สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ตรวจการบ้าน 2 ปี กสทช. คาดหวังมากไปหรือไม่ได้ทำอะไร

จากประชาชาติธุรกิจ

7 ต.ค. 2554 คือวันเข้ารับตำแหน่งของ 11 กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ผ่านมา 2 ปีแล้ว อำนาจในมือขององค์กรกำกับดูแลที่มีอุปสรรคมากมายกว่าจะตั้งขึ้นมาได้ ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง สหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ เปิดเวทีสาธารณะ "2 ปี กสทช.กับความไว้วางใจจากสังคม"

"ปฏิวัติ วสิกชาติ" กรรมการสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย กล่าวว่า การทำงานของ กสทช.ที่ผ่านมา เป็นการทำงานโดยคิดว่ามีอำนาจมาก ทั้งที่จุดเริ่มต้นเพื่อให้ได้มาซึ่ง กสทช.ไม่ได้ต้องการให้เป็นองค์กรที่มีอำนาจเช่นนี้ แต่มาจากความต้องการปฏิรูปสื่อเพื่อให้สื่อหลุดพ้นจากการถูกรัฐกำกับดูแล

ตอน นี้จึงเกิดคำถามว่า กสทช.ที่ได้เป็นแบบที่เราต้องการหรือไม่ โดยเฉพาะภาคกิจการโทรทัศน์ ซึ่งมีปัญหากับ กสทช.มากในเรื่องการครอบงำ กำกับสื่อในการนำเสนอเนื้อหา หรือแม้แต่ในกิจการวิทยุ มีหลายกฎเกณฑ์ของ กสทช.ที่ออกมาละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้จัดรายการวิทยุ เช่น การให้ใช้ภาษากลางเป็นส่วนใหญ่ในการจัดรายการวิทยุชุมชนแทนภาษาถิ่น หากไม่ทำตามก็จะถูกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการ


"ไม่คาดหวังการทำงานของ กสทช. เนื่องจากกรรมการ 11 คนยังมีปัญหากันเอง และเป็น กสทช.ที่กลัวการทำผิดรัฐธรรมนูญ แต่ไม่กลัวการโดนถอดถอน ดังนั้นภาคประชาชนต้องปรับยุทธศาสตร์ใหม่ หันมาสนใจด้านกฎหมายเพื่อใช้ในการตรวจสอบการทำงานของ กสทช."

"วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง" คณะทำงานติดตามนโยบายสื่อและเทคโนโลยี กล่าวว่า 2 ปีที่ผ่านมา มีสิ่งที่ กสทช.ควรทำแต่ไม่ได้ทำมากมาย อาทิ การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสู่สาธารณชนที่ต้องเปิดเผยภายใน 30 วัน ไม่ว่าจะเป็นการเปิดเผยผลการลงมติการประชุมพร้อมเหตุผล รายงานการประชุม

ถ้า ดูจากข้อมูลที่เปิดเผยล่าสุดคือเดือนมิถุนายน ปี 2556 หรือรายงานวิชาการที่จ้างคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาเกี่ยวกับการประมูลคลื่น 2.1 GHz ก็ไม่มีการเปิดเผยสู่สาธารณะ เพื่อเข้าใจว่าทำไมราคาการประมูลที่ได้จึงมีราคาต่ำ

ทั้งนี้ ยังมีนโยบายหลายอย่างที่เกิดจากการตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาให้ความเห็น ซึ่งในปี 2555 จ่ายเบี้ยประชุมอนุกรรมการไปกว่า 50 ล้านบาท แต่การคัดเลือกอนุกรรมการเป็นไปตามระบบโควตา ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลว่าที่มาของอนุกรรมการแต่ละคนเป็นอย่างไร ทำให้เกิดข้อสงสัยในความเชี่ยวชาญในเรื่องนโยบายที่จัดทำขึ้น ซึ่งเรื่องเหล่านี้สังคมต้องการให้มีความชอบธรรมมากกว่านี้ ขณะที่การออกแบบนโยบายไม่เคยมีการเปิดเผยกลไกการออกแบบและส่วนใหญ่ กสทช. ยังให้ความสำคัญกับเสียงของผู้ประกอบการมากกว่าเสียงของผู้บริโภค เห็นได้จาก การที่ กสทช. มักจะเชิญผู้ประกอบการไปพบ หรือเดินสายไปพบเอง ต่างกับภาคประชาชนที่พยายามไปพบ กสทช. แต่ไม่มีใครออกมาพบรวมถึงการจัดการเรื่องร้องเรียนของผู้บริโภคที่ กสทช.ไม่สามารถจัดการได้ภายใน 30 วัน และคั่งค้างอยู่เป็นจำนวนมาก

ขณะ ที่การใช้งบประมาณของ กสทช. ปีละกว่า 3,000 ล้านบาท ถูกใช้ไปจำนวนมากกับการจัดจ้าง การไปดูงานต่างประเทศ ที่ไม่ได้มีผลงานการศึกษาหรืองานวิชาการออกมาเผยแพร่หรือปรับใช้อย่างเป็น ทางการ

"วิชาญ อุ่นอก" เลขาธิการสหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ กล่าวว่า ก่อนหน้าจะมี กสทช. เราต่างต้องการหน่วยงานกลางในการเข้ามาจัดการปัญหาที่เกิดขึ้น

แต่ ผ่านไป 2 ปีแล้ว ไม่รู้ว่าคาดหวังมากเกินไป หรือว่า กสทช.ไม่ได้ทำอะไรเลย โดย กสทช. 2 คนที่เป็นตัวแทนภาคประชาชน เท่าที่ทราบทำอะไรไม่ได้เลย เพราะ กสทช.ใช้การยกมืออิงคะแนนเสียงข้างมากเป็นหลัก

ส่วนเรื่องวิทยุชุมชน ที่เป็นสื่อทางเลือกในการนำเสนอเนื้อหาที่แตกต่างจากสื่อวิทยุหลัก เป็นการเสนอข้อมูลหลายด้านให้ภาคประชาชน แต่ควบคุมได้ยาก เพราะทุกวันนี้มีวิทยุชุมชนกว่า 10,000 สถานีทั่วประเทศ โดย กสทช.ใช้วิธีการมอบใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการกระจายเสียงในการกำกับดูแล แต่ปัญหาที่พบคือ การประกาศตัวเป็นวิทยุชุมชน แต่กลับได้เงินสนับสนุนมาจากภาคเอกชน หรือเป็นวิทยุชุมชน

ที่โดนครอบ งำทางการเมือง เมื่อ กสทช.ไม่กำกับจริงจังในการเรื่องกำลังส่งไม่ให้เกิน 500 วัตต์ และความสูงของเสาส่ง ทำให้เกิดปัญหาคลื่นกวนกัน และวิทยุชุมชนที่แท้จริงไม่สามารถสู้ทุนของภาคธุรกิจที่นำเสนอแต่โฆษณาผิด กฎหมาย หรือการนำเสนอข่าวทางการเมืองอย่างเลือกข้างได้ จนสุดท้ายอาจจะไม่เหลือวิทยุชุมชนที่แท้จริง

"2 ปี วิทยุชุมชนแทบโดนละเลย กสทช.บอกจะมีกองทุนส่งเสริมวิทยุชุมชนก็ไม่มี ถ้าไม่มีการจัดการใด ๆ เราอาจสูญเสียวิทยุชุมชนที่ทำเพื่อภาคประชาชนอย่างแท้จริง ระเบียบที่ออกมาดีแต่ไม่ได้นำมาปฏิบัติ กสทช. ทำให้ภาพลักษณ์วิทยุชุมชนเสีย ส่วนเรื่องเปลี่ยนเป็นวิทยุดิจิทัลดีตรงที่ไม่ทำให้เกิดคลื่นรบกวน เป็นการจัดระเบียบวิทยุชุมชนที่มีจำนวนมาก แต่ไม่ใช่เวลานี้ที่วิทยุชุมชนจริง ๆ อยู่ไม่ไหวแล้ว"

ขณะที่การคุ้ม ครองผู้บริโภคในภาพรวม "บุญยืน ศิริธรรม" ประธานสมาพันธ์คุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า 16 ปีที่ผ่านมาได้ร่วมผลักดันให้มี กสทช.เพื่อให้เป็นอีกองค์กรที่คุ้มครองผู้บริโภค พร้อมกับจัดสรรคลื่นความถี่ให้เป็นธรรมตามกติกา แต่ผลที่ได้ คือเมื่อปีที่แล้ว กสทช.มุ่งแต่เร่งรีบประมูล 3G หากใครค้านก็หาว่าเป็นคนถ่วงความเจริญของประเทศชาติ

และพอปีนี้ ประกาศเป็นปีทองของการคุ้มครองผู้บริโภค แต่กลับไม่สนใจ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค และไม่บังคับใช้ประกาศ กสทช. เรื่องการกำหนดราคาค่าบริการขั้นสูง ทำให้ผู้บริโภคยังต้องจ่ายค่าโทรศัพท์สูงกว่านาทีละ 99 สตางค์ และยังมีการให้ข้อมูลเกินจริง แถมบางปัญหาที่ผู้บริโภคร้องเรียนตั้งแต่ปี 2553 ทุกวันนี้ยังแก้ไม่ได้

"กสทช.ต้องทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค แท้จริง สายด่วน 1200 รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน เมื่อโทร.ไปแล้วก็ควรจัดการปัญหาให้ได้ ที่สำคัญการประกาศหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เมื่อออกมาแล้วก็ต้องบังคับใช้ให้ได้ ไม่ใช่เอาเวลาที่จะแก้ปัญหาและให้ข้อมูลผู้บริโภคไปดูงานต่างประเทศเป็นส่วน ใหญ่ และอยากฝากคำถามไปถึงภาครัฐว่า องค์กรไหนจะเป็นคนตรวจสอบ กสทช. เพราะซูเปอร์บอร์ดที่มีก็พิการ ส่วนเงินกองทุนที่จะนำมาสนับสนุนการพัฒนาตอนนี้ชะลอไป เพราะนำไปบริจาคองค์กรที่สนับสนุน กสทช.ก่อน ซึ่ง 2 ใน 5 องค์กรที่ยื่นถอดถอน 2 กสทช.เสียงข้างน้อยก็เป็นองค์กรที่ได้รับเงินบริจาค


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ตรวจการบ้าน 2 ปี กสทช. คาดหวังมากไป ไม่ได้ทำอะไร

view