สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ร้านอาหาร ศูนย์ราชการ โวย ผู้ดูแล ส่อ เบี้ยวเงินประกัน นับแสน

ร้านอาหาร ศูนย์ราชการ โวย ผู้ดูแล ส่อ เบี้ยว “เงินประกัน” นับแสน

จากสำนักข่าวอิสรา

ผู้ประกอบการร้านอาหาร ศูนย์ราชการ ร่อนหนังสือร้องเรียนขอความเป็นธรรม โวย "ผู้ดูแล" ส่อ เบี้ยว “เงินประกัน” นับแสน จะเอาคืนหมดสิทธิ์ขายของ ต้องย้ายออกสิ้นเดือนกันยายนนี้

food0116-9-13

ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ได้รับการร้องเรียนจากผู้ประกอบการศูนย์อาหารโซน 4 อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ภายใต้การดูแลของบริษัทธนารักษ์ พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (ธพส.) ว่า ไม่ได้รับเป็นธรรมจากการบริหารงานของผู้ดูแลศูนย์อาหารหรือผู้ประสานงานที่ ธพส. แต่งตั้ง ในเรื่องเงินประกัน จำนวน 15,000 บาท ที่ผู้ประกอบการร้านค้าทั้ง 16 ร้านค้า มอบให้ผู้ดูแลเมื่อ 2 ปีก่อน ซึ่งเป็นช่วงหลังวิกฤติน้ำท่วม

ผู้ประกอบการร้านอาหารรายหนึ่ง ให้ข้อมูลว่า ผู้ประกอบร้านอาหาร และผู้ดูแล ตกลงกันว่า จะนำเงินประกัน 15,000 บาท จาก 16 ร้านค้า รวม 240,000 บาท เป็นเงินกองกลางที่ร้านค้าทั้ง 16 ร้าน และผู้ดูแล เคยรับปากว่าจะนำมาลงทุนร่วมกันเพื่อใช้ซื้อจาน ชาม ช้อน และภาชนะต่างๆ ของศูนย์อาหาร จนกระทั่งศูนย์อาหารกลับคืนสู่ภาวะปกติ มีสภาพคล่องดังเดิม ผู้ดูแลจะคืนเงินดังกล่าวให้

 แต่ ปรากฏว่าเมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ผู้ประกอบการร้านอาหาร จำนวนหนึ่ง ทวงถามผู้ดูแล ถึงเงินประกันดังกล่าว ได้รับคำตอบจากผู้ดูแลศูนย์อาหาร ว่าร้านอาหารที่ต้องการเงินคืน ให้มาแจ้งความจำนงแก่ผู้ดูแล จะคืนเงิน 15,000 บาทให้

แต่จะไม่มีสิทธิ์ขายอาหารในศูนย์อาหารแห่งนี้อีกต่อไป จะต้องย้ายออกไปภายในสิ้นเดือนกันยายนนี้

 ส่วน ผู้ประกอบการรายใด ที่ต้องการขายอาหารในศูนย์อาหารต่อไป ให้นำใบเสร็จซึ่งเป็นหลักฐานการจ่ายเงิน 15,000 บาท มาคืน จะมีสิทธิ์ขายอาหารต่อไป

แต่จะไม่ได้เงินประกันคืน ทำให้ ผู้ประกอบการทำหนังสือร้องเรียนไปยัง ธพส. ให้ดำเนินการชี้แจงและมอบความเป็นธรรมให้แก่ผู้ประกอบการ แต่ก็ไม่มีความคืบหน้าใดๆ เกิดขึ้น

 " เขาพูดในที่ประชุมว่า เงินหมื่นห้าจะไม่คืน เพราะถือว่าได้กำไรแล้ว เขาบอกว่าเป็นมติของ ธพส. ถ้าเรา ไม่ปฏิบัติตาม หรือผู้ประกอบการรายใดอยากได้เงินคืนก็ต้องย้ายออกภายในวันที่ 30 กันยายน นี้ ผู้ดูแลเขาบอกเราแบบนี้ เราก็งงเราก็ถามเขาว่า ธพส. มาเกี่ยวอะไรด้วย ธพส. มีสิทธิ์อะไรมาสั่ง เขาก็บอกเราว่า ธพส. เขาเป็นเจ้าของพื้นที่ เราก็เถียงว่า ธพส. เขาอนุญาตให้เราขาย ให้เราดูแลกันเอง แล้วจู่ๆ ธพส. จะมาตั้งกฎที่เอื้อประโยชน์ให้คุณคนเดียวไม่ได้ คือเงินเรา 240,000 บาท หายไปเลย” 

 สำหรับ การร้องเรียนทวงถามเรื่องเงินประกัน 15,000 บาท ที่ร้านอาหาร 16 ร้าน มอบให้แก่ผู้ดูแลนั้น ผู้ประกอบการรายนี้เล่าว่า วิธีการร้องเรียนมีทั้งโทรศัพท์ไปร้องเรียนกับเจ้าหน้าที่ และมีทั้งยื่นหนังสือร้องเรียนโดยรวมตัวกันไปยื่นที่ ธพส. หลายครั้งแล้ว

 “จน ถึงตอนนี้ ก็ไม่มีความคืบหน้าอะไร เมื่อก่อนเราขึ้นไปที่ ธพส.บ่อย จนพักหลังๆ ไม่ค่อยได้ขึ้นไปแล้ว เพราะไม่มีอะไรคืบหน้า และที่เราหลายคนสงสัยก็คือ เมื่อมีข้อตกลงใดๆ ทำไม ทาง ธพส. จึงเรียกเฉพาะผู้ดูแลที่เป็นเจ้าของร้านขายข้าวแกงคนนี้ไปคุยเพียงคนเดียว ทำไมไม่เรียกเจ้าของร้านอาหารทุกร้านไปร่วมรับฟังด้วยกัน แล้ว ธพส. มาเกี่ยวอะไรกับเงิน 15,000 บาท ของเรา จนถึงวันนี้ เราถาม ธพส.ไป ก็ไม่มีความคืบหน้า เขาบอกจะตามเรื่องให้ก็ยังเงียบหาย"

"ตอนนี้ พวกเราเหมือนถูกมัดมือชก ถ้าอยากได้เงิน 15,000 บาทคืน ก็ต้องย้ายออกไปตอนสิ้นเดือนกันยายน แต่ถ้าอยากอยู่ต่อ ก็จะไม่ได้เงินคืน และต้องเอาใบเสร็จที่มีลายเซ็นต์ว่าผู้ดูแลคนนี้รับเงินของเราไป 15,000 บาท เอาไปคืนให้เขาด้วยจึงจะมีสิทธิ์ได้ขายอาหารที่นี่ต่อไป ตอนนี้ หลายร้านก็ยอมรับสภาพแล้ว เหนื่อยและท้อกันแล้ว ทำใจว่าไม่ได้เงินคืนแน่ แต่ก็จำเป็นต้องขายอาหารต่อไป หลายคนก็ยอมเอาใบเสร็จไปให้เขาแล้ว เพื่อที่จะไม่ต้องถูกย้ายออกไป” ผู้ประกอบร้านอาหารรายนี้ ระบุ

 ผู้ ประกอบการรายนี้ ยังอธิบายถึงความเป็นมาของการมีผู้ดูแลที่ ธพส. แต่งตั้งขึ้น รวมถึงที่มาของการตัดสินใจร่วมกันลงทุนซื้อภาชนะในศูนย์อาหารว่า สืบเนื่องมาจากวิกฤติน้ำท่วมในปี 2554 และเป็นช่วงที่ เดอะ มอลล์ ซึ่งเคยเช่าพื้นที่ศูนย์อาหาร โซน 1 และ โซน 2 ของธพส. ประสบปัญหาเรื่องการจ่ายค่าเช่า ทำให้ ธพส.ตัดสินใจล็อคกุญแจ ปิดการให้บริการศูนย์อาหารโซน 1และ 2

ในที่สุดเมื่อ เดอะ มอลล์ ตัดสินใจถอนตัวออกจากการเช่าพื้นที่ศูนย์อาหารของ ธพส. ผู้ประกอบการทั้ง 16 ร้านค้า จึงต้องย้ายมาเปิดบริการในโซน 4 โดยที่ธพส.เองก็อนุญาตให้ขายอาหารได้โดยไม่เสียค่าเช่า ในช่วง 3 เดือนแรก นอกจากนี้ ผู้ดูแลคนดังกล่าวก็มิใช่ผู้ที่ผู้ประกอบการร้านอาหารทั้งหมดโหวตเลือกขึ้น มา แต่เป็นผู้ที่ล้มผลโหวตของผู้ประกอบการทั้ง 7 ร้าน  โดยไปเจรจากับ บุคคลคนหนึ่ง ตัวย่อว่า "อ" ที่เคยรับผิดชอบศูนย์อาหารนี้เป็นการส่วนตัว

แล้วในที่สุด คุณ "อ" ก็เห็นคล้อยตามให้ผู้ดูแลคนนี้คอยประสานงานและเก็บเงินค่าเช่ารายวันให้ ธพส. โดยไม่แต่งตั้งคนที่ผู้ประกอบการโหวตขึ้นมาแต่อย่างใด

ส่วน คุณ "อ" นั้น ปัจจุบันเลื่อนตำแหน่งไปแล้ว และปัจจุบัน ปัญหาดังกล่าวยังไม่มีเจ้าหน้าที่ ธพส. ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ แก้ไข หรือให้คำชี้แจงใดๆ

 “ เดิมทีศูนย์อาหารโซน 1 โซน 2 เดอะมอลล์ เป็นผู้ประมูลพื้นที่ได้ แต่ตอนนี้เราไม่มีเดอะมอลล์ปกครองแล้ว เราปกครองกันเอง ดังนั้น ทุกคนน่าจะได้ประโยชน์ตรงนี้ร่วมกัน จริงๆ แล้ว เราชอบการดูแลของเดอะมอลล์นะ แต่ตอนนี้ เราไม่มีใครดูแลแล้ว เราก็ต้องดูแลกันเอง การตกลงกันครั้งนั้น ตกลงกันด้วยวาจา แต่ต่อมาเราก็มีหนังสือทวงถามไปว่าเงินตรงนี้มันหายไปไหน เพราะเราก็กลัวว่าไม่มีหลักฐาน เราจึงทำเอกสาร ขึ้นไปทวงถาม ธพส. แล้วผู้ประกอบการทั้ง 16 ร้าน ทุกคนก็รับรู้หมด ตอนนั้นเราก็คิดว่าคงไม่มีใครโกงใคร แต่เราก็กลัวเงินจะไม่ได้คืน เพราะ ธพส. เปลี่ยนคนมาดูแลเรื่องนี้เรื่อยๆ แต่ปัจจุบันเขาตั้งผู้ดูแลคนนี้มาดูแล”

 ผู้ ประกอบการอีกรายหนึ่ง เล่าว่า หลังจากเดอะมอลล์ไม่ได้ดูแลศูนย์อาหารโซน 1 และ 2 แล้วนับแต่ภายหลังวิกฤติน้ำท่วม พ่อค้า แม่ค้า จึงหารือกันและนำความเดือดร้อนไปปรึกษา ธพส.

 “คือ หลังจากน้ำท่วมแล้ว เดอะมอลล์ก็ไม่ได้ดูแลต่อ พวกเรา พ่อค้าแม่ค้าเดือดร้อน เราก็เลยจับมือกันขึ้นไปคุยกับ ธพส. ว่าผู้ประกอบการ 10 กว่าราย เดือดร้อน เราไม่มีพื้นที่ขายของ ธพส. เขาก็บอกเราว่าเขาก็เดือดร้อนเหมือนกัน เพราะในศูนย์ราชการมีหน่วยงานเยอะ แต่ไม่มีใครมีร้านอาหาร ธพส. เขาก็บอกว่าเขามีพื้นที่ให้เรา แต่ไม่มีอะไรให้ ทาง ธพส. เขาให้เราดูแลกันเอง ซึ่งเรื่องเงินประกัน 15,000 บาทนี้ เราตกลงกันเอง ส่วนฟู้ด 4 ก็เป็นเจ้าของร้านค้าเก่า จาก โซน 1-2 มารวมกันอยู่ในโซนนี้คือโซน 4 เพราะโซน 1-2 ปิดอยู่ ธพส. เห็นใจเรา เขาก็ให้ขายฟรี 3 เดือน ไม่เก็บค่าเช่า เก็บแค่ค่า แก๊ส น้ำไฟ ไม่เก็บค่าเช่า แต่จากนั้นก็เริ่มมีปัญหาแล้ว เพราะผู้ดูแลคนปัจจุบันที่ ธพส. แต่งตั้งขึ้นมา เขาบอกว่า เขาจะเก็บค่าเช่าทุกร้าน เท่ากัน ทำให้มีปัญหา เพราะเราเห็นว่า ไม่เป็นธรรมกับร้านค้าเล็กๆ”

 ผู้ ประกอบการรายนี้ ยังเล่าว่า แต่ละร้านจะยึดถือวิธีของเดอะมอลล์ที่จะมีกฎโดนหักเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย คูปองขายได้น้อยก็โดนหักน้อย ขายได้มากก็โดนหักมาก ซึ่งวิธีของเดอะมอลล์ ทำให้ร้านเล็กอยู่ได้ โดยเฉพาะร้านอาหารจานเดียว เพื่อให้คนได้ทานอาหารหลากหลาย ขณะที่ผู้ดูแลคนปัจจุบัน ไม่ยอมรับวิธีดังกล่าว

 “เพราะ ร้านเขาขายดีที่สุด เขาขายข้าวแกง เขาก็จะโดนเดอะมอลล์หักเยอะที่สุด เขาก็ไม่ยอมรับกฎเช็คจานชามว่าใครขายดีต้องจ่ายค่าเช่าเยอะ พวกเราก็ไม่ยอม เราก็ทำเรื่องร้องเรียนขึ้นไป ยัง ผอ.ด้านการตลาดของธพส.ที่ดูแลเรื่องนี้ แต่ปัจจุบันเขาเลื่อนตำแหน่งขึ้นไปแล้ว ตอนนั้น เราก็บอกเรื่องให้ผู้รับผิดชอบนะ เขาก็บอกว่า ทนไม่ได้ก็ออกไป ถ้าถามว่ากรณีนี้ ใครได้ประโยชน์ที่สุด เราก็มองว่าร้านที่ได้ประโยชน์ที่สุดคือร้านข้าวแกงของผู้ดูแลคนนี้ เพราะข้าวแกงเขาขายดีที่สุด จากที่ก่อนนี้ เราจะใช้วิธีจดจานชามว่าใครใช้เท่าไหร่ แต่การจดจำนวนจานชามไม่มีประโยชน์อีกแล้ว ผู้ดูแลและ ผอ.คนนี้ เขาก็ล้มกระดาน เก็บทุกร้านเท่ากันคือค่าเช่าวันละ 600 บาท ส่งให้ ธพส. และอีก 250 บาท เป็นค่าบริการเก็บจานชาม รวมแล้วเราต้องจ่ายค่าเช่าวันละ 850 บาท ก็เป็นจำนวนเงินที่หนักสำหรับเรา ส่วนเรื่องเงินประกัน 15,000 บาทนั้น จนถึงวันนี้ ธพส. ก็ยังไม่ดำเนินการอะไรให้เราเลย ทั้งที่ใกล้จะครบกำหนดที่ผู้ดูแลเขาแจ้งกับเราแล้วว่าภายใน 30 กันยายนนี้ ถ้าอยากขายต่อ ให้เอาหลักฐานใบเสร็จมาคืนเขา แต่จะไม่ได้เงินคืน และถ้าอยากได้เงินคืนก็จะต้องย้ายออกไป” ผู้ประกอบการรายนี้ ระบุ


พบข้อมูลใหม่ พื้นที่โซนธุรกิจ ศูนย์ราชการ ถูกร้องเรียนเพียบ!!

จากสำนักข่าวอิสรา

พบข้อมูลใหม่ ไม่ใช่แค่ศูนย์อาหารราชการที่มีปัญหา พื้นที่โซนธุรกิจ ก็ถูกร้องเรียนด้วย เผยผู้ประกอบการเคยทำหนังสือแจงเป็นทางการสมัย พฤฒิชัย ดำรงตำแหน่งรมช.คลัง ให้เข้ามาตรวจสอบ ทั้งปมยกเลิกการประมูล การคัดเลือกคุณสมบัติ นำร้านค้าไปเปิดเช่าช่วงต่อราคาแพง แต่เรื่องเงียบหาย? 

b001

นอกเหนือจากปัญหาความขัดแย้งใน กลุ่มผู้ประกอบการร้านขายอาหารในศูนย์ราชการ ซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารงานของบริษัท ธนารักษ์ พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด ( ธพส.) แล้ว

 (อ่านประกอบ :บิ๊ก ธพส. ยันเดินหน้าตรวจสอบปัญหาศูนย์อาหารราชการ)

 ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ตรวจสอบพบว่า ในช่วงที่นพ.พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กลุ่มผู้ประกอบการร้านค้าในพื้นที่ธุรกิจ ของศูนย์ราชการ เคยทำหนังสือฉบับลงวันที่ 7 กันยายน 2553 ร้องเรียน รมช.กระทรวงการคลัง รายนี้ ให้เข้ามาตรวจสอบปัญหาการเปิดประมูลพื้นที่พาณิชย์ ในปี 2552 ที่ถูกตั้งข้อสังเกตในหลายประเด็นอาทิ การแจ้งล้มการประมูลโดยมีเหตุผลไม่เพียงพอ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำด้านราคา เป็นต้น  

 ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า ในจดหมายร้องเรียนฉบับดังกล่าว ได้ทวงถามถึงประเด็นต่างๆ อาทิ การจัดตลาดนัดสิ้นเดือน ว่า ธพส. ใช้หลักเกณฑ์ใด ใน การคัดเลือกคุณสมบัติของผู้ที่จะมาดำเนินการบริหารจัดการตลาดนัดสิ้นเดือน โดยใช้พื้นที่ชั้น 2 บนลานเอนกประสงค์ในการดำเนินการ ซึ่งทำให้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อยอดขายของผู้ประกอบการร้านค้าหลัก ที่ลงทุนทำธุรกิจและทำสัญญากับทาง ธพส. เป็นระยะเวลา 3 ปี แต่ ธพส. กลับดำเนินการให้เอกชนมาซื้อพื้นที่ และปล่อยให้เอกชนนั้นทำการขายพื้นที่ต่อให้พ่อค้าแม่ค้าตลาดนัดเข้ามาขาย สินค้าซึ่งขัดกับหลักพันธกิจของ ธพส. ที่จะใช้พื้นที่ลานเอนกประสงค์ชั้น 2 ในการจัดนิทรรศการหรือจัดกิจกรรมเพื่อสังคม 

 นอก จากนี้ ยังมีการเปิดขายบู๊ทจำหน่ายสินค้ารอบๆ ร้านค้าหลักในอาคารเป็นจำนวนมาก และสินค้าที่นำมาขายเป็นสินค้าประเภทเดียวกับร้านค้าหลักที่อยู่ในศูนย์ ราชการ รวมทั้งมีการร้องเรียนเรื่อง มีการนำร้านค้าไปปล่อยเช่าต่อในราคา แพงถึง 10,000-15,000 บาท ต่อร้านด้วย

“เรื่องดังกล่าว ทั้งหมดนี้ ผู้ประกอบการค้าหลักได้ทำจดหมายแจ้งถึง ธพส. และพูดคุยกันถึงเรื่องนี้หลายครั้ง รวมถึงครั้งล่าสุดที่มีสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เข้ามาเป็นตัวกลางในการแก้ปัญหา อย่างไรก็ดี ปัญหาดังที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ยังคงมีอยู่และนับวันจะเพิ่มทวีคูณ ด้วยเหตุนี้ จึงใคร่ขอให้ท่านช่วยพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริงและจัดตั้งคณะกรรมการ เพื่อเข้ามาแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง เพื่อประโยชน์ทั้งของข้าราชการและผู้ประกอบการร้านค้าหลักและร้านค้าย่อย ซึ่งจะช่วยให้ทุกฝ่ายสามารถดำเนินกิจการของตัวเองได้อย่างราบรื่นและส่ง เสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ศูนย์ราชการฯ แห่งนี้ต่อไป” จดหมายร้องเรียนระบุ

 ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า ได้พยายามติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้เพื่อให้ชี้แจงข้อมูล อาทิ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ธพส. และกรมธนารักษ์ แต่ไม่สามารถติดต่อใครได้ โดยเจ้าหน้าที่กรมธนารักษ์ แจ้งว่า เรื่องนี้จบไปแล้ว และขอให้ไปสอบถามข้อมูลจากผู้บริหาร ธพส.อีกครั้ง


พบหลักฐาน"ธพส."ยกอำนาจให้"คนนอก"ดูแลศูนย์อาหาร -จี้ผู้บริหารสอบด่วน

จากสำนักข่าวอิสรา

เปิดเอกสาร "ลับ" ยัน “ผอ.อ๊อด” มีส่วนเกี่ยวข้องปมจัดตั้งบุคคลเข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้ดูแล ศูนย์อาหารของศูนย์ราชการ คน ธพส. ข้องใจ ไม่เปิดรับสมัครทางการ -แข่งขันตามขั้นตอนปกติ จี้ผู้บริหารตรวจสอบด่วน!!  

food20-3-13 

กรณี นางจิรสา วงศ์ธรรมสรณ์ หรือ “ผอ.อ๊อด” ผู้ช่วยกรรมการสายนโยบาย ของ บริษัท ธนารักษ์ พัฒนาสินทรัพย์ (ธพส.) ถูกระบุจากผู้ประกอบการร้านอาหาร ในศูนย์ราชการ ที่กำลังประสบปัญหาความขัดแย้งในการดำเนินธุรกิจอยู่ในขณะนี้ ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดตั้งบุคคลเข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลศูนย์ อาหารของศูนย์ราชการ

 เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2556 สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ได้รับแจ้งข้อมูลจากคนภายใน ธพส. ว่า นางจิรสา วงศ์ธรรมสรณ์ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งบุคคลที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้ดูแล ศูนย์อาหารของศูนย์ราชการ ปรากฏรายละเอียด ในเอกสารมีใจความดังนี้

 ฝกต./                                                                                                      กุมภาพันธ์ 2555
  

ขออนุมัติจัดตั้งคณะทำงานบริหารศูนย์อาหาร

 เรียนกรรมการผู้จัดการ

 1.ความเป็นมา

 ตาม ที่ บริษัท ฟู้ด การ์เด้นท์ จำกัด และบริษัทอาหารชุมนุม จำกัด ได้ยุติการจำหน่ายอาหารศูนย์อาหาร 1/FOOD COURT และศูนย์อาหาร 2/FOOD CENTER ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2554 เป็นต้นมา จึงจำเป็นต้องจัดหาผู้ประกอบการร้านอาหารเข้ามาขายเป็นการเร่งด่วน เพื่อให้ข้าราชการได้มีอาหารรับประทาน ประกอบกับขณะนั้น เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมขังสูงในพื้นที่โดยรอบศูนย์ราชการฯ ฝ่ายการตลาดได้ติดต่อให้นางสาวมะลิวัลย์ ผริตเดชศิริกุล เข้ามาจำหน่ายอาหารได้เพียงรายเดียว โดยเปิดศูนย์อาหารด้านทิศตะวันออก ( ศูนย์อาหาร 3 ) ให้ขายตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2554 จนกระทั่งปลายเดือนพฤศจิกายน 2554 ระดับน้ำท่วมขังลดลงสามารถเดินทางเข้า-ออกได้สะดวก ผู้ประกอบการร้านอาหารในศูนย์อาหารเดิมได้ทยอยเข้ามาติดต่อขอจำหน่ายอาหาร ต่อไป

 2.สาระสำคัญของเรื่อง

 2.1 ตามบันทึกที่ ฝกต.645/2554 ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2554 เรื่อง ขอความอนุเคราะห์เปิดพื้นที่ขายอาหาร กรรมการผู้จัดการเห็นชอบให้นางสาวมะลิวัลย์ ผริตเดชศิริกุล เข้ามาขายอาหารและจัดหาร้านอาหารเข้ามาขายให้ครบจำนวน 16 ร้าน โดยเปิดศูนย์อาหารใหม่ ( ศูนย์อาหาร 3 ) ตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2554 และเห็นชอบให้นายธีระวัจน์ กัณหา พร้อมด้วยผู้ประกอบการร้านในศูนย์อาหารเดิม แต่มีความประสงค์จะเข้ามาขายอาหารตามเดิม โดยเปิดศูนย์อาหารด้านทิศตะวันออก (ศูนย์อาหาร 4) ตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2554 โดยกำหนดราคาอาหารทุกร้านจานละ 25-30 บาท ปริมาณอาหารต้องไม่แพง ผู้ประกอบการต้องรับผิดชอบค่าสาธารณูปโภคต่างๆ เอง ทั้งนี้ ฝ่ายการตลาดจะกำกับดูแลการบริหารจัดการ และให้ฝ่ายพัฒนาธุรกิจส่วนวิเคราะห์การตลาด ทำการประเมินผลความพึงพอใจเมื่อครบ 3 เดือน ตามนโยบายของอธิบดีกรมธนารักษ์และรายงานให้กรรมการผู้จัดการทราบเพื่อประกอบ การพิจารณาต่อไป

 2.2 การดำเนินการของศูนย์อาหาร 3 โดยนางสาวมะลิวัลย์ ผริตเดชศิริกุล และศูนย์อาหาร 4 โดยนายธีระวัจน์ กัณหา ทั้งสองรายนี้เป็นผู้ได้ขายร้านน้ำดื่ม น้ำหวาน และทำหน้าที่แทน ธพส. ในการจัดหาร้านอาหาร ดูแลความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในศูนย์ฯ รวมทั้งการจัดเก็บเงินค่าสาธารณูปโภค (ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าก๊าซหุงต้ม) ตามที่ ธพส.วางบิลเรียกเก็บแต่ละร้าน แล้วนำส่ง ธพส. ภายในกำหนด ทั้งนี้ ได้มีการเรียกเก็บเงินมัดจำประกันความเสียหายจากร้านค้า ร้านละ 15,000 บาท จะคืนให้เมื่อเลิกขายและไม่มีทรัพย์สินของศูนย์อาหารเสียหาย ในระหว่างนี้ได้นำเงินที่เรียกเก็บดังกล่าวไปจัดซื้อจาน ชาม ช้อน ฯลฯ เพื่อมาใช้งานร่วมกัน ส่วนค่าใช้จ่ายส่วนกลางมีค่าคนงานเก็บ/ล้างจาน ชาม ทำความสะอาด วัสดุสิ้นเปลืองต่างๆ บวกค่าบริหารใช้วิธีหารเฉลี่ย เรื่องนี้มีปัญหาขลุกขลักอยู่บ้าง ต้องรีบแก้ไข

 2.3 ฝ่ายการตลาด ได้ติดตามกำกับดูแลการบริหารจัดการศูนย์อาหาร 3 และศูนย์อาหาร 4 มาโดยตลอดซึ่งในปัจจุบันศูนย์อาหารทั้งสองสามารถรองรับข้าราชการที่มีอยู่ ได้เพียงพอ อีกทั้งยังมีร้านค้าย่อยในร้อยร้านมาร์เช่ขายอาหารประเภทข้าวแกง ก๋วยเตี๋ยว ในลักษณะเดียวกับในศูนย์อาหารอีกประมาณ 10 ร้าน และจากการสำรวจโดยการสอบถามปรากฏว่าข้าราชการส่วนใหญ่มีความพึงพอใจ ปริมาณอาหารในจานที่ได้รับมากขึ้น ราคาอาหารอยู่ที่ 25-30 บาท อาจมีบางเมนูราคาสูงกว่า 30 บาทแต่ก็ยอมรับได้ รสชาติอาหารความสะอาดอยู่ในเกณฑ์ดี 

2.4 ที่ประชุมคณะกรรมการ ธพส. เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2554 ( ครั้งที่ 20/2554) มีข้อเสนอแนะเรื่องศูนย์อาหารว่า ควรมีการจัดตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ ให้มีหน้าที่ในการคัดเลือกร้านค้า ควบคุมดูแลราคา คุณภาพ รสชาติ และความสะอาดของอาหาร 

3.ความคิดเห็นของ ผู้ที่เกี่ยวข้อง ฝ่ายการตลาดได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ศูนย์อาหารทั้งสองได้เปิดดำเนินการมาเป็นระยะเวลาใกล้ครบ 3 เดือนแล้ว จึงเห็นควรให้มีการจัดตั้งคณะทำงานศูนย์อาหารเข้ามาทำหน้าที่ในการพิจารณานำ เสนอแนวทางบริหารและกำกับดูแลการบริหารจัดการศูนย์อาหาร เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยต่อไป จึงเสนอแต่งตั้งคณะทำงาน ดังนี้ 

1) ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ประธานคณะทำงาน

 2) ผู้อำนวยการฝ่ายควบคุมระบบอาคาร คณะทำงาน

 3) ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารอาคารและสถานที่ คณะทำงาน

 4) ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี คณะทำงาน

 5) ผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน คณะทำงาน

 

6) ผู้จัดการส่วนอาชีวอนามัย ฝ่ายบริหารอาคารและสถานที่ คณะทำงาน
 

7) ผู้จัดการส่วนจัดสรรและบริหารพื้นที่ธุรกิจ เลขานุการคณะทำงาน
 

8) เจ้าหน้าที่อาวุโส ส่วนจัดสรรและบริหารพื้นที่ธุรกิจ ผู้ช่วยเลขานุการคณะทำงาน
 

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติแต่งตั้งคณะทำงานศูนย์อาหาร
 

(นางจิรสา วงศ์ธรรมสรณ์)
 

ผู้อำนวยการสำนักกรรมการผู้จัดการ
รักษาการ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด
  

แหล่งข่าวจาก ธพส. กล่าวยืนยันสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ว่า การบริหารจัดการศูนย์อาหารตามปกติแล้ว ศูนย์อาหารของหน่วยงานราชการหรือศูนย์อาหารโดยทั่วไปจะมีการเปิดรับสมัคร ร้านอาหารที่ประสงค์จะเข้ามาให้บริการ โดยมีการปิดประกาศหรือแจ้งให้สาธารณะทราบโดยทั่วกัน เพื่อให้แต่ละร้านได้มีโอกาสแข่งขันกันอย่างเท่าเทียมและได้รับการตรวจสอบ เรื่องรสชาติ ความสะอาด สุขอนามัย และคุณสมบัติต่างๆ ว่าเหมาะสมและผ่านเกณฑ์การประเมินของศูนย์อาหารนั้นๆ หรือไม่

 “ใน กรณีศูนย์อาหารของ ธพส. แม้ร้านอาหารในศูนย์อาหาร 1 และ 2 สมัครเข้ามาและได้รับการคัดเลือกจากผู้ได้รับสัมปทานเช่าพื้นที่ขณะนั้นให้ ผ่านการประเมินตามขั้นตอนดังกล่าว แต่ภายหลังเมื่อศูนย์ 1 และ 2 ปิดตัว และมีผู้ประกอบการรายเดิมบางส่วนได้รับอนุมัติจากนางจิรสาให้จำหน่ายอาหาร ต่อไปในศูนย์อาหาร 4 โดยมีนายธีระวัจน์ กัณหาเป็นผู้ดูแล ขณะที่โซน 3 มีนางมะลิวัลย์ เป็นผู้ดูแลนั้น ใช้เกณฑ์ใดเป็นหลักประเมินแต่ละร้าน และได้เปิดให้มีการสมัครและแข่งขันอย่างเป็นธรรมหรือไม่”

 แหล่ง ข่าวกล่าวว่า นอกจากนี้ แม้ในเอกสารจะมีใจความตอนหนึ่งระบุว่า การจัดหาผู้ประกอบการร้านอาหารจำเป็นต้องทำอย่างเร่งด่วนในช่วงเกิดวิกฤติ น้ำท่วม แต่ภายหลังวิกฤติผ่านพ้นไปแล้ว เหตุใดจึงไม่มีการประกาศรับสมัครให้สาธารณะได้รับทราบโดยทั่วกันเพื่อให้แต่ ละร้านที่สมัครเข้ามาได้มีโอกาสแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม

 “ธพส. คือรัฐวิสาหกิจที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นมากที่สุด องค์กรของเราเป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้การกำกับของกรมธนารักษ์ซึ่งเป็นหน่วย งานราชการ ธพส. ไม่ใช่บริษัทเอกชน ต้องทำทุกอย่างให้โปร่งใส ดังนั้น ตามที่มีการอ้างถึงความจำเป็นในการจัดหาร้านอาหารอย่างเร่งด่วนว่าเนื่องจาก วิกฤติน้ำท่วมในปี 2554 แต่หลังจากช่วงวิกฤติน้ำท่วมผ่านพ้นไปแล้ว จนถึงวันนี้ ก็ยังไม่มีการดำเนินการจัดหาร้านอาหารผ่านการรับสมัครตามขั้นตอน ไม่มีการประกาศให้สาธารณชนรับทราบโดยทั่วกันเพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่าง เป็นธรรม” เจ้าหน้าที่ ธพส. ยืนยันกับผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา

 นอก จากนี้ แหล่งข่าวรายนี้ตั้งคำถามด้วยว่ากรณีเก็บค่าส่วนกลางจากผู้ประกอบการในศูนย์ อาหาร 250 บาทนั้น เจ้าหน้าที่ ธพส.เคยได้รับการร้องเรียนจากผู้ประกอบการเช่นกันว่าเงินจำนวนนี้ถูกนำไปใช้ อะไรบ้าง มีการจัดทำบัญชีโดยละเอียดหรือไม่ ที่ผู้ดูแลบอกว่านำไปจ่ายค่าน้ำยาล้างจาน ค่าถุงขยะ ค่าน้ำยาถูพื้น หรือค่าพนักงานทำความสะอาดนั้น พนักงานทำความสะอาดมีทั้งสิ้นกี่คน เหล่านี้มีการจัดทำบัญชีหรือไม่ และเหตุใดนางสาวมะลิวัลย์ ผริตเดชศิริกุลและนายธีระวัจน์ กัณหา จึงได้รับสิทธิ์ในการบริหาร ดูแลและจัดหาร้านอาหาร และเหตุใดจึงต้องมีการตั้งผู้ดูแลที่มิใช่เจ้าหน้าที่ของ ธพส. ให้เป็นผู้เก็บค่าเช่าที่รายวัน

 แหล่ง ข่าว จาก ธพส. กล่าวกับผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศราด้วยว่า “บอร์ดของ ธพส. รับทราบรายละเอียดหรือกระบวนการขั้นตอนในการจัดหาร้านอาหารของศูนย์อาหาร หรือไม่ หากพบว่าไม่มีการเปิดรับสมัครและไม่มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรมแล้ว ทำไมจึงไม่มีการตรวจสอบเรื่องนี้ ” เจ้าหน้าที่ ธพส.รายหนึ่งระบุ

ด้าน นายสุเมธ ดำรงชัยธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ธนารักษ์ พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด ( ธพส.) ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ว่า "จะขอสอบเอกสารดังกล่าวอย่างละเอียด หากพบว่า ไม่ถูกต้องจะดำเนินการอย่างยุติธรรม"


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ร้านอาหารศูนย์ราชการ ผู้ดูแล ส่อเบี้ยว เงินประกัน นับแสน

view