สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

รายงานพิเศษเจาะลึกสิงคโปร์

จาก โพสต์ทูเดย์

เปิดแฟ้มสิงคปุระ : “ความอยู่รอด เคียงคู่ การพัฒนา”


โดย ธนพล ไชยภาษี
 
9 สิงหาคม 1965 “สิงคโปร์” เกาะเล็กๆ ที่แห้งแล้ว บริเวณปลายสุดของคาบสมุทรมาลายู ได้แยกตัวออกมาจากสภาพมลายูเป็นเอกราชอย่างเต็มตัวจากความขัดแย้งทางเชื้อ ชาติที่ประชากรส่วนใหญ่มีเชื้อสายจีนแตกต่างจากสหภภาพมลายูที่คนส่วนใหญ่มี เชื้อสายมาเลย์
 
ในวันนี้ สิงคโปร์ได้รับการยกย่องในเวทีโลกในหลายๆด้านจากความมานุ อุตสาหะ ที่ได้พัฒนาประเทศทั้งทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ และการพัฒนาคน ที่ทำให้ประเทศนี้ถึงจะเล็กมีขนาดพอๆกับเกาะภูเก็ต แต่กลับมีเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง เป็นศูนย์กลางทางการเงินแห่งเอเชีย เป็นฮับการบินข้ามทวีปเชื่อมต่อภูมิภาคออสเตรเลีย และยุโรป เป็นประเทศที่มีระดับการศึกษาที่ก้าวหน้าแถวหน้าของเอเชีย และสิงคโปร์เป็นอะไรอีกหลายๆอย่างที่น่าอิจฉาอย่างที่สุด

จัดการคน จัดการบ้าน
 

จากความแห้งแล้ง สิงคโปร์เปลี่ยนสู่การเป็นนครรัฐที่เทียบชั้นประเทศพัฒนาแล้วได้อย่างน่า ทึ่ง ซึ่งดูเหมือนว่าการพัฒนาประเทศที่เป็นหนึ่งในหัวใจของสิงคโปร์ คือการจัดระเบียบคน จัดที่อยู่อาศัย ที่เติบโตไปพร้อมๆกับการพัฒนาทางอุตสาหกรรม
 
ด้วยความจำกัดของ พื้นที่ๆมีอยู่เพียงประมาณ 715 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น สิงคโปณ์เริ่มการพัฒนาที่อยู่อาศัย ด้วยการก่อตั้ง คณะกรรมการด้านการพัฒนา และที่อยู่อาศัย หรือที่เรียกกันว่า “เอชดีบี” Housing and Development Board ซึ่งได้รับการก่อตั้งขึ้นในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 1960
 
หน้าที่ หลักของเอชดีบี คือการจัดหาที่อยู่อาศัยภายใต้การอุดหนุนด้านงบประมาณจากรัฐบาล ซึ่งจนถึงทุนวันนี้  ประชาชนชาวสิงคโปร์ 83% ของทั้งหมด 3.8 ล้านคนนั้น อาศัยอยู่ในอพาร์ทเม้นท์ของเอชดีบี ตึกระฟ้าที่กระจายอยู่รอบเกาะสิงคโปร์นั้นต้องบอกว่าส่วนใหญ่คือ อพาร์ทเม้นท์ ของเอชดีบีนั่นเอง
 
ที่เขต โตปาโยห์ คณะผู้สื่อข่าวจากภูมิภาคอาเซียน ได้รับเชิญเข้าเยี่ยมชมถึงที่อยู่อาศัยของชาวสิงคโปร์ ภายใต้การดูแลของ กลุ่มตึกระฟ้าสูงเสียดฟ้าที่เห็นนั้นได้รับการจัดการอย่างเป็นระบบ เจ้าหน้าที่ของเอชดีบีให้ข้อมูลว่า ที่พักอาศัยที่จัดสรรโดยเอชดีบีนั้น มีหลากราคา หลากระดับ แต่แน่นอนว่าทุกแห่งมีราคาถูกกว่าของเอกชน ทว่าสภาพภายใน และคุณภาพชีวิตภายในอพาร์ทเม้นท์ของเอชดีบีนั้นไม่แพ้ของเอกชนแน่นอน และยังอาจจะดีกว่าในหลายๆประเทศด้วยซ้ำ
 
จากห้องตัวอย่างที่คณะผู้ สื่อข่าวได้เข้าไปชมนั้น มีเนื้อที่ราวๆ 80 ตารางเมตร ได้รับการแบ่งสรรรเป็น 3 ห้องนอน, ห้องนั่งเล่น ห้องครัว ห้องน้ำ สภาพภายในเทียบเท่าคอนโดมิเนียมหรูใจกลางกรุงเทพฯ สนนราคาที่เอชดีบีวางขายอยู่นั้นราว 3.8  แสนดอลลาร์สิงคโปร์ คิดเป็นเงินไทยก็ราวๆ 9.5 ล้านบาท !
 
กระนั้นก็ตาม ราคาของอพาร์ตเมนท์เหล่านั้นขึ้นอยู่กลับทำเล และที่ตั้ง ตลอดจนจำนวนห้อง ซึ่งประชากร 83% ของทั้งหมดเลือกที่จะอยู่อาศัยในอพาร์ทเมนท์ของเอชดีบี โดบ 80% เป็นการซื้อขาด และ 3% เช่าอาศัย 

 **ภาพล่าง แสดงสภาพภายในห้องของอพาร์ทเมนต์ที่ดำเนินการโดย เอชดีบี บนชั้นที่38**

 

 


 
สำหรับคนไม่มีเงินจะทำอย่างไร?
 

ที่ ศูนย์ช่วยเหลือประชาชนของพรรคกิจประชาชน (พีเอพี) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลของสิงคโปร์ ในเขตอังม็อคเกียว จะเปิดรับฟังปัญหาของประชาชนโดยตรงเช่นเดียวกับที่ศูนย์ร้องเรียนในเขต อื่นๆ  โดยผู้แทนเขตจะเข้ามาให้ความช่วยเหลือ ให้คำปรึกษาหาทางออกให้โดยตรง เป็นอีกหนึ่งการทำหน้าที่ของผู้แทนที่เหมะสมกับคำว่า “ผู้แทนราษฏรษ์” ที่คนในหลายประเทศต้องอิจฉา
 
ชายหนุ่มผู้หนึ่งเดินทางมาที่ศูนย์ร้อง เรียนของพรรคพีเอพี ในเขตอังม็อคเกียว และได้พบกับ นาย อินเดอร์จิต ซิงห์ ผู้แทนของเขา ชายหนุ่มเล่าว่า เจ้าตัวไม่ผ่านการอนุมัติของธนาคารของรัฐเพื่อซื้อแฟลตของเอชดีบี ผู้แทนจะช่วยได้อย่างไรบ้าง
 
“เหตุผลหลัก เพราะเขาไม่มีรายได้ที่แน่นอน มีความเสี่ยง ถ้าแบงก์ปล่อยกู้ไป ก็เสี่ยงที่จะเป็นหนี้เสียเมื่อรัฐขาดทุน ก็ต้องมาเก็บภาษีเพิ่มอีก ผมเลยบอกให้เขาเช่าอยู่ไหม รัฐบาลช่วยอยู่แล้ว จ่ายเพียง 1 ดอลลาร์ สภาพห้องก็ดีมาก ไม่ใช่สลัมแน่ๆ!” อินเดอร์จิตอธิบายอย่างชัดๆ
 
สรุปแล้ว ไม่มีเงิน ก็เช่าอยู่ได้ ไม่เป็นปัญหา และไม่ใช่สลัมแน่นอน

**ภาพด้านล่างแสดงอาคารสูงที่อยู่อาศัยของชาวสิงคโปร์ 83%ของประชากรอาศัยอยู่ในอพาร์ทเมนต์ของเอชดีบี**   

 

 

 

 

 

ประชากรเสี่ยงสูญพันธ์ ? และ ‘เบบี้ โบนัส’
 

เนื้อหา ใน เวปไซต์ www.babybonus.gov.sg  อาจจะดูแปลกประหลาด สำหรับคนในประเทศอื่นๆ แต่สำหรับสิงคโปร์แล้ว สิ่งนี้คือข้อเท็จจริง ที่รัฐบาลพยายามอย่างยิ่งยวดที่จะกระตุ้นและจูงใจให้ประชากรมีลูกกันมากขึ้น ด้วยการห้ของขวัญกับประชาชนคนใดที่มีทายาท เช่นตัวอย่าง สำหับลูกคนแรก และคนที่สอง จะได้เงินขวัญถุง 6,000 ดอลลาร์ คนที่สอง จะได้ 8,000 ดอลลาร์ สำหรับคนที่สาม และสี่  เป็นต้น หลังจากที่สิงคโปร์ประสบกับปัญหาอมตะนิรันด์กาลที่ อัตราการเกิดใหม่ของทารกต่ำ และเสี่ยงที่จะเป็นภัยคุกคามต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจในอนาคต
 
ทั้งนี้ จากการพัฒนาทางเศรษฐกิจแบบก้าวหน้า ที่ฉุดให้ค่าครองชีพพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ท่ามกลางบรรยากาศอันเคร่งเครียดของความเป็นสังคมเมืองเต็มรูปแบบบของ สิงคโปร์ สิ่งเหล่านี้ ได้ทำให้สิงคโปร์มีอัตราการเกิดใหม่ของทารกที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราการเกิดใหม่ของทารกในสิงคโปร์อยู่ที่ 1.2 ต่อแม่หนึ่งคนเท่านั้น ต่ำกว่าระดับมาตรฐาน 2.1 ต่อคุณแม่หนึ่งคนที่ประเทศจะสามารถรักษาระดับประชากรไว้ได้
 
นายก รัฐมนตรี ลีเซียนลูง แห่งสิงคโปร์ ให้ความเห็นต่อปัญหาดังกล่าวต่อคณะผู้สื่อข่าวอาเซียน เมื่อเดือนที่แล้วว่า ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่ทุกประเทศพัฒนาแล้วต้องประสบ เป็นเรื่องยากมากๆที่จะแก้ ไม่มีประเทศใด (พัฒนาแล้ว) ในเอเชียที่จะแก้ปัญหานี้ได้ชงัด
 
“เราพยายามอย่างดีที่สุดแล้วที่จะ ทำให้อัตราการเกิดใหม่ที่ลดลงนั้นชะลอตัวให้มากที่สุด และถ้าหากเป็นไปได้ เราก็อยากจะให้อัตราการเกิดใหม่กลับมาเป็นเพิ่มให้ได้ และเราก็กำลังทำงานอย่างต่อเนื่อง” ผู้นำสิงคโปร์ยอมรับ
 
ลีเซียน ลูง อธิบายถึงการแก้ปัญหาดังกล่าวว่า ในด้านหนึ่งสิงคโปร์จำเป็นต้องเปิดประตูรับชาวต่างชาติเข้ามาช่วยพัฒนา ประเทศ และกลายเป็นประชากรสิงคโปร์ในที่สุด โดยในด้านหนึ่งชาวต่างชาติเหล่านี้จะกลายมาเป็นชาวสิงคโปร์ในทันที ได้สัญชาติ และเป็นพลเมือง ส่วนในอีกด้านหนึ่ง จะเป็นชาวต่างชาติทั้งที่เป็นแรงงาน หรือ ระดับมืออาชีพ ที่เข้ามาทำงานในสิงคโปร์ แล้วก็กลับไป
 
กระนั้นก็ตาม ชาวต่างชาติในส่วนหลังนี้ ผู้นำสิงคโปร์อธิบายว่า ถ้าหากปล่อยให้มีจำนวนมากเกินไปก็อาจจะสร้างปัญหากลายเป็นชนวนสังคมได้
 
เมื่อ เดือนกันยายนที่ผ่านมา กระทรวงทรัพยากรมนุษย์แห่งสิงคโปร์  ได้ออกมาตรการใหม่เพื่อแก้ปัญหาแรงงานต่างชาติแย่งงานคนท้องถิ่น ด้วยการกำหนดมาตรการให้บริษัทต่างๆที่ดำเนินการในสิงคโปร์เมื่อเปิดรับ ตำแหน่งงานจำเป็นต้องประกาศรับชาวสิงคโปร์ก่อน หากบริษัทไหนขัดขืนอาจจะเจอขับออกจากการทำธุรกิจในสิงคโปร์
 
ในราย ละเอียดระบุว่า บริษัท จะต้องให้ความสำคัญกับการรับสมัครงานให้ชาวสิงคโปร์เป็นอันดับแรก โดยหลังจากนั้นสองสัปดาห์ ถึงจะสามารถประกาศรับคนงานต่างชาติได้  โดยการประกาศจะต้องประกาศผ่านคลังตำแหน่งงานว่างที่ได้รับการดูแลจากสำนัก งานการจ้างงานของรัฐอีกด้วย

 

Singapore Identity : เอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร
 

“เรา ยังคงดำเนินการอยู่ ไม่ใช่เรื่องงานเลยที่จะอธิบายถึงเรื่องนี้ได้ แต่ก็สามารเห็นได้จากค่านิยมที่เรานึมันอยู่ เช่น ความสำเร็จสมบูรณ์ในตัวเองของสิงคโปร์ เรากำลังพูดถึงคำมั่นที่ชาวสิงคโปร์ทุกคนรู้ดีนั่นก็คือ ไม่ว่าคุณจะมีเชื้อชาติอะไร ภาษาอะไร หรือ นับถือศาสนาอะไร สิ่งเหล่านี้บอกได้ด้วยตัวเอง” ลอว์เรนซ์ หว่อง รักษาการณ์รัฐมนตรีกระทรวง วัฒนธรรม ชุนชน และเยาวชนตอบคำถามผู้สื่อข่าวเมื่อถูกยิงคำถามว่า “เอกลักษณ์เฉพาะของสิงคโปร์คืออะไร
 
จากความหลากหลายของเชื้อชาติ ที่มีทั้งชาวจีน มาเลย์ อินเดีย และอื่นๆ ทำให้การสร้างบุคคลิคลักษณะเฉพาะของสิงคโปณ์นั่นเป็นเรื่องไม่ง่ายนัก  และแม้ว่าประชากรส่วนใหญ่ถึง 74.2% จะมีเชื้อสายจีน แต่การสร้างเอกลักษณ์เฉพาะของชาติด้วยวัฒนธรรมจีนหรือภาษาจีนนั้น ก็เสี่ยงที่จะทำให้เกิดความแตกแยกทางเชื้อชาติสูง
 
ดังนั้น แม้ว่าประชากรจะยังรักษาวัฒนธรรม และภาษของเชื้อชาติเดิมของตัวเองได้ แต่ภาษาราชการหลักที่คนทั้งประเทศใช้ก็คือภาษาอังกฤษ วัตถุประสงค์ของการใช้ภาษาอังกฤษไม่เพียงแต่เป็นภาษากลางของโลกเท่านั้น แต่ยังเพื่อการสร้างเอกลักษณ์ของสังคมไม่ให้เกิดความแตกแยกทางเชื้อชาติ อย่างน่าชมทีเดียว
 
“สิ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นสิงคโปร์นั้นก็มีเช่น อาหาร ลักษณะพฤตกรมของเรา ระเบียบสังคมแบบเรา แม้กระทั่งวิธีการพูของเรา ผมคิดว่าเรามาไกลพอสมควร ผมคิดว่าเรากำลังปฏิวัติต่อเนื่อง และต่อเนื่อง ผมคิดว่าในอดีต อาจจะเป็นเรื่องยากที่จะระบุถึงเอกลักษณ์เฉพาะของชาวสิงคโปร์ แต่ในวันนี้ เป็นเรื่องง่ายมากถ้าจะระบุได้ว่าคนในคือคนสิงคโปร์ แม้ในยามที่พบพวกเขาในต่างประเทศ”
 
“ผมคิดว่าเราเป็นประเทศเล็ก และ ความรู้สึกถึงของคำว่าเอกลักษณ์เฉพาะของความเป็นสิงคโปร์นั้นกำลังพัฒนาขึ้น เรื่อยๆ” ลอว์เรนซ์หว่องอธิบาย
เน้นค้าขาย ไม่ทะเลาะ

เป็นข้อเท็จจริงที่ว่า สิงคโปร์ เป็นประเทศค้าขาย มุ่งการสร้างเศรษฐกิจ ถึงเป็นประเทศเล็ก แต่มีอำนาจอำนาจทางการเงินและเศรษฐกิจสูงที่สุดแห่งหนึ่งของเอเชีย

แต่กระนั้น การมุ่งทำธุรกิจของสิงคโปร์ ในบางครั้งก็กลับสร้างผลกระทบในด้านลบให้กับสิงคโปร์เอง
ใน ปี 2007 อินโดนีเซีย ตรวจสอบ เทมาเส็ค โฮลดิงส์ กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติรายใหญ่ของรัฐบาลสิงคโปร์ จากการผูกขาดตลาดโทรคมนาคมในอินโดนีเซีย

ย้อนกลับไปก่อนหน้านั้นเพียงปีเดียว เกิดการประท้วงหน้าสถานทูตสิงคโปร์ครั้งใหญ่ในกรุงเทพฯ เพื่อต่อต้านการเข้าซื้อหุ้นของบริษัทชินคอร์ป ของเทมาเส็ค โฮลดิงส์ กองทุนยักศ์ใหญ่ของสิงคโปร์ถูกดึงเข้าเป็นส่วนหนึ่งของวิกฤตการเมืองใน ประเทศไทย ที่ยังคงคุกรุ่นมาจนถึงทุกวันนี้
สิงคโปร์เห็นปัญหานี้อย่างไร ?

“มีความรู้สึกต่อต้านสิงคโปร์ในหมู่คนไทยจริงๆหรือ? เกรซ ฝู รัฐมนตรีที่สองประจำกระทรวงต่างประเทศสิงคโปร์ถามย้ำหลังจากผู้สื่อข่าวยิง คำถามว่า สิงคโปร์จัดการปัญหาดังกล่าวอย่างไร หลังจากกรณีเทมาเส็ตเมื่อหลายปีก่อน

“คิดว่าการลงทุนในครั้งนั้น (การเข้าซื้อหุ้นชินคอร์ป) ดูเหมือนว่าจะโชคไม่ดีนัก ในแง่ที่ถูกโยงเข้าสู่เรื่องการเมือง และการรับรู้ถึงการเข้าซื้อในสายตาของคนท้องถิ่น แน่นอน ดังที่ดิฉันได้กล่าวไว้แต่ต้นว่า เราอยากจะเห็นการลงทุนระหว่างกันเพิ่มมมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นชาวต่างชาติลงทุน ในสิงคโปร์ หรือสิงคโปร์ลงทุนในต่างประเทศ  และทุกครั้งเมื่อเราเดินทางไปยังประเทศในอาเซียน หรือนอกอาเซียน เราก็มักจะเรียกร้อง อยู่เสมอถึงการลงทุน เพราะว่าเราสิงคโปร์มีความเชี่ยวชาญในด้านการลงทุนโครงสร้างสาธารณนูปโภค เช่นเรื่องน้ำ สนามบิน ท่าเรือ และอื่นๆ” เกรซ ฝู กล่าว

ทั้งนี้ สิงคโปร์ยังเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในภูมิภาคอาเซียน ที่ร่วมมือในข้อตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) กับสหรัฐ ในขณะที่อิทธิพลทางด้านการค้าจากจีน กำลังแผ่ขยายลงสู่ภูมิภาคอาเซียนมากยิ่งขึ้น สิงคโปร์สร้างสมดุลอำนาจอย่างไร?

“เราทำเอฟทีเอกับสหรัฐ และทำเอฟทีเอกับหลายประเทศเช่นกัน ดังนั้น เราจึงไม่เห็นความขัดแย้งใดๆ เราสามารถทำธุกนิจกับประเทศใดก็ได้ที่สนใจในการทำธุรกิจร่วมกับเรา ในความเป็นจริง สำหรับเราแล้ว หากเราเปิดประตูสำหรับการสร้างบรรยากาศแห่งการถ่ายเทเคลื่อนไหวสินค้า เงินทุน หรือ ความสามารถระหว่างเรา ดิฉันคิดว่าก็จะเป็นเรื่องที่ดีสำหรับเราเช่นกัน แม้ว่าในบางกรณี เอฟทีเอจะทำให้เกิดการแข่งขันกันในระยะสั้นบ้างก็ตาม แต่สำหรับเราสิงคโปณ์แล้ว เรามองในภาครวมที่เราอยากจะอยู่ในโลกที่ฝักใฝ่การลงทุน และฝักใฝ่การค้า” ฝูกล่าว

**ภาพด่านล่าง นักท่องเที่ยวกำลังเพลิดเพลินอยู่ภายในโดมพฤกษศาสตร์ ที่การ์เด้นบายเดอะเบย์** 

 

 

 

 

 

 

 

 

คาสิโน – มารินาย์เบย์ แซนด์ – การ์เดน บาย เดอะ เบย์  : การท่องเที่ยวเพื่อความอยู่รอด
 

สิงคโปร์ เป็นประเทศเล็ก ท่ามกลางประเทศใหญ่ สิงคโปร์ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติมหาศาล แต่การท่องเที่ยวสิงคโปร์อยู่ในลำดับแนวหน้าของภูมิภาคอาเซียน และเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวต่างประเทศที่ประชาชนอาเซียในหลายๆประเทศ เลือกที่จะเดินทางไปเที่ยวเป็นอันดับแรกๆ
 
ตามรายงานของเวิลด์ อิโคโนมิค ฟอรัม 2013 สิงคโปร์ได้รับการจัดอันดับเป็นประเทศที่มีศักยภาพด้านการแข่งขันของ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไว้เป็นอันดับ 1 ของภูมิภาคอาเซียน และอยู่ในอันดับ 10 ของโลก ตามมาด้วยมาเลเซีย ที่ 34 ของโลก และ ประเทศไทย ที่ 43 ของโลก
 
สิงคโปร์ นอกเหนือจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างไม่หยุดยั้ง การพัฒนาทางด้านท่องเที่ยว ก็เป็นอีกหนึ่งกุญแจสำหรับของการอยู่รอดของประเทศเล็กๆแห่งนี้
 
ไม่ ว่าจะเป็น การจัดแข่งขันรถยนต์สูตร 1 ที่เรียกนักท่องเที่ยวมาเยือนได้นับแสนคนในแต่ละปี หรือจะเป็นโรงแรมเรือสูงเสียดฟ้า แห่งมารินาเบย์ แซนด์ และสวนพฤกศาสตร์ริมอ่าว ‘Garden by the Bay’  ไปจนถึงยูนิเวอร์แซล สตูดิโอ  และอควาเรียมขนาดยักษ์ที่เกาะเซ็นโตซา และคาสิโนแห่งใหม่ที่เปิดตัวมาได้ไม่กี่ปีนี้เอง
 
ด้วยแหล่งท่อง เที่ยวใหม่ๆ ที่ล้วนเนรมิตขึ้นในช่วงเวลาไม่ถึง 10 ปีนี้ สิงคโปร์ตั้งเป้าไว้ว่า ภายในปี 2015 นี้ ปริมาณนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเยือนสิงคโปร์จะเพิ่มขึ้นเป็นถึง 17 ล้านคน และมีมูลค่าการใช้จ่ายถึง 3 หมื่นล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หลังจากที่ปริมาณนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นในปี 2010 ถึง 20%  และในปี 2011 ที่ 13% 
 
เป็นอีกหนึ่งกุญแจสำคัญของความอยู่รอด ที่หลายประเทศอาเซียนได้แต่มองตาปริบๆ แม้ว่าจะมีทรัพยากรมนุษย์ และธรรมชาติมากมายมหาศาลกว่าเกาะเล็กๆแห่งนี้ลายร้อยเท่าตัวด้วยซ้ำ ....


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : รายงานพิเศษ เจาะลึกสิงคโปร์

view