สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

องค์กรต้านโกง ค้านนิรโทษกรรมสุดซอย ชี้ส่อขัดแย้งภาคีอนุสัญญายูเอ็น

องค์กรต้านโกง” ค้านนิรโทษกรรมสุดซอย ชี้ส่อขัดแย้งภาคีอนุสัญญายูเอ็น

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันประเทศไทย ออกแถลงการณ์คัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ชี้ส่งเสริมการทุจริต ผู้มีส่วนร่วมไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย ทำลายระบบคุณธรรมและจริยธรรมอย่างร้ายแรง ตัดโอกาสพิสูจน์ความบริสุทธิ์ กระบวนการยุติธรรมหมดความศักดิ์สิทธิ์ ขัดแย้งเจตนารมณ์รัฐบาล ส่อขัดแย้งภาคีอนุสัญญาต่อต้านการทุจริตของยูเอ็น ร้องประชาชนร่วมสนันสนุนคัดค้าน
       
       วันนี้ (28 ต.ค.) ที่โรงแรมอโนมา ถนนราชดำริ นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่นประเทศไทย และสมาชิกองค์กรธุรกิจการเงินและการลงทุน ออกแถลงการณ์ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ และภาคีภาคธุรกิจ การเงินและการลงทุน คัดค้านล้างผิดคดีโกง
       
       โดยระบุว่า ตามที่กรรมาธิการเสียงข้างมากในที่ประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการ เมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. …. (พ.ร.บ.นิรโทษกรรม) มีมติเห็นชอบให้แก้ไขเพิ่มเติมความในร่างมาตรา 3 ความบาง ส่วนว่า “..หรือที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำผิดโดยคณะบุคคลหรือองค์กรที่จัดตั้งภาย หลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ถึงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ไม่ว่าผู้กระทำจะได้กระทำในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมาย ก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดความรับผิดชอบโดยสิ้นเชิง..” ซึ่งมองได้ว่ามีเจตนาและความมุ่งหมายที่จะลบล้างคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดี อาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในคดีทุจริตต่างๆ และให้คดีที่ยังค้างคาเป็นอันต้องยุติไป ให้ผู้กระทำความผิดในคดีทุจริต ทั้งในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ พ้นจากความรับผิดและความรับผิดชอบโดยสิ้นเชิงนั้น
       
       องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) และสมาชิกองค์กรภาคธุรกิจ การเงินและการลงทุน เช่น สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย และสภาธุรกิจตลาดทุนไทย ซึ่งประกอบด้วยสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย สมาคมนัก วิเคราะห์หลักทรัพย์ สมาคมบริษัทจัดการลงทุน สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เห็นว่ามติดังกล่าวจะส่งผลเสียอย่างร้ายแรงต่อกระบวนการต่อสู้คอร์รัปชันที่ ทุกภาคส่วนของสังคม ไม่ว่าจะเป็นภาคประชาชน เอกชน รวมถึงภาครัฐที่รัฐบาลชุดปัจจุบันเป็นแกนหลัก ได้พยายามขับเคลื่อนร่วมกันมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
       
       1. เป็นที่ทราบว่าสถานการณ์คอร์รัปชันในประเทศไทยมีความรุนแรงมากขึ้น ในทุกระดับ ทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติ ตัวเลขจากการศึกษาพบว่าประเทศไทยสูญเสียงบประมาณแผ่นดินไปกับการทุจริต มากกว่า 3 แสนล้านบาทต่อปี ซึ่งเป็นเงินจำนวนมหาศาลที่สามารถนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน สร้างความแข็งแกร่งและศักยภาพการแข่งขันของประเทศได้อย่างมาก
       
       2. ถ้อยคำแก้ไขเพิ่มเติมความในร่างมาตรา 3 เป็นการส่งเสริมการกระทำทุจริต ส่งผลให้ผู้มีส่วนสมรู้ร่วมคิดทั้งตัวการ ผู้สนับสนุน และผู้ถูกใช้ให้กระทำ ไม่มีความเกรงกลัวต่อกฎหมาย ซึ่งจะทำให้คอร์รัปชันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นจนมิอาจประมาณความสูญเสียได้
       
       3. การล้างผิดในคดีทุจริต เป็นการทำลายระบบคุณธรรมและจริยธรรมของสังคมอย่างร้ายแรงในสังคมไทย และโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่จะเป็นพลังขับเคลื่อนชาติ จะมีค่านิยมใหม่ว่าโกงแล้วไม่มีความผิด โกงแล้วล้วนได้แต่ผลดี ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความล้มเหลวทางสังคมอย่างใหญ่หลวงเกินกว่าจะแก้ไขได้
       
       4. มติแก้ไขเพิ่มเติมในร่างกฎหมายดังกล่าว ส่งผลเสียโดยตรงและอย่างรุนแรงต่อผู้ถูกกล่าวหา เนื่องจากถูกตัดโอกาสที่จะพิสูจน์ความบริสุทธิ์ตามกระบวนการยุติธรรมให้ถึง ที่สุด หมดโอกาสที่จะได้ใช้ความจริงพิสูจน์ข้อกล่าวหาและลบล้างความระแวงแคลงใจของ คนในสังคม ที่สำคัญกระบวนการยุติธรรมของประเทศก็จะหมดความศักดิ์สิทธิ์ เพราะไม่สามารถทำให้สังคมเชื่อในคำตัดสิน และไม่สามารถนำตัวคนผิดมาลงโทษตามครรลองของกฎหมาย เพื่อชดใช้และรับผิดต่ออาชญากรรมร้ายแรงที่กระทำต่อแผ่นดินและคนไทยทั้ง ประเทศได้
       
       5. รัฐบาลได้เคยแสดงความมุ่งมั่นที่จะต่อต้านคอร์รัปชัน โดยนำส่วนราชการต่าง ๆ ร่วมกันประกาศเจตนารมณ์ เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2556 ให้คำมั่นว่าการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันถือเป็นภารกิจหน้าที่ และนโยบายที่สำคัญของรัฐบาลและข้าราชการทุกคน ทั้งฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจำ พร้อมกับได้วางยุทธศาสตร์ มาตรการต่างๆ รวมถึงสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชน เพื่อต่อต้านคอร์รัปชันอย่างเป็นรูปธรรม ทว่า การแก้ไขเพิ่มเติมความในร่างมาตรา 3 ขัดแย้งอย่างชัดแจ้งต่อคำประกาศเจตนารมณ์ของรัฐบาล ซึ่งส่งจะผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและความพยายามต่างๆ ของรัฐบาลอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้ และไม่ควรเกิดขึ้น
       
       6. รัฐบาลไทยได้ให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาขององค์การสหประชาชาติเพื่อการ ต่อต้านการทุจริต (United Nations Convention against Corruption : UNCAC 2003) เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2554 แต่ทว่า ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับนี้ มีเนื้อหาที่สุ่มเสี่ยงว่าจะขัดแย้งและเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการ ตามอนุสัญญาฯ กรณีนี้อาจทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศแรกและประเทศเดียวในโลกที่ออกกฎหมาย นิรโทษกรรมให้กับคดีอันเป็นความผิดฐานคอร์รัปชันภายหลังลงนามให้สัตยาบัน ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีภาพลักษณ์ที่เสื่อมเสียในสายตาของประชาคมโลก
       
       ด้วยเหตุผลดังกล่าว องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) และสมาชิกองค์กรภาคธุรกิจ การเงินและการลงทุนดังรายนามข้างต้น จึงขอยืนยันคัดค้านการแก้ไขเพิ่มเติมความในร่างมาตรา 3 เพื่อล้างผิดคดีทุจริต และเน้นย้ำจุดยืนว่า บรรดาคดีในฐานความผิดคอร์รัปชันทั้งหมดต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมจนถึง ที่สุด เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย สร้างบรรทัดฐานที่ถูกต้องของกระบวนการยุติธรรมในสังคม และเพื่อให้การปราบปราบการทุจริตคอร์รัปชันเป็นรูปธรรมอย่างจริงจังและน่า เชื่อถือ
       
       “องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ ขอให้คำมั่นว่าเราจะทำทุกอย่างที่สนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในสังคม และขอเชิญชวนให้ประชาชนผู้ต้องการเห็นสังคมไทยปราศจากคอร์รัปชันร่วมสนัน สนุน ในการคัดค้านการแก้ไขเพิ่มเติมความในร่างมาตรา 3 ครั้งนี้ เราจะเอาชนะคอร์รัปชันได้ด้วยพลังของสังคม” ในตอนท้ายของแถลงการณ์ระบุ


องค์กรต้านโกงลั่นค้านนิรโทษฯถึงที่สุด - "คำนูณ" เตือนซ้ำเติมภาวะศก.ถดถอยเสี่ยงสังคมล่มสลาย

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

ผจก.องค์กรต้านคอร์รัปชั่น ลั่นค้านพ.ร.บ.นิรโทษฯฉบับยกเข่งอย่างถึงที่สุด เหตุล้างคดีโกงฉุดความน่าเชื่อถือประเทศ ต่างชาติไม่กล้าเข้ามาลงทุน เผยเตรียมรณรงค์ครั้งใหญ่ให้ข้อมูลแก่ประชาชนถ้ารัฐบาลยังเดินหน้า "คำนูณ" เตือน พ.ย. มีอีกหลายเหตุการณ์ร้ายรออยู่ แล้วยังเอาเรื่องนิรโทษฯมาซ้ำเติมประเทศที่กำลังเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ระวังสังคมล่มสลาย
         วันนี้ (28 ต.ค.) นายมานะ มิตรมงคล ผู้จัดการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) และ นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ได้ร่วมสนทนาในรายการ "คนเคาะข่าว" ทางเอเอสทีวี
       
       โดย นายมานะ กล่าวว่า ทันทีที่ทราบถึงการแก้มาตรา 3 ในพ.ร.บ.นิรโทษกรรม รู้สึกตกใจมาก เพราะครอบคลุมไปถึงคดีคอร์รัปชั่นทั้งที่พิพากษาไปแล้วและที่กำลังพิจารณา ทั้งนี้ประเทศไทยได้ลงนามให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาขององค์การสหประชา ชาติเพื่อการต่อต้านการทุจริต แต่กลับไม่ปฏิบัติตาม จะทำให้ความน่าเชื่อถือของประเทศถอยหลังไปเรื่อยๆ ต่างชาติก็ไม่กล้าเข้ามาลงทุน เป็นการเสียโอกาสการลงทุนจากต่างชาติ ถ้าสมรรถภาพการแข่งขันของไทยเสียไป จะเป็นตัวฉุดรั้งของอาเซียน ฉะนั้นการออกพ.ร.บ.ล้างคดีโกงมีผลมากทั้งระดับประเทศและระดับนานาชาติ
       
       มีหลายคนสงสัยว่านักธุรกิจทำไมถึงกล้าออกมาขัดแย้งกับรัฐบาล อยากจะบอกว่าเราไม่ได้คัดค้านผลทางการเมือง แต่เราทำเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน และตนหวังว่าผู้มีวุฒิภาวะในรัฐบาลน่าจะทราบดีว่าเราทำเพื่ออะไร
       
       นายมานะ กล่าวต่อว่า ถ้ารัฐบาลยังเดินเรื่องนี้ต่อ สิ่งที่องค์กรตั้งใจจะทำต่อไป คือจะรณรงค์ให้ข้อมูลครั้งใหญ่แก่ประชาชน ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นคืออะไร โดยจะจัดข้อมูลให้เข้าใจได้ง่ายๆว่าผลของมันจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง และรวบรวมความเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึงครอบคลุมทุกจังหวัด แม้เราไม่มีงบมากมาย แต่จะอาศัยความร่วมมือของเอกชนและประชาชนมาช่วยกัน ทำอย่างไรให้ข้อมูลกระจายสู่ประชาชนให้มากที่สุด และรวบรวมความเห็นกลับมา จากนั้นจะเผยแพร่กลับไปอีกรอบ ว่าประชาชนคิดอย่างนี้ แล้วนักการเมืองคิดอย่างไร เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วประชาชนจะทำอะไรต่อไป เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เลวร้ายขึ้น
       
       องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่นจะพยายามอย่างเต็มที่ ไม่ถอย ไม่เลิก เพราะถ้าปล่อยให้การคอร์รัปชั่นแล้วเจ๊าลืมๆกันไป ถ้าทำได้ ก็ไม่ต้องมาพูดถึงเรื่องการต่อสู้คอร์รัปชั่น แล้วเด็กจะฝังใจว่าสู้ไปก็ไม่มีประโยชน์ เราจะทำเต็มที่ ให้ข้อมูล รับความเห็นประชาชนทุกภาคส่วน และประมวลแนวทางออกมา จะไม่ยอมแพ้กฎหมายล้างโกงแน่นอน
       
       ด้าน นายคำนูณ กล่าวว่า การแก้พ.ร.บ.นิรโทษกรรมในชั้นกรรมาธิการมันไปไกลมาก คือ 1.นิรโทษฯคดีคอร์รัปชั่นทั้งปวงที่ดำเนินการระหว่างวันที่ 1 ม.ค. 2547 ถึง 8 ส.ค. 2556 รวมทั้งสิ้น 9 ปี และ 2. นิรโทษฯคดีทุจริตการเลือกตั้งทั้งปวงระหว่างวันที่ 1 ม.ค. 2547 ถึง 8 ส.ค. 2556 เช่นกัน ถ้าถูกลงโทษไปแล้วเสมือนไม่ถูกลงโทษ ที่อยู่ระว่างการสอบสวนก็พ้นจากความรับผิดชอบทั้งปวง อันนี้เป็นการนิรโทษฯความผิด ไม่ใช่นิรโทษฯกระบวนการสืบสวนสอบสวนและลงโทษ ฉะนั้นไม่ใช่การล้างผลของการรัฐประหาร ถ้าจะล้างผลรัฐประหาร ตามที่นิติราษฎร์เคยเสนอให้คดีความยังคงอยู่แต่กลับไปดำเนินการตามกระบวนการ ปกติ อันนั้นยังพอฟังได้ ที่สำคัญไม่เพียงแต่ล้างคดีที่ดำเนินการโดย คตส. แต่ยังรวมไปถึง ป.ป.ช. และ กกต. ด้วย ทั้งๆที่กฎหมายนิรโทษกรรมนี้องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่นไม่น่ามาเกี่ยวข้องเลย เพราะเดิมทีร่างของนายวรชัย เหมะ ไม่ได้ไปไกลขนาดนี้ แต่พอแปรญัตติชั้นกรรมาธิการ จากนิรโทษผู้ชุมุนุม กลายไปเป็นล้างผลรัฐประหาร และที่น่าตกใจไปไกลกว่าล้างผลรัฐประหารเสียอีก เพราะขยายช่วงเวลาทั้งข้างหน้าและหลังไปมาก ข้างหน้าคือขยายไปถึง 1 ม.ค. 2547 ข้างหลังคือขยายไปถึง 8 ส.ค. 56 โดยอ้างว่าที่ขยายถึง 8 ส.ค. 2556 เนื่องจากเป็นวันที่สภาผู้แทนราษฎรรับหลักการวาระ 1 ของกฎหมายฉบับนี้ ส่วนที่ต้องขยายขึ้นไป 1 ม.ค. 2547 อ้างกันว่าเพื่อรวมกรณีที่นายสนธิเคลื่อนไหวต่อต้านนายทักษิณ ทั้งที่เมื่อปี 2547 นายสนธิ ยังจัดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ทางช่อง 9 ดีอยู่เลย ที่จริงคือต้องการล้างผลการทำงานของป.ป.ช.และ กกต.ทั้งหมด
       
       นายคำนูณ ยังกล่าวด้วยว่า ภาวะสังคมตอนนี้เสี่ยงต่อการล่มสลายสูง เนื่องจากเศรษฐกิจของเรากำลังเข้าสู่สภาวะถดถอย จากรายงานการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย มีการปรับลดจีดีพี กำลังซื้อไม่มี การส่งออกไม่ดี วิกฤตเศรษฐกิจโลกอีก เรากำลังเอาพ.ย.ทั้งเดือนมาซ้ำเติมจุดเริ่มต้นเศรษฐกิจถดถอย และไม่รู้จะยืดเยื้อไปถึงธ.ค.หรือไม่ พ.ย.เรายังมีเหตุการณ์ร้ายๆทั้งนั้นรออยู่ เดี๋ยวนี้รัฐบาลต่างชาติหรือกลุ่มทุนต่างชาติต่างๆ เขารู้สถานการณ์ดี แล้วแบบนี้ใครจะมาลงทุนในประเทศไทย แล้วถ้าคราวนี้เศรษฐกิจล่มจะไม่เหมือนปี 40 เพราะตอนนั้นเกิดจากภาคเอกชนแต่ภาครัฐยังแข็งแรง แต่ครั้งนี้เกิดจากภาครัฐโดยตรง


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : องค์กรต้านโกง ค้านนิรโทษกรรมสุดซอย ส่อขัดแย้ง ภาคีอนุสัญญายูเอ็น

view