สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ความคืบหน้าของไทย ในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ พร้อมรับAECหรือยัง? โดย สกุณา ประยูรศุข

ระยะเวลาของการประกาศรวมตัวกันเป็น "ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน" ของประเทศกลุ่มสมาชิกอาเซียน เพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า เหลือเวลาอยู่แค่สองปี ซึ่งต้องนับว่าไม่ได้มากมายอะไรนัก หากเปรียบเทียบกับการดำเนินการที่รัฐบาลกำลังดำเนินอยู่

ไม่ว่าในส่วนของหน่วยงาน กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ รวมถึงการสร้างความรู้สึกให้เกิดขึ้นกับประชาชนคนไทยส่วนใหญ่กล่าวได้ว่า ความรู้สึกที่จะเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียนไม่ถึง 50% ดี ซึ่งเป็นการคาดคะเนที่ใกล้เคียงกับผลการศึกษาของหน่วยงานภาครัฐเอง อาทิ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ได้ทำแบบสำรวจความคิดเห็นของประชาชนคนไทยออกมา ระบุว่าปัจจุบัน ประชาชนโดยทั่วไปของประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งรวมถึงคนไทยด้วย ยังไม่ได้มีความรู้สึกถึงความเป็น "พลเมืองอาเซียน" จากรายงานผลการสำรวจข้อคิดเห็นทัศนคติเกี่ยวกับการรับรู้เรื่องอาเซียน พบว่าประชาชนส่วนใหญ่มีความรู้สึกว่าตัวเองเป็น "พลเมืองอาเซียน" ไม่ถึงร้อยละ 65 ฉะนั้น สองปีที่เหลืออยู่ จึงเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องเหยียบคันเร่งเต็มที่อีกเรื่อง

เพราะ อย่าลืมว่า ประเทศไทยเองเป็นหนึ่งในสมาชิกก่อตั้งอาเซียน รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อมของประเทศ เพื่อร่วมผลักดันให้เกิดการสร้างประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 ที่เน้นการปฏิบัติและเชื่อมโยงยิ่งขึ้น เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนในภูมิภาค ตามที่ปรากฏใน ปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยแผนงานสำหรับประชาคมอาเซียน พ.ศ. 2552-2558 ซึ่งประเทศไทยมีข้อผูกพันร่วมกับสมาชิกอาเซียน ที่จะส่งเสริมให้ประชาชนอาเซียนมีส่วนร่วมและได้รับประโยชน์จากการรวมตัวของ อาเซียน และกระบวนการเป็นประชาคมอาเซียน

นอกจากนี้ ในวาระที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนเมื่อปี 2522 รัฐบาลไทย
ได้ ผลักดันให้เกิดการบรรลุเป้าหมายกฎบัตรอาเซียน (Realizing the ASEAN Charter) การเสริมสร้างประชาคมอาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Revitalizing a People-Centred ASEAN Community) และการเน้นย้ำความมั่นคงของประชาชนในภูมิภาค (Reinforcing Human Security For All) เป็นต้น

อย่างไรก็ดี สิ่งที่เกิดขึ้นและดำเนินการอยู่เวลานี้ แม้จะมีแผนการดำเนินงานออกมาเป็นระยะ ๆ พร้อมกับการเสนอข่าวสารผ่านสื่อต่าง ๆ แต่ก็ยังไม่เป็นรูปธรรมชัดเจนและจริงจัง และมีประสิทธิภาพ ไม่นับรวมเรื่องที่ทางฝั่งเอกชนดำเนินการในหน่วยงานของตัวเอง เช่น การปรับเปลี่ยนเสริมสร้างบุคลากรในหน่วยงานให้สอดรับกับการเป็น AEC
ดังนั้น หากนับเวลาสองปีที่เหลือแล้ว น่าหนักใจ !!

สิ่ง ที่เห็นเป็นความคืบหน้าของไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ล่าสุด เห็นจะเป็นเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2556 ที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ถือโอกาสใช้เวลาการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเปิดประชุมนัดพิเศษแถลงนโยบายรัฐบาล 1 ปี ต่อรัฐสภา เพื่อรายงานผลดำเนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐครบรอบ 1 ปี (23 สิงหาคม 2554-23 สิงหาคม 2555) ของการบริหารราชการรัฐบาลยิ่งลักษณ์

นายกฯ ยิ่งลักษณ์กล่าวแถลงหัวข้อเกี่ยวกับ AEC ว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำประเทศไทยไปสู่การเป็น ประชาคมอาเซียนที่สมบรูณ์ในปี 2558 โดยสร้างความพร้อมและความเข้มแข็งทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และการเมืองและความมั่นคง ให้ความสำคัญของสามเสาหลักเท่าเทียมกัน เพื่อประกอบกันเป็นประชาคมอาเซียนที่ครบถ้วนสมบูรณ์ โดยมี คณะกรรมการอาเซียนแห่งชาติ เป็นกลไกระดับประเทศ ในการประสานการดำเนินงาน และติดตามความคืบหน้าในภาพรวมทุกเสา และได้มีการจัดทำแผนงานแห่งชาติสำหรับการก้าวไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ด้วย

น.ส.ยิ่งลักษณ์ขยายความเพิ่มเติมถึงแผนที่ดำเนินการไปแล้วว่ามี อะไรบ้าง ซึ่งได้แก่ 1.การเตรียมความพร้อมของภาครัฐ โดยกระทรวงการต่างประเทศได้เสนอให้มีการจัดตั้งกลุ่มงานที่รับผิดชอบประเด็น ที่เกี่ยวข้องโดยตรง (ASEAN Unit) ในแต่ละหน่วยงาน การพัฒนาศักยภาพข้าราชการ ทั้งด้านการทำงานในเวทีระหว่างประเทศ และทักษะภาษาอังกฤษและภาษาเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ กำลังเร่งรัดการดำเนินการแก้ไขและปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับพันธกรณีของ ไทยภายใต้กรอบอาเซียน

2.การเตรียมความพร้อมของภาคประชาชน โดยการสร้างความตระหนักรู้ และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียน ผ่านกิจกรรมอาเซียนสัญจร กิจกรรมวันอาเซียน โครงการสัมมนาครูต้นแบบสู่ประชาคมอาเซียน ค่ายยุวทูตอาเซียน การจัดทำสื่อเผยแพร่ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ เว็บไซต์ รายการโทรทัศน์ ฯลฯ รวมทั้งการจัดสัมมนาและการส่งวิทยากรบรรยาย ซึ่งที่ผ่านมาได้ดำเนินการแล้วปีละกว่า 200 ครั้ง

3.การเตรียมความ พร้อมของภาคเอกชน มีผู้แทนภาคเอกชนในคณะกรรมการอาเซียนแห่งชาติ ได้แก่ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย โดยกระทรวงการต่างประเทศได้ประสานงานอย่างใกล้ชิด เพื่อพัฒนาศักยภาพของภาคเอกชนให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน และสามารถใช้โอกาสจากการเปิดตลาดเสรีอาเซียนได้อย่างเต็มที่ รวมทั้งความสำคัญกับการจัดทำยุทธศาสตร์ เพื่อลดทอนผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อภาคธุรกิจไทย โดยเฉพาะกับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมนับเป็นความคืบหน้าที่ยังมีผล สำรวจความรู้สึกต่อการเป็นประชาคมอาเซียนของคนไทยไม่ถึงร้อยละ 65


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ความคืบหน้า ไทย ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

view