สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ป.ป.ช. ตั้งแท่นสอบโกงภาษีนำเข้ารถหรู ตปท. ทำชาติเสียหายหมื่นล้าน!!

ป.ป.ช. ตั้งแท่นสอบโกงภาษีนำเข้ารถหรู"ตปท."ทำชาติเสียหายหมื่นล้าน!!

จากสำนักข่าวอิสรา

ป.ป.ช. ตั้งแท่นสอบคดีโกงภาษีนำเข้ารถหรูต่างประเทศ ทำชาติเสียหายหมื่นล้าน หลังได้รับร้องเรียนพฤติการณ์ชัดเจน ทั้งสำแดงราคาเท็จ แจงราคาต่ำกว่าความเป็นจริง ก่อนนำไปขายต่อฟันกำไร แถมผู้นำเข้าบางแห่งยังเป็นบริษัทร้างแจ้งเลิกกิจการไปนานแล้ว

car

แหล่งข่าวระดับสูงจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เปิดเผยสำนักข่าวอิศรา www.isranew.org ว่า ขณะนี้ ป.ป.ช. อยู่ระหว่างการพิจารณาเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาการโกงภาษีนำเข้ารถหรู จากต่างประเทศของบริษัทเอกชนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติเป็นจำนวนเงินนับหมื่นล้านบาทต่อปี

“พฤติการณ์ที่ได้รับการร้อง เรียนเข้ามา และอยู่ระหว่างการสอบสวนในขณะนี้มีทั้งการสำแดงราคานำเข้ารถต่ำกว่าความเป็น จริง รวมถึงการปลอมใบนำเข้ารถจากต่างประเทศ พร้อมเปลี่ยนแปลงราคานำเข้ารถให้ต่ำ เพื่อจะได้จ่ายภาษีกับรัฐให้ถูกลง ก่อนจะนำรถไปขายต่อในราคาแพง ขณะที่บริษัทที่นำเข้าจำนวนมากก็ไม่มีตัวตนอยู่จริง บางรายถูกระบุว่าเป็นบริษัทร้างเลิกกิจการไปนานแล้ว” แหล่งข่าวระบุ

แหล่งข่าวกล่าวว่า มีการยืนยันข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำเข้ารถหรูจากต่างประเทศ ว่า แต่ละปีประเทศไทย นำเข้ารถยนต์เหล่านี้เข้ามาเป็นจำนวน กว่า 6,000-7,000 คันต่อปี ขณะที่รถคันหนึ่งมีการหลีกเลี่ยงภาษีประมาณหลักแสนถึงหลักล้านบาทต่อคัน

"ส่วนกลุ่มคนที่อยู่เบื้องต้นหลังเรื่องนี้ มีตั้งแต่ข้าราชการ เอกชน ไปจนถึงนักเมืองระดับชาติ"แหล่งข่าวระบุ

รายงานข่าวจาก ป.ป.ช. แจ้งว่า เกี่ยวกับการตรวจสอบข้อมูลโกงภาษีนำเข้ารถหรูดังกล่าว ทาง ป.ป.ช. ได้มอบให้นายภักดี โพธิศิริ กรรมการ ป.ป.ช. เป็นผู้รับผิดชอบ โดยในช่วงที่ผ่านมาได้มีการเชิญผู้เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ไปสอบปากคำแล้วหลาย ครั้ง 

 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้พยายามติดต่อขอสัมภาษณ์ นายภักดี โพธิศิริ เพื่อขอคำยืนยันเรื่องนี้แต่ไม่สามารถติดต่อได้


เปิดโปงขบวนการโกงภาษีนำเข้ารถหรูต่างประเทศ- ข้อมูลถึง"ยิ่งลักษณ์"แล้ว

จากสำนักข่าวอิสรา

เปิดโปงขบวนโกงภาษีนำเข้ารถหรู ต่างประเทศ ตั้งบริษัท "ลม" สำแดงราคาต่ำ ปลอมใบขนส่ง ก่อนขายต่อทำกำไรสูง เผย ป.ป.ท.เคยชงข้อมูลให้นายกฯ ยิ่งลักษณ์ แล้ว แต่เรื่องเงียบหาย ก่อนถึงมือ ป.ป.ช. ตั้งแท่นฟัน

ferr

 

 

(ภาพรถหรูประกอบจาก innnews)

กรณีคณะ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)  อยู่ระหว่างการพิจารณาเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาการโกงภาษีนำเข้ารถหรู จากต่างประเทศของบริษัทเอกชนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติเป็นจำนวนเงินนับหมื่นล้านบาทต่อปี นั้น 

(อ่านประกอบ: ป.ป.ช. ตั้งแท่นสอบโกงภาษีนำเข้ารถหรู"ตปท."ทำชาติเสียหายหมื่นล้าน!!)

สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ตรวจสอบพบว่า ในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เคยมีการเข้าไปสอบสวนเรื่องนี้ไว้แล้ว พร้อมทำรายงานสรุปถึงน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีให้รับทราบอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2555 ที่ผ่านมา

โดย ป.ป.ท. ได้สรุปผลการสอบสวนไว้ 4 ประเด็น หลัก คือ 1. บริษัทผู้นำเข้าบางรายไม่มีอยู่จริง 2. มีการสำแดงราคานถยนต์ที่นำเข้าต่ำกว่าความเป็นจริง 3. มีการทำปลอมใบขนสินค้า และ 4.ทำให้รัฐเกิดความเสียหายประมาณ 10,000 ล้านบาท ต่อปี 

ทั้งนี้ ในส่วนประเด็นเรื่องบริษัทผู้นำเข้าบางรายไม่มีอยู่จริงนั้น มีการตรวจสอบพบข้อมูลว่า ประเทศไทยมีบริษัทนำเข้ารถหรูอิสระ จำนวน 205 บริษัท บางบริษัทมีข้อมูลว่าได้หยุดกิจการไปแล้ว แต่ยังมีหลักฐานการนำเข้ามาจากต่างประเทศ ซึ่งกรณีดังกล่าวหากมีความจำเป็นต้องเรียกเก็บภาษีเพิ่มจากบริษัทผู้นำเข้า ก็จะไม่สามารถเรียกเก็บได้ เนื่องจากไม่มีตัวตนอยู่จริง 

“กลุ่ม ผู้นำเข้าจะใช้ชื่อบริษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยไม่ได้ประกอบธุรกิจดังกล่าว สั่งซื้อและนำเข้า รถยนต์จากต่างประเทศ ส่วนมากเป็นรถหรู ที่ผลิตในยุโรปหลายยี่ห้อ เช่น เบ็นซ์ พอร์ซ เฟอร์รารี่ เบนลี่ โดยสั่งนำเข้าจากประเทศอังกฤษและอีกส่วนจากญี่ปุ่น เมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทย ก่อนจะส่งต่อให้ลูกค้าต่ออีกที่หนึ่ง”

แหล่งข่าวจาก ป.ป.ช. กล่าวยืนยันสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ว่า การเสียภาษีของกลุ่มผู้นำเข้า จะดำเนินการพิธีการทางศุลกากร (ชิ้ปปิ้ง) ซึ่งในขั้นตอนดังกล่าวกลุ่มผู้นำเข้าและชิ้ปปิ้ง จะร่วมกันสำแดงราคานำเข้าจากประเทศต่ำกว่าความเป็นจริง ด้วยการทำปลอมใบขนสินค้าขึ้นใหม่ (อินวอย์) ซึ่งใบอินวอยด์ดังกล่าว จะสำแดงราคารถยนต์ต่ำกว่าความเป็นจริงที่ผู้นำเข้าได้ซื้อมาจากต่างประเทศ

“การที่ผู้นำเข้า อิสระ สามารถสำแดงราคารถยนต์นำเข้าต่ำกว่าความเป็นจริงได้ มีสาเหตุมาจากผู้นำเข้าอิสระ มีการทำใบขนสินค้าขึ้นใหม่ทั้งฉบับ ซึ่งใบขนสินค้าที่ทำปลอมขึ้นใหม่นี้ จะสำแดงราคารถยนต์ตามที่ผู้นำเข้าอิสระต้องการว่าจะให้รถยนต์คันดังกล่าว มีราคานำเข้าจำนวนเท่าใด ส่วนมากจะสำแดงราคาต่ำกว่าความเป็นจริงประมาณ 1-2 เท่า ทำให้รัฐต้องสูญเสียรายได้จากการเก็บภาษีในกรณีดังกล่าวเป็นจำนวน 10,000 บาทต่อปี เมื่อตรวจสอบพบในภายหลังก็ไม่สามารถติดตามเรียกเก็บภาษีที่ขาดไปได้ เนื่องจากบริษัทเหล่านี้ไม่มีตัวตน”

แหล่งข่าวรายนี้ ยังยืนยันด้วยว่า ทราบมาว่าเรื่องนี้ ทางป.ป.ท. เคยนำส่งข้อมูลให้กับรัฐบาล โดยเฉพาะในส่วนของนายกรัฐมนตรีไปแล้ว แต่ดูเหมือนเรื่องจะเงียบหายไป โดยไม่ทราบสาเหตุ จนกระทั่งมีการร้องเรียนเข้ามาที่ป.ป.ช. ให้ตรวจสอบ อย่างเป็นทางการเมื่อเร็วๆ นี้ ส่วนรถหรูที่มีการดำเนินการเรื่องนี้ ปัจจุบันกระจายตัวอยู่ในความครอบครองของบุคคลที่มีฐานะร่ำรวย บางส่วนก็มีความเชื่อมโยงไปถึงนักการเมืองด้วย

(ดูรูปแบบการโกงภาษีในแผนผังประกอบ)

iou


ภักดี”รับป.ป.ช.ตั้งอนุฯสอบคดีเลี่ยงภาษีรถหรูจริง -เรียก"ดุษฎี"ให้ปากคำแล้ว

จากสำนักข่าวอิสรา

“ภักดี” รับ ป.ป.ช.ตั้งคณะอนุฯไต่สวนคดีเลี่ยงภาษีรถหรูจากต่างประเทศจริง นั่งตำแหน่งปธ.คุมสอบเอง เผยใช้ข้อมูล ป.ป.ท.ขยายต่อ- เรียกตัว “ดุษฎี อารยวุฒิ”อดีตเลขาฯ ให้ปากคำแล้ว

drrtt

(ภาพประกอบจากtnews)

กรณีมีกระแสข่าวว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติแต่งตั้งให้นายภักดี โพธิศิริ กรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธานคณะอนุกรรมการไต่สวนคดีการเลี่ยงภาษีนำเข้ารถยนต์หรูจากต่าง ประเทศ โดยปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการเชิญพยานที่เกี่ยวข้องมาสอบปากคำ

เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2556 นายภักดี โพธิศิริ กรรมการ ป.ป.ช. ให้สัมภาษณ์ยืนยันกับสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ว่า ตนได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นประธานคณะอนุกรรมการไต่สวนคดีการเลี่ยงภาษี นำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศจริง โดยขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการเชิญพยานผู้เกี่ยวข้องมาให้ปากคำ

“คดีนี้ ป.ป.ช. ใช้ข้อมูลผลการสอบสวนเบื้องต้น ของ ป.ป.ท. ในยุคที่ พ.ต.อ ดุษฎี อารยวุฒิ ดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการ ป.ป.ท. หลังจากที่มีคนมายื่นเรื่องร้องเรียนเป็นทางการ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการเชิญ พ.ต.อ.ดุษฎีมาให้ปากคำไปแล้ว แต่คงไม่สามารถให้รายละเอียดอะไรได้มากนัก เนื่องจากอยู่ระหว่างขั้นตอนการทำงานของเจ้าหน้าที่”

เมื่อถามว่า การไต่สวนคดีนี้จะได้ข้อยุติเมื่อไร นายภักดี กล่าวว่า “เราจะพยายามทำให้เร็วที่สุด แต่การทำงานก็ต้องใช้เวลาบ้าง เนื่องจากมีผู้เกี่ยวข้องจำนวนมาก โดยเฉพาะในส่วนของเอกชน”

เมื่อ ถามว่า เรื่องนี้ มีเจ้าหน้าที่รัฐเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ นายภักดี ตอบว่า “ตามข้อมูลที่ร้องเรียนเข้ามาพบว่ามีเจ้าหน้าที่รัฐเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย แต่เรื่องนี้คงจะต้องมีการตรวจสอบข้อมูลให้ชัดเจนอีกครั้งก่อน หากพบว่ามีเจ้าหน้าที่รัฐคนใดเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็คงจะต้องมีการเชิญเข้ามาให้ข้อมูลในโอกาสต่อไป”

แหล่งข่าวระดับสูงจาก ป.ป.ช. เปิดเผยกับสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ว่า ข้อมูลสำคัญที่ ป.ป.ช.นำมาใช้เป็นแนวทางการสอบสวนคดีนี้ คือ ผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องนี้ ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ในยุคที่ พ ต อ ดุษฎี อารยวุฒิ ดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการ ป.ป.ท.

ทั้งนี้ ในรายงานการตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าว มีการระบุถึงจุดเริ่มต้นในการตรวจสอบเรื่องนี้ มาจากกลุ่มผู้ที่ใช้นามว่า “กลุ่มผู้ประกอบการนำเข้ารถยนต์มินิคูเปอร์ที่ถูกต้อง” ได้ทำเรื่องร้องเรียนมายัง ป.ป.ท. กล่าวหาเจ้าหน้าที่รัฐทำการทุจริตต่อหน้าที่ กรณีผู้นำเข้ารถยนต์อิสระนำเข้ารถยนต์นั่งใหม่จากต่างประเทศ มีพฤติการณ์หลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร ทำให้ผู้ประกอบการที่เสียภาษีถูกต้องได้รับผลกระทบและสูญเสียความสามารถใน การแข่งขันกับผู้นำเข้าอิสระ และจากกรณีดังกล่าวทำให้รัฐสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษีเป็นจำนวนมาก

โดยผู้ร้องได้ให้ข้อเท็จจริงว่า ผู้นำเข้ารถยนต์อิสระในประเทศไทย ได้สั่งนำเข้ารถยนต์หรูจากต่างประเทศ ซึ่งในการนำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศผู้นำเข้ารถยนต์อิสระได้สำแดงเท็จเกี่ยว กับใบขนส่งสินค้ารถยนต์ โดยได้สำแดงราคานำเข้ารถยนต์ต่ำกว่าความเป็นจริง เพื่อให้ตนเองเสียภาษีน้อยลง

ทั้ง นี้ ในการเสียภาษีเจ้าหน้าที่รัฐ ทราบดีอยู่แล้วว่ารถยนต์ดังกล่าวมีราคาเท่าใด แต่ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือทุจริตต่อหน้าที่ ยอมให้ผู้นำเข้ารถยนต์อิสระสำแดงราคาเท็จทำให้ผู้นำเข้ารถยนต์อิสระสามารถนำ รถเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยได้โดยเสียภาษีเพียงเล็กน้อย ทำให้รัฐสูญเสียรายได้เป็นจำนวนมาก


เอ็กซ์คลูซีฟ:เปิดผลสอบป.ป.ท.ขุดรากถอนโคนขบวนการโกงภาษีนำเข้ารถหรู

จากสำนักข่าวอิสรา

เอ็กซ์คลูซีฟ :เปิดผลสอบ ป.ป.ท. ขุดรากถอนโคนขบวนการโกงภาษีนำเข้ารถหรู ทำประเทศชาติเสียหายหมื่นล้าน - โยงเจ้าหน้าที่รัฐเอี่ยว?

ptttt

กรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบ ปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติแต่งตั้งให้นายภักดี โพธิศิริ กรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธานคณะอนุกรรมการไต่สวนคดีการเลี่ยงภาษีนำเข้ารถยนต์หรูจากต่าง ประเทศ โดยปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการเชิญพยานที่เกี่ยวข้องมาสอบปากคำ

 สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ตรวจสอบพบว่า ข้อมูลสำคัญที่ ป.ป.ช.นำมาใช้เป็นแนวทางการสอบสวนคดีนี้ คือ ผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องนี้ ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ในยุคที่ พ. ต.อ. ดุษฎี อารยวุฒิ ดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการ ป.ป.ท. 

ทั้งนี้ ในรายงานการตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องนี้ ป.ป.ท. ระบุว่า จุดเริ่มต้นในการตรวจสอบเรื่องนี้ มาจากกลุ่มผู้ที่ใช้นามว่า “กลุ่มผู้ประกอบการนำเข้ารถยนต์มินิคูเปอร์ที่ถูกต้อง” ได้ทำเรื่องร้องเรียนมายัง ป.ป.ท. กล่าวหาเจ้าหน้าที่รัฐทำการทุจริตต่อหน้าที่ กรณีผู้นำเข้ารถยนต์อิสระนำเข้ารถยนต์นั่งใหม่จากต่างประเทศ มีพฤติการณ์หลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร ทำให้ผู้ประกอบการที่เสียภาษีถูกต้องได้รับผลกระทบและสูญเสียความสามารถใน การแข่งขันกับผู้นำเข้าอิสระ และจากกรณีดังกล่าวทำให้รัฐสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษีเป็นจำนวนมาก

โดยผู้ร้องได้ให้ข้อเท็จจริงว่า ผู้นำเข้ารถยนต์อิสระในประเทศไทย ได้สั่งนำเข้ารถยนต์หรูจากต่างประเทศ ซึ่งในการนำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศผู้นำเข้ารถยนต์อิสระได้สำแดงเท็จเกี่ยว กับใบขนส่งสินค้ารถยนต์ โดยได้สำแดงราคานำเข้ารถยนต์ต่ำกว่าความเป็นจริง เพื่อให้ตนเองเสียภาษีน้อยลง

จากการพิจารณาในขนสินค้าและแบบแสดง รายการภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่ม พบว่าตัวแทนนำเข้าได้นำเข้ารถยนต์ยี่ห้อมินิคูเปอร์ ในรุ่นเอสอาร์เอชดี ปี ค.ศ.2010 ราคา 16,125 ยูโร คิดเป็นเงินไทย 712,779.76 บาท เมื่อรวมภาษีทุกรายการต้องเสียภาษีเป็นเงิน 1,336,196.10 บาท

 ขณะ เดียวกันผู้นำเข้ารถยนต์อิสระได้นำเข้ารถยนต์รุ่นและปีเดียวกัน และได้สำแดงราคาเท็จว่ารถยนต์รุ่นดังกล่าว มีราคา 12,326 เหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินไทย 400,225.22 บาท และเมื่อคำนวณภาษีที่ต้องเสียทุกประเภททำให้รถยนต์คันดังกล่าว เสียภาษีเพียง760,272.97 บาท

ซึ่งในการเสียภาษีเจ้าหน้าที่รัฐ ทราบดีอยู่แล้วว่ารถยนต์ดังกล่าวมีราคาเท่าใด แต่ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือทุจริตต่อหน้าที่ ยอมให้ผู้นำเข้ารถยนต์อิสระสำแดงราคาเท็จทำให้ผู้นำเข้ารถยนต์อิสระสามารถนำ รถเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยได้โดยเสียภาษีเพียงเล็กน้อย ทำให้รัฐสูญเสียรายได้เป็นจำนวนมาก

 หลัง ได้รับการร้องเรียนเรื่องนี้ ป.ป.ท. ได้ดำเนินการตรวจสอบว่ากรณีข้างต้นมีข้อเท็จจริงเป็นประการใด ในระหว่างตรวจสอบได้มีผู้ส่งข้อมูลการทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐตลอดมา 

 จาก การตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยมีหนังสือขอเอกสารไปยังหน่วยงานรัฐ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอรายละเอียดเกี่ยวกับเอกสารหลักฐานการนำเข้ารถยนต์ทุกยี่ห้อและหลัก ฐานของผู้นำเข้า รวมทั้งรายละเอียดของผู้นำเข้า ได้ข้อเท็จจริงดังนี้

1. บริษัทผู้นำเข้าบางรายไม่มีอยู่จริง

ผู้นำเข้าอิสระ ดำเนินการจดทะเบียนตั้งบริษัทเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ซึ่งบริษัทที่จัดตั้งได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ตามแบบฟอร์มของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลายอย่างรวมทั้งวัตถุประสงค์ในการนำเข้าและจำหน่ายรถ ยนต์ด้วย แต่บริษัทผู้นำเข้าดังกล่าวไม่มีธุรกิจในการจำหน่ายรถยนต์จริง กล่าวคือ จดทะเบียนก่อตั้งบริษัทเพื่อเป็นการนำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศเท่านั้น โดยดูจากที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของบริษัทดังกล่าวจะไม่มีอยู่จริง หรือก็มีเพียงที่พักอาศัยไม่เป็นสำนักงาน เช่น เป็นแฟลตภายในชุมชน เป็นที่ตั้งของบริษัทรักษาความปลอดภัยเป็นร้านขายของชำ หรือเป็นอาคารร้าง 

เบื้องต้นพบว่ามี บริษัทนำเข้าอิสระจำนวน 205 บริษัท บางบริษัทมีข้อมูลว่าได้หยุดกิจการไปแล้ว แต่ยังมีหลักฐานการนำเข้ารถยนต์มาจากต่างประเทศ กรณีดังกล่าวหากมีความจำเป็นต้องเรียกเก็บภาษีเพิ่มจากบริษัทผู้นำเข้าก็จะ ไม่สามารถเรียกเก็บได้ เนื่องจากบริษัทข้างต้นไม่มีตัวตนหรือปิดกิจการไปแล้ว

หลัง จากนั้นกลุ่มผู้นำเข้าก็จะใช้ชื่อบริษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยไม่ได้ประกอบ ธุรกิจดังกล่าว สั่งซื้อและนำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศ ส่วนมากเป็นรถยนต์หรู ที่ผลิตในยุโรปหลายยี่ห้อ เช่น เบนซ์ พอร์ช เฟอร์รารี่ เบนท์ลีย์

โดยสั่งนำเข้าจากประเทศอังกฤษและอีกส่วน หนึ่งเป็นการสั่งนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งรถยนต์ที่นำเข้าดังกล่าวเมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทย จะถูกเก็บไว้ที่คลังสินค้าทัณฑ์บนของกรมศุลกากร หรือสถานที่ที่ได้รับอนุญาตจากกรมศุลกากรให้จัดทำเป็นคลังสินค้าทัณฑ์บน และเมื่อมีลูกค้าต้องการซื้อรถคันใด กลุ่มผู้นำเข้าดังกล่าวก็จะขายรถยนต์ให้กับลูกค้าและนำรถยนต์ที่นำเข้าดัง กล่าวไปเสียภาษี

 2.มีการสำแดงราคารถยนต์ที่นำเข้าต่ำกว่าความเป็นจริง

การเสียภาษีของ กลุ่มผู้นำเข้า จะดำเนินการโดยผู้แทนดำเนินการพิธีการทางศุลกากร (ชิ้ปปิ้ง) ซึ่งในขั้นตอนดังกล่าวกลุ่มผู้นำเข้าและชิ้ปปิ้ง จะร่วมกันสำแดงราคานำเข้ารถยนต์ที่นำเข้าจากต่างประเทศต่ำกว่าความเป็นจริง ด้วยการทำปลอมใบขนสินค้าขึ้นใหม่ (invoice) ซึ่งใบอินวอยด์ดังกล่าว จะสำแดงราคารถยนต์ต่ำกว่าความเป็นจริงที่ผู้นำเข้าได้ซื้อมาจากประเทศอังกฤษ ตัวอย่าง บริษัท “A” (ตัวย่อ) ซึ่งเป็นผู้นำเข้าอิสระ นำเข้ารถยนต์ ยี่ห้อ เฟอร์รารี่ รุ่น แคลิฟอเนีย รุ่นปี ค.ศ.2009 แต่ในใบขนสินค้า ระบุว่า เป็นรถยนต์ ปี ค.ศ.2008 ซึ่งในปีที่ผู้นำเข้าอิสระระบุในใบขนสินค้ารถยนต์รุ่นดังกล่าว ยังไม่ได้ผลิตออกมาจำหน่าย โดยสั่งซื้อจากบริษัท “O” (ตัวย่อ) ในประเทศอังกฤษ โดยในขนสินค้าได้ระบุราคารถยนต์ ในเทอมของ CIF ไว้เป็นเงิน จำนวน 70,550 เหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินไทยในขณะนั้นเป็นเงิน 2,287,463.82 บาท และเมื่อนำรถยนต์คันดังกล่าวไปเสียภาษีโดยคำนวณภาษีทุกประเภทแล้วเป็นเงิน 7,502,879 บาท 

ในขณะเดียวกัน บริษัท “K” (ตัวย่อ) ซึ่งเป็นตัวแทนผู้นำเข้ารถยนต์ยี่ห้อดังกล่าว นำรถยนต์รุ่นเดียวกัน ประเภทเดียวกัน และในระยะเวลาเดียวกัน ได้ระบุราคารถยนต์ในใบขนสินค้า ในเทอมของ CIF ไว้เป็นเงิน จำนวน 111,187 ยูโร คิดเป็นเงินไทยในขณะนั้น เป็นเงิน 5,140,123 บาท และเมื่อนำรถยนต์คันดังกล่าว ไปเสียภาษีโดยคำนวณภาษีทุกประเภทแล้ว เป็นเงิน 16,859,601 บาท เมื่อเปรียบเทียบรถทั้งสองคันแล้วทำให้รัฐสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษี เป็นเงิน 9,356,722 บาท ต่อรถยนต์ 1 คัน 

3.มีการทำปลอมใบขนสินค้า 

การที่ผู้นำเข้า อิสระ สามารถสำแดงราคารถยนต์นำเข้าต่ำกว่าความเป็นจริงได้ มีสาเหตุจากผู้นำเข้าอิสระมีการทำใบขนสินค้าปลอม โดยการปลอมใบขนสินค้าขึ้นใหม่ทั้งฉบับ ซึ่งใบขนสินค้าที่ทำปลอมขึ้นใหม่นี้ จะสำแดงราคารถยนต์ตามที่ผู้นำเข้าอิสระต้องการว่าจะให้รถยนต์คันดังกล่าว มีราคานำเข้าจำนวนเท่าใด ส่วนมากผู้นำเข้าอิสระ จะสำแดงราคาต่ำกว่าความเป็นจริงประมาณ 1-2 เท่า และมีการเปลี่ยนสกุลเงิน เช่นจากสกุลเงินยูโรเป็นเหรียญสหรัฐ ซึ่งกรณีดังกล่าว สังเกตได้จากใบขนสินค้าว่า บริษัทผู้ส่งออกในประเทศอังกฤษรายเดียวกัน

แต่มีแบบฟอร์มของใบขนสินคาแตกต่างกันรวมทั้งลักษณะ ลายเซ็นของผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อในใบขนสินค้าจะลงลายมือชื่อแตกต่างกัน และเมื่อขอข้อมูลไปยังประเทศอังกฤษได้รับการยืนยันว่ามีบางบริษัทไม่เคยขาย สินค้าให้กับผู้นำเข้าอิสระในประเทศไทย จึงแสดงให้เห็นว่าใบขนสินค้าดังกล่าวเป็นใบขนสินค้าที่ทำปลอมขึ้น 

4.ทำให้รัฐเกิดความเสียหายประมาณ 10,000 ล้านบาท/ปี

 ความ เสียหายที่ได้รับทำให้รัฐต้องสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษีในกรณีข้างต้น ประมาณ 10,000 ล้านบาทต่อปี เนื่องจากการสอบสวนพบว่ามีรถยนต์นำเข้าในกรณีดังกล่าวมากกว่า 7,000 คันต่อปี และรถยนต์คันหนึ่งมีการหลีกเลี่ยงภาษีประมาณ 800,000 บาท ถึง 9,000,000 บาทต่อคัน แล้วแต่ชนิดของรถยนต์ และเมื่อตรวจพบในภายหลัง รัฐไม่สามารถติดตามเรียกเก็บภาษีส่วนที่ขาดไปจากบริษัทผู้นำเข้าอิสระดัง กล่าวได้ เนื่องจากบริษัทดังกล่าวไม่มีตัวตน บางบริษัทจะปิดตัวและไปเปิดตัวเป็นบริษัทใหม่ต่อเรื่อยๆ 

5.จากการสืบสวน ประสานงานกับเจ้าหน้าที่สถานทูตอังกฤษ เบื้องต้นมีหลักฐานว่า บริษัท “A” (ตัวย่อ) ในประเทศอังกฤษ ได้ขายรถยนต์ ยี่ห้อเมอร์เซเดส-เบนซ์ ClS 350 ให้กับบริษัท “B” (ตัวย่อ) ในประเทศไทย บริษัท “A” (ตัวย่อ)ในประเทศอังกฤษ ได้สำแดงราคารถยนต์คันดังกล่าว ต่อศุลกากรอังกฤษ ในราคา 55,000 ปอนด์ แต่รถยนต์คันเดียวกัน กลับมีใบขนสินค้า สำแดงราคาในประเทศไทยว่าบริษัท “A” (ตัวย่อ) ขายให้กับ บริษัท “B” ในราคา 25,260 เหรียญสหรัฐ ซึ่งจะเห็นได้ว่าใบขนสินค้าได้สำแดงราคาต่ำ และมีการเปลี่ยนสกุลเงินจากปอนด์เป็นเหรียญสหรัฐ

พฤติการณ์ ดังกล่าวเชื่อว่ามีการทำเป็นขบวนการ ระหว่างผู้นำเข้าอิสระในประเทศไทย กับบริษัทผู้ส่งออกในประเทศอังกฤษ โดยเจ้าหน้าที่รัฐ มีส่วนรู้เห็นหรือให้ความสะดวกในการรับราคาตามที่ผู้นำเข้ารถยนต์อิสระสำแดง ราคา

 6.จากการตรวจสอบใบขนสินค้า และเอกสารใบขนสินค้าขาเข้าพร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิต และภาษีมูลค่าเพิ่ม เบื้อง ต้นพบว่า มีเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับการรับราคารถยนต์นำเข้าจากต่างประเทศของ ผู้นำเข้าอิสระที่สำแดงราคาต่ำ เป็นเหตุให้รัฐต้องสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษี จำนวน 108 ราย อันอาจเข้าข่ายกระทำหรือไม่กระทำอย่างใด เพื่อให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมมิต้องเสียหรือเสียน้อยไป กว่าที่จะต้องเสีย


เปิดชื่อเต็ม 2 บริษัทนำเข้ารถหรูในสำนวนสอบป.ป.ท.-สรรพากรไล่ล่าเก็บภาษี

จากสำนักข่าวอิสรา

เปิดชื่อเต็ม 2 บริษัทนำเข้ารถยนต์หรู ในสำนวนสอบสวน ป.ป.ท. พบแจ้งทุนจดทะเบียนแค่ 1 ล้าน ปัจจุบันถูกสรรพากรไล่ล่าเก็บภาษี ร่อนหนังสือถึงกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แจ้งสั่งระงับการจดทะเบียนแจ้งเลิกกิจการ –ชำระบัญชี 

wee

ในรายงานผล ตรวจสอบข้อเท็จจริงคดีการเลี่ยงภาษีนำเข้ารถยนต์หรูจากต่างประเทศ ของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ในยุคที่ พ. ต.อ. ดุษฎี อารยวุฒิ ดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการ ป.ป.ท. ซึ่งปัจจุบัน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นำมาใช้เป็นฐานข้อมูลในขยายผลการไต่สวนคดีนี้ 

 

(อ่านประกอบ:เอ็กซ์คลูซีฟ:เปิดผลสอบป.ป.ท.ขุดรากถอนโคนขบวนการโกงภาษีนำเข้ารถหรู)

 

มีรายชื่อบริษัทเอกชน ที่ถูกระบุว่า มีพฤติการณ์ส่อว่าจะมีการเลี่ยงภาษีนำเข้ารถหรูอยู่ 2 ราย คือ 1. บริษัท แอพพรูฟ มอเตอร์จำกัด และ 2.บริษัท บูล สกาย 24 จำกัด 

ทั้งนี้ ในส่วน บริษัท แอพพรูฟ มอเตอร์จำกัด ถูก ป.ป.ท.ระบุว่าเป็นผู้นำเข้ารถยนต์ ยี่ห้อ เฟอร์รารี่ รุ่น แคลิฟอเนีย รุ่นปี ค.ศ.2009 แต่ ในใบขนสินค้า ระบุว่า เป็นรถยนต์ ปี ค.ศ.2008 (ในปีที่ผู้นำเข้าอิสระระบุในใบขนสินค้ารถยนต์รุ่นดังกล่าว ยังไม่ได้ผลิตออกมาจำหน่าย) โดยสั่งซื้อจากบริษัท “O” (ตัวย่อ) ในประเทศอังกฤษ โดยในขนสินค้าได้ระบุราคารถยนต์ ในเทอมของ CIF ไว้เป็นเงิน จำนวน 70,550 เหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินไทยในขณะนั้นเป็นเงิน 2,287,463.82 บาท และเมื่อนำรถยนต์คันดังกล่าวไปเสียภาษีโดยคำนวณภาษีทุกประเภทแล้วเป็นเงิน 7,502,879 บาท 

ในขณะที่ บริษัท “K” (ตัวย่อ) ซึ่งเป็นตัวแทนผู้นำเข้ารถยนต์ยี่ห้อดังกล่าว นำรถยนต์รุ่นเดียวกัน ประเภทเดียวกัน และในระยะเวลาเดียวกัน ระบุราคารถยนต์ในใบขนสินค้า ในเทอมของ CIF ไว้เป็นเงิน จำนวน 111,187 ยูโร คิดเป็นเงินไทยในขณะนั้น เป็นเงิน 5,140,123 บาท และเมื่อนำรถยนต์คันดังกล่าว ไปเสียภาษีโดยคำนวณภาษีทุกประเภทแล้ว เป็นเงิน 16,859,601 บาท  

เมื่อเปรียบเทียบรถทั้งสองคันแล้วทำให้รัฐสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษี เป็นเงิน 9,356,722 บาท ต่อรถยนต์ 1 คัน

 ส่วน บริษัท บูล สกาย 24 จำกัด ถูกป.ป.ท.ระบุว่าเป็นผู้รับซื้อรถยนต์ ยี่ห้อเมอร์เซเดส-เบนซ์ ClS 350 จากบริษัท “A” (ตัวย่อ) ในประเทศอังกฤษ โดย บริษัท “A” (ตัวย่อ)ในประเทศอังกฤษ ได้สำแดงราคารถยนต์คันดังกล่าว ต่อศุลกากรอังกฤษ ในราคา 55,000 ปอนด์ แต่รถยนต์คันเดียวกัน กลับมีใบขนสินค้า สำแดงราคาในประเทศไทยว่าบริษัท “A” (ตัวย่อ) ขายให้กับ บริษัท บูล สกาย 24 จำกัด  ในราคา 25,260 เหรียญสหรัฐ เท่านั้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าใบขนสินค้าได้สำแดงราคาต่ำ และมีการเปลี่ยนสกุลเงินจากปอนด์เป็นเหรียญสหรัฐ 

สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ตรวจสอบข้อมูลการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทผู้นำเข้ารถยนต์อิสระ ทั้ง 2 ราย คือ บริษัท แอพพรูฟ มอเตอร์จำกัด และ บริษัท บูล สกาย 24 จำกัด ตามที่แจ้งไว้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า พบข้อเท็จจริงดังนี้  

บริษัท แอพพรูฟ มอเตอร์ จำกัด แจ้งจดทะเบียนเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2552 มีทุน 1 ล้านบาท แจ้งที่ตั้งสำนักงาน เลขที่ 99/9 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ปรากฏชื่อนาย ธนกฤต เกรียงไกรเพชร เป็นกรรมการผู้มีอำนาจและผู้ถือหุ้นใหญ่

 งบ ดุลปีล่าสุด ที่แจ้งไว้ คือ ปี 2555 ระบุว่า มีรายได้จากการขายรวม 115,113,166.74 บาท แจ้งกำไร สุทธิ 99,259.59 บาท มีสินทรัพย์รวม 12,280,883.57 บาท มีหนี้สินรวม 9,433,020.31 บาท 

ขณะที่ บริษัท บูล สกาย 24 จำกัด แจ้งจดทะเบียนเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2552 มีทุน 1 ล้านบาท แจ้งที่ตั้งสำนักงาน เลขที่ 1032/263 ถนนพหลโยธิน แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร แจ้งประกอบธุรกิจ รับจ้างหางาน วางแผน ติดต่อ ตกแต่งสถานที่แสดงแสงสีเสียง น้ำพุ งานอีเว้นท์ การแสดง - บริการ ปรากฏชื่อ นาย วัชชิระ ชัยวิก เป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นใหญ่ 

งบดุลปีล่าสุดที่แจ้งไว้ คือปี 2553 แจ้งว่าไม่มีรายได้ ขาดทุน 5,000 บาท มีสินทรัพย์รวม 235,000 บาท 

จากการตรวจสอบพบว่า ปัจจุบัน บริษัท แอพพรูฟ มอเตอร์ จำกัด และบริษัท บูล สกาย 24 จำกัด ปรากฏรายชื่อเป็นหนึ่งในบริษัท ที่ทำธุรกิจนำเข้ารถยนต์ ที่ถูกกรมสรรพากรตรวจสอบภาษีอากร และกรมสรรพากรมีหนังสือแจ้งเป็นทางการไปยัง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อให้ระงับการอนุมัติจดทะเบียนการชำระบัญชี และการขีดชื่อออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้าง 

weee

(บริษัท แอพพรูฟ มอเตอร์ จำกัด) 

weee3

(บริษัท บูล สกาย 24 จำกัด) 

ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า ได้พยายามติดต่อขอสัมภาษณ์ผู้บริหารทั้งสองบริษัท ให้ชี้แจงข้อเท็จจริงเรื่องการนำเข้ารถหรูจากต่างประเทศ ตามรายงานผลการสอบสวนของ ป.ป.ท. แต่ไม่สามารถติดต่อได้


เผยโฉม“บูล สกาย 24”ผู้นำเข้าเมอร์เซเดส-เบนซ์ หรู-เหลือซากแค่ "ตึกร้าง"

จากสำนักข่าวอิสรา

เปิดตัว “บูล สกาย 24” หนึ่งในสองบริษัทนำเข้ารถ เมอร์เซเดส-เบนซ์ หรู สำนวนสอบ ป.ป.ท. สภาพปัจจุบันเหลือแค่ “ตึกร้าง” พ่นสีหน้าประตูคำว่า “ให้เช่า”หลังถูกสรรพากรไล่ล่าเก็บภาษี

dwq

กรณี บริษัท บูล สกาย 24 จำกัด ถูกระบุในสำนวนการตรวจสอบคดีการเลี่ยงภาษีนำเข้ารถยนต์หรูจากต่างประเทศ ของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ว่า เป็นผู้รับซื้อรถยนต์ ยี่ห้อเมอร์เซเดส-เบนซ์ ClS 350 จากบริษัท “A” (ตัวย่อ) ในประเทศอังกฤษ  

โดย บริษัท “A” (ตัวย่อ) ในประเทศอังกฤษ ได้สำแดงราคารถยนต์คันดังกล่าว ต่อศุลกากรอังกฤษ ในราคา 55,000 ปอนด์ แต่รถยนต์คันเดียวกัน กลับมีใบขนสินค้า สำแดงราคาในประเทศไทยว่าบริษัท “A” (ตัวย่อ) ขายให้กับ บริษัท บูล สกาย 24 จำกัด ในราคา 25,260 เหรียญสหรัฐ  

(อ่านประกอบ :เปิดชื่อเต็ม 2 บริษัทนำเข้ารถหรูในสำนวนสอบป.ป.ท.-สรรพากรไล่ล่าเก็บภาษี)

ทำให้มีการตั้งข้อสังเกตว่า บริษัท บูล สกาย 24 จำกัด อาจมีความพยายามที่จะสำแดงราคาซื้อรถต่ำกว่าความเป็นจริง เพื่อจะได้เสียภาษีนำเข้าในราคาที่ถูกลง ก่อนที่จะนำรถไปขายต่อในราคาแพง? 

 ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงาน ว่า เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2556 ได้เดินทางไปตรวจสอบข้อมูลบริษัท บูล สกาย 24 จำกัด ตามที่อยู่ที่แจ้งไว้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า คือ เลขที่ 1032/263 ถนนพหลโยธิน แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 

เมื่อไปถึงปรากฏตั้งอยู่ที่ซอย พหลโยธิน 18/1 ติดกับสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 พบเป็นทาวน์เฮาส์ขนาด 3 ชั้นสภาพร้าง ประตูเหล็กด้านหน้าถูกพ่นสเปรย์ด้วยอักษรสีแดงตัวใหญ่ ระบุให้เช่า และยังพบป้ายศูนย์บริการรปภ. บริษัท ซีเคียวสแตนด์ดาร์ด อาร์มมี่ จำกัด ติดไว้ที่ชั้น 2

แต่ไม่พบป้ายบริษัท บูล สกาย 24 ติดไว้แต่อย่างใด

 

จากการสอบถามเพื่อนบ้านบริเวณใกล้เคียงระบุ เคยเปิดเป็นบริษัทรักษาความปลอดภัยจริง แต่ไม่ทราบว่าปิดตัวไปเมื่อไร

 

 

rrr

ก่อนหน้านี้ ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ตรวจสอบพบว่า บริษัท บูล สกาย 24 จำกัด แจ้งจดทะเบียนเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2552 มีทุน 1 ล้านบาท แจ้งที่ตั้งสำนักงาน เลขที่ 1032/263 ถนนพหลโยธิน แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร แจ้งประกอบธุรกิจ รับจ้างหางาน วางแผน ติดต่อ ตกแต่งสถานที่แสดงแสงสีเสียง น้ำพุ งานอีเว้นท์ การแสดง - บริการ

ปรากฏชื่อ นาย วัชชิระ ชัยวิก เป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นใหญ่

 งบดุลปีล่าสุดที่แจ้งไว้ คือปี 2553 แจ้งว่าไม่มีรายได้ ขาดทุน 5,000 บาท มีสินทรัพย์รวม 235,000 บาท

ปัจจุบัน กำลังถูกกรมสรรพากรตรวจสอบภาษีอากร และกรมสรรพากรมีหนังสือแจ้งเป็นทางการไปยัง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อให้ระงับการอนุมัติจดทะเบียนการชำระบัญชี และการขีดชื่อออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้าง


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ป.ป.ช. ตั้งแท่นสอบ โกงภาษีนำเข้ารถหรู ตปท. ทำชาติเสียหาย หมื่นล้าน

view