http://www.108acc.com
  
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

วิสัยทัศน์/พันธกิจ

บริการของเรา

LINK 4 A/C

DOWNLOAD

ติดต่อเรา

.......... บทความ 108 ..........

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (๔)

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (2)

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (๓)

ราชกิจจาฯ ประกาศมาตรการคง VAT 7% ออกไปอีก 1 ปี ถึงวันที่ 30 ก.ย.61 ..... คั่นเวลา

บัญญัติ 10 ประการที่ต้อง คำนึงในการวางระบบบัญชี และการควบคุม ภายใน (1)

อะไรคือข้อมูลทางบัญชี ?

องค์กรในมุมมองของนักบัญชี

วิธีการเลือกสำนักงานบัญชี

เจ้าของกิจการควรไปพบ สรรพากรเองหรือไม่

บัญญติ 10 ประการที่ต้อง คำนึงในการวางระบบบัญชี และการควบคุมภายใน (2)

สำนักงานบัญชีในฝัน (2)

สำนักงานบัญชีในฝัน (3)

สำนักงานบัญชีในฝัน (4)

สำนักงานบัญชีในฝัน (5)

สำนักงานบัญชีในฝัน (6)

การสุ่มตัวอย่างทางสถิติในการสอบบัญชี

ค่าทำบัญชีปีละ 2-3 หมื่นบาท คุณไปอยู่ที่ไหนมา

พรก.ยกเว้นการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากร 2558 ยื่นดีไหม

ธุรกิจปั่นป่วน เจอปัญหาขาดแคลนผู้สอบบัญชี จริงหรือ(1)

คุณสมบัตินักบัญชีที่ดี

จรรยาบรรณ ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

ธรรมบรรยาย ชุด จริยธรรมกับบัณฑิต - พุทธทาสภิกขุ

คลิปนี้ ชอบมาก

KPI เท่าไหร่ถึงพอ (1)

KPI เท่าไหร่ถึงพอ (2)

สถิติการจ่ายภาษีรายจังหวัด

สถิติการจ่ายภาษีตามภาค

สำนักงานบัญชีในฝัน (1)

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน?
สมัครสมาชิก
Gold charts on InfoMine.com

คนชอบความสุข แต่กังวลเรื่องเศรษฐกิจ

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

       ไว คอม เผยผลวิจัยพบคนไทยมีความเครียดน้อยที่สุดจาก 32 ประเทศ ยอมรับกังวลเรื่องภาวะเศรษฐกิจ แต่ยังมีความสุข และมองโลกในแง่ดี ฟิลิปปินส์ครองอันดับหนึ่งมีค่าเฉลี่ยระดับความสุขอยู่ที่ 83% ตามด้วยอินเดีย 81% จีน 80% ไทย 78% มาเลย์เซีย 77% และสิงคโปร์ 69%
       
       บริษัท ไวคอม อินเตอร์เนชั่นแนล มีเดีย เน็ตเวิรคส์ (VIMN) เอเชีย หน่วยงานภายใต้บริษัท ไวคอม (เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ: VIA, VIAB) เปิดเผยผลการศึกษาและวิจัยจากทั่วโลกในกลุ่มคนรุ่นมิลเลนเนี่ยลส์ (millennials) ในหัวข้อ “ภาวะปกติในอนาคต : ทรรศนะใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนจากกลุ่มคนรุ่นมิลเลนเนี่ยลส์ทั่วโลก” (The Next Normal : AnUnprecedented Look At Millennials Worldwide) ซึ่งได้เพิ่มเติมผลการศึกษาและผลวิจัยใหม่ๆ จากหลายประเทศในเอเชีย อาทิ มาเลย์เซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย
       
       โดยทำวิจัยในกลุ่มคนรุ่นมิลเลนเนี่ยลส์ในประเทศไทยกว่า 450 คน พบว่าเป็นกลุ่มที่มีความเครียดน้อยที่สุด โดยน้อยกว่า 32 ประเทศที่เข้าร่วมทำการวิจัย โดยพบว่าส่วนใหญ่แล้วเลือกที่จะมีความสุข แม้จะมีความกังวลด้านปัจจัยทางเศรษฐกิจก็ตาม
       
       จากผลการวิจัยใหม่ในครั้งนี้ได้ข้อมูลที่แท้จริงของกลุ่มคนรุ่นนี้ จากทั่วโลกเป็นครั้งแรกซึ่งถือเป็นผลวิจัยทางประชากรที่จะมีผลกระทบเป็น อย่างมากในหลายๆ ด้าน การนำเสนอผลวิจยเชิงลึกในครั้งนี้ ดำเนินการโดย นายคริสเตียน เคอร์ซ รองประธานฝายวิจัยนานาชาติ บริษัท ไวคอม อินเตอร์เนั่นแนล มีเดีย เน็ตเวิรคส์
       
       การศึกษาและวิจัยครั้งนี้ได้ถูกทำการสำรวจจากทั่วโลก และได้นำเสนอผลวิจัยเชิงลึก อาทิ ทัศนคติ ค่านิยม ความปรารถนา และมุมมองต่างๆ ของกลุ่มคนรุ่นมิลเนเนี่ยลส์ อายุระหว่ง 9-30 ปี จาก 32 ประเทศ รวมประเทศต่างๆ ในเอเชีย โดยก่อนหน้านี้เป็นผลวิจัยที่รวมผลการศึกษาจากประเทศจีน อินเดีย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ได้ทำการสัมภาษณ์ไปทั้งสิ้นกว่า 20,000 คน ทั้งการสำรวจในเชิงลึก สิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงข้อคิดเห็นทั้งหมด โดยในประเทศไทย สำรวจกลุ่มเป้าหมายทั้งสิ้น 450 คน
       
       นายคริสเตียน เคอร์ซ กล่าวว่า ผลวิจัยดังกล่าวจะเป็นคู่มือที่น่าเชื่อถือเพื่อนำไปสู่วิวัฒนาการของ ประชากร โดยที่ผลวิจัยจช่วยในเรื่องของข้อมูลเนื้อหาที่จะส่งออกไป รวมไปถึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพความสัมพันธ์ระหว่างพวกเรากับกลุ่มคนรุ่น นี้ทั่วโลก
       
       ผลวิจัยระบุว่า ทุกวันนี้ภาวะเศรษฐกิจคือปัจจัยอันดับแรกที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อกลุ่มคนรุ่น นี้ โดยมีจำนวนถึง 68% จากทั้งหมดที่มีความรู้สึกอ่อนไหวต่อวิกฤติเศรษกิจโลก ถึงแม้จะมีความเป็นกังวลในเรื่องเศรษฐกิจที่มีนัยสำคัญ แต่โดยส่วนใหญ่ของกลุ่มคนรุ่นนี้มักจะแสดงออกให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความสุข และการมองโลกในแงดี
       
       * มากกว่าสามในสี่ (76%) ของกลุ่มคนรุ่นนี้บรรยายถึงตนเองว่า ”เป็นคนที่มีความสุขมาก”
       * ระดับความสุขของกลุ่มคนยุคมิลเลนเนี่ยลส์นั้นเหนือกว่าระดับความเครียดโดยอยู่ที่ระดับ 2 ต่อ 1
       * ใประเทศไทย กลุ่มคนยุคมิลเลนเนี่ยลส์มีระดับความสุขอยู่ที่อันดับสามจากทั่วทั้งเอเชีย ถือเป็น 78% โดยมีประเทศฟิลิปปินส์ครองอันดับหนึ่ง ที่มีค่าเฉลี่ยระดับความสุขอยู่ที่ 83% ตามด้วยอินเดีย ที่ 81% และจีน ที่ 80% มาเลย์เซีย ที่ 77% และสิงคโปร์ ที่ 69%

       ผลการศึกษาที่มีนัยสำคัญมีดังนี้
       
       กลุ่มคนรุ่นมิลเลนเนี่ยลส์จะรู้สึกมีความทุกข์ต่อความไม่มั่นคงในหน้าที่การงาน
       
       ความเป็นกังวลทางด้านเศรษฐกิจส่งผลให้เกิดความหวาดกลัวอย่างต่อ เนื่องในด้านความมั่นคงต่อหน้าที่การงาน รวมไปถึงความไม่แน่ใจและหวาดระแวงในการขยับเลื่อนฐานะของตนเอง
       
       * จากทั่วโลกพบว่าภาวะการว่างงานเป็นประเด็นสำคัญระดับต้นๆ ของโลกที่กลุ่มคนรุ่นนี้ต้องการให้แก้ไข ซึ่งมากกว่าปัญหาความอดอยากหิวโหยของผู้คนทั่วโลก
       
       * เกือบครึ่งของกลุ่มคนยุคมิลเลนเนี่ยลส์ (49%) เชื่อว่าสถานการณ์ของความมั่นคงในหน้าที่การงานจะยังคงมีแนวโน้มที่แย่ลง โดยที่มีจำนวนถึง 78% ที่มีความต้องการได้รับค่าจ้างในอัตราแรงงานขั้นต่ำ ดีกว่าตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่มีงานทำ
       
       * ในขณะที่ในปี 2549 พบว่ามีจำนวนกว่า 38% ของกลุ่มวัยหนุ่มสาวที่เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งกับประโยคที่ว่า"ฉันจะหาเงิน ได้มากกว่าพ่อแม่หรือผู้ปกครองของฉัน” แต่ปัจจุบันตัวเลขดังกล่าวลดลงเหลือ 25% ในยุคหลังวิกฤติเศรษฐกิจ
       
       อย่างไรก็ตาม พวกเขาสารถหาเหตุผลในการทำให้ตัวเองมีความสุขด้วยการใช้เวลาอยู่กับครอบครัว คือวิธีหาความสุขอันดับแรกสำหรับกลุ่มคนรุ่นมิลเลนเนี่ยลส์ เนื่องจากคนรุ่นนี้ให้ความสำคัญในความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ปัจจุบันหน่วยเล็กๆ ในสังคมอย่างครอบครัวจึงมีความใกล้ชิดกันมากว่าในอดีต
       
       ความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อนทั้งในชีวิตจริงและในโลกออนไลน์เป็นอีกหนึ่ง ในการหาความสุขของกลุ่มคนรุ่นมิลเลนเนี่ยลส์ ท่ามกลางคนยุคนี้ พบว่ามีแนวโน้มที่แวดวงความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อนในชีวิตจริงนั้นแคบลง เมื่อเปรียบเทียบกับเพื่อนในโลกออนไลน์ซึ่งมีจำนวนพุ่งขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว
       
       * ในระยะหกปีหลัง กลุ่มคนรุ่นนี้ยังคงมีกลุ่มเพื่อนรักในจำนวนเท่าเดิม แต่ในแวดวงของเพื่อนที่ต้องพบเจอประจำวันกลับมีจำนวนที่แคบลง
       
       * ในทางกลับกัน พบว่าคนรุ่นนี้มีเพื่อนในโลกออนไลน์มากกว่า 200 คน ตลอดระยะเวลาหกปีที่ผ่านมา พบว่ามีตัวเลขก้าวกระโดดอย่างมีนัยสำคัญของกลุ่มเพื่อทางออนไลน์ซึ่งได้รบ การยอมรับว่าเป็นเพื่อน แม้ว่าจะไม่เคยพบเห็นกันมาก่อนก็ตาม
       
       * ในประเทศไทย พบว่านอกเหนือไปจากสมาชิกในครอบครัวแล้วนั้น ดารานักร้องและเหล่าเซเลเบริตี้ รวมถึงครู อาจารย์ เป็นกล่มที่ถูกยอมรับว่าเป็นผู้ที่สร้างแรงบันดาลใจให้แก่กลุ่มคนรุ่นนี้
       
       วิธีการแก้ความเครียดของกลุ่มคนรุ่นนี้ในประเทศไทยที่มักจะเลือกใช้ คือ ดูโทรทัศน์ นอน และพูดคุยกับพ่อแม่หรือผู้ปกครอง
       
       เทคโนโลยไม่ได้เป็นตัวกำหนด แต่เป็นเครื่องมือในการแสดงตัวตน แทนที่จะเป็นตัวกำหนดกลุ่มคนรุ่นมิลเลนเนี่ยส์ แต่เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่ถูกใช้ในการแสดงตัวตน หากถามกลุ่มคนรุ่นนี้ จะได้คำตอบที่ว่า “เทคโนโลยีไม่ได้ทำให้พวกเขาเป็นในแบบที่พวกเขาเป็น แต่มันได้ทำให้เขาสามารถเป็นอะไรก็ได้ที่เขาอยากจะเป็น
       เทคโนโลยีเป็นตัวสนบสนุนความสัมพันธ์ให้แข็งแรงขึ้นและมีบบาทสำคัญในการพัฒนาความสุขอย่างยั่งยืนละเปิดโลกทรรศน์ให้ว้างมากขึ้น
       
       * สามในสี่ของคนกลุ่มนี้ชื่อว่าโซเชียลมีเดยมีผลประโยชน์ในด้าความสัมพันธ์แบบเพื่อน
       
       * และมีจำนวนมากถึง 73% ของคนกลุ่มนี้กล่าวว่าการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตนั้นได้เปลี่ยนวิธีคิดที่พวกเขามีต่อโลกใบนี้
       
       กลุ่มคนรุ่นมิลเลนเนียลส์ในเอเชีย (นอกเหนือจากประเทศญี่ปุ่น) มีพฤติกรรมการใช้เฟสบุ๊คและทวิตเตอร์ระหว่างดูโทรทัศน์ที่ค่อนข้างบ่อย มากกว่าที่ใดในโลก ยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัด อาทิ ในประเทศจีนมีการใช้ไมโครบล็อกบนไวโบ (Weibo) ถี่มาก ในฟิลิปปินส์กลุ่มคนรุ่นนี้มักมีความกระตือรือร้นเป็นอย่างมากในการใช้ทุก ช่องทางเพื่อสื่อสารกันเป็นปกติ ส่วนผลสำรวจในประเทศไทยพบว่าพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดีย (มีจำนวนถึง 42% ที่ส่งข้อความ ในขณะที่มีจำนวน 46% ใช้ในการสื่อสารกัน) มีสูงกว่าการส่งข้อความหากันระหว่างดูโทรทัศน์ (27%)
       
       ความภาคภูมิใจและความอดทนอดกลั้น
       
       กลุ่มคนรุ่นนี้กำลังแสดงให้เห็นถึงอารมณ์ความรู้สึกที่มีมากขึ้นต่อ ความภาคภูมิใจในประเทศของตนเองรวมไปถึงการแสดงออกถึงความสนใจในการรักษา ประเพณีพื้นเมือง ขณะเดียวกันพวกเขาได้เปิดใจกว้างมากขึ้นและอดทนอดกลั้นต่อมุมมองของนานา ประเทศและวัฒนธรรมอื่นๆ
       
       * มีจำนวนมากถึง 83% ที่เห็นด้วยกับประโยคที่ว่า “ฉันภูมิใจที่เกิดเป็คนประเทศ...” ซึ่งเพิ่มจาก 77% ในปี 2549
       
       * มีจำนวนกว่า 76% ที่เห็นด้วยว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องช่วยกันรักษาประเพณีของประเทศตนเอง โดยมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 68% ในปี 2549
       
       * มีจำนวน 73% ที่คิดว่าเป็นเรื่องดีที่มีคนต่างชาติเข้ามาอยู่อาศัยในบ้านเกิดของพวกเขา ซึ่งเป็นอัตราเฉลี่ยที่เพิ่มจาก 51% ในปี 2549
       
       * มีจำนวนถึง 86% ที่ระบุถึงตัวเองว่าเป็นคนที่อดทน อดกลั้น
       
       * มีจำนวนถึง 84% ของคนกลุ่มนี้ เห็นด้วยกับประโยคที่ว่า “ช่วงวัยเรามีศักยภาพที่สามารถเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ให้ดีขึ้นได้"
       
       จากผลวิจัยในครั้งนี้ยังได้ชี้ให้เห็นถึงการแสดงผลในเชิงบวกอย่างแท้ จริงของ “glocalisation” ที่ส่งผลต่อกลุ่มคนรุ่นมิลเลนเี่ยลส์ในเชิงลึกยิ่งขึ้น”
       
       ภาวะปกติในอนาคต : ระหว่าง “พวกเรา” กับ “ตัวเรา”
       
       จากผลการวิจัยนี้ยังแสดงให้เห็นว่า “ภาวะปกติในอนาคต” เป็นภาวะที่เกี่ยวข้องกับ “พวกเรา” มากกว่า “ตัวเรา” โดยลักษณะพิเศษที่สำคัญที่นิยามถึงกลุ่มคนรุ่นมิลเลนเนี่ยส์นี้คือ ความตระหนักต่อสังคมทั่วโลก ควมอดทนอดกลั้นและการปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ได้เป็นอย่างดี และมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น รวมไปถึงความปรารถนาอย่างแรงกล้าในการส่งต่อและเชื่อมต่อไปทั่ว
       
       * พบว่ามีจำนวนถึง 87% ที่มีความกระตือรือร้นและอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับโลกใบนี้
       
       * และมีจำนวน 87% “ส่งต่อและเชื่อมต่อ” สู่กันและกัน (“sharing and connecting”)
       
       * 85% ของคนกลุ่มนี้ได้ระบุว่าตัวเองมีความสามรถในการปรับตัวได้อย่างรวดเร็วเพื่อให้พร้อมเสมอกับการเปลี่ยนแปลง
       
       * มีจำนวนว่า 93% ทั่วโลกที่เชื่อว่าการปฏิบัติต่อผู้คนอื่นๆ ด้วยความเคารพถือเป็นความรับผิดชอบร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเชื้อชาติ เพศ ศาสนา ความคิดห็นทางการเมือง หรือจะเป็นความหลากหลายทาง


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : คนชอบความสุข กังวลเรื่องเศรษฐกิจ

view

*

view