สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

วรเจตน์ ชี้ร่างพ.ร.บ.นิรโทษฯ ฉบับหัวเขียง อาจเข้าข่ายขัดรธน.

จากประชาชาติธุรกิจ

เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กลุ่มนิติราษฎร์ ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ “WAKE UP Thailand” ทางสถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวี ถึง ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับที่กรรมาธิการเสียงข้างมากมีมติเปลี่ยนแปลงตามคำแปรญัตติของนายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ อดีต ส.ส.มหาสารคาม (เพื่อไทย) พท. ว่า หลักในการตรากฎหมาย หากสภาฯมีมติรับหลักการในวาระ 1 ซึ่งในชั้น กมธ.ก่อนเข้าสู่วาระ 2 มีสิทธิแก้ไขได้ แต่ต้องไม่เกินกว่าหลักการที่สภาฯมีมติรับหลักการไว้ในวาระ 1 ซึ่งการที่คณะ กมธ.แก้ไขเกินกว่าหลักการเช่นนี้ ถือว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ ในแง่ของกระบวนการในการตรากฎหมาย


นายวรเจตน์ กล่าวต่อว่า การที่ คณะ กมธ.ออกมาอ้างว่า ร่างฯเดิมจะถูกตีกลับ เพราะขัดต่อหลักความเสมอภาค ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 30 นั้น ตนคิดว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีน้ำหนักหรือไม่มีสาระใดๆ เลย เพราะเดิมทีก็นิรโทษกรรมให้กับฝ่ายประชาชนทุกสีอยู่แล้ว ไม่ใช้ให้เฉพาะสีใดสีหนึ่ง แต่ถ้าจะมีกรณีใดที่ขัดกับหลักความเสมอภาค ตนคิดว่าการที่คณะ กมธ.เสียงข้างมากไประบุว่า ไม่รวมถึงประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 นั้นเช่นนี้ ถือว่าเป็นการขัดต่อหลักความเสมอภาคแล้ว เพราะความผิดคดี 112 เป็นเหตุจูงใจที่มาจากการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองเช่นกัน ดังนั้นก็ควรที่จะได้รับการนิรโทษกรรมด้วย 

"ตอนที่ร่างนายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ เข้าสภาฯก็ผมยังคิดว่า เมื่อเข้าสู่ชั้น กมธ.ก็มีโอกาสที่จะมีการสอดไส้ทหารและผู้สั่งการด้วย แต่ว่าร่างฯที่ผ่าน กมธ.ที่รวมถึงคดีของ พ.ต.ท.ทักษิณด้วย ก็เป็นสิ่งที่เกินความคาดหมายมากที่เดียว เพราะการนำหลายเรื่องที่มีธรรมชาติของเรื่องไม่เหมือนกันมารวมไว้ด้วยกันแบบนี้ สุดท้ายจะทำให้การแก้ปัญหาจะยุ่งยากมาก เพราะหลักการเดิมเพียงแค่จะมุ่งนิรโทษกรรมให้กับประชาชนผู้ที่เข้าร่วมการชุมนุมเท่านั้น ดังนั้น ก่อนเข้าสู่ชั้น กมธ. นิติราษฎร์ก็คุยกันว่าหากมีการแก้ไขเกินกว่าหลัก ก็คงต้องออกมาแสดงจุดยืนในทางกฎหมายออกไป ซึ่งตอนนี้เวลาก็มาถึงแล้ว อีกทั้งร่างฉบับนี้มากกว่าที่คิดมีการรวมนิรโทษกรรมในเรื่องของ คตส. เพียงแต่ท่าทีที่แสดงออกคงทำในทางกฎหมาย เพราะเราเชี่ยวชาญทางกฎหมาย ส่วนในแง่ของการประเมินในทางการเมืองก็คงจะไม่ทำ โดยจะชี้ให้เห็นว่ากฎหมายฉบับนี้มันมีปัญหาอย่างไร แล้วการแก้ปัญหาไปสู่ทางที่ดีกว่า ถูกต้องเป็นอย่างไร" นายวรเจตน์ กล่าว


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะนิติราษฎร์เตรียมแถลงข้อวิจารณ์และจุดยืนของคณะนิติราษฎร์ ที่มีต่อ “ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ....” ที่ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมาธิการฯ และกำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในวาระที่ 2 วันที่ 31 ตุลาคมนี้ เวลา 13.30 น.ที่ห้อง 123 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์


เสียงจากทนายแดง นักโทษ"เหยื่อ"ล้างผิดอีลีทไทย

จาก โพสต์ทูเดย์

เปิดใจ"อานนท์ นำภา" ทนายความเสื้อแดง นักโทษการเมืองแค่เหยื่อล้างผิดทักษิณ-ชนชั้นนำไทย            


...ชุษณ์วัฏ ตันวานิช                        
           
         
เรียก ร้อง กดดัน ทวงถามถึงอิสรภาพของพี่น้องในเรือนจำต่อรัฐบาลมานานร่วม 3 ปี ทันทีที่ 300 สส.พรรคร่วมรัฐบาลยกมือโหวตรับหลักการ “ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม” ในวาระแรก เสียงร้องคนเสื้อแดงจึงกึกก้องเพราะความหวังที่ขยับใกล้จุดหมาย ทว่า “ผู้แทนราษฎร” พรรคเพื่อไทยกลับใช้เวลาชั่วอึดใจเท 18 เสียงดับไฟความหวังของคนเสื้อแดง แปลง “กุญแจ” ดอกสุดท้ายสู่อิสรภาพให้กลายเป็นคมดาบทิ่มแทงหัวอกเหล่าญาติผู้เสียชีวิตแทน
         
เนื้อหา ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษฉบับ วรชัย เหมะ สส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทยที่ ประยุทธิ์ ศิริพานิชย์ รองประธานกรรมาธิการ (กมธ.) สัดส่วนพรรคเพื่อไทยรับไม้แปรญัตติสอดไส้นิรโทษถ้วนหน้าทั้งเจ้าหน้าที่ทหาร แกนนำ  ผู้สั่งการ รวมถึงคดีความของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กำลังเรียกเสียงต้านจากกลุ่มญาติและคนเสื้อแดงดังระงม หนึ่งในนั้นคือเสียงของ อานนท์ นำภา ทนายความของคนเสื้อแดง หนึ่งในทีมหมอความที่ต่อสู้คดีเพื่อปลดแอก “นักโทษทางความคิด” ออกจากกรงขังตั้งแต่คดีหลังเหตุการณ์รัฐประหารกันยาฯ ปี 2549 ถึงการชุมนุมในปี 2553 เเละสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน 
          
อานนท์ เริ่มอธิบายจุดยืนว่า จริงๆ แล้วไม่เห็นด้วยต่อร่าง พ.ร.บ.นิรโทษตั้งแต่เป็นฉบับเดิมของวรชัย เพราะถ้อยคำที่ระบุถึง ‘บุคคล’ ในร่างนั้น มั่นใจว่านิรโทษเหมารวมเจ้าหน้าที่ทหารด้วย เนื่องจากเคยค้นข้อกฎหมายและแนวคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อครั้งที่ พล.อ.สุจินดา คราประยูร อดีตนายกฯ ยึดอำนาจ และมีการสลายการชุมนุมในเวลาต่อมาเคยมีการออกกฎหมายนิรโทษมีถ้อยคำคล้ายกัน ซึ่งกลุ่มญาติพฤษภาฯ ปี 2535 เคยนำคดีไปฟ้องศาล ปรากฏว่าศาลระบุว่ากฎหมายฉบับนี้ได้นิรโทษให้ทหารแล้ว ดังนั้นเมื่อเห็นร่างวรชัยก็คาดการณ์แล้วว่าเมื่อเข้าวาระ 2 ต้องมีการแปรญัตตินิรโทษทหารให้ชัดขึ้นอย่างแน่นอน แต่ปรากฏผลสุดท้ายออกมาเลวร้ายยิ่งกว่าที่คิด 
         
“ผมหนุน ร่างที่นิรโทษประชาชนทุกสีทั้งคดีอาญาด้วย ชาวบ้านไปปะทะกัน เกิดความชุลมุนเป็นเพราะแรงจูงใจทางการเมือง เจ้าหน้าที่รัฐมีหน้าที่ต้องคุ้มครองพลเมืองเเต่กลับมายิงประชาชน ที่เขาอ้างว่าผู้ชุมนุมมีอาวุธแล้วดูคนที่ตายเขามีอาวุธไหม สร้างผังล้มเจ้า สุดท้ายมันมีจริงไหม ฉะนั้นรัฐมันรู้อยู่แล้วว่าชาวบ้านไม่ผิด แต่คุณกลับไปใช้กำลังสลายเขา
         
...ดังนั้นผมไม่เห็นด้วยกับ การนิรโทษให้เจ้าหน้าที่รัฐทุกระดับ ไล่ตั้งแต่คนสั่งการ อภิสิทธิ์ (เวชชาชีวะ) สุเทพ (เทือกสุบรรณ) รวมถึงทหารระดับปฏิบัติการที่ลั่นไกยิง เพราะสังคมมันต้องเรียนรู้ได้แล้วว่า การเอาปฏิบัติการทหารมาใช้ทางการเมืองสุดท้ายแล้วผลมันเป็นอย่างไร       
         
...แล้ว การที่พรรคเพื่อไทยบอกว่าประเทศต้องเดินไปข้างหน้า คุณก็แถไปเรื่อย ผมถามหน่อยจะเดินได้อย่างไร เดินไปข้างหน้าในความหมายของเพื่อไทยก็คือเดินเป็นวงกลม สุดท้ายก็เดินกลับมาที่เดิมซ้ำรอยประวัติศาสตร์ให้มีการฆ่ากันอีก เพราะฆาตกรคิดว่าแม่งกูฆ่าคนอื่นแล้วหลุดโว้ย เดี๋ยวก็ฆ่ากันต่อ ตั้งแต่สมัยตุลาฯ 16 ตุลาฯ 19 เรื่อยมา ก็แสดงว่ามันเป็นปืนกระบอกเดิมทั้งนั้น”

หลัง แปรญัตตินิรโทษเหมาเข่งออกมา อานนท์ ย้ำว่า รับไม่ได้อย่างยิ่งกับปฏิกิริยา “แถ” ของพรรคเพื่อไทย รวมถึงเสื้อแดงสาย “เลียพรรค” ที่ยังคงป้องปักรัฐบาลทั้งที่รู้ดีว่าพรรคการเมืองที่เลือกมาบิดเบือนหลัก การความยุติธรรมอย่างชัดแจ้ง                            

         
“การ ที่เพื่อไทยหรือพวกสายแดงเลียพรรคออกมาดีเฟนด์ว่าร่างวรชัยหากไม่นิรโทษให้ ทั้งหมดจะขัดกับรัฐธรรมนูญมาตรา 30 เรื่องความเสมอภาค ทั้งที่เขาก็รู้อยู่แล้วว่ากฎหมายไม่จำเป็นต้องให้สิทธิเหมือนกันทุกคน เหมือนการนิรโทษกรรมในวาระสำคัญของในหลวงหรือราชินี เขาก็ยกเว้นไม่นิรโทษให้กับคดียาเสพติด  เป็นต้น คือมันสามารถแยกการนิรโทษระหว่างแกนนำและมวลชนได้อยู่แล้ว ไม่เช่นนั้นถามว่าหากคุณอ้างความเสมอภาค แล้วการที่คุณแปรญัตติแยกนักโทษคดี 112 ออกมาไม่ให้รับสิทธินิรโทษ มันเสมอภาคหรือ ฉะนั้นเรื่องนี้คุณแถแน่ๆ
         
...ก่อน หน้านั้นไม่นิรโทษ 112 แล้วอ้างความเสียดทานกลัวนักโทษคนอื่นจะไม่ได้ออก แต่ตอนนี้คุณแม่งเอาทักษิณมาผูก เสื้อเหลืองก็ไม่ยอม เอาอภิสิทธิ์ สุเทพมาผูก เสื้อแดงก็ไม่ยอม คือ 112 เป็นแรงเสียดทานระดับหนึ่งผมเข้าใจ แต่การที่เอาทั้งทักษิณ อภิสิทธิ์ สุเทพมากองรวมกัน แรงเสียดทานมันมาทั้งสองสี แต่คุณก็ยังทำ มันคิดอย่างอื่นไปไม่ได้เลยว่า จริงๆ แล้วเป้าหมายของเพื่อไทยคือต้องการช่วยคุณทักษิณอย่างเดียว สุดท้ายก็อ้างนักโทษทางการเมืองเพื่อเป็นเครื่องมือแบล็กเมล์คนที่จะต่อต้าน ร่างแบบเหมาเข่งเท่านั้น”
         
ทนายเสื้อแดง วิเคราะห์ว่า ทุกกระบวนการล้วนเป็นแผนของเพื่อไทยตั้งแต่แรก ตัดนักโทษ 112 ปิดช่องการโจมตีเพื่อลดแรงต้าน อ้างว่านิรโทษเว้นแกนนำผู้สั่งการเพื่อลดกระเเสค้านจากเสื้อแดง เพื่อให้ผ่านขั้นรับหลักการแล้วมาแก้ไขเนื้อหาภายหลัง ทั้งหมดชัดเจนว่า เพื่อไทยตั้งธงตั้งแต่แรกว่าต้องการนิรโทษให้ทักษิณ และเป็นไปได้ว่ามีการเจรจาต่อรองกับอีกฝ่ายเรียบร้อยแล้วให้พ่วงอภิสิทธิ์ กับสุเทพเข้าไปด้วย ฉะนั้นฉากการคัดค้านของ สส.เสื้อแดง หรือท่าทีวรชัยที่ทำเป็นไม่ยกมือหนุนนิรโทษเหมาเข่งนั้น ไม่ต่างอะไรกับ“ละคร” !! ที่พรรคเพื่อไทยกำลังเล่นเท่านั้น
         

“นัก โทษในคุก ครอบครัวเขาแตกสลาย บ้านยากจน ลูกไม่มีตังค์ไปโรงเรียน บางคนเขาโดน 20 ปีบ้าง 33 ปีบ้าง เขาก็อยากออกจากคุก เขาก็ถามว่าทำไมนิรโทษกรรมพวกเขาช้า ทำไมไม่ทำตั้งแต่แรกที่เป็นรัฐบาล ถึงตอนนี้มันก็ชัดว่าที่จริงแล้วเพื่อไทยมีนัยยะต้องการดึงเรื่องมาถึง 2 ปีกว่า กระทั่งมันอ่อนล้า มันเป็นลักษณะการดึง จงใจยื้อ เอามวลชนมาผูกกับทักษิณเพื่อสุดท้ายให้นำไปสู่การนิรโทษกรรมอย่างที่เห็น
         

...อย่าง เรื่องประกันตัว  ผมเคยตั้งคำถามกับเพื่อไทยว่าถ้าคุณจะช่วยเหลือการประกันตัวอย่างจริงจัง เวลาไปเจรจาเรื่องประกันตัว คุณต้องเอาประชาชนไปกองรวมกับพวกแกนนำที่ได้รับการประกันตัวด้วย ให้มันเป็นเงื่อนไขของกันและกัน เจรจากันให้ได้รับการประกันตัวทั้งหมด แต่ปัญหาคือแม่งพวกอิลีทเพื่อไทยเขาทุบโต๊ะให้เฉพาะแกนนำที่ได้รับประกัน แต่ชาวบ้านกลับช่วยแบบตามมีตามเกิด ไปตามระบบว่าศาลจะให้หรือไม่ให้ ถ้าเพื่อไทยทุบโต๊ะคุยกันจริง ๆ กับอิลีทชนชั้นนำของสังคมไทย ผมคิดว่าชาวบ้านก็ได้ออก แต่นี่กลับใช้ชาวบ้านเป็นเพียงเงื่อนไขหนึ่งในทางการเมือง”     
        
 ไม่ เพียงตระเตรียมแผนปูทางร่าง พ.ร.บ.ฉบับซ่อนวีซ่าพาทักษิณกลับบ้านไว้อย่างดี แต่เส้นทางของร่างหลังจากนี้ที่มีความเสี่ยงทางกฎหมายว่าอาจขัดต่อหลักการ เดิมหรือรัฐธรรมนูญนั้น อานนท์ เชื่อว่าการเมืองระดับบนย่อมมี “ข้อตกลง” ตระเตรียมไว้อย่างแน่นอน
         
“หลักการที่รับมา คือ การนิรโทษเฉพาะประชาชน แล้วมีการอภิปรายอย่างหนักแน่นว่าไม่นิรโทษแกนนำ ผู้สั่งการ แต่กลับแปรญัตติในชั้นกมธ.เปลี่ยนสาระสำคัญ และไปเพิ่มนิรโทษคดีองค์กรของคณะรัฐประหารด้วย มันไม่ต่างจากการที่คุณบอกว่านิรโทษให้กับคดีลักทรัพย์ แต่ไปแปรญัตติเพิ่มคดีข่มขืนเข้ามา ขณะเดียวกันรัฐธรรมนูญมาตรา 309 บัญญัติให้การกระทำทั้งก่อนหน้าและหลังของคณะรัฐประหารชอบด้วยรัฐธรรมนูญมัน ชัดเจนมาก ดังนั้นมีโอกาสที่ร่างนี้จะถูกปัดตกไป” 
         
ทีมกฎหมายพรรคย่อมรู้ล่วงหน้า ? อานนท์ บอกว่า “...ถึง แม้ผมจะเห็นว่าขัดชัวร์ๆ แต่สุดท้ายทั้งการแปรญัตติขัดหลักการหรือม.309 ก็แล้วแต่ มันยังสามารถโต้แย้งทางกฎหมายได้ แต่หากไม่พูดถึงเรื่องข้อกฎหมาย แต่พูดในเชิงการเมือง มันอาจมีการคุยกันในชั้นอิลีทไทยว่า ให้มันผ่านไปโดยนัยยะนี้ ถ้าพูดไปก็ดูเหมือนเป็นการหมิ่นศาล แต่ผมเพียงจะบอกว่าชนชั้นนำในเมืองไทยต้องมีการเจรจาในเรืองนี้แล้ว ผมคิดว่าเจรจาจนเพื่อไทยและประชาธิปัตย์รู้กัน เพราะชนชั้นนำไม่อยากขึ้นศาลหรอก อภิสิทธิ์ไม่อยากขึ้นศาลในฐานะฆาตกรแน่ คนตำแหน่งขนาดนี้จะไปนั่งในคอกจำเลยในศาลนี่ไม่มีทาง รวมถึงกองทัพและทหารด้วย”  
         
...จริง ๆ แล้วผมก็เห็นด้วยหากจะนิรโทษคุณทักษิณ เพราะเขาไม่ได้รับความเป็นธรรมจากรัฐประหาร แต่ไม่ใช่ด้วยวิธีการนี้ มันต้องแก้ 309 ลบล้างผลพวงของรัฐประหาร ล้างคดีให้คุณทักษิณขึ้นศาลตามกระบวนการยุติธรรมใหม่ แต่ประเด็น คือ ถ้าแก้ 309 ทหารมันเจ๊งไง เพราะมาตรานี้มันนิรโทษให้ทหาร ถ้าคุณไปแก้เท่ากับจับทหารมาขึ้นศาลอีกรอบ มันเสี่ยงต่อการรัฐประหารอีก เพื่อไทยกล้าแตะทหารที่ไหน
         
...รัฐไทยยังเป็นรัฐทหารที่มัน ซ้อนกันอยู่ ทั้งงบทหาร การแต่งตั้งโยกย้าย รัฐบาลแทบจะแตะได้น้อยมาก คนที่กุมกำลังยังเป็นทหารอยู่ ถ้ารัฐไม่จับมือกับทหารมันอยู่ไม่ได้ คำว่าทหารในแง่นี้มันหมายถึงคนที่กุมอำนาจของทหารที่แท้จริงด้วย แล้วคุณทักษิณจะไปขัดทำไม มีธุรกิจเป็นของตัวเองก็ลอยตัวอยู่แล้ว เข้ามาแล้วก็กลับบ้าน ไม่จำเป็นต้องไปเสี่ยงขัดกับทหาร ” เป็นการสมยอมอำนาจ? ..ใช่ เขายอมจับมือกันได้    
         
นอกจาก การตั้งข้อสังเกตถึงภาวการณ์สมยอมทางอำนาจของชนชั้นนำไทยแล้ว ในฐานะนักกฎหมาย อานนท์ ระบุว่า ร่างพ.ร.บ.นิรโทษเป็นประโยชน์ให้ ทักษิณ และพรรคเพื่อไทยหลายชั้น เพราะเนื้อหาร่างที่แปรญัตติให้ ...นิรโทษการกระทำของบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำผิดโดย “คณะบุคคล” หรือ “องค์กร” ที่จัดตั้งขึ้นภายหลังการรัฐประหาร ตั้งแต่ พ.ศ.2547 ถึงวันที่ 8 ส.ค.พ.ศ.2556  ซึ่งนอกจากจะนิรโทษครอบคลุมคดีของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิด ความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) แล้ว ย่อมครอบคลุมถึงคดีของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ด้วย เพราะปปช.ชุดนี้ก็แต่งตั้งโดยคณะรัฐประหารเช่นกัน   
         
“จริงๆ ร่างใหม่ นอกจากมันครอบคลุมคดี คตส.ของคุณทักษิณ และคดีรถและเรือดับเพลิง แล้ว มันมีนัยยะครอบคลุมถึงคดีของยิ่งลักษณ์ (ชินวัตร นายกรัฐมนตรี) ที่อยู่ใน ปปช.ด้วย ทั้งโครงการบริหารจัดการน้ำ และคดีจำนำข้าว เพราะเจตนามันลากยาวมาจนถึง 8 ส.ค.จากเดิมที่ให้ถึงเเค่การยุบสภาเมื่อปี 2554 ปปช.ก็เป็นคณะบุคคลที่ตั้งโดยคณะรัฐประหาร ดังนั้นคดีที่ไปกองอยู่ ปปช.กลุ่มนี้ก็จะกลายเป็นโมฆะด้วย”อานนท์ตั้งข้อสังเกตทิ้งท้าย  

 

เหมาเข่งแผลงฤทธิ์   
แดง ‘ตาสว่างซ้อน’    
          

ปฏิเสธ ไม่ได้ว่าบัตรเลือกตั้งที่ถูกกากบาทให้พรรคเพื่อไทย จำนวนมหาศาลมาจากมือของคนเสื้อแดงที่ต้องการเห็น “ผู้รับผิดชอบ” จากเหตุสลายการชุมนุมที่มีผู้เสียชีวิตถึง 98 ศพ บาดเจ็บอีกกว่า 2 พันราย ทว่าเมื่อพรรคที่เคยให้สัญญาจะว่าตามล่าคนร้ายกลับกลายเป็นพรรคที่ผลักดัน การล้างผิดแบบไม่หลงเหลือแม้กระทั่งการค้นหาความจริง เหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่ทั้ง “หักดิบ” และ “หักอก” คนเสื้อแดงจนแรงสะเทือนหลายปีกทั้งแดงกลุ่มหลักและกลุ่มอิสระ      
        
“สิ่ง ที่มันเกาะเกี่ยวกันระหว่างพรรคเพื่อไทย และคนเสื้อแดง คือ เรื่องการต้านรัฐประหาร เรื่องสองมาตรฐาน แต่อย่าลืมว่าเหตุการณ์ที่มันทำให้เพื่อไทยและเสื้อแดงมาเกาะเกี่ยวผนึกกัน แน่นที่สุด คือ เหตุการณ์ปี 53 เพราะมันผ่านความเป็นความตายร่วมกันมา มันทำให้เสื้อแดงกับเพื่อไทยเป็นหนึ่งเดียวกัน ดังนั้นการที่คุณไปหาเสียงสัญญาว่าจะเอาคนผิดมาลงโทษ แต่คุณมากลับคำ ไม่ทำตามที่พูด มันก็เหมือนไปตัดข้อโซ่นี้ให้ขาดออกจากกัน"
         

อานนท์ อธิบายต่อว่า "...แต่ขาดในที่นี้ไม่ได้หมายความว่า เสื้อเเดงจะไม่เลือกเพื่อไทยทั้งหมด เพียงแต่ความศรัทธาของมวลชนมันหายไป มันกลายเป็นไม่เหลือความน่าเชื่อถือ หลังจากนี้เวที นปช.จะไปปราศรัยเรียกความเชื่อมั่นจากมวลชนได้อย่างไร มันจะกลายเป็นเรื่องตลกมาก เพราะแม้กระทั่ง นปช.หากคุณจริงใจจริง คุณต้องจัดชุมนุมค้านนิรโทษกรรมให้อภิสิทธิ์กับสุเทพแล้ว แต่นี่คุณก็ทำก็อกๆ แก็กๆ ทำตัวไม่ต่างจากสาขาของพรรคเพื่อไทย"
         
อานนท์ คาดการณ์ “อนาคต” ของมวลชนเสื้อแดงด้วยการเรียกปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากนี้ว่าคนเสื้อแดง กำลังมีสภาวะ “ตาสว่างซ้อนตาสว่าง” กระจายตัวมากขึ้นในภาคมวลชน 
         
“ตอน แรกตาสว่างกับชนชั้นนำ แต่พอมาเจอนักการเมืองที่พฤติการณ์ไม่เข้าท่า พฤติการณ์เลวๆ เขาจะกลายเป็นตาสว่าง 2 ชั้นซ้อนกัน เเต่จุดนี้ผมว่าพรรคเพื่อไทยเขามองขาดว่ายังไงๆ เสื้อแดงก็ต้องอยู่กับเขา แต่เขาประเมินพลาดไหมมันก็อีกเรื่อง ที่มาของรัฐบาลมันมาจากมวลชนทั้งประเทศก็จริง แต่ว่าความมั่นคงของรัฐบาลผมว่าคนชั้นกลางหรือคนที่ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ คสำคัญ คนเสื้อแดงต่อให้จำนวนไม่มากไปต่อต้านพรรคเพื่อไทยเรื่องร่าง พ.ร.บ.แต่มันสะเทือนได้เหมือนกัน
           
...เลือกตั้งครั้ง หน้าเขาก็อาจจะได้เป็นรัฐบาลอยู่ เพราะหลักของคนเสื้อแดงมันไม่เลือกประชาธิปัตย์หรอก ต่อให้ยังไงเขาก็ไม่เลือก เขาอาจจะยังเลือกเพื่อไทย แต่จะมีแตกไปเลือกพรรคอื่น หรืออาจจะกาโนโหวต เรื่องโนโหวตนี่มีแต่อาจจะเปลี่ยนแบบยังไม่มีนัยยะสำคัญ ฉะนั้นผลการเลือกตั้งครั้งหน้าเพื่อไทยเขาอาจจะได้คะแนนเสียงไม่เกินครึ่ง แต่ทักษิณจะดึงพรรคเล็กพรรคน้อยมาได้ และสุดท้ายเพื่อไทยก็จะกลับมาอยู่ดี เพื่อไทยเขาคงประเมินขาดแล้วในเรื่องนี้”
          

ด้วยการ เมืองไทยกลายเป็นสนามของ 2 พรรคใหญ่ เเต่ประชาธิปัตย์ยังเป็นของแสลงต่อคนเสื้อแดง ซึ่งผลสุดท้ายอาจทำให้พรรคเพื่อไทยสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ แต่ อานนท์ ระบุว่า ท่าทีของคนเสื้อแดงต่อเพื่อไทยจะเปลี่ยนไปอย่างมีนัยยะสำคัญจากอาการ “ตาสว่างซ้อน” ที่เขาว่า

“ผลที่ตามมา คือความคาดหวัง ความไว้วางใจต่อนักการเมืองของคนเสื้อเเดงมันน้อยลง คือมันจะกลับมาตรวจสอบนักการเมืองกเองเพิ่มมากขึ้น คุณบอกว่าตรวจสอบรัฐบาลเผด็จการ ตรวจสอบทหาร ตรวจสอบสถาบัน แต่สุดท้ายคุณก็ต้องย้อนกลับมาว่าคนที่คุณเลือกไปเองคุณก็ต้องกลับมาตรวจสอบ ด้วย สุดท้ายคนเสื้อแดงจะกลับมาตั้งบนหลักการของการตรวจสอบ ไม่ได้หมายความว่าตรวจสอบเรื่องการทุจริตตลอดเวลา แต่ตรวจสอบเรื่องตัวแทนของพวกเขาว่าพูดจริง ทำจริงไหม หรือเป็นแค่พวกกะล่อนทางการเมือง

คือมันอาจจะไม่ถึงจุดแตก หักถึงขนาดทิ้งพรรคเพื่อไทยทั้งหมด อารมณ์เราวัดไม่ได้หรอกจนกว่าจะมีการเลือกตั้ง แต่จนกว่าจะมีการแอ็คชันออกมา ระหว่างนี้ที่มันต้องถูกตั้งคำถามแน่ๆ คือ เพื่อไทย สส.เสื้อเเดงมึงจะเอาอะไรไปปราศรัยอะ ถ้าถูกมวลชนโห่ จะทำไง แต่ สส.คงไม่ได้คิดเรื่องนี้หรอก คิดแต่เพียงว่าการที่ออกมาเชียร์ว่าจะเอาทักษิณกลับบ้าน เพราะคิดว่าสมัยหน้าก็จะได้ลงต่อไง แต่ละคนก็เลยออกมาเลียกันเต็มที่”
         
จุด ที่ว่าคนเสื้อแดงอาจไปไกลถึงตั้งพรรคหรือไม่ ? อานนท์ ตอบมาว่า “...จุดเด่นของคนเสื้อแดงไม่ได้อยู่ที่การตั้งพรรคการเมือง แต่จุดเด่นของคนเสื้อแดงอยู่ที่การรวมตัวกันของประชาชนและใช้มวลชนในการ เคลื่อนไหวทางการเมืองตามสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องของการชุมนุม แต่ไม่ได้คิดไปไกลจนกระทั่งตั้งพรรค คือไปตั้งก็ตั้งได้ แต่มันเป็นการทำลายจุดเด่นของคุณไป และบทบาทของมันคงจะไม่ต่างจากที่พรรคการเมืองใหม่เคยตั้งไปแล้ว”
 
'เซ็ตซีโร่'ไม่มีทางสำเร็จ ซุกปัญหาเพิ่ม  
          

ด้าน พ.ต.ท.ทักษิณเสนอโมเดล “เซ็ตซีโร่” การเมืองไทยด้วยกฎหมายล้างผิดทุกฝ่าย แต่ทนายความ อานนท์ แย้งว่า ไม่มีทางสำเร็จ ในทางกลับกันจะยิ่งหมักหมมปัญหาไว้ใต้พรม ทรรศนะส่วนตัวเขามองว่าการเมืองไทยจะเริ่มใหม่ได้ ทุกฝ่ายต้องยอมรับความผิดและทำความจริงให้ปรากฏเสียก่อน
         
“บาง ทีด้วยบรรยากาศแบบนี้ใช้เงื่อนไขของกฎหมายมันทำกันไม่ได้  มันยากมาก ที่จริงมันต้องให้ทุกฝ่ายคุยกันว่าสถานการณ์ที่มาถึงปัจจุบันนี้ มันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ให้แต่ละฝ่ายเอาความจริงมาคุยกันแล้วบอกว่าใครทำอะไรมาบ้าง แล้วมาสารภาพผิดกัน เเละมันไม่ได้มีแค่เหลืองกับแดง แต่มันมีเรื่องของชนชั้นนำที่มันผูกโยงกันด้วย
         
...ทั้ง ฝ่ายการเมือง ฝ่ายทหารควรคุยกันว่ามันมีเรื่องผิดพลาดอย่างไร ประชาชนมาคุยกันว่าไอการที่คุณออกมาเคลื่อนไหวแบบนี้มันมีผลอย่างไร และสถาบันเองก็ต้องมาคุยเรื่องนี้ว่าบทบาทของสถาบันต่อสถานการณ์ทางการเมือง มันมีข้อถูกต้องมันมีข้อผิดพลาดหรือสามารถช่วยคลี่คลายปัญหาสถานการณ์ไปได้ อย่างไร
         
...แต่ปัญหา คือ ขณะนี้เราไม่สามารถเรียกร้องให้บางองค์กรออกมาคุยได้โดยตรง คุณจะเอาองคมนตรีมาบอกว่าองคมนตรีแต่ละคนมีส่วนอย่างไร อย่าง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ถามว่าเขาจะมาคุยหรือเปล่า เขาไม่มาหรอก”  
         
ให้ยอมรับร่วมกันว่าทุกคนก็ต่างมีส่วนในความผิดนั้น ?  “...ใช่ เข้ามาคุยกันแล้วยอมรับความจริง ผมว่าทุกคนยอมรับได้ อภิสิทธิ์คุณยอมรับหรือไม่ว่า คุณมีส่วนในการสั่งฆ่า คนเสื้อแดงที่ไปเผาศาลากลางมาคุยกันว่า กูนี่แหละเผา แต่ที่เผาเพราะกูทนไม่ได้ที่รัฐบาลอภิสิทธิ์สั่งฆ่าประชาชนที่ราชประสงค์ ถ้าสารภาพมาทุกฝ่าย ผมว่าสังคมมันพร้อมก้าวไปด้วยกัน มันต้องเอาข้อเท็จจริงตรงนี้มาคุยกัน ไม่เช่นนั้นนิรโทษกรรมก็จบไปเฉยๆ อยู่กันอย่างนี้ก็เถียงๆ กันว่า ใครเป็นคนสั่งฆ่ากันแน่ ประวัติศาสตร์ก็ไม่ได้ถูกชำระ ปัญหาก็ยังคงหมักหมมอยู่เช่นนี้ต่อไป"


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : วรเจตน์ ร่างพ.ร.บ.นิรโทษฯ ฉบับหัวเขียง เข้าข่ายขัดรธน.

view