http://www.108acc.com
  
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

วิสัยทัศน์/พันธกิจ

บริการของเรา

LINK 4 A/C

DOWNLOAD

ติดต่อเรา

.......... บทความ 108 ..........

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (๔)

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (2)

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (๓)

ราชกิจจาฯ ประกาศมาตรการคง VAT 7% ออกไปอีก 1 ปี ถึงวันที่ 30 ก.ย.61 ..... คั่นเวลา

บัญญัติ 10 ประการที่ต้อง คำนึงในการวางระบบบัญชี และการควบคุม ภายใน (1)

อะไรคือข้อมูลทางบัญชี ?

องค์กรในมุมมองของนักบัญชี

วิธีการเลือกสำนักงานบัญชี

เจ้าของกิจการควรไปพบ สรรพากรเองหรือไม่

บัญญติ 10 ประการที่ต้อง คำนึงในการวางระบบบัญชี และการควบคุมภายใน (2)

สำนักงานบัญชีในฝัน (2)

สำนักงานบัญชีในฝัน (3)

สำนักงานบัญชีในฝัน (4)

สำนักงานบัญชีในฝัน (5)

สำนักงานบัญชีในฝัน (6)

การสุ่มตัวอย่างทางสถิติในการสอบบัญชี

ค่าทำบัญชีปีละ 2-3 หมื่นบาท คุณไปอยู่ที่ไหนมา

พรก.ยกเว้นการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากร 2558 ยื่นดีไหม

ธุรกิจปั่นป่วน เจอปัญหาขาดแคลนผู้สอบบัญชี จริงหรือ(1)

คุณสมบัตินักบัญชีที่ดี

จรรยาบรรณ ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

ธรรมบรรยาย ชุด จริยธรรมกับบัณฑิต - พุทธทาสภิกขุ

คลิปนี้ ชอบมาก

KPI เท่าไหร่ถึงพอ (1)

KPI เท่าไหร่ถึงพอ (2)

สถิติการจ่ายภาษีรายจังหวัด

สถิติการจ่ายภาษีตามภาค

สำนักงานบัญชีในฝัน (1)

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน?
สมัครสมาชิก
Gold charts on InfoMine.com

ปัญหา อีไอเอ อสังหาฯ ตรรก อยู่ที่ความถูกต้อง

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ระยะนี้ได้ยินเสียงร้องเรียนจาก ผู้คนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องคอนโดมิเนียม เข้ามาหลากหลายแง่มุม

นอกจากเรื่องมาตรฐานการก่อสร้าง ที่กลายเป็นประเด็น "ทอล์ค ออฟ เดอะ ทาวน์" อยู่หลายสัปดาห์ มาล่าสุดประเด็นร้องเรียนเปลี่ยนฟากมาเป็นฝั่งผู้ประกอบการบ้าง ส่วนใหญ่ไม่ใช่ปัญหาการทำตลาดหรือการขาย แต่เป็นปัญหาในทางปฏิบัติของขั้นตอนกฎหมาย

โดยเฉพาะ ปัญหาเรื่องการยื่นขออนุญาต รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ที่วันนี้กลายเป็นประเด็นใหญ่ ที่เป็นอุปสรรคต่อการเดินหน้าพัฒนาโครงการ เนื่องจากขั้นตอนการขออนุญาตอีไอเอ กลายเป็นปัจจัยที่ไม่อาจกำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจนได้ จากปกติที่การยื่นทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม จะใช้เวลาตอบกรอบปกติคือ 45 วัน ควรจะได้คำตอบว่า ผ่านการอนุมัติ ซึ่งวิธีการที่ทำ มีผู้เกี่ยวข้องหน้าเดิมๆ ในขั้นตอนการขออนุญาตตามกฎหมายอยู่แล้ว คือ ผู้ประกอบการ - บริษัทวิศวกรที่ปรึกษาผู้จัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม - คณะกรรมการสิ่งแวดล้อม ผู้พิจารณาอนุมัติ

จาก 3 ภาคส่วนหลักที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการแต่ละรายก็ล้วนทำโครงการมาแล้วมากกว่า 1 โครงการทั้งสิ้น ถือเป็นคนหน้าเดิม ประสบการณ์เดิมในการทำเรื่องนี้ กลุ่มที่สองคือ บริษัทวิศวกรที่ปรึกษาผู้ทำรายงานอีไอเอดังกล่าว ซึ่งต้องเป็นบริษัทที่ขึ้นทะเบียนไว้กับ สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม ว่ามีคุณสมบัติจัดทำรายงานอีไอเอดังกล่าวได้ เรียกว่าต้องมีไลเซ่นส์ การเป็นบริษัทผู้ทำรายงาน ซึ่งมีอยู่ราว 20 บริษัท มีจำนวนเท่านี้มาตั้งแต่เมื่อกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ยังคงไม่เพิ่มขึ้น ซึ่งแน่นอน 20 บริษัทนี้ย่อมต้องเป็น "ผู้เชี่ยวชาญการทำรายงานอีไอเอ" อยู่แล้วอย่างปฏิเสธไม่ได้ เพราะเวลากว่า 10 ปีย่อมทำรายงานมานับไม่ถ้วน!... ดังนั้น เรื่องประสบการณ์แทบไม่ต้องถามถึง

2 กลุ่มแรกคือฝ่ายที่ต้องทำรายงาน เพื่อขออนุญาตจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นภาคที่ 3 ผู้พิจารณาและอนุมัติรายงานว่าผ่านความเห็นชอบหรือไม่ ซึ่งคณะกรรมการนี้มีการเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลไปบ้าง ตามกรอบกฎหมาย แต่ส่วนใหญ่กว่า 90% ยังคงเป็นบุคคลเดิม ดังนั้น ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ในการพิจารณาแบบรายงานอีไอเอ ย่อมมีมากที่สุดเช่นกัน

ในเมื่อ 3 กลุ่มที่เกี่ยวข้อง ล้วนเป็นผู้มีประสบการณ์เชี่ยวชาญ เรื่องการจัดทำอีไอเอ และการพิจารณาอีไอเอ มาตลอดเวลามากกว่า 10 ปี แต่ทำไม จนถึงปัจจุบันจึงยังมีปัญหา ซ้ำรอยเดิมเรื่องความล่าช้าของการพิจารณา เพราะตรรกของการทำอะไรก็แล้วแต่ สำหรับผู้มีประสบการณ์ ย่อมรู้ดีอยู่แล้วว่า อะไรทำได้ หรืออะไรทำไม่ได้

ทำไมฝ่ายผู้ทำรายงาน 2 กลุ่มแรก คือผู้ประกอบการอสังหาฯ และบริษัทวิศวกรที่ปรึกษาฯ ในเมื่อรู้อยู่แล้วอะไรทำได้อะไรทำไม่ได้ แน่นอนย่อมเลือกทำให้สิ่งที่ทำได้ เพราะเชื่อว่าในมุมคนทำธุรกิจ ไม่ต้องการให้งานสะดุดเรื่องเวลา เพราะนั่นหมายถึงความสูญเสียย่อมตามมา หากระยะเวลาที่กำหนดไว้ ไม่เป็นไปตามนั้น

ดังนั้น ตรรกของผู้ประกอบการและบริษัทวิศวกรที่ปรึกษาฯ จึงน่าจะเป็นความพยายามทำทุกอย่างให้ถูกต้อง เพื่อให้ผ่านการพิจารณาโดยเร็วที่สุด ไม่มีเหตุผลที่จะละเลยรายละเอียดปลีกย่อย เพื่อให้งานใหญ่ต้องเสียหาย

ขณะที่ ตรรกของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม ก็มีจุดยืนว่าต้องพิจารณาทุกอย่างให้ถูกต้องตามกฎหมาย

แต่ด้วยข้อกฎหมายบางข้อ ระบุให้เป็นดุลยพินิจของคณะกรรมการฯ กลายเป็นมาตรฐานที่ไม่ใช่เส้นตรงหรือเปล่า? ทำให้เกิดปัญหาซ้ำแล้วซ้ำอีกไม่รู้จบ เหมือน 20 ปีของการทำเรื่องนี้มา ไม่ผ่านกระบวนการเรียนรู้ใดๆ เลย


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ปัญหา อีไอเออสังหาฯ ตรรก ความถูกต้อง

view

*

view