http://www.108acc.com
  
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

วิสัยทัศน์/พันธกิจ

บริการของเรา

LINK 4 A/C

DOWNLOAD

ติดต่อเรา

.......... บทความ 108 ..........

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (๔)

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (2)

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (๓)

ราชกิจจาฯ ประกาศมาตรการคง VAT 7% ออกไปอีก 1 ปี ถึงวันที่ 30 ก.ย.61 ..... คั่นเวลา

บัญญัติ 10 ประการที่ต้อง คำนึงในการวางระบบบัญชี และการควบคุม ภายใน (1)

อะไรคือข้อมูลทางบัญชี ?

องค์กรในมุมมองของนักบัญชี

วิธีการเลือกสำนักงานบัญชี

เจ้าของกิจการควรไปพบ สรรพากรเองหรือไม่

บัญญติ 10 ประการที่ต้อง คำนึงในการวางระบบบัญชี และการควบคุมภายใน (2)

สำนักงานบัญชีในฝัน (2)

สำนักงานบัญชีในฝัน (3)

สำนักงานบัญชีในฝัน (4)

สำนักงานบัญชีในฝัน (5)

สำนักงานบัญชีในฝัน (6)

การสุ่มตัวอย่างทางสถิติในการสอบบัญชี

ค่าทำบัญชีปีละ 2-3 หมื่นบาท คุณไปอยู่ที่ไหนมา

พรก.ยกเว้นการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากร 2558 ยื่นดีไหม

ธุรกิจปั่นป่วน เจอปัญหาขาดแคลนผู้สอบบัญชี จริงหรือ(1)

คุณสมบัตินักบัญชีที่ดี

จรรยาบรรณ ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

ธรรมบรรยาย ชุด จริยธรรมกับบัณฑิต - พุทธทาสภิกขุ

คลิปนี้ ชอบมาก

KPI เท่าไหร่ถึงพอ (1)

KPI เท่าไหร่ถึงพอ (2)

สถิติการจ่ายภาษีรายจังหวัด

สถิติการจ่ายภาษีตามภาค

สำนักงานบัญชีในฝัน (1)

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน?
สมัครสมาชิก
Gold charts on InfoMine.com

รำไทยทำให้เด็กตกเลข ?

รำไทยทำให้เด็กตกเลข ?

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์




ดราม่าการเมืองสัปดาห์นี้ นอกจากเรื่องจำนำข้าวซึ่งจะถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทยในฐานะโครงการเจ้าบุญทุ่ม

ที่ไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ยืนกันว่าจะช่วยให้ชาวนาพ้นจากความยากจนได้จริงในระยะยาว กระทรวงศึกษาเองก็ไม่ยอมน้อยหน้า สร้างกระแสให้คนพูดถึงได้ไม่แพ้กัน ด้วยประเด็นเรื่องการถอดวิชานาฏศิลป์ (ขอเรียกว่า รำไทย) ออกจากหลักสูตร เจ้ากระทรวงได้ออกมาชี้แจงว่า เป็นเรื่องเข้าใจผิด เป็นแค่การปรับหลักสูตรจาก 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ให้ลดลงเหลือ 6 กลุ่ม เพราะเหตุผลว่าเด็กเล็กมีเวลาในการเรียนวิชา “พื้นฐาน” เช่น ภาษาไทยและคณิตศาสตร์น้อยลง จนผลสัมฤทธิ์ที่ได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น คำถามก็คือ ทำไมรำไทยต้องกลายเป็นแพะ? ปัญหาอยู่ที่เวลาหรือคุณภาพการศึกษากันแน่?

เรื่องนี้เป็นปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์การศึกษา ซึ่งสามารถมองได้สองมุมด้วยกัน มุมมองแรก เป็นมุมมองเชิงปริมาณด้วยการตั้งโจทย์ว่า จะจัดสรรเวลาในโรงเรียนในแต่ละวันอย่างไรให้ได้ประโยชน์กับเด็กสูงสุด เมื่อแต่ละวันเด็กต้องเรียนหลายวิชา ข้อจำกัดด้านเวลาที่เกิดขึ้นจะบังคับให้เราต้องเลือกว่า เราควรทุ่มเวลาไปกับวิชาไหนดี

มุมมองที่สอง เชื่อว่าปริมาณมีความสำคัญน้อยกว่าคุณภาพ เวลาเท่าเดิม แต่หากมีการปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนให้เหมาะสม มีสภาพแวดล้อมที่ดีสำหรับการเติบโตทางความคิดของเด็ก เด็กย่อมได้ประโยชน์จากการเรียนมากกว่า นอกจากนี้ การส่งเสริมให้เด็กเติบโตตามศักยภาพเป็นพื้นฐานสำคัญในการประสบความสำเร็จในชีวิตไม่ว่าเด็กคนนั้นจะเลือกเดินในเส้นทางชีวิตสายใดก็ตาม

ตามข่าวที่ปรากฏ กระทรวงศึกษาน่าจะให้น้ำหนักกับมุมมองแรกมากกว่า คำถามก็คือ การใช้กลยุทธ์ “เพิ่มโน่น ลดนี่” จะใช้ได้ผลจริงหรือไม่?

ตารางที่แสดงเป็นการสรุปข้อมูลช่วงเวลาที่เด็กต้องเข้าเรียนและเลิกเรียนในประเทศต่างๆ และจำนวนชั่วโมงที่ใช้ในโรงเรียน ซึ่งผู้เขียนได้รวบรวมมาจากหลายแหล่ง ข้อสังเกตที่สำคัญจากตารางนี้ คือ ประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและการเมือง มีชั่วโมงในการเรียนน้อยกว่าประเทศไทยและประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนาอื่นๆ ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนาด้วยกัน ชั่วโมงเรียนในแต่ละวัน มีตั้งแต่ 7 ถึง 9 ชั่วโมง 30 นาที ซึ่งน่าจะพออนุมานได้ว่า ชั่วโมงเรียนไม่ใช่หัวใจสำคัญของการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา งานวิจัยด้านชั่วโมงเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาหลายเรื่องพบว่า การเพิ่มชั่วโมงเรียนไม่ได้ช่วยให้เด็กเรียนเก่งขึ้น นั่นหมายความว่า บางทีเรียนน้อยกว่าอย่าถูกวิธีอาจได้ผลดีกว่าการเรียนแบบบ้าเลือดก็ได้

อีกประเด็นควรตั้งข้อสังเกต คือ เด็กในประเทศที่ก้าวหน้ากว่าเรา เขาเรียนน้อย แล้วเวลาที่เหลือเขาไปทำอะไรกัน ข้อมูลสำรวจการใช้เวลา (Time Use Survey) ของบางประเทศในกลุ่มนี้ ระบุว่า เด็กเหล่านี้ใช้เวลาทำกิจกรรมตามความสนใจของตนเอง ไม่ว่าจะเป็น การเล่นกีฬา ดนตรี วาดรูป หรือกิจกรรมอื่นๆ

หากเป็นเด็กไทย เอาเวลาไปทำเรื่องพวกนี้ ทั้งครูทั้งพ่อแม่ (บางคน) อาจอกแตกตาย เพราะเชื่อว่า กิจกรรมเหล่านี้ไม่ช่วยให้เด็กเข้ามหาวิทยาลัยดีๆ ได้ ที่น่าเศร้าคือ แม้ความเชื่อนี้จะเป็นความจริง แต่ไม่ใช่ความจริงทั้งหมด สังคมไทยถูกทำให้เชื่อว่า การเข้ามหาวิทยาลัยเป็นความสำเร็จของเด็ก ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว เวลาจบออกไปทำงาน ใบปริญญาแทบไม่ได้ช่วยอะไรเลย ด้วยเหตุนี้ การเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการจัดสรรเวลาเสียใหม่ ตามกลยุทธ์ “เพิ่มโน่น ลดนี่” อาจไม่ใช่ทางออกที่ถูกต้อง

รำไทยคือเหยื่อรายล่าสุดของทัศนคติเช่นนี้ การเรียนรำไทยจึงไม่น่าจะใช่สาเหตุหลักที่ทำให้เด็กตกเลข ลองมองมุมกลับ แล้วถามคำถามสวนทางกับคนในกระทรวงบ้างว่า รำไทยให้อะไรที่คณิตศาสตร์ให้ไม่ได้?

อย่างแรก การร่ายรำ เป็นการฝึกทักษะทางการเคลื่อนไหว ซึ่งมีความสัมพันธ์กับพัฒนาการทางสมองทั้งสองด้าน ในขณะที่คณิตศาสตร์เน้นสมองข้างซ้ายเพียงอย่างเดียว

อย่างที่สอง ในโลกที่กำลังจะหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกันนี้ เด็กรุ่นใหม่จะเป็นประชากรของโลก (Global Citizens) จำเป็นต้องมีทักษะรอบด้านกว่าแค่การทำข้อสอบแบบถูกผิด ทักษะที่สำคัญที่สุด คือ ทักษะในด้านการเรียนรู้และปรับตัว ซึ่งเครื่องหมาย บวก ลบ คูณ หาร ไม่สามารถสอนได้ และการจะเป็นประชากรของโลกที่สังคมโลกยอมรับนั้น จะต้องเป็นผู้ที่มีความเป็นสากลแต่ไม่ทิ้งตัวตนดั้งเดิม ไม่ลืมความเป็นไทย

เราไม่จำเป็นต้องรำสวยเพื่อประกวดชิงรางวัล แต่การที่ครั้งหนึ่งเราได้สัมผัสถึงมิติของความเป็นไทย จะทำให้เราตระหนักว่าเราเป็นใคร มาจากไหน และไม่ว่าเราไปอยู่ที่ไหนบนโลกใบนี้ เราจะไปอยู่ในสังคมโลกในฐานะคนไทย มิใช่คนที่ขาดความเป็นตัวตนของตนเอง หลักลอย คอยตามกระแสคนอื่น

เรื่องหัวเราะไม่ออก คือ ในขณะที่ประเทศอื่นเขาพยายามให้เด็กใช้เวลาเรียนน้อยลงเพื่อให้เก่งมากกว่าเดิม เรากับใช้เวลาเท่าเดิมเพื่อให้เด็กเก่งน้อยลง

ต้องขอบอกว่า Thailand Only จริงๆ


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : รำไทย ทำให้เด็กตกเลข

view

*

view