สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ส่อง4คดีเทียบเคียงลุ้นศาลโลกไม่รับตีความ

จาก โพสต์ทูเดย์

โดย...ธนพล บางยี่ขัน

ระหว่างที่รอลุ้นกับคำวินิจฉัยของศาลโลก ในคดีที่กัมพูชาขอให้ศาลตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารเมื่อปี 2505 ควรย้อนไปดูผลจากคดีอื่นๆ ซึ่งเคยขึ้นสู่ศาลโลก เพื่อเป็นแนวทางประเมินผลคำวินิจฉัย

ทั้งนี้ คดีปราสาทพระวิหารนับเป็นคดีที่ 5 ที่มีการยื่นให้ศาลโลกได้ตีความคำพิพากษาเดิม โดยคดีแรก คือ

1.คดีโคลัมเบียกับเปรู โดยโคลัมเบียยื่นให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาของวันที่ 20 พ.ย. 1950 แต่ศาลพิพากษาเมื่อวันที่ 27 พ.ย. 1950 ไม่รับตีความ

คดีนี้เกี่ยวกับกรณีที่เอกอัครราชทูตโคลัมเบียในประเทศเปรูให้การลี้ภัย ของ Victor Raul Haya de la Torre หัวหน้าพรรคการเมืองพรรคหนึ่งในเปรู แต่เปรูปฏิเสธจนเกิดเป็นข้อพิพาท สุดท้ายศาลโลกพิพากษา เมื่อวันที่ 20 พ.ย. 1950 ปฏิเสธคำขอของโคลัมเบียที่ขอให้ศาลตัดสินว่า โคลัมเบียมีสิทธิในฐานะรัฐผู้ให้การลี้ภัยที่จะตัดสินโดยฝ่ายเดียวและมีผล ผูกพันต่อเปรู

แต่ในคำพิพากษาไม่ได้ระบุถึงประเด็นที่โคลัมเบียต้องส่งคืนตัว Victor Raul Haya de la Torre ให้แก่เปรู โคลัมเบียจึงได้ยื่นคำขอในวันเดียวกันให้ศาลพิพากษาเรื่องการส่งมอบตัว สุดท้ายศาลวินิจฉัยว่าคำขอตีความนั้นรับฟังไม่ได้ เนื่องจากเป็นเรื่องที่ขอให้ศาลตีความนั้นเป็นคำถามใหม่ การตีความไม่อาจเกินขอบเขตของคำพิพากษาได้

2.คดีตูนิเซียกับลิเบีย คดีนี้เกี่ยวกับการอ้างสิทธิแบ่งเขตทางทะเลในบริเวณไหล่ทวีปในทะเลเมดิเตอร์ เรเนียนระหว่างตูนิเซียกับลิเบียและมีการอ้างสิทธิทับซ้อน ทั้งสองฝ่ายยื่นให้ศาลโลกกำหนดหลักการแบ่งเขตไหล่ทวีปและให้ความชัดเจนถึง วิธีที่ใช้ปฏิบัติได้จริง

ศาลโลกพิพากษาเมื่อวันที่ 24 ก.พ. 1982 ให้ใช้หลักความเที่ยงธรรม “Equitable Principles” ในการแบ่งเขตไหล่ทวีป ต่อมาตูนีเซียยื่นขอให้ตีความ ซึ่งศาลโลกพิพากษาเมื่อวันที่ 10 ธ.ค. 1985 ว่า การตีความแบ่งเขตไหล่ทวีปส่วนแรกให้ใช้จุดพิกัด 33 55N 12E เป็นจุดอ้างอิงในการกำหนดเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีป และในส่วนที่สอง ศาลได้ตีความว่า พิกัด 34 10 30 N โดยประมาณที่ศาลได้ให้ไว้เป็นเพียงแค่การบ่งบอกพิกัดโดยทั่วไป ทั้งสองฝ่ายจะต้องหาพิกัดที่แท้จริง

3.คดีแคเมอรูนกับไนจีเรีย โดยแคเมอรูนได้ขอให้ศาลชี้ขาดว่าแคเมอรูนมีอำนาจอธิปไตยเหนือคาบสมุทร Bakassi และไนจีเรียมีพันธกรณีที่จะต้องถอนกำลังทหารในทันที แต่ทางไนจีเรียยื่นคัดค้านเบื้องต้นของเขตอำนาจศาล แต่ศาลตัดสินเมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 1998 ว่ามีอำนาจในการวินิจฉัย ทำให้ไนจีเรียยื่นขอให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาใน 3 ประเด็น ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการขอตีความคำพิพากษาของการคัดค้านเบื้องต้นของเขต อำนาจศาล แต่สุดท้ายเมื่อวันที่ 25 มี.ค. 1998 ศาลมีคำพิพากษาว่าไม่รับตีความ

4.คดีเม็กซิโกกับสหรัฐ กรณีที่สหรัฐดำเนินการต่อชาวเม็กซิโกที่ถูกจับ 52 คน ซึ่งเม็กซิโกยื่นฟ้องศาลโลกว่าการจับกุมคุมขังและพิพากษา รวมถึงพิพากษาลงโทษประหารชีวิต ละเมิดข้อผูกพันตามอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล

ศาลโลกพิพากษาเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2004 ว่า สหรัฐละเมิดข้อผูกพันตามอนุสัญญากรุงเวียนนาและสหรัฐต้องมีการชดเชยอย่าง เหมาะสม แต่ต่อมาศาลสูงสุดสหรัฐมีคำพิพากษาว่าคำพิพากษาของศาลโลกไม่มีผลบังคับโดย ตรง ทำให้เม็กซิโกยื่นขอให้ตีความคำพิพากษาของวันที่ 31 มี.ค. 2004 แม้ในวันที่ 16 ก.ค. 2008 ศาลโลกจะมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว แต่ต่อมาวันที่ 19 ม.ค. 2009 ศาลโลกวินิจฉัยว่าสิ่งที่เม็กซิโกอ้างว่าเป็นประเด็นที่ต้องตีความนั้นไม่ ได้เป็นสิ่งที่ศาลได้ตัดสินตามคำพิพากษา ดังนั้นจึงอยู่นอกเขตอำนาจศาล 

สุวันชัย แสงสุขเอี่ยม สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง กล่าวว่า หลักการรับตีความของศาลจะต้องเข้าเงื่อนไข 2 ข้อ คือ 1.เป็นเรื่องขอความชัดเจนของความหมายขอบเขตของสิ่งที่ศาลได้ตัดสินให้มีผล ผูกพัน ไม่ใช่คำถามใหม่ที่ศาลไม่ได้ตัดสิน 2.ต้องมีข้อพิพาทในความหมายหรือขอบเขตเห็นต่าง ซึ่งกัมพูชาขอตีความในส่วนพื้นที่ใกล้เคียงว่าเป็นไปตามเส้นเขตแดนตามภาค ผนวก 1 หรือไม่ ซึ่งเป็นไปได้ยาก เพราะศาลเคยปฏิเสธมาแล้ว

ทั้งนี้ หากเทียบเคียงกับทั้ง 4 คดีนั้น คดีแรก เป็นการให้ลี้ภัยของโคลัมเบียกับเปรู ซึ่งศาลไม่รับตีความเพราะเป็นเรื่องที่ศาลไม่ได้ตัดสิน ถ้าเรามองเทียบกับคดีนี้ คือ แผนที่ 1:200,000 ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ศาลตัดสิน แต่ทางกัมพูชาอ้างว่ามันไม่สามารถแยกบทปฏิบัติการได้นั้น ส่วนตัวเห็นว่าเป็นแค่การตีความ เพราะแผนที่ดังกล่าวเป็นแค่เพียงหนึ่งในเหตุผลประกอบในคำพิพากษา 2505 เท่านั้น ส่วนคดีตูนิเซียกับลิเบียที่ศาลรับตีความเพราะมีความชัดเจน

สุวันชัย กล่าวว่า กรณีเม็กซิโกับสหรัฐนั้นคล้ายกันกับคดีนี้ ตรงที่ขอให้ศาลออกคำสั่งคุ้มครอง แต่สุดท้ายปรากฏว่าศาลไม่รับตีความเหมือนกับที่ศาลโลกมีคำสั่งคุ้มครองชั่ว คราวให้ไทยและกัมพูชาถอนทหาร สุดท้ายเมื่อถึงเวลาตัดสินอาจจะออกมาว่าไม่รับตีความก็เป็นไปได้


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : คดีเทียบเคียง ศาลโลกไม่รับตีความ

view