สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

จาก US Government Shutdown สู่ Debt Ceiling Crisis และ QE Tapering

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ สถานีลงทุน
โดย ดวงฤทัย ซื่อตรงประเสริฐ ฝ่ายวิจัยและพัฒนาตลาด, ThaiBMA



ใน ช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลสหรัฐภายใต้การบริหารงานของประธานาธิบดี บารัก โอบามา ต้องเข้าสู่ภาวะ "Government Shutdown" หรือภาวะที่รัฐบาลกลางจำเป็นต้องปิดหน่วยงานบางส่วนเป็นการชั่วคราว อันเป็นผลมาจากการที่สภาคองเกรสไม่สามารถตกลงกันได้ในร่างงบประมาณรายจ่าย ประจำปี 2557 ที่อาจเรียกได้ว่าเกิดจากปัญหาระบบการเมืองในปัจจุบันของสหรัฐ

กล่าวคือ รัฐสภาสหรัฐ หรือสภาคองเกรส ซึ่งประกอบด้วย สภาสูง (Senate) หรือวุฒิสภา ที่เสียงส่วนใหญ่เป็นของพรรคเดโมแครตและประธานาธิบดีโอบามา ขณะที่สภาล่าง (House of Representatives)หรือสภาผู้แทนราษฎร ที่มีพรรครีพับลิกันครองเสียงข้างมาก และสร้างเงื่อนไขว่าจะต้องเลื่อนแผนการปฏิรูประบบประกันสุขภาพ (Obamacare) ออกไปอีก 1 ปี เพื่อแลกกับการอนุมัติร่างงบประมาณประจำปี 2557 ซึ่งแน่นอนว่า เงื่อนไขดักล่าวเป็นสิ่งที่พรรคเดโมแครตยอมรับไม่ได้ จึงทำให้ไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณรายจ่ายได้ทันเวลา (30 ก.ย.) และเป็นเหตุให้สหรัฐต้องประกาศปิดหน่วยงานราชการบางส่วน ส่งผลให้เจ้าหน้าที่กว่า 800,000 คน ต้องหยุดงานโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน

ทั้งนี้ แบงก์ออฟอเมริกา เมอร์ริล ลินช์ ประเมินว่า GDP ในไตรมาสที่ 4 ของสหรัฐอาจลดลง 0.5% หากต้องปิดหน่วยงานภาครัฐบางส่วนนาน 2 สัปดาห์

อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ลักษณะนี้เคยเกิดขึ้นแล้วหลายครั้งในอดีต โดยครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในช่วงปลายปี 2538 ของประธานาธิบดี บิลล์ คลินตัน และกินเวลานาน 20 วัน จากความขัดแย้งเกี่ยวกับกฎหมายประกันสุขภาพ (Medicare) ของประธานาธิบดีคลินตันในช่วงนั้น

นอกเหนือจากปัญหางบ ประมาณรายจ่ายแล้ว ปัญหาหนี้สาธารณะของสหรัฐที่ขยับเข้าใกล้เพดาน 16.7 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์ และหากสภาคองเกรสไม่สามารถหาทางออกร่วมกันได้ สหรัฐจะเข้าสู่ภาวะผิดนัดชำระหนี้ (Default) จนเกิดความเสียหายอย่างประเมินค่าไม่ได้ โดย Fitch′s Rating ระบุว่า หากเกิดกรณีดังกล่าวขึ้น อันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐจะถูกปรับลดลงสู่ระดับ "ผิดนัดชำระหนี้ในวงจำกัด" (Restricted Default) จนกว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะได้รับการแก้ไข ขณะที่อันดับความน่าเชื่อถือของประเทศสหรัฐ จะถูกปรับลดจาก AAA สู่ระดับ B+ ด้วย

อย่าง ไรก็ตาม ล่าสุดสภาคองเกรสของสหรัฐสามารถหาทางออกของปัญหาทั้ง 2 เรื่องได้แล้ว และช่วยให้บรรยากาศการลงทุนในตลาดการเงินทั่วโลกกลับมาปรับตัวดีขึ้นอีก ครั้งหนึ่ง ขณะที่การลงทุนในตลาดตราสารหนี้ไทยยังไม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่เกิด ขึ้นมากนัก เนื่องจากนักลงทุนในตลาดคาดการณ์เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นไว้ในมุมมองที่ ค่อนข้างเป็นบวก และเชื่อว่าสุดท้ายแล้ว สหรัฐจะได้ข้อยุติของทั้ง 2 ปัญหา เพียงแต่ว่าอาจจะต้องใช้เวลาเพื่อทำการตกลงกันไปจนถึงวัน Dead Line

ดังนั้นสถานการณ์ที่คลี่คลายลงไป จึงไม่ได้สร้างความแปลกใจ และไม่ได้ส่งผลกับบรรยากาศการลงทุนในตลาดตราสารหนี้ไทยมากเท่าไหร่ และเช่นเดียวกันกับในส่วนของนักลงทุนต่างชาติที่ยังมีทั้งแรงซื้อและขายสลับ กันไปในแต่ละวัน โดยในช่วงวันที่ 14-18 ต.ค. นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะสั้น 33,000 ล้านบาท และซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะยาวประมาณ 1,600 ล้านบาท

อย่างไรก็ ตามมีตราสารหนี้ระยะสั้นที่ต่างชาติเคยถือครอง และหมดอายุไปประมาณ 56,000 ล้านบาท ดังนั้นยอดการหมดอายุที่สูงกว่ายอดซื้อสุทธิใหม่ ทำให้ในที่สุดแล้ว เม็ดเงินต่างชาติไหลออกไปจากตลาดตราสารหนี้ในช่วงระหว่างวันที่ 14-18 ต.ค. ประมาณ 21,000 ล้านบาท ซึ่งยังไม่ใช่ตัวเลขที่น่ากังวล เนื่องจากเป็นการไหลออกไปด้วยเหตุผลที่ว่าตราสารหนี้ระยะสั้นที่ถือครองอยู่ หมดอายุ และไม่ได้เป็นการไหลออกเพราะแรงขายสุทธิแต่อย่างใด

หลังจาก ปัญหาเพดานหนี้ และปัญหางบประมาณรายจ่ายได้คลี่คลายลง หลายฝ่ายเริ่มกลับมาคาดการณ์เกี่ยวกับการลดขนาดของมาตรการ QE กันอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากเป็นประเด็นที่จะมีผลทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของเม็ดเงินต่างชาติ อย่างไรก็ตามจากปัญหาที่เพิ่งจบลงไป และน่าจะมีผลต่อภาคเศรษฐกิจของสหรัฐพอสมควร น่าจะเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐอาจจะยังไม่ทำอะไรกับ มาตรการ QE ในช่วงเวลาใกล้ ๆ นี้

ดังนั้นในภาพรวมแล้ว ตลาดตราสารหนี้จึงถือเป็นช่องทางลงทุนที่ค่อนข้างปลอดภัยในช่วงเวลานี้ และนักลงทุนอาจเลือกใช้ตราสารหนี้เพื่อช่วยบริหารความเสี่ยงของพอร์ตการลง ทุนโดยรวมได้


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : US Government Shutdown Debt Ceiling Crisis QE Tapering

view