จากประชาชาติธุรกิจ
เริ่มจากเรื่อง "ปวดฟัน" ลามไปสู่หัวข้อการสนทนาเรื่องสวัสดิการประกันสุขภาพจากสำนักงานประกันสังคม มอบให้มนุษย์เงินเดือน เพื่อคำนวณสิทธิประโยชน์อันพึงได้จากเงินที่สำนักงานประกันสังคมหักไปทุก เดือนสรุปได้ความว่า 1 ปี สามารถเบิกค่าทำฟันได้ไม่เกิน 600 บาท จากเดิมเบิกได้ไม่เกิน 500 บาทต่อปี
ย้ำว่าไม่เกิน ส่วนที่เกินก็จ่ายกันเองแต่ก็ยังดีที่เพิ่มให้ตั้ง 100 บาท ลองคิดคำนวณดูแล้ว ยังไงก็ไม่น่าจะพอรักษาฟันอยู่ดีเอาง่าย ๆ แค่ขูดหินปูนตามคลินิกก็ไม่พอจ่ายแล้วขูดหินปูนครั้งเดียวก็ราคา 600-900 บาท
ยังไม่นับโรคที่เพื่อนร่วมงานตั้งสมมุติฐานว่า อาจจะต้องรักษารากฟัน เพราะเคสนี้อาจจะต้องใช้เงินหลักพันหลักหมื่นบาท ตามกติกาที่ประกันสังคมกำหนด ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน รับบริการทันตกรรมที่สถานพยาบาล หรือคลินิก ให้นำใบเสร็จมาเบิกได้ไม่เกินครั้งละ 300 บาท และไม่เกิน 600 บาท/ปี
อีกกรณีคือ รอให้ฟันหมดปากก่อน จึงจะเบิกค่าฟันเทียมได้ ถ้าใส่ฟันเทียมฐานอะคริลิก ชนิดถอดได้บางส่วน ตั้งแต่ 1-5 ซี่ เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,300 บาท มากกว่า 5 ซี่ เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ในวงเงินไม่เกิน 1,500 บาท
ส่วนฟันเทียมฐาน อะคริลิก ชนิดถอดได้ทั้งปากบนหรือล่าง ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์และค่าฟันเทียมเท่าที่จ่าย จริงไม่เกิน 2,400 บาท และสูงสุดไม่เกิน 4,400 บาท ในระยะเวลา 5 ปี ราคานี้ไม่รู้จะซื้อฟันปลอมริมถนนท่าพระจันทร์ได้ไหม วงเงินที่ทางประกันสังคมมอบให้ ช่างไม่สมดุลกับค่าใช้จ่ายจริง ๆ เอาซะเลย
ดังนั้นความหวังที่จะพึ่งประกันสังคมจึงต้องพับไป
หากจะให้ความยุติธรรมกับยอดเงินที่ประกันสังคมกำหนดมาให้ คิดคำนวณจากค่ารักษาพยาบาลในสังกัดรัฐ อาจจะดูเป็นความจริงขึ้นมาได้บ้าง
แต่ การไปรักษาฟันที่สถานพยาบาลรัฐในเคสที่ทำมากกว่า "ถอนฟัน" อาจจะต้องรอนานหน่อย เพราะมีคิวที่รอรับรักษายาวเหยียด แถมอาการ "ปวด" แบบปัจจุบันทันด่วนเดี๋ยวนั้น ยังเป็นข้อห้ามในการรักษาต้องกลับมานอนซมกินยาระงับปวดให้เหงือกเยียวยาตัว เองไปก่อน
ส่วนเคสไหนที่ไปถอนฟัน รับรองว่าได้รับบริการอย่างประทับใจยากจะลืมได้ลงโดยเฉพาะ "ฟันกราม"จากที่ได้สัมผัสการรักษาฟันจากทั้งภาครัฐและเอกชน ในเคสเดียวกัน คือ "ฟันคุด" บอกได้คำเดียวว่า แตกต่างกันหน้ามือเป็นหลังมือเลยทีเดียว ส่วนข้อดีและข้อเสีย ลองพิจารณากันเอาเอง
เริ่มจากการผ่าตัดฟันคุด ในคลินิกแห่งหนึ่ง ไม่นับบริการที่ดีกว่ารัฐอยู่แล้วคลินิกเลือกใช้วิธีการผ่าตัดเอาฟันคุดออก มา ซึ่งขั้นตอนก็ยุ่งยากทีเดียว ต้องเอกซเรย์ก่อน จากนั้นก็ลงมือผ่าตัดแบบเบามือ ขั้นตอนสุดท้ายคือต้องกลับไปตัดไหมที่เย็บให้เหงือกติดกัน ตอนนี้อาจจะไม่ต้องเพราะมีไหมละลาย
ขณะที่ผ่าตัดนั้นแทบไม่รู้สึกอะไรเลย เพราะฤทธิ์ของยาชา แต่หลังจากยาหมดฤทธิ์แทบไม่ต้องเอ่ย...เจ็บเจียนตาย
โชค ดีที่ได้ยาระงับปวด ช่วยบรรเทา แต่ก็เจ็บอยู่หลายวันกว่าจะหายหมดไป 2,500 บาท เช่นเดียวกับสถานพยาบาลของรัฐ ก็มียาระงับปวดให้กลับไปรับประทานที่บ้านเหมือนกันผลสำเร็จเหมือนกัน แต่ต่างกันที่วิธีการรักษา ในอนามัยแห่งหนึ่งย่านชานเมืองซี่ละร้อยเดียว
เมื่อ คนไข้มาถึงทั้งแพทย์พยาบาลไม่พิรี้พิไร พยาบาลจับฉีดยาชาอย่างรวดเร็ว ยังไม่ทันจะชา แพทย์ก็ตามมาติดๆ เช็ก ว่า "ชาหรือยัง" ไม่ถามเปล่า มือตบตามมาติด ๆ
"ยังค่ะ"
"ชารึยัง"
"ยังค่ะ"
ปล่อยให้คุณหมอเช็กด้วยฝ่ามือ 3 ที สุดท้ายต้องยอม "ชาแล้ว" ไม่รู้เพราะฤทธิ์ยาหรือถูกตบจนหน้าชา (ฮา)
จากนั้นหมอก็หันไปหยิบผ้ามาคลุมหน้า เหลือไว้แค่ช่องปาก/จมูก มีช่องให้มองเห็นความเคลื่อนไหวได้บ้าง
ระหว่างนั้นก็หาทางคุยกับหมอ เพื่อยืดเวลายาออกฤทธิ์ แต่หมอก็ถามคำตอบคำ แล้วหันไปหยิบอุปกรณ์ซึ่งถึงตอนนี้ก็ไม่รู้เรียกว่าอะไร รู้เพียงแต่ว่า หมอใช้อุปกรณ์บางอย่างที่เหมือนค้อนทุบลงไปที่ก้านเหล็กซึ่งจิ้มอยู่บนฟัน ทุบเพื่อให้ฟันแตกออกจากกัน
ทุบอยู่หลายที ลักษณะเหมือนกับตอกเสาเข็ม จนสะเทือนไปทั้งหน้า ก่อนทำการรื้อถอนดึงรากฟันที่แตกออก
...รู้สึกหลอนและขยาดการทำฟันนับแต่นั้นเป็นต้นมา
แม้ วิธีการจะดูรุนแรง แต่ระยะเวลาปวดกลับน้อยกว่าการผ่าตัดอย่างเบามือ แต่สิ่งที่ได้มาคือ หลุมขนาดใหญ่ เพราะกว่าเหงือกจะประสานกันได้ ต้องคอยแงะเศษอาหารที่ตกลงไปในร่องอยู่นานทีเดียว
แทบไม่ต้องโหวตว่าจะเลือกรักษาที่ไหน
นี่ แค่เรื่องฟัน ยังไม่รวมเรื่องประกันสุขภาพอื่น ๆ ที่ทางประกันสังคมจ่ายแบบจำกัดจำเขี่ยอย่างเคสที่รักษามะเร็งในโรงพยาบาลรัฐ ค่าผ่าตัดไป 1.5 แสนบาท ได้คืน 6 พันบาท นี่มันอะไรกัน คำนวณผิดหรืออย่างไร รอวันที่สวัสดิการเรื่องสุขภาพของไทยจะพัฒนาไปไกลกว่านี้ ถึงไม่เพิ่มเงิน แต่เพิ่มการบริการก็ยังดี
สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน