http://www.108acc.com
  
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

วิสัยทัศน์/พันธกิจ

บริการของเรา

LINK 4 A/C

DOWNLOAD

ติดต่อเรา

.......... บทความ 108 ..........

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (๔)

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (2)

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (๓)

ราชกิจจาฯ ประกาศมาตรการคง VAT 7% ออกไปอีก 1 ปี ถึงวันที่ 30 ก.ย.61 ..... คั่นเวลา

บัญญัติ 10 ประการที่ต้อง คำนึงในการวางระบบบัญชี และการควบคุม ภายใน (1)

อะไรคือข้อมูลทางบัญชี ?

องค์กรในมุมมองของนักบัญชี

วิธีการเลือกสำนักงานบัญชี

เจ้าของกิจการควรไปพบ สรรพากรเองหรือไม่

บัญญติ 10 ประการที่ต้อง คำนึงในการวางระบบบัญชี และการควบคุมภายใน (2)

สำนักงานบัญชีในฝัน (2)

สำนักงานบัญชีในฝัน (3)

สำนักงานบัญชีในฝัน (4)

สำนักงานบัญชีในฝัน (5)

สำนักงานบัญชีในฝัน (6)

การสุ่มตัวอย่างทางสถิติในการสอบบัญชี

ค่าทำบัญชีปีละ 2-3 หมื่นบาท คุณไปอยู่ที่ไหนมา

พรก.ยกเว้นการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากร 2558 ยื่นดีไหม

ธุรกิจปั่นป่วน เจอปัญหาขาดแคลนผู้สอบบัญชี จริงหรือ(1)

คุณสมบัตินักบัญชีที่ดี

จรรยาบรรณ ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

ธรรมบรรยาย ชุด จริยธรรมกับบัณฑิต - พุทธทาสภิกขุ

คลิปนี้ ชอบมาก

KPI เท่าไหร่ถึงพอ (1)

KPI เท่าไหร่ถึงพอ (2)

สถิติการจ่ายภาษีรายจังหวัด

สถิติการจ่ายภาษีตามภาค

สำนักงานบัญชีในฝัน (1)

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน?
สมัครสมาชิก
Gold charts on InfoMine.com

พลังงานอาเซียน

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ พร้อมรับAECหรือยัง?

ความพร้อมด้านพลังงานจะเป็นตัวแปร ที่สำคัญอย่างหนึ่งในการพัฒนาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ให้เจริญก้าวหน้าก่อนที่ AEC จะเริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2558 ทั้ง 10 ชาติสมาชิก AEC มีการประชุมหารือร่วมกันเพื่อกำหนดหลักการที่ชัดเจนในการพัฒนาความพร้อมใน ด้านพลังงานเป็นระยะ ๆ ล่าสุดเมื่อวันที่ 23-27 กันยายน พ.ศ. 2556 ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ครั้งที่ 31 ขึ้น (31st ASEAN Ministers on Energy Meeting : AMEM) ที่เมืองเดนปาซาร์บนเกาะบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ภายใต้หัวข้อ ความยั่งยืนด้านพลังงานเพื่อความรุ่งเรืองของอาเซียนในบทความฉบับนี้จะขอ สรุปสาระสำคัญของการประชุมในครั้งนี้มาให้ผู้อ่านได้ทราบกัน

โดย ณกฤช เศวตนันท์ Thai.attorney@hotmail.com


ใน การประชุมดังกล่าวได้มีการเสนอรายงานความก้าวหน้าของการพัฒนา จุดเชื่อมโยงสายส่งไฟฟ้าแห่งใหม่ในอาเซียน 2 จุด ได้แก่ ระหว่างเวียดนามกับลาว และระหว่างมาเลเซียกับฝั่งตะวันตกของเกาะกาลิมันตัน ซึ่งโครงการใกล้จะแล้วเสร็จในปีหน้า (พ.ศ. 2557) และที่ประชุมยังได้วางแผนว่าจะขยายสายส่งไปยังพม่าภายในอีก 2 ปีข้างหน้าด้วย

นอกจากนั้น ที่ประชุมยังได้ตกลงที่จะปรับปรุงกฎระเบียบและมาตรฐานด้านเทคนิคในการเชื่อม โยงสายส่งไฟฟ้าระหว่างกัน เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงสอดคล้องกันในภูมิภาค

ที่ ประชุม AMEM ยังได้มีการตกลงกันในส่วนการใช้พลังงานทดแทน และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย ในปัจจุบันอาเซียนมีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ซึ่งประกอบด้วย พลังน้ำ ชีวมวล พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานความร้อนใต้พิภพรวมทั้งสิ้น 39,000 MW โดยประเทศไทยมีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในอาเซียนรวมทั้งสิ้นประมาณ 6,600 MW หรือคิดเป็น 17% ของอาเซียน

นอกจากนี้ อาเซียนยังสามารถลดความเข้มข้นด้านพลังงานไปได้แล้วถึง 7.56% จากระดับในปี 2548 ซึ่งจะทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานและขีดความสามารถในการแข่งขัน ของอาเซียน

ในระหว่างการประชุมครั้งดังกล่าว ยังได้มีพิธีลงนามในความตกลง 2 ฉบับ ได้แก่ ตราสารขยายอายุบันทึกความเข้าใจอาเซียนว่าด้วยโครงการเชื่อมโยงท่อส่งก๊าซ ธรรมชาติ (Instrument of Extension the ASEAN Memorandum of Understanding on the Trans-ASEAN Gas Pipeline Project) เพื่อขยายอายุบันทึกความเข้าใจ (MOU on the Trans-ASEAN Gas Pipeline : TAGP) ออกไปอีก 10 ปี โดยใช้เนื้อหาเดียวกับบันทึกความเข้าใจฉบับเดิมที่แสดงถึงความมุ่งมั่นของอา เซียนที่จะร่วมมือกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อการพัฒนาความมั่นคงทางด้านปิโตรเลียมในภูมิภาค

และพิธีสาร แก้ไขเพิ่มเติมความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์พลังงานอาเซียน (Protocol to Amend the Agreement on the Establishment of the ASEAN Centre for Energy) เพื่อยกระดับการดำเนินงานของศูนย์พลังงานอาเซียนให้มีประสิทธิภาพ และมีบทบาทในการทำงานด้านนโยบายพลังงานและด้านวิชาการมากขึ้น (Think Tank) โดยพิธีสารฉบับ

ดังกล่าวเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมจากเอกสารข้อตกลงการ จัดตั้งศูนย์พลังงานอาเซียน (Agreement on the Establishment of the ASEAN Centre for Energy) ที่มีการลงนามเมื่อปี 2541

ในการประชุมครั้งนี้ ตัวแทนจากประเทศไทยได้ผลักดันโครงการที่สำคัญอีก 2 โครงการ ได้แก่ โครงการด้านการสร้างการรวมตัวของตลาดพลังงานอาเซียน (ASEAN Energy Market Integration : AEMI) ซึ่งจะช่วยให้สมาชิกอาเซียน

สามารถเชื่อมโยง แหล่งพลังงานในอาเซียนเข้ากับแหล่งที่มีความต้องการใช้พลังงานในอาเซียน ผ่านการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานด้านต่าง ๆ และนำไปสู่การลดความไม่สมดุลระหว่างความต้องการและการจัดหาพลังงานในอาเซียน ตลอดจนโครงการนี้จะช่วยลดผลกระทบด้านพลังงานต่อสิ่งแวดล้อม

นอกจาก นั้น ยังมีโครงการสร้างความตระหนักรู้ด้านพลังงานในอาเซียน (ASEAN Energy Literacy Cooperation Initiative : AELCI) โครงการนี้มีจุดมุ่งหมายให้ประชากรของประชาคมอาเซียนมีข้อมูลและมีเหตุผล เพียงพอต่อการตัดสินใจในด้านพลังงาน เพื่อเป็นการกำหนดรายละเอียดของโครงการดังกล่าวให้ชัดเจนมากขึ้น และให้ทุกชาติสมาชิกอาเซียนได้มีส่วนร่วม

ตัวแทนจากประเทศไทยจึงได้ แจ้งต่อที่ประชุมว่า ประเทศไทยจะจัดการประชุมสัมมนาในเรื่อง "ความตระหนักรู้ด้านพลังงานของอาเซียน" (AELCI) ในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2557 เพื่อแลกเปลี่ยนการเรียนรู้และกำหนดประเด็นของกรอบความร่วมมือของโครงการดัง กล่าวต่อไป

จะเห็นได้ว่าในการประชุมครั้งนี้ประเทศสมาชิก AEC ได้แสดงให้เห็นถึงความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาด้านพลังงานร่วมกันระหว่าง ภูมิภาคอาเซียนที่มากขึ้น โดยทุกชาติต่างเห็นพ้องต้องกันว่าพลังงานเป็นรากฐานสำคัญที่จะช่วยยกระดับ เศรษฐกิจอาเซียนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาพลังงานทดแทน (Replaceable Energy) ซึ่งถือเป็นพลังงานที่จะมีความสำคัญต่อโลกต่อไปในอนาคต หลังจากแหล่งพลังงานหลักหมดลง

ซึ่งในประเด็นด้านพลังงานนี้ อาเซียนน่าจะสามารถพัฒนาได้ดีเพราะทรัพยากรทางธรรมชาติของประเทศสมาชิก AEC มีความหลากหลายและค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ สามารถที่จะใช้พัฒนาให้เป็นพลังงานทดแทนได้หลายประเภท


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : พลังงานอาเซียน

view

*

view