สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ความเสี่ยงจากสหรัฐที่ควรจับตาในช่วงที่เหลือของปี

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ จับช่องลงทุนทิสโก้

ก่อนอื่นต้องขออนุญาตทักทายสวัสดี ท่านผู้อ่านทุกท่านครับ นี่เป็นครั้งแรกที่ผมได้มีโอกาสเขียนบทความลงในประชาชาติธุรกิจ แน่นอนครับว่าช่วงนี้สิ่งที่นักลงทุนทั่วโลกให้ความสนใจเป็นพิเศษคือ ความเคลื่อนไหวของการดำเนินนโยบายการเงินและการคลังของสหรัฐอเมริกา ซึ่งผมคิดว่ามี 3 ประเด็นที่น่าจะมีผลกระทบต่อแนวโน้มการลงทุนทั่วโลก

โดย ดร.กำพล อดิเรกสมบัติ หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ (TISCO ESU)


Government Shutdown ไม่น่ามีผลกระทบต่อเศรษฐกิจมาก โดยจากการต่อรองที่ไม่เป็นผลสำเร็จในการจัดทำงบประมาณประจำปีของสหรัฐ ระหว่างพรรค Democrat ซึ่งคุมเสียงส่วนใหญ่ในวุฒิสภา และพรรค Republican ซึ่งคุมเสียงส่วนใหญ่ในสภาล่าง ทำให้ท้ายที่สุดรัฐบาลสหรัฐต้องประกาศหยุดทำการ (Government Shutdown) ซึ่งนับตั้งแต่มีการบังคับใช้กฎหมายงบประมาณใหม่ของสหรัฐในปี 1976 ความขัดแย้งของสภาได้นำไปสู่ Government Shutdown ทั้งหมด (รวมครั้งนี้ด้วย) เป็นจำนวน 18 ครั้ง

โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 1995 สมัยประธานาธิบดีคลินตัน โดยหยุดทำการเป็นเวลา 21 วัน อย่างไรก็ตาม ในอดีตการปิดทำการมากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นการปิดทำการระยะเวลาสั้น ๆ (น้อยกว่า 3 วัน) ซึ่งเราคาดว่าในครั้งนี้ก็น่าจะเป็นการปิดทำการในช่วงสั้นเช่นกัน และจะมีผลกระทบที่จำกัดต่อภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ (ไม่แน่ครับในขณะที่ท่านอ่านบทความนี้อยู่ การหยุดทำการอาจจบไปแล้ว)

สิ่งที่น่าจะมีผลมากกว่าคือ การยกเพดานหนี้สาธารณะในช่วงปลายตุลาคม โดยความเสี่ยงทางการคลังอีกความเสี่ยงหนึ่งที่

นัก ลงทุนต้องลุ้นว่าทางสภา Congress จะจัดการยังไงคือการขึ้นเพดานหนี้สาธารณะ (Public Debt Ceiling) ซึ่งในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 16.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ โดยสหรัฐและเดนมาร์ก เป็น 2 ประเทศที่มีกฎหมายเพดานหนี้สาธารณะ โดยในสหรัฐกฎหมายนี้เริ่มบังคับใช้ในปี 1917 ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมามีการยกเพดานหนี้มาแล้วถึง 91 ครั้ง ครั้งล่าสุดก็คือเมื่อต้นปี 2013 นี้เอง นั่นหมายความว่าการยกเพดานหนี้ไม่ใช่เรื่องที่ทำไม่ได้ เพราะที่ผ่านมาทำกันบ่อยอยู่แล้ว

แต่ที่ต้องลุ้นคือจะทำทันรึเปล่า ? เพราะในช่วงวันที่ 17 ตุลาคม ทาง Congressional Budget Office (CBO : คล้าย ๆ กับสำนักงบประมาณบ้านเรา) ได้คาดการณ์ไว้ว่าจะเป็นช่วงที่เงินสดของรัฐบาลสหรัฐจะเหลือค่อนข้างน้อย และอาจจะหมดลงในช่วงตั้งแต่วันที่ 22-สิ้นเดือนตุลาคม

นั่นหมายความว่าถ้าจะยกเพดานหนี้ก็ควรจะยกก่อนวันที่ 17 ตุลาคม น่าจะทำให้ตลาดตกใจน้อยที่สุด

Fed ไม่น่าจะลดขนาด QE ในการประชุมเดือนตุลาคม อย่างเร็วน่าจะเป็นเดือนธันวาคม จากความเสี่ยงทางการคลัง

ที่ มีค่อนข้างสูง TISCO ESU เชื่อว่าโอกาสที่ธนาคารกลางสหรัฐ (The Federal Reserve : Fed) จะประกาศการลดขนาดของโครงการ Quantitative Easing (QE) ในการประชุมวันที่ 30 ตุลาคมนั้นน่าจะเป็นไปได้น้อยมาก อย่างเร็วก็น่าจะประกาศในการประชุมวันที่ 18 ธันวาคม อีกสาเหตุหนึ่งที่เราเชื่อว่า Fed น่าจะประกาศลดขนาด QE ในเดือนธันวาคม เนื่องจากในช่วงเดือนตุลาคมนั้น ตัวเลขเศรษฐกิจหลาย ๆ ตัวที่ Fed ใช้เป็นตัวชี้วัดในการทำนโยบาย อาจไม่ได้มีการประกาศตัวเลขออกมา เนื่องจากหน่วยงานที่เก็บตัวเลขเหล่านี้ก็ถูกผลกระทบจาก Government Shutdown เช่นเดียวกัน

โดยรวมเรายังคงมุมมองที่เป็นบวกต่อการฟื้น ตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ ความเสี่ยงทางการคลังดังกล่าวข้างต้นน่าจะเป็นความเสี่ยงระยะสั้น โดยรวมแล้วจากตัวเลขการจ้างงาน การผลิต และภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐ ยังส่งสัญญาณการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ท่าทีล่าสุดของ Fed ที่ตัดสินใจคงขนาดโครงการ QE ต่อก็แสดงให้เห็นถึงความพร้อมที่จะยังดำเนินนโยบาย

ผ่อนคลายทางการเงินต่อไป เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ TISCO ESU จึงยังคงมุมมองที่เป็นบวกต่อเศรษฐกิจสหรัฐ


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ความเสี่ยงจากสหรัฐ ควรจับตา ช่วงที่เหลือของปี

view