สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

วอนกมธ.สอบรัฐเทงบอุ้มราคาข้าวโพดส่อทุจริต

วอนกมธ.สอบรัฐเทงบอุ้มราคาข้าวโพดส่อทุจริต

จาก โพสต์ทูเดย์

สมชาย”ฝากกมธ.สอบรัฐกรณีอนุมัติงบแทรกแซงราคาข้าวโพด ชี้เป็นช่องทางทุจริต ประโยชน์ไม่ตกถึงมือเกษตรกร

เมื่อวันที่ 7 ต.ค. การประชุมวุฒิสภา สมัยสามัญทั่วไป ที่มีนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม โดยก่อนเข้าสู่วาระการประชุม นายสมชาย แสวงการ สว.สรรหา ได้หารือต่อที่ประชุม ขอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และฝากไปยังคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ตรวจสอบเรื่องทุจริต เสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา คณะกมธ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริต สภาผู้แทนราษฎร รวมถึงสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน และคณะกรรมการป้องกัรและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้ตรวจสอบ มติครม. เมื่อวันที่1 ต.ค. อนุมัติงบแทรกแซงข้าวโพดอีก 2,390 ล้านบาท

โดยมีการชดเชยค่าขนส่งให้ผู้รวบรวม ใน 6 จังหวัด ภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย น่าน พะเยา ตาก และแม่ฮ่องสอน พร้อมขยายให้เกษตรกรที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ และไม่ได้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรอีกกว่า 245,000 ครัวเรือน รวมเป็นเงิน 4,297 ล้านบาท ซึ่งรัฐมนตรีบอกว่าจิ๊บจ๊อยเมื่อเทียบกับการช่วยทางอื่น ทั้งๆที่ผู้ปลูกข้าวโพดไม่ได้มีแค่ 6 จังหวัด แต่มีหลายจังหวัดก็ได้รับความเดือเร้อนแบบเดียวกัน แต่เหตุใดเลือกทำเฉพาะกลุ่ม

นอกจากนี้ การเลือกชดเชยผู้รวบรวมข้าวโพด ถือเป็นช่องทางในการทุจริต เพราะเงินไม่ตกถึงมือเกษตรกร


40 ส.ว.ปูดรัฐฯ อุ้มข้าวโพดเอื้อโกง ชี้ “ค้อนแดง” ทำงบฯ ล่าช้า แนะ “ประชา” ดู สปสช.

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

ส.ว.สมชาย” ฝากหน่วยเกี่ยวข้องสอบมติ ครม.อนุมัติงบแทรกแซงข้าวโพด 6 จว.ภาคเหนือ ที่ รมต.บอกจิ๊บจ๊อย ข้องใจเลือกทำเฉพาะกลุ่ม จว.อื่นก็เดือดร้อน ส่อสบช่องโกง แฉนำใส่ยุ้งฉางรอขายกว่า 4 พันล้าน จากหัวคะแนน คนละเรื่องช่วยยาง “ไพบูลย์” แนะศาลแจง คกก. วินิจฉัยงบฯ 57 ไม่ขัด รธน. ชี้ “ค้อนแดง” เตะถ่วงคำค้าน ทำงบฯ ล่าช้า “เจตน์” สะกิด นายกฯ ให้ “ประชา” คุม สปสช.แทน “เหลิม” ที่ป่วย บี้จริงจังแก้ปัญหายาเสพติด
       
       วันนี้ (7 ต.ค.) ที่รัฐสภา มีการประชุมวุฒิสภาสมัยสามัญทั่วไป โดยมีนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา เป็นประธาน โดยก่อนเข้าสู่วาระการประชุม นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา แกนนำกลุ่ม 40 ส.ว.หารือว่า ขอให้ ครม.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และฝากไปยังคณะกรรมาธิการตรวจสอบเรื่องทุจริต เสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา คณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริต สภาผู้แทนราษฎร รวมถึงสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน และ ป.ป.ช. ให้ตรวจสอบมติ ครม.เมื่อวันที่ 1 ต.ค. ที่อนุมัติงบแทรกแซงข้าวโพดอีก 2,390 ล้านบาท โดยมีการชดเชยค่าขนส่งให้ผู้รวบรวมใน 6 จังหวัดภาคเหนือ มีเชียงใหม่ เชียงราย น่าน พะเยา ตาก และแม่ฮ่องสอน โดยขยายให้เกษตรกรที่ไม่มีเอกสารสิทธิ และไม่ได้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรอีกกว่า 245,000 ครัวเรือน รวมเป็นเงิน 4,297 ล้านบาท ซึ่งรัฐมนตรีบอกว่าจิ๊บจ๊อยเมื่อเทียบกับการช่วยทางอื่น ทั้งๆ ที่ผู้ปลูกข้าวโพดไม่ได้มีแค่ 6 จังหวัด แต่มีหลายจังหวัดก็ได้รับความเดือดร้อนแบบเดียวกัน แต่เหตุใดเลือกทำเฉพาะกลุ่ม โดยเฉพาะการเลือกชดเชยผู้รวบรวมข้าวโพด ถือเป็นช่องทางในการทุจริต เพราะเงินไม่ตกถึงมือเกษตรกร เนื่องจากมีนำเข้ามาใส่ในยุ้งฉางเพื่อรอมาจำหน่ายต่อเรียบร้อยแล้ว เงิน 4 พันกว่าล้านส่งมาทางหัวคะแนนทั้งหมด เมื่อเทียบกับการช่วยเหลือเกษตรยางพาราถือว่าไม่มีมาตรฐาน บรรทัดฐานเช่นนี้ ครม.กระทำโดยไม่รับผิดชอบต่อเรื่องของการตรวจสอบการทุจริตคอรับชั่น และเกษตรกร เป็นการนำภาษีประชาชนไปใช้อย่างสุรุ่ยสุร่าย และหวังผลเพียงพื้นที่เป้าหมายบางประการ
       
       ส่วนนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา หารือว่า ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยกรณีที่พวกตนส่งเรื่องไปยังศาลว่าร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายปี 2557 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญนั้นว่าไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แต่รัฐธรรมนูญมาตรา 168 วรรคแปด มีวัตถุประสงค์ให้คณะกรรมาธิการฯให้ความเป็นธรรมให้กับหน่วยงานของศาล องค์กรอิสระ จึงควรให้หน่วยงานของศาลและองค์กรอิสระมีโอกาสแสดงเหตุผลความจำเป็นต่อคณะ กรรมการได้โดยตรงถือเป็นประโยชน์และบรรทัดฐานในการพิจารณางบประมาณรายจ่ายใน ปีต่อๆไป แต่อยากเรียนให้ทราบว่าการประกาศใช้งบประมาณปี 2557 เลยเวลาและล่าช้าไปจากวันที่ 1 ต.ค.ก็เพราะประธานรัฐสภา เนื่องจากประธานรัฐสภาได้รับเรื่องพวกตนไปเมื่อวันที่ 5 ก.ย.แต่ส่งไปยังศาลในวันที่ 18 ก.ย. ใช้เวลาถึง 13 วัน จึงล่าช้าในขั้นตอนนี้จึงขอให้มีการปรับปรุง เพราะศาลใช้เวลาพิจารณาไม่นาน ดังนั้น ความล่าช้าจึงไม่ใช่ศาล และพวกตนที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบซึ่งเป็นไปตามกระบวนการของรัฐธรรมนูญ
       
       ขณะที่ นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ ส.ว.สรรหา ขอหารือว่า ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.แรงงาน ป่วยขอให้หายไวๆ ไม่ควรจะทำงานหนัก เสนอให้นายกฯนำภาระของท่านในฐานะของผอ.ศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินไทยเอาชนะยา เสพติดแห่งชาติ (สปสช.)ให้รองนายกฯฝ่ายความมั่นคงดูแล โดยศูนย์นี้ตั้งขึ้นในปี 54 เป็นองค์กรอำนวยการระดับชาติแต่งานไปทับซ้อนกับงานของปปส. ซึ่งตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 ซึ่งเป็นคณะกรรมการที่กำหนดนโยบายและมาตรการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดมี สำนักงานเป็นฝ่ายเลขา ซึ่งมีบอร์ดใหญ่และบอร์ดเล็ก โดยหน้าที่ครอบคลุมเกี่ยวกับการแก้ปัญหายาเสพติดแบบบูรณาการ 6 กระทรวง 29 หน่วยงาน แม้จะมีอำนาจมากกว่า เพราะตั้งตาม พ.ร.บ.แต่คณะกรรมการปปส.ไม่มีเวลาประชุม จึงเป็นที่มาที่ไปของการแต่งตั้งสปสช. เมื่อก่อนร.ต.อ.เฉลิมเป็นรองนายกฯจึงมีรัฐมนตรี 5 คน ปลัด 8 กระทรวง ผบ.3 เหล่าทัพ และ ผบ.ตร.เป็นกรรมการได้ แต่เมื่อเป็นรัฐมนตรีแรงงานก็ลำบากในการสั่งการ จึงเสนอให้นายกฯต้องประชุมจริง จริงจังในคณะกรรมการปปส.หรือบอร์ดใหญ่ เพิ่มเบี้ยประชุมเพื่อจูงใจกรรมการเข้าประชุม ที่สำคัญ สปสช.ต้องมีคนดูแล เพื่อแลกเปลี่ยนและนำเสนอบอร์ดใหญ่ นอกจากนี้มียุทธศาสตร์ที่ไม่ได้เอาจริงเช่นความร่วมมือกับต่างประเทศ และการปราปปรามแหล่งผลิตและผู้ค้ารายใหญ่


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : กมธ.สอบรัฐ เทงบ อุ้มราคาข้าวโพด ส่อทุจริต

view