูลทางบัญชี ?

องค์กรในมุมมองของนักบัญชี

วิธีการเลือกสำนักงานบัญชี

เจ้าของกิจการควรไปพบ สรรพากรเองหรือไม่

บัญญติ 10 ประการที่ต้อง คำนึงในการวางระบบบัญชี และการควบคุมภายใน (2)

สำนักงานบัญชีในฝัน (2)

สำนักงานบัญชีในฝัน (3)

สำนักงานบัญชีในฝัน (4)

สำนักงานบัญชีในฝัน (5)

สำนักงานบัญชีในฝัน (6)

การสุ่มตัวอย่างทางสถิติในการสอบบัญชี

ค่าทำบัญชีปีละ 2-3 หมื่นบาท คุณไปอยู่ที่ไหนมา

พรก.ยกเว้นการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากร 2558 ยื่นดีไหม

ธุรกิจปั่นป่วน เจอปัญหาขาดแคลนผู้สอบบัญชี จริงหรือ(1)

คุณสมบัตินักบัญชีที่ดี

จรรยาบรรณ ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

ธรรมบรรยาย ชุด จริยธรรมกับบัณฑิต - พุทธทาสภิกขุ

คลิปนี้ ชอบมาก

KPI เท่าไหร่ถึงพอ (1)

KPI เท่าไหร่ถึงพอ (2)

สถิติการจ่ายภาษีรายจังหวัด

สถิติการจ่ายภาษีตามภาค

สำนักงานบัญชีในฝัน (1)

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน?
สมัครสมาชิก
Gold charts on InfoMine.com

10 ท่ายากการลงทุน (1)

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ คิด วิเคราะห์ แยกแยะ

คำว่า "ท่ายาก" เริ่มคุ้นหูในวงสนทนาคนใกล้ชิดหรือจากสื่อออนไลน์บ่อยขึ้น แต่หากเป็นคอกีฬายิมนาสติกหรือกีฬากระโดดน้ำแล้ว จะเป็นคำที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เพราะหากเลือกใช้ "ท่ายาก" ซึ่งมีระดับความยากมากกว่า "ท่าปกติ" นักกีฬาจะได้รับคะแนนพิเศษเพิ่มขึ้นอีกหากทำได้สมบูรณ์แบบ ทำให้มีโอกาสชนะในการแข่งขันมากขึ้น ในทางกลับกัน หากนักกีฬาไม่สามารถทำได้ดังคาด จะถูกตัดคะแนนและอาจทำให้ "พลาด" เหรียญรางวัลได้เช่นกัน การเลือกใช้ท่ายากจึงเหมาะสำหรับนักกีฬาที่มีทักษะผ่านการฝึกฝนอย่างดี และมีความพร้อมสภาพร่างกายขณะแข่งขันด้วย

โดย ธันวา เลาหศิริวงศ์ www.facebook.com/18thanwa


เป้า หมายของนักลงทุนคือ การได้รับผลตอบตอบแทนที่ดี หรือ "มีกำไร" และต้อง "ไม่ขาดทุน" จากการลงทุน ดังนั้นนักลงทุนจึงควรพิจารณาหลีกเลี่ยง "ท่ายาก" ในการลงทุน เพราะอาจเป็นวิธีหนึ่งที่หลีกเลี่ยงการขาดทุน ท่ายากในการลงทุนมีอะไรบ้าง

ท่าแรก ลงทุนแบบไม่มีหลักการลงทุนแนวทางหรือหลักการลงทุนมีมากมายหลายวิธี เช่น การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน หรือการใช้ปัจจัยทางเทคนิค แม้แต่ละวิธีจะมีจุดเด่น ข้อด้อยที่แตกต่างกันไป

นักลงทุนที่ต้อง การประสบความสำเร็จจำเป็นต้อง "ตกผลึก" ทางความคิดหลักการลงทุนของตน โดยเรียนรู้จากทั้งความผิดพลาดและกรณีประสบความสำเร็จในอดีต หลักการที่ดีจะต้องเหมาะกับแนวทางการใช้ชีวิตและตรงกับ "จริต" ของตนอีกด้วย

การ ลงทุนตามข่าวลือ อินไซด์ตามเซียนหุ้น แม้จะได้ผลกำไรงามในบางสถานการณ์ แต่ไม่ใช่หลักการลงทุนที่ยั่งยืน เพราะจำเป็นต้อง "พึ่ง" ผู้อื่นอยู่เสมอ หากข้อมูลคลาดเคลื่อนไม่ทันเหตุการณ์อาจเกิดความเสียหายขึ้นได้ นอกจากนี้การไม่ได้วิเคราะห์และตัดสินใจลงทุนด้วยตนเอง จะทำให้ไม่กล้าเข้าลงทุนในปริมาณที่มีนัยสำคัญ แม้จะพบกิจการยอดเยี่ยมในราคายุติธรรมก็ตาม

ท่าที่สอง ลงทุนเกินขอบข่ายความรู้ (Circle of Competency) หากเปรียบการลงทุนหุ้นเสมือนการนำเงินในสัดส่วนที่มีนัยสำคัญของตนเข้าร่วม เป็นหุ้นส่วนธุรกิจแล้ว นักลงทุนจำเป็นต้องศึกษา ค้นคว้า เรียนรู้

เพื่อ เข้าใจทั้งข้อมูลอุตสาหกรรมสภาวะการแข่งขัน โครงสร้างและรูปแบบธุรกิจ ความเสี่ยง สถานะทางการเงิน ตลอดจนทีมผู้บริหาร ก่อนตัดสินใจลงทุนหลังจากผ่านการวิเคราะห์อย่างดี นักลงทุนมีแหล่งข้อมูลที่เปิดเผยเกี่ยวกับบริษัทที่สนใจลงทุน ได้แก่ แบบฟอร์ม 56-1 รายงานประจำปี งบการเงินรายไตรมาส งาน Opportunity Day ฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ของบริษัท เป็นต้น

ในทุกวันทำการจะมีคนเสนอขาย กิจการต่าง ๆ ในทุกอุตสาหกรรมเพื่อให้เราร่วมเป็นหุ้นส่วนธุรกิจดังกล่าว เป็นหน้าที่และภารกิจหลักของเราที่จะตัดสินใจหลีกเลี่ยงและ "ปฏิเสธ" คำเสนอขายเหล่านั้นหากเรายังไม่มั่นใจและเข้าใจธุรกิจนั้นดีเพียงพอ

ท่าที่สาม ลงทุนแบบไม่เคยประเมินมูลค่า การประเมินมูลค่าหุ้นแต่ละวิธีล้วนมีข้อดี ข้อเสีย เนื่องจากมีตัวเลขจากการคาดการณ์มาใช้ในการคำนวณ จึงเป็นเรื่องยากที่จะประเมินมูลค่าหุ้นได้อย่างถูกต้องแม่นยำ อย่างไรก็ตามนักลงทุนยังจำเป็นต้องประเมินมูลค่ากิจการโดยอาจใช้วิธีที่ตน ถนัดและเหมาะสมกับแต่ละอุตสาหกรรม ทั้งนี้เพื่อที่จะได้ทราบคร่าว ๆ ถึงช่วงราคาที่ถูก ที่เหมาะสม หรือที่แพงของแต่ละกิจการที่เราสนใจ

ช่วง ระดับราคาที่ได้จากการประเมินจะช่วยให้เราตัดสินใจลงทุนซื้อหุ้นในช่วงราคา ที่ถูกและมีส่วนต่างความปลอดภัย (Margin of Safety) และหลีกเลี่ยงการเข้าซื้อหุ้นในช่วงราคาที่แพง ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายจากการลงทุนได้

ท่าที่สี่ ลงทุนแบบซื้อขายบ่อยเกินไป แม้นักลงทุนแต่ละคนจะมีหลักการ หรือเงื่อนไขในการซื้อขายหุ้นแตกต่างกัน แต่สำหรับนักลงทุนเน้นคุณค่านั้นมักมีธุรกรรมซื้อขายหุ้นหากพบว่า พื้นฐานของกิจการเปลี่ยนแปลงส่งผลกระทบต่อผลประกอบการอย่างถาวร ราคาหุ้นสูงเกินปัจจัยพื้นฐาน หรือเมื่อพบกิจการที่ยอดเยี่ยมกว่าในราคาที่มีส่วนต่างความปลอดภัยสูงกว่า

ข้อ เสียของการซื้อขายบ่อยครั้งคือค่าคอมมิสชั่นซึ่งอาจทำให้ผลตอบแทนโดยรวมต่ำ ลง แม้ไม่มีข้อพิสูจน์แน่ชัดถึงความสัมพันธ์ระหว่างความถี่ในการซื้อขายกับ

ผล ตอบแทนการลงทุน แต่หากต้องติดตามภาวะตลาดอย่างใกล้ชิด ต้องสูญเสียเวลาและขาดสมาธิในแต่ละวัน และอาจมีอารมณ์แปรปรวนตามภาวะตลาดแล้ว น่าจะถือว่าเป็นการขาดทุนทางอ้อมอย่างหนึ่ง

ท่าที่ห้า ลงทุนแบบไม่กระจายความเสี่ยง นักลงทุนควรพิจารณาลงทุนหุ้น 4-8 ตัว เพื่อการบริหารความเสี่ยงและเผื่อความไม่แน่นอนทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง หรือภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้น แม้จะมั่นใจในปัจจัยพื้นฐานของกิจการและการวิเคราะห์ของตน แต่การถือหุ้นเพียง 1-2 ตัวก็เป็นการเสี่ยงเกินไป หากมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้น นักลงทุนต้องพึงระลึกไว้เสมอว่า "อะไรก็เกิดขึ้นได้ในตลาดหุ้น" นักลงทุนที่ประสบการณ์ไม่มากนัก จึงควรหลีกเลี่ยง "ท่ายาก" นี้เช่นกัน

การถือหุ้นจำนวนมากเกินไปแม้ จะช่วยกระจายความเสี่ยงแต่อาจทำให้ผลตอบแทนโดยรวมลดลง นอกจากนี้การถือหุ้น 15-20 ตัวขึ้นไป อาจทำให้ไม่มีเวลาศึกษารายละเอียด

และติดตามกิจการอย่างใกล้ชิด ซึ่งกลายเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งด้วย

ในตอนหน้า เราจะดูกันว่าอีก 5 ท่ายากที่เหลือมีอะไรบ้าง โปรดติดตามนะครับ


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : 10 ท่ายาก การลงทุน

view

*

view